การปรับนโยบายและแผนพลังงานของประเทศ


การปรับนโยบายและแผนพลังงานของประเทศ

ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์* สมชาติ โสภณรณฤทธิ์* สวัสดิ์ ตันตระรัตน์*

บทคัดย่อ

ตั้งแต่ ส.ร.อ. ได้ผลิตเชลแก๊สจากแหล่งหินดินดานในประเทศ ด้วยต้นทุนการผลิตที่ต่ำมาก จนไม่จำเป็นต้องนำเข้าน้ำมันดิบและแก๊สธรรมชาติ โดยเฉพาะจากตะวันออกกลาง ราคาน้ำมันดิบและแก๊สธรรมชาติจึงได้ลดลงอย่างรวดเร็ว และมีอุปทานล้นตลาดโลก. บทบาทของแหล่งพลังงานหมุนเวียนสำหรับความมั่นคงด้านพลังงาน จึงลดความสำคัญลงมาก แต่บทบาทในการลดค่าดัชนีการปล่อยคาร์บอน ได ออกไซด์ กลับมีความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากการใช้เชื้อเพลิงปิโตรเลียมเพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกสู่บรรยากาศเพิ่มขึ้นด้วย.

การผลิตพลังงานจากชีวมวล ที่เกษตรกรในประเทศได้รับผลประโยชน์ด้วย ก็น่าจะเพียงพอในการลดดัชนีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ลงมาให้อยู่ภายในข้อตกลงสากล. นอกจากนี้ ก็ยังมีการผลิตไฟฟ้าที่เป็นผลพลอยได้ จากขยะเทศบาล และเขื่อนชลประทาน. รัฐจึงควรยุติการอุดหนุนการผลิตไฟฟ้าป้อนเข้าสายส่งจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ ที่มีต้นทุนการผลิตไฟฟ้าสูงกว่าการผลิตไฟฟ้าจากชีวมวล และขยะเทศบาล ซึ่งมีค่า Feed in Tariff ต่ำสุด.

แผนการพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า Adders และ Feed in Tariffs ที่ให้ประโยชน์กับไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์มากที่สุด ได้ซ่อนการฉ้อฉลประชาชนมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๐ ทั้งๆที่ผู้ที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดคือกลุ่มธุรกิจเซลล์แสงอาทิตย์หลัก ประกอบด้วยผู้ทรงอิทธิพลในประเทศ และผู้ผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ในประเทศจีน. รัฐจึงควรยุติการอุดหนุนการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ที่ป้อนเข้าสายส่ง หรือ ในพื้นที่ที่มีระบบสายส่งอยู่แล้ว. เรื่องที่ผิดพลาดมากเชิงนโยบาย แม้กระทั่งปัจจุบัน คือ โซล่าร์ฟาร์มในพื้นที่เกษตรกรรม ในค่ายทหาร ฯลฯ กลับได้รับการส่งเสริมมากขึ้น.

เนื่องจากปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ปล่อยออกจาการเผาไหม้เชื้อเพลิง ได้เพิ่มขึ้นตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ภาวะโลกร้อนและผลกระทบจึงจะทวีความรุนแรงมากขึ้น. ภาษีคาร์บอน น่าจะเป็นมาตรการที่มีประสิทธิภาพ ทั้งเพื่อกระตุ้นให้ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศ และเป็นกองทุนสำหรับบรรเทาผลกระทบต่างๆจากภาวะโลกร้อน. ภาษีคาร์บอนที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย จึงเป็นโจทย์วิจัยเชิงนโยบายและแผนพลังงานที่สำคัญ.

*ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์

บรรยาย ณ สำนักวิทยาศาสตร์ รภ. มี.ค./๕๙

การปรับนโยบายและแผนพลังงานของประเทศ

ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์* สมชาติ โสภณรณฤทธิ์* สวัสดิ์ ตันตระรัตน์*

อุปทานพลังงาน

  • ส.ร.อ. ได้ผลิตเชลแก๊สจากแหล่งหินดินดานในประเทศ ด้วยต้นทุนการผลิตที่ต่ำ
  • ราคาน้ำมันดิบและแก๊สธรรมชาติได้ลดลงอย่างรวดเร็ว และมีอุปทานล้นตลาดโลก.
  • พลังงานหมุนเวียน จึงลดความสำคัญลงในด้านความมั่นคงของแหล่งพลังงาน
  • แต่ยังมีความสำคัญในการลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกสู่บรรยากาศ
  • การผลิตพลังงานจากชีวมวล ทีเกษตรกรในประเทศได้รับประโยชน์ด้วย
  • .การผลิตไฟฟ้าจากขยะเทศบาล และเขื่อนชลประทานเป็นผลพลอยได้
  • รัฐควรยุติการอุดหนุนการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ

ไม่ต้องนำเข้าน้ำมันดิบและแก๊สธรรมชาติ

ชีวมวล ขยะ เขื่อนชลประทาน

ที่มีต้นทุนการผลิตไฟฟ้าสูงกว่าการผลิตจากชีวมวล ขยะเทศบาล.

ไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์

  • แผนการพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าให้ประโยชน์กับไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์มากที่สุด
  • ผู้ที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดคือกลุ่มธุรกิจเซลล์แสงอาทิตย์หลัก ประกอบด้วย
  • รัฐต้องยุติการอุดหนุนการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ที่ป้อนเข้าสายส่ง และใน พื้นที่ที่มีระบบสายส่งอยู่แล้ว.
  • เรื่องที่ผิดพลาดเชิงนโยบาย มากขึ้นในปัจจุบัน คือ การส่งเสริมโซล่าร์ฟาร์ม ในพื้นที่เกษตรกรรม ในค่ายทหาร ในมหาวิทยาลัย ฯลฯ

และได้ซ่อนการฉ้อฉลประชาชนมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๐

ผู้ทรงอิทธิพลในประเทศ และผู้ผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ในประเทศจีน.

ภาษีคาร์บอน

  • ภาษีคาร์บอน เป็นมาตรการกระตุ้นให้ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศ
  • เป็นกองทุนสำหรับบรรเทาผลกระทบต่างๆจากภาวะโลกร้อน.

ภาษีคาร์บอนที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย

เป็นโจทย์วิจัยเชิงนโยบายและแผนพลังงานที่สำคัญ.

  • ก. การคลัง ควรเป็นเจ้าของเรื่อง และผู้กำกับ กองทุนภาษีคาร์บอน

ปรับ กองทุนอนุรักษ์พลังงานและพัฒนาพลังงานทดแทน ให้มีความโปร่งใส

หมายเลขบันทึก: 604704เขียนเมื่อ 8 เมษายน 2016 21:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 เมษายน 2016 21:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

มาคารวะ ครู ครับ ที่ สวิส เขาใช้ น้ำ จาก หิมะละลาย มาผลิต ไฟฟ้า ครับ

"รัฐควรยุติการอุดหนุนการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ " (..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/604704) is a bottom line in a recommendation from members of a Thai Royal Society. It is a sad to see that the cost of carbon dioxide on people's life is not included in their consideration.

Time, March 21, 2016 reports a correlation of drilling (for gas) and the increase in erathquake activities (in Oklahoma). Again, this cost on people's life is not included in cheap gas!

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท