การใช้ประโยชน์หญ้าแฝก


เพื่อรักษาความชุ่มชื้นของดินในสวนไม้ผลและไม้ยืนต้น

การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตร บนที่ดอน หรือที่สูง จะใช้ในการ เพาะปลูกพืชไร่และไม้ผลเป็นหลัก แต่พื้นที่เหล่านี้มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ที่มีระบบการ ชลประทาน พื้นที่ส่วนใหญ่ที่เกษตรกรใช้ในการ เพาะปลูก จึงเป็นพื้นที่การเกษตรที่อาศัยน้ำฝน ปัจจุบัน แม้ว่าปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย ที่ตกในแต่ละปี จะมีปริมาณเท่า ๆ หรือใกล้เคียงกัน


แต่เกษตรกรก็มักประสบปัญหาภัยแล้ง หรือภาวะพืชที่เพาะปลูกขาด แคลนน้ำเป็นประจำ ก่อความเสียหายแก่เกษตรกรและเศรษฐกิจ ของประเทศ เป็นอย่างมาก การแก้ไขปัญหาภาวะพืชขาดแคลนน้ำในพื้นที่ เกษตร น้ำฝนจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีมาตรการในการเก็บรักษา ความชุ่มชื้นไว้ในดิน ให้ได้อย่างยาวนาน แต่เท่าที่ผ่านมาตราบจนปัจจุบัน เกษตรกรส่วนใหญ่ ่ในเขตพื้นที่เกษตร น้ำฝนยังคง เพาะปลูกติดต่อกันมา โดยมิได้มีมาตรการใด ในการช่วยเก็บรักษาความชุ่มชื้น ในดินเลย ดังจะเห็นได้จากกการที่ฝนตก ลงมา ก็ปล่อยให้น้ำฝนเป็นจำนวนมาก ไหลบ่าออกจากพื้นที่ลงสู่แม่น้ำลำคลอง ซึ่งนอกจากจะเป็นการสูญเสีย น้ำไปโดยเปล่าประโยชน์แล้วน้ำฝนที่ไหลบ่า ยังจะกัดเซาะ และพัดพาหน้า ดินซึ่งมีปุ๋ยและธาตุอาหารพืชที่สำคัญ ให้สูญเสีย ไปอีกด้วย

แนวรั้วหญ้าแฝกที่ช่วยในการลดแรงกระแทกของน้าในที่ไหลบ่า และช่วยในการกระจายน้ำให้ทั่วพื้นที่
ระบบรากของหญ้าแฝกที่สานกันแน่นเป็นกำแพงอยู่ใต้ดิน

มาตรการในการช่วยเก็บรักษาความชุ่มชื้นไว้ในดินให้ได้อย่างยาวนาน ซึ่งเป็นวิธีที่ ง่าย ๆ และมีประสิทธิภาพ ได้แก่การปลูกหญ้าแฝกแถวเดียว เป็นแนวรั้วตามแนวระดับ ขวางความลาดเทของพื้นที่ (ดังรายละเอียด เอกสารคำแนะนำเรื่องการใช้ประโยชน์ หญ้าแฝก เพื่อป้องกันการชะล้าง และพังทลายของดิน) โดยแนวรั้วหญ้าแฝกดังกล่าว จะทำหน้าที่ลดแรงปะทะ ของน้ำฝนที่ไหลบ่า ทำให้น้ำแผ่กระจายและไหลซึมผ่านแนวรั้วหญ้าแฝก ซึ่งจะทำให้น้ำ มีโอกาสไหลซึมลงเก็บกักรักษาไว้ในดินได้ทั่วพื้นที่ ซึ่งจะทำให้ ดินมีความชุ่มชื้น เป็นประโยชน์ต่อพืชหลักที่ปลูกไว้ต่อไป นอกจากมีลักษณะพิเศษของหญ้าแฝกที่แตกต่างไปจากหญ้าอื่น ๆ โดยทั่วไปก็คือ ระบบรากฝอย ของหญ้าแฝก จะแข็งแรงและหนาแน่น สามารถชอนไชหยั่งลึกลงไนดิน ตามแนวดิ่ง ได้ถึง 3 เมตร และรากจะไม่เจริญแผ่ขยายออกทางด้านกว้าง จึงไม่แย่ง อาหารของพืชหลักที่ปลูกใกล้เคียงกัน หญ้าแฝกมีรากแกนและรากแขนงอวบใหญ่ จึงทำให้เกาะยึดดิน และดูดซับน้ำไว้ได้เป็นอย่างดี ดังนั้นเมื่อปลูกหญ้าแฝกตามแนวระดับ ขวางความลาดเทของพื้นที่แล้วนอกจากต้นที่เจริญแตกกอ อัดกันแน่นเป็นกำแพง อยู่เหนือดิน แล้วรากของหญ้าแฝกก็จะสานกันแน่น เป็นกำแพงอยู่ในดิน ทำหน้าที่เกาะ ยึดติด และดูดซับเก็บความชื้นไว้ในดินได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

วิธีการและรูปแบบการปลูก ตามลักษณะพื้นที่


จากหลักการและลักษณะพิเศษของหญ้าแฝก ดังกล่าวแล้วข้างต้น จึงได้มีการประยุกต์ใช้ประโยชน์ ของหญ้าแฝกในด้านต่าง ๆ ได้มากมาย โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง การปลูกหญ้าแฝก เพื่อรักษาความชุ่มชื้น ในดิน สำหรับปลูกไม้ผล ก็ใช้หลักการเดียวกัน ทั้งนี้วิธีการและ รูปแบบการปลูกหญ้าแฝก ขึ้นอยู่กับลักษณะของพื้นที่ ที่เกษตรกรสามารถเลือก ใช้รูปแบบหนึ่งตามความ เหมาะสม ดังต่อไปนี้

หญ้าแฝกที่ปลูกบนคันขอบเขา ในสวนยางพารา
1. พื้นที่ที่มีความลาดเทปานกลาง - ต่ำ


บนพื้นที่ที่มีความลาดเท จะเป็นพื้นที่ที่ง่ายต่อการ ชะล้าง พังทลายของดิน จากน้ำฝนที่ไหลบ่า ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกัน และกักน้ำที่ไหลบ่าไว้ในดิน ให้ชุ่มชื้นอย่างยาวนาน จึงควรที่จะมีการปลูกหญ้าแฝก ตามแนวระดับขวาง ความลาดเท ของพื้นที่

หญ้าแฝกที่ปลูกในสวนไม้ผล

บนพื้นที่ที่มีความลาดเทสม่ำเสมอ ความถี่ห่าง ของแนวหญ้าแฝกที่จะปลูกขึ้นอยู่กับระดับความสูง ต่ำ ของพื้นที่ พื้นที่ที่มีความลาดเทสูง แนวหญ้าแฝกก็จะ ถี่กว่าพื้นที่ที่มีความลาดเทต่ำ แต่ทั้งนี้ ความห่าง ระหว่างแนวหญ้าแฝกที่จะปลูก จะต้องอยู่ห่างกัน ไม่เกินค่าสูงต่ำ คามแนวดิ่ง 1.50 เมตร ซึ่งจะหาได้ จากการใช้สายยางหาระดับแบบช่างไม้

ตัดใบหญ้าแฝกคลุมโคนไม้ผล ช่วยรักษาความชุ่มชื้น

ดังนั้น ในพื้นที่ สวนไม้ผลหรือไม้ยืนต้นที่ปลูกในพื้นที่ที่มีความลาดเท สม่ำเสมอนั้น จึงกระทำได้ง่าย ทั้งนี้เมื่อกำหนดแนว ที่จะปลูกได้แนวแรกแล้ว แนวต่อ ๆ ไป ก็ใช้จำนวนแถว ของไม้ผลที่จะปลูกเป็นตัวกำหนด เช่นในแนวแรกมี ไม้ผล 3 แถว ดังนั้นทุก ๆ 3 แถวของไม้ผล ก็จะปลูก หญ้าแฝก 1 แนว จนตลอดพื้นที่ แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อให้หญ้าแฝกได้ทำหน้าที่ อย่างมีประสิทธิภาพ การวางแนวปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้น ก็จะต้องวางแนวปลูก ตามแนวระดับขวาง ความลาดเทของพื้นที่ด้วย และการปลูกหญ้าแฝกระหว่าง แถวไม้ผล จะปลูกห่าง จากโคนไม้ผลที่จะปลูก 1.50-2.00 เมตร ดังนั้น ความห่าง ของหญ้าแฝก ตามแนวดิ่งอาจน้อยกว่า 1.50 เมตร หรือ เกินกว่า 1.50 เมตร เล็กน้อยก็ได้ ตามความเหมาะสมของแถวไม้ผลที่ปลูก

สำหรับพื้นที่ที่มีความลาดเทไม่สม่ำเสมอ ที่จะใช้ ในการปลูกไม้ผล หรือไม้ยืนต้น การปลูกหญ้าแฝก เพื่อรักษาความชุ่มชื้นในดิน กำหนดได้จากสภาพความ ลาดเทของพื้นที่ ถ้าพื้นที่มีความลาดเทค่อนข้างสูงแล้ว จะต้องพิจารณาถึงการป้องกันการสูญเสียดินจากน้ำ ที่ไหลบ่าด้วยดังนั้น ในสภาพพื้นที่ดังกล่าว การปลูก หญ้าแฝกก็จะใช้วิธีการเดียวกันกับการปลูกหญ้าแฝก เพื่อป้องกันการชะล้างและพังทลายของดิน

หญ้าแฝกปลูกเป็นแนวยาวขนานแถวปลูกมาขาม

โดยวางแนว ปลูกตามแนวระดับขวางความลาดเท ของพื้นที่จะตลอดพื้นที่ แต่ละแนวจะห่างกันตามค่า ความสูงต่ำตามแนวดิ่ง 1.50 เมตร ดังรายละเอียด เอกสาร คำแนะนำเรื่องการใช้ประโยชน์หญ้าแฝก เพื่อการป้องกัน การพังทลาย ของดิน

สำหรับพื้นที่ที่มีความลาดเทไม่สม่ำเสมอ แต่มีความลาดเทเพียงเล็กน้อย จะมีปัญหาการสูญเสียดินจากน้ำฝนที่ไหลบ่าไม่มากนัก การปลูกหญ้าแฝกเพื่อ รักษาความชุ่มชื้นในดิน กระทำได้ 2 วิธีด้วยกัน คือ

ก.ปลูกแบบวงกลมรอบไม้ผล
ทั้งนี้โดยปลูกเป็นวงกลมรอบไม้ผลแต่ละต้น รัศมีจากโคนต้นไม้ผล 1.50 - 2.00 เมตร
ข.ปลูกแบบครึ่งวงกลม
โดยการปลูกหญ้าแฝกห่างจากโคนไม้ผล 1.50 - 2.00 เมตร แบบครึ่ง วงกลมหงายรับน้ำฝนที่จะไหลบ่าลงมากักเก็บไว้

การปลูกหญ้าแฝกแบบวงกลมและแบบครึ่งวงกลมนี้ มีการเตรียมดินและการ ปลูกรวมทั้งการดูแลรักษาเช่นเดียวกัน ดังได้กล่าวมาแล้ว ข้างต้น ซึ่งการปลูกทั้ง 2 แบบนี้ จะเป็นการควบคุมเก็บรักษาความชุ่มชื้นในดินเฉพาะต้นซึ่งเมื่อหญ้าแฝก เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ควรมีการตัดใบหญ้าแฝกให้เหลื่อสูงประมาณ 40 เซนติเมตร เป็นประจำ 2-3 เดือน ต่อครั้ง โดยนำใบหญ้าแฝกที่ตัดได้นำไปคลุก โคนไม้ผล จะช่วยลดการสูญเสียของน้ำในดินจากการระเหยได้เป็นอย่างดี นอกจาก นี้ ใบหญ้าแฝกก็จะค่อย ๆ ผุพังสลายตัว เป็นปุ๋ยให้แก่ไม้ผลที่ปลูกได้อีกด้วย

2. พื้นที่ที่ไม่มีความลาดเท หรือพื้นที่ระดับ

บนพื้นที่ที่ไม่มีความลาดเทหรือพื้นที่ระดับ จะไม่มี ปัญหาเกี่ยวกับการสูญเสียดิน แต่อย่างไร ก็ตาม แม้ว่าจะเป็นพื้นที่ราบเพียงใดก็ตาม การไหลบ่าของน้ำฝนก็จะเกิดขึ้นได้เช่นกัน ดังนั้น วิธีการปลูกหญ้าแฝก เพื่อรักษา ความชุ่มชื้นในดิน ในพื้นที่ระดับ
หญ้าแฝกที่ปลูกเป็นเส้นตรง

โดยเฉพาะในพื้นที่เกษตรน้ำฝน จะปลูกเพื่อกักเก็บน้ำฝนไว้ในพื้นที่ โดยให้ไหลบ่า ออกจากพื้นที่ให้น้อยที่สุด ดังนั้นวิธีการปลูกหญ้าแฝก ก็จะปลูก เป็นแถวเดี่ยวล้อมรอบพื้นที่ และบริเวณที่ปลูกไม้ผลก็จะปลูกหญ้าแฝกระหว่าง แถวไม้ผลที่ปลูก ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการตัดใบคลุมโคนไม้ผล เพื่อลดการ สูญเสียน้ำในดินจากแสงแดดและนอกจากนี้ อาจจะปลูกแบบวงกลม รอบโคน ต้นไม้ผลดังกล่าวมาแล้ว ก็ได้เช่นกัน

การปลูกแบบวงกลมรอบไม้ผลแต่ละต้นนั้น มีข้อเสียที่ว่าจะต้องใช้กล้าหญ้า เป็นจำนวนมากกว่าปลูกแบบเป็นแถวตรง นอกจากนี้ การเตรียมดิน หรือการไถ พรวน เพื่อปลูกพืชเสริมรายได้ในช่วงที่ไม้ผล ยังไม่ให้ผลผลิต ก็กระทำได้ยากกว่า ส่วนข้อดีที่นอกเหนือจากการเก็บกักความชุ่มชื้น ก็คือจะได้ผลผลิตจากใบหญ้า เพื่อใช้ในการคลุมดินสูง กว่าวิธีอื่น ๆ

หมายเลขบันทึก: 604928เขียนเมื่อ 12 เมษายน 2016 14:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 เมษายน 2016 14:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท