Purple Ocean Strategy – กลยุทธ์น่านน้ำสีม่วง


การวางแผนและการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรพัฒนาและมีความยั่งยืน มีกลยุทธ์หลายรูปแบบปรากฎขึ้นในวงการบริหารจัดการเพื่อให้ผู้บริหารระดับสูงนำไปใช้ประกอบการกำหนดกลยุทธ์ในการเผชิญกับคู่แข่งและสถานการณ์ทางธุรกิจ หนึ่งในนั้นคือกลยุทธ์น่านน้ำสีม่วง (Purple Ocean Strategy) ซึ่งเกิดจากการผสมผสานระหว่างกลยุทธ์น่านน้ำสีคราม (Blue Ocean Strategy) กับกลยุทธ์น่านน้ำสีเขียว (Green Ocean Strategy)

กลยุทธ์น่านน้ำสีคราม เป็นกลยุทธ์ที่ใช้สร้างและจับจองอุปสงค์ในตลาดใหม่ ด้วยการคิดค้นนวัตกรรมทางคุณค่า (Innovating Value) ที่ล้ำหน้าจากสภาพการแข่งขัน พยายามพัฒนาสินค้าให้มีความแตกต่างหรือต้องสร้างความต้องการใหม่ๆ (New Demand) โดยองค์กรจะได้ผลลัพธ์จากการพัฒนากลยุทธ์นี้ทั้งความแตกต่างและต้นทุนต่ำเนื่องจากพื้นที่ตลาดได้ถูกสร้างขึ้นใหม่และยังไร้ซึ่งการแข่งขัน

กลยุทธ์น่านน้ำสีเขียว เป็นกลยุทธ์ที่ใช้สร้างและผนวกคุณค่าทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่เน้นดำรงความยั่งยืนทางคุณค่า (Sustaining Value) ด้วยการแข่งขันกับตนเอง โดยองค์กรจะต้องทบทวนกิจกรรมในสายคุณค่าทั้งหมด เพื่อปลูกฝังเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมและความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเข้าไว้ในทุกๆ กิจกรรม มิใช่การดำเนินเพียงกิจกรรมเพื่อสังคมหรือสิ่งแวดล้อมที่อยู่นอกกระบวนการหรือแยกต่างหากจากการดำเนินธุรกิจ การพัฒนากลยุทธ์น่านน้ำสีเขียว จึงคำนึงถึงคุณค่าทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่ถูกสร้างขึ้นในสายคุณค่า ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการพัฒนาสู่ความยั่งยืน

หากพิจารณาในด้านการลงทุนกับความเสี่ยงจะพบว่ากลยุทธ์นี้จะเหมาะกับธุรกิจที่มีการลงทุนต่ำ (Low Investment) และการรับรู้ความเสี่ยงในระดับต่ำถึงสูง (High Perceived Risk)

อ้างอิง : thanakrit.net

หมายเลขบันทึก: 605900เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2016 22:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2016 22:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท