มารู้จัก RMF และ LTF กันเถอะ


กองทุนรวมทั้ง 2 ประเภทนี้แม้จะมีลักษณะเด่นเหมือนกัน แต่ก็ยังมีความแตกต่างกันในรายละเอียด ซึ่งเริ่มตั้งแต่จุดกำเนิดเริ่มต้นของกองทุนรวมทั้งสองเลยทีเดียวโดย

RMF (กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ retirement mutual fund) เป็นกองทุนรวมที่เกิดขึ้นจากแนวคิดที่ต้องการสนับสนุนวินัยการออมในระยาวเพื่อวัยเกษียณเมื่อพ้นจากงานและไม่มีรายได้ประจำแล้ว

LTF (กองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ long-term equity fund) เป็นกองทุนรวมที่เกิดมาจากแนวคิดที่ต้องการส่งเสริมการลงทุน

ระยะยาวในหุ้นจดทะเบียนในตลาดรอง เช่น SET และ MAI เพื่อช่วยให้ตลาดทุนไทยมีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น และยังช่วยสร้างวินัยในการออม ของผู้ลงทุนรายย่อยในระยะยาวมากยิ่งขึ้นด้วย

และเมื่อกองทุนรวมทั้งสองประเภทต่างก็เน้นการลงทุนระยะยาว ทางการจึงสนับสนุนสิทธิประโยชน์ทางภาษี ให้แก่ ผู้ลงทุนเพื่อเป็นการจูงใจRMF และ LTF ต่างกันอย่างไร?







นอกจากจุดกำเนิดที่แตกต่างกัน นโยบายในการลงทุน และ เงื่อนไขการลงทุนเพื่อให้ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีของทั้ง 2 กองทุนก็มีความแตกต่างกัน

ประเด็น
RMF LTF
วัตถุประสงค์การจัดตั้ง สนับสนุนให้ประชาชนออมเงินไว้ใช้ในยามเกษียณ สนับสนุนการลงทุนระยะยาวในตลาดทุนผ่านกองทุนรวมซึ่งเป็นผู้ลงทุนสถาบัน เพื่อช่วยสร้างเสถียรภาพของตลาดทุนไทย
นโยบายกองทุน มีนโยบายการลงทุนที่หลากหลายเพื่อรองรับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ตามช่วงอายุของผู้ลงทุนตั้งแต่ความเสี่ยงต่ำถึงความเสี่ยงสูง - ไม่มีข้อกำหนดให้ลงทุนต่อเนื่องแต่ปีใดที่มีการลงทุนต้องถือหน่วยลงทุนไว้อย่างน้อย 5 ปีปฏิทิน
- กรณีที่ผู้ลงทุนสั่งขายหรือสับเปลี่ยนระหว่างกองทุน LTF หน่วยลงทุนที่ซื้อก่อนจะถูกนำไปขายก่อน (First-In First-Out : FIFO) โดยผู้ลงทุนไม่สามารถกำหนดให้ บลจ.ขายหน่วยลงทุนก้อนอื่นที่ซื้อทีหลังได้ ตัวอย่างเช่น : ซื้อ LTF ในปี 2550 2551 2552 และ 2553 ต่อมาผู้ลงทุนต้องการขาย LTF บลจ.จะขายหน่วยลงทุนที่ซื้อในปี 2550 ก่อน และเรียงลำดับไปตามปีที่ซื้อก่อนเสมอ
เงื่อนไขการลงทุนเพื่อให้ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี - ลงทุนต่อเนื่องทุกปี โดยลงทุนขั้นต่ำอย่างน้อย 3%ของรายได้ในแต่ละปีหรือ 5,000 บาท แล้วแต่ว่าจำนวนใดจะน้อยกว่า

- สามารถซื้อหน่วยลงทุนปีเว้นปีได้

- ต้องลงทุนและถือหน่วยลงทุนจนกระทั่งอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์รวมทั้งต้องลงทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่ซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก (นับแบบวันชนวัน) เช่นซื้อหน่วยลงทุนตอนอายุ 53 ปี ก็ต้องลงทุนต่อเนื่องไปจนครบ 5 ปี แม้อายุจะเกิน 55 ปี แล้วก็ตาม

- ไม่มีข้อกำหนดให้ลงทุนต่อเนื่องแต่ปีใดที่มีการลงทุนต้องถือหน่วยลงทุนไว้อย่างน้อย 5 ปีปฏิทิน
- กรณีที่ผู้ลงทุนสั่งขายหรือสับเปลี่ยนระหว่างกองทุน LTF หน่วยลงทุนที่ซื้อก่อนจะถูกนำไปขายก่อน (First-In First-Out : FIFO) โดยผู้ลงทุนไม่สามารถกำหนดให้ บลจ.ขายหน่วยลงทุนก้อนอื่นที่ซื้อทีหลังได้ ตัวอย่างเช่น : ซื้อ LTF ในปี 2550 2551 2552 และ 2553 ต่อมาผู้ลงทุนต้องการขาย LTF บลจ.จะขายหน่วยลงทุนที่ซื้อในปี 2550 ก่อน และเรียงลำดับไปตามปีที่ซื้อก่อนเสมอ
เงินลงทุนที่ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี - เงินซื้อหน่วยลงทุน จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 15 % ของเงินได้ในแต่ละปีโดยเมื่อนับรวมกับเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ

- เงินซื้อหน่วยลงทุนใน LTF จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 15 % ของเงินได้ในแต่ละปีทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาทส่วนกำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน

อ้างอิงจาก : http://www.start-to-invest.com/

หมายเลขบันทึก: 603516เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2016 18:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มีนาคม 2016 08:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท