บันทึกคนเดินทาง : จากสมิหลา...ถึง...ทะเลน้อย


บันทึกคนเดินทาง เมืองใต้ที่รัก

หลังจากชมตลาดเช้าและตุนของกิน

ไว้ระหว่างทางกันแล้ว ไกด์กิตติมศักดิ์

ของเราก็นำคณะของคุณมะเดื่อมุ่งสู่

" สงขลา" ทันที



เข้าเขตสงขลา เห็นดง..." ต้นโหนด " เรียงราย

เหมือนเมืองเพชรบุรีทีเดียว



พวกเราลงแพขนานยนต์ไปยังสมิหลา บริเวณสวนสองทะเล



ดูพญานาคพ่นน้ำ ที่มีลำตัวยาวขนาดความยาวของหาดสมิหลา

ดุท่าเทียบเรือน้ำลึก และเรือที่ผ่านไปมา



ส่วนหางของพญานาค ที่อยู่บริเวณหาดสมิหลา

(สำหรับลำตัว อยู่กลางหาด แต่ไม่ได้จอดรถเก็บภาพจ้ะ )



เจ้าลูกกลม ๆ ด้านหลังเจ้าตัวน้อยนั่น....ไข่พญานาครึเปล่าหนอ ??

จากนั้นจึงเดินทางต่อไปยังหาดสมิหลา



ถ้าพูดถึง " หาดสมิหลา" ทุกคนก็ต้องนึกถึงรูปปั้น " นางเงือก"

ที่นั่งหวีผมอยุ่บนโขดหินริมหาดมานานวันแล้ว

วันนี้มีนักท่องเที่ยวมาพักผ่อนที่หาดสมิหลาพอสมควร



คุณตาวอนั่งดู " สหายน้อยนักเดินทาง" วิ่งไล่นกพิราบ


จากนั้นไกด์กิตติมศักดิ์ก็พาคณะของคุณมะเดื่อ

ข้าม " สะพานติณสูลานนท์" ไปยัง " เกาะยอ"


จุดแรกที่ลุงวอพาไปชมก็คือ " พิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา"

ที่นี่พวกเราได้ทั้งความรู้และความตื่นตาตื่นใจกับหลากหลาย

สิ่งที่ได้พบเห็นเป็นอย่างมาก



อันนี้ " เหล็กขูด" ( กระต่ายขูดมะพร้าว) มีหลากหลายแบบ

ภาพข้างบนนี้ เป็นตัวอย่างของ " ศิลปะอารมณ์ขัน" ของคนสมัยก่อน



อันนี้คือ.....



" ตะปิ้ง " ของใช้เฉพาะเด็กผู้หญิงรุ่นคุณมะเดื่อ เด็กรุ่นใหม่

คงไม่รู้จัก ไม่เคยเห็น ก็ต้องหาดูในพิพิธภัณฑ์แบบนี้แหละ



วิถีชีวิตชาวนา งานสามมิติ ที่น่าดูมาก ( แต่เสียดาย และน่าเศร้าที่ต้นข้าว

ที่ผู้สร้างบรรจงเอาฟางข้าวร้อยกับเส้นลวดและรวงข้าว ทุกต้นทุกใบ

กลับถูกนักท่องเที่ยวเหยียบจนหักราบไปหลายกอ ... เป็นนักท่องเที่ยว

หนุ่มสาวที่เข้าไปก่อนหน้าคุณมะเดื่อนั่นเอง .. ไม่น่าเลย)



ด้านหลังพิพิธภัณฑ์ ติดกับทะเล เป็น " โฮมสเตย์ " กลางน้ำ

ที่น่าสนใจมาก ๆ มีโอกาสจะต้องแวะพักสักครั้ง



ออกจากพิพิธภัณฑ์ จึงออกไปเที่ยวชมร้านรวงที่เกาะยอ

พวกเราไม่ได้ซื้ออะไรมากนัก เพราะยังไม่ได้เดินทางกลับ

จึงซื้อเฉพาะของกิน ลุงวอซื้อ " ยำสาหร่ายทะเล" ให้ลองชิมกัน

แปลก อร่อย คุณมะเดื่อไม่เคยกินมาก่อน ทำให้นึกถึงว่า

เมืองเหนือมี " ผำ " ซึ่งก็เป็นสาหร่ายแม่น้ำโขง นำมาทำ

อาหารกินได้ ( แต่คุณมะเดื่อยังไม่เคยกิน) ส่วนทางใต้

ก็มีสาหร่ายทะเลที่นำมาทำยำได้ อร่อยมาก ๆ ด้วย



ออกจากเกาะยอ เรามุ่งสู่ " ทะเลน้อย" แต่ลุงวอพาแวะ

งานแสดงสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่มาจัดแสดงอยู่

มาจากหลายจังหวัดด้วยกัน น่าดูน่าชมมาก

มีพิชแปลก ๆ ที่ไม่เคยเห็นก็หลายอย่าง



อย่างเช่น ภาพนี้ " มะขามกบ" หน้าตาแปลก ๆ

รสชาติเปรี้ยวนิด ๆ อร่อยดี



มะละกอกินใบ ... ลูกสาวซื้อมา ๕ ต้น เอามาให้คุณมะเดื่อปลูก

ตอนนี้ต้อง " อนุบาล " ไว้ก่อน ยังไม่ได้เอาลงดิน

เพราะอยู่ในรถสองสามวัน งอม....เลย



คุณมะเดื่อชอบสวนครัวแบบนี้มาก ๆ ในกระจาดเล็ก ๆ

มีสารพัดผักจ้าา ต้องเอามาทำบ้าง



จากนั้น...คณะของเราก็มุ่งสู่ ... ทะเลน้อย...อันเป้นเป้าหมายต่อไป

หมายเลขบันทึก: 605914เขียนเมื่อ 4 พฤษภาคม 2016 00:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤษภาคม 2016 00:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ด้วยเวลาอันจำกัด จึงเที่ยวแต่ที่ผู้คนส่วนมากมักกล่าวถึง

ด้วยธรรมชาติของพัทลุง มี เขา ป่า นา เล สวนวิถีพุทธ อีกแห่งหนึ่งที่อยากให้แวะชม

วิถี ชนเผ่า มันนิ ก็ยังไม่ได้สัมผัส

พัทลุงเมือรองต้องห้าม....พลาดนการท่องเที่ยว

หวัดดีก่อนนอนจ้ะลุงวอ โอกาสหน้า

จะต้องย้อนกลับมาอีกแน่นอนจ้าา

ตามไปเที่ยวด้วยค่ะ ขอเก็บรูป ตะปิ้งไว้ล้อน้องเล่นนะคะ คนที่เคยใส่ตะปิ้ง เดี๋ยวนี้มันดุมาก

หวัดดีท่าน ผอ.คนเก่ง มันอาจจะเป็นโอกาส และโชคดี

ของคุณมะเดื่อก็ได้นะ ที่สุขภาพยังเอื้อต่อการเดนิทางไกล ๆ

อีกอย่าง ช่วงปลายของคนทำงาน ภาระต่าง ๆ ก็เบาบางลง

ยังไปไหว คนขับรถยังมีแรงขับรถได้ ก็ต้องไป เพราะหาก

พ้นวัย และเวลานี้ไปแล้ว ... หากอยากไป ก็คงลำบาก

เพราะสังขาร...ไม่โอ.เค. แล้วจ้าาา

สวัสดีจ้าา ท่านอาจารย์ GD ตะปิ้งเหมือนเครื่องประดับสำคัญ

ของเด็กหญิงสมัยก่อน มันบอกถึงฐานะของพ่อแม่ได้ด้วยนะจ๊ะ

เพราะมีทั้งที่ทำด้วยทองคำ เงิน นาค และ กะลามะพร้าว

หากเป็นยุคนี้ ก็อาจจะมีแบบพลาสติกอีกด้วยนะ

ยุคสมัยก่อน เสื้อผ้าหายาก เด็กหญิงก็ต้องอาศัยตะปิ้งนี้แหละ

แทนกางเกง ขอบคุณสำหรับกำลังใจจ้ะ

ใช้เวลาว่างวันหยุด แต่มีความรู้มากฝากให้ตลอดเลยครับ

สวัสดีจ้ะอาจารย์ต้น การเดินทางเปรียบเสมือน

การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง สิ่งที่เราพบเห็น

เป็นเสมือนบทเรียน ที่มีคุณค่าทั้งสิ้นจ้ะ

ขอบคุณสำหรับกำลังมจจ้ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท