วัน...นอนหลับโลก (World Sleep Day)


เมื่อวันศุกร์ที่ 18 มีนาคม 2559 ที่ผ่านมาเป็น วันนอนหลับโลก (World Sleep Day) .... และมีเรื่องดีดีจากรายการ คุณ ดำรง พุฒตาล นำเรื่องราวของ Ran jan Das ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บริษัท SAP ประเทศ อินเดีย ตายเพราะ นอนหลับไม่เพียงพอค่ะ ผู้เขียนนำมาเล่าให้ฟังนะคะ






วันนอนหลับโลก .... หลายๆ คนอาจจะเคยประสบปัญหาการนอนไม่หลับอยู่บ่อยครั้ง เพราะในแต่ละวันเราต้องเจอกับเรื่องราว หรือ ปัญหาต่างๆ มากมายที่คอยเรียงแถวเข้ามาก่อกวนจิตใจ ให้วุ่นวายจนเป็น อันกินไม่ได้ นอนไม่หลับ เรื่องราวแย่ๆ เหล่านั้นมักวนเวียนอยู่ในหัวสมองทั้งวัน ทำให้บ่อยครั้งเรามักจะใช้ตัวช่วยอย่าง “ยานอนหลับ” ที่ทำให้เรารู้สึกผ่อนคลาย ลืมเรื่องราวต่างๆ ไปได้บ้าง ที่สำคัญยังทำให้เราหลับสบายจนถึงเช้าอีกด้วย

ถ้าเกิดสิ่งเราบอกไปนั้นมันเกิดขึ้นแค่ครั้ง สองครั้งก็ยังพอทน แต่ถ้าเกิดว่ายังมีครั้งที่สาม สี่ หรือห้า ตามแล้วละก็ ให้ระวังไว้เลยว่าคุณกำลังมีปัญหาด้านการนอนหลับเข้าแล้ว จึงเป็นที่มาของกิจกรรมที่เรียกได้ว่ารณรงค์กันไปทั่วโลกอย่าง “The World Sleep Day” หรือ กิจกรรม “วันนอนหลับโลก” ที่มักจะจัดขึ้นทุก “วันศุกร์” สัปดาห์เต็มที่ 2 ของเดือน “มีนาคม” ในทุกๆ ปี (Friday of the second full week of March) ซึ่งในปี 2016 นี้ ก็ตรงกับ วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม โดยมีสโลแกน ว่า "Good Sleep is a Reachable Dream" โดยเป็นกิจกรรมที่จะทำให้ทุกคนหันมาตระหนักถึงปัญหาการนอนหลับที่ไม่ได้เกิดขึ้นแค่กับคุณ แต่ปัญหานี้ยังเกิดขึ้นกับคนอื่นๆ ทั่วโลก จะเรียกว่าเป็น “โรคระบาด” กลายๆ ก็ไม่ผิด

โดยคณะกรรมการที่จัดงานวันนอนหลับโลก ของ “WASM” หรือ “The World Association of Sleep Medicine” ได้กล่าวว่า ... กิจกรรมนี้จัดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2008 เพื่อเป็นการให้ทุกคนบนโลกนั้นตระหนักและให้ความสำคัญกับ “ปัญหาการนอนหลับ” ที่แม้ว่าจะเป็นแค่จุดเล็กๆ แต่หากว่าเกิดขึ้นแล้ว มันจะสร้างภาระเรื้อรังต่อเนื่องมาไม่รู้จบ ซึ่งคณะกรรมการก็จะเน้นไปที่ การสร้างกิจกรรมในชุมชน สังคม ให้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับภาวะดังกล่าว การศึกษาหาที่มาของปัญหา ค้นคว้าตัวอย่าง มุมมองสังคมที่มีปัญหา รวมถึงการขับเคลื่อนต่างๆ ผ่านการสร้างความเข้าใจ แนะให้เกิดการเรียนรู้วิธีการป้องกัน ... ที่สามารถทำได้ อีกทั้งยังส่งเสริมให้มีการจัดการปัญหาภาวะการนอนหลับอย่างตรงจุด

กิจกรรมวันนอนหลับโลก หรือ “The World Sleep Day” นอกจากเป็น กิจกรรมที่ส่งเสริม เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว ยังเป็นการเฉลิมฉลองการมีสุขภาพดี สะท้อนให้เห็นข้อดีของการนอนหลับอย่างมีคุณภาพ หรือ ถ้าให้ตรงกับสำนวนไทยบ้านเราก็คือ “การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ” ไม่อยากให้ใช้ “ยา” เป็นเครื่องมือรักษาให้เราสุขภาพดีตลอดไป แต่อยากให้เรารู้จักใช้ชีวิต หมั่นออกกำลัง และจัดการกับภาวะที่เกิดขึ้นกับร่างกายอย่างเหมาะสม เมื่อถึงวันนั้นเราก็จะสามารถยิ้มได้แบบไม่ต้องมีกังวลเลยละค่ะ

ขอบคุณที่มา
https://en.wikipedia.org/wiki/World_Sleep_Day


สรุปได้ว่า ... การนอนหลับที่น้อยเกินไปต่อวัน น้อยกว่า 5 ชม. ถึงแม้เราจะยังมีอายุน้อยก็ตามก็ก่อให้เกิดโรคหัวใจได้นะคะ เหมือนเรื่องของ Ran jan Das .... CEO บริษัท SAP ประเทศ อินเดียซึ่งเขามีพฤติกรรมที่ดีได้แก่


1. ไม่สูบบุหรี่

2.ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอกอฮอล์

3.ควบคุมอาหารอย่างดี

4.ออกำลังกายเป็นประจำ

5.เคยร่วมวิ่งมาลาธอน


...... ทั้งหมดนี้เขาได้นอนพักเพียงไม่เกิน 5 ชม.ต่อคืน เขานอนน้อย นอนไม่เพียงพอ ก่อให้เกิดโรคหัวใจ ตายไม่รู้ตัวนะคะ โดยที่ นพ.กฤษดา ศิรามพุช ได้เล่าว่า ในปัจจุบันสังคมยุคใหม่กับการนอน อดนอน นอนไม่พอ นอนไม่ได้คุณภาพ เป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงนะคะ ....ตัวกระตุ้นที่ทำให้ "หัวใจ" ทำงานหนักเกินไป ทำงานผิดปกติ หรือหัวใจหยุดทำงานไปเลย.... ตัวผู้ร้ายคือ

- นอนไม่เหมาะสม

- นอนน้อยเกินไป

- นอนไม่มีคุณภาพ


เทคนิกการนอนที่ง่ายๆที่ นพ.กฤษดา ศิรามพุช แนะนำคือ

- ไม่ติดหนี้นอน หรือ อดนอน

- คอยสังเกตสัญญาณที่บ่งบอก "การติดหนี้นอน" ได้แก่

- นั่งเล่นบนโซฟา...แล้วมีอาการง่วงนอน

- นั่งดู TV .. ง่วงนอน อยากหลับตา


สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นสัญาณ แสดงว่า .... อดนอน ติดหนี้นอน .... เพราะฉะนั้นต้อง นอนหลับให้เต็มตา ... หลับให้เต็มอิ่ม .... หลับให้เต็มตื่น ต้องหลับให้พอ นะคะ .... หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะเกิดประโยชน์กับผู้อ่านทุกๆ ท่านนะคะ



ขอบคุณค่ะ

19 มีนาคม 2559



หมายเลขบันทึก: 603750เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2016 14:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มีนาคม 2016 16:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอร่วมสนับสนุนกิจกรรมดีๆเพื่อสุขอนามัยนี้ด้วยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท