วิกฤการเงินโลกในอนาคตมีแนวโน้มรุนแรงกว่าเดิมหรือไม่ เพราะอะไร !!


วิกฤติการเงินโลกได้เผยให้เห็นถึงความเปราะบางหลายประการในระบบการเงินโลกที่เชื่อมต่อประเทศต่างๆ เข้าด้วยกันมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่รับรู้และได้รับการรายงานมาเนิ่นนาน แต่ยังไม่ได้รับการแก้ไข วิกฤติการณ์ดังกล่าวยังแสดงให้เห็นด้วยว่า

1.ความจำเป็นที่จะต้องเฝ้าระวังและตรวจสอบนโยบายเศรษฐกิจมหภาครวมทั้งการดำเนินงานของภาคการเงินอย่างต่อเนื่องนั้น มีอยู่ทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและกลุ่มตลาดเกิดใหม่ ขณะที่กลุ่มตลาดเกิดใหม่ซึ่งได้รับบทเรียนจากวิกฤติในช่วงทศวรรษที่ 90 ถูกจับตามองทั้งจากตลาดและสถาบันการเงินระหว่างประเทศ (IFIs)

2.ศักยภาพของประเทศที่เกิดใหม่ที่จะมีอิทธิพลต่อนโยบายเศรษฐกิจมหภาคและการกำกับดูแลภาคการเงินของประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจก้าวหน้ากว่านั้นยังอยู่ในขอบเขตจำกัด นี่เป็นข้อเท็จจริงในเศรษฐกิจระดับใหญ่ซึ่งเงินสกุลท้องถิ่นมีสถานะเป็นที่ต้องการของนักลงทุนทั่วโลก

3.แรงจูงใจที่จะปรับความไม่สมดุลภายในประเทศยังมีอยู่น้อยเนื่องจากสภาพคล่องของสินทรัพย์ที่ซื้อขายเป็นดอลล่าร์นั้นมีอยู่สูง สามารถตอบสนองความต้องการเงินทุนจากนอกประเทศได้โดยง่าย เศรษฐกิจโลกได้รับประโยชน์อย่างยิ่งจากสภาวะเศรษฐกิจเฟื่องฟูในช่วงปี 2546-2550 ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากปัจจัยที่ไม่ยั่งยืน

4.ความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันจากวิกฤติการเงินที่มีมูลค่ามหาศาลนี้ส่งผลกระทบอย่างชัดเจนต่อการบริโภคและการออมในภาคครัวเรือน ทำให้วิกฤติโลกในปัจจุบันไม่ได้จำกัดอยู่แค่ภาคการเงินแต่ได้ขยายไปยังภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงด้วย

ที่มา : http://web.worldbank.org/

คำสำคัญ (Tags): #วิกฤติการเงิน
หมายเลขบันทึก: 605903เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2016 22:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2016 22:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท