ปราชญ์/ผู้นำชุมชนในภูมิภาคตะวันตก:กรณีศึกษา ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพแพทย์แผนไทยวัดหนองไม้แก่น(ครั้งที่ 4)


ในการลงพื้นที่ครั้งนี้ผู้พันได้ให้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรที่ใช้ในการอบไอสมุนไพรให้กับทางกลุ่มของพวกเรา

ผู้พันบอกว่าสมุนไพรที่ใช้ในการอบแต่ละชนิดก็จะมีสรรพคุณแตกต่างกันไป


สำหรับสมุนไพรที่นำมาใช้อบผู้พันบอกว่าจะแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่

1.สมุนไพรที่ช่วยการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

2.สมุนไพรที่ช่วยในเรื่องระบบทางเดินหายใจ

3.สนุมไพรที่รักษาโรคต่างๆ


เป็นภาพการบอกจำนวนและสรรพคุณของสมุนไพรแต่ละชนิดที่ใช้ในการอบ


และในวันนี้ท่านผู้ผันก็ได้นำตัวอย่างของสมุนไพรมาแนะนำและให้ความรู้กับทางกลุ่มของพวกเราแต่ในช่วงที่เราไปนี้สมนไพรบางชนิดหายากจึงอาจไม่มีมาให้ชมแต่ท่านผู้พันได้หาสมุนไพรเท่าที่ท่านจะหาได้มาให้เราชมมีทั้งหมด 12 ชนิด

1.ตะไคร้หอม - ช่วยขับเหงื่อ บำรุงธาตุไฟ ดับกลิ่นคาว

2.มำกรูด - ช่วยขจัดสิ่งสกปรกในรูขุมขน แก้วิงเวียน ช่วยระบบหายใจดี

3.ตำลึง - ช่วยบำรุงสายตา

4.ผักบุ้ง - ช่วยบำรุงสายตา

5.การบูร - ช่วยบำรุงหัวใจ สตรีในช่วงหลังคลอดจะช่วยในการอยู่ไฟและขับน้ำคาวปลา และขับน้ำคาวปลา

6.ใบเปล้าใหญ่ - ช่วยลดความปวดเมื่อย ช่วยระบบทางเดินหายใจทำให้เลือดลมเดินดี

7.ขมิ้น - ช่วยสมานแผลทั้งภายในและภายนอก และยังแก้โรคกระเพราะได้อีกด้วย

8.ใบเตยหอม - บำรุงหัวใจ ช่วยให้หายใจโล่งสดชื่น

9.ใบพลับพลึง - แก้ปวดเมื่อย

10.ใบคนทีสอ - ช่วยในเรื่องระบบการไหลเวียนของเลือด

11.ใบหนาด - ช่วยบำรุงสายตา

12.ใบโปร่งฟ้า - ต้านโรคมะเร็งและระบบทางเดินหายใจ


ใบเปล้าใหญ่

มะกรูด

ใบมะขาม

ใบโปร่ง

ใบคนทีสอ

ใบหนาด

ขมิ้นชัน

ตำลึงและผักบุ้ง

ใบพลับพลึง

ตะไคร้หอม

ใบเตยหอม

การบูร


เมื่อเรารวบนวมสมุนไพรมาแล้วเราก้อนำมามัดรวมกันโดยแยกเป็นส่วนที่ย่อยสลายง่ายกับย่อยสลายยาก

ย่อยสลายยากจำพวกเช่นตระไคร้ ย่อยสลายง่ายเช่นใบเตยและใบพลับพลึง สวนมะกรูด ขมิ้น และการบูรแยกใส่ทีหลังสุด


ขั้นตอนของการมัด


เมื่อมัดเสร็จจะได้ตามภาพด้านล่าง


เมื่อเรามัดเสร้จแล้วเราก็นำของมาจัดเตรียมไว้เป็นชุดเพื่อที่จะใส่หม้ออบของเรา

(มะกรูดก่อนใส่ให้ผ่ากลางเสียก่อนส่วนขนิ้มให้ทุบแค่พอแตก)


ต่อไปนำสมุนไพรทั้งหมดลงใสในห้อมอบตามภาพด้านล่าง

ในภาพหม้อที่เราจะนำสมุนไพรใส่คือหม้อด้านซ้ายมือที่มีบันใดเดินขึ้น ส่วนถึงทางด้านขวามือเป็นถึงที่ใส่น้ำต้มเพื่อกลั่นไอน้ำ


จากนั้นนำวัตถุดิบลงใส่ในถังอบ โดยนำสิ่งที่ย่อยสลายยากใส่ลงไปก่อนแล้วตามด้วยสิ่งที่ย่อยง่ายแล้วใส่ขมิ้นกับมะกรูดและการบูรไว้บนสุด


เมื่อใส่สมุนไพรครบแล้วจะออกมามีหน้าตาแบบภาพด้านล่างนี้


เมื่อใส่เสจแล้วก็มาถึงขั้นตอนของการปิดฝาถึงอบ ให้นำผ้าชุบน้ำมาปิดปล่องด้านบนแล้วนำฝาของถังมาปิด


เมื่อปิดฝาถึงเสร็จเรียบร้อยเราก้อใส่น้ำในถึงต้มให้ได้ตามปริมาณที่กำหนดไว้แล้วติดไฟต้มน้ำ


จากนั้นรอน้ำเดือดประมาน 2-3 ชั่วโมงเพื่อให้น้ำเดือดกลายเป็นไปส่งผ่านไปยังท่อที่่ต่อไปยังห้องอบ




แต่ในการอบสมุนไพรนั้นมีขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติและข้อควรระวังอยู่หลายอย่างผู้พันบอกว่าถ้าเราไม่ปฏิบัติตามจาก

ที่จะได้ประโยชน์จากการอบจะกลายเป็นผลเสียทันที (ขั้นตอนปฏิบัติและข้อควรระวังดูได้จากภาพด้านล่าง)


ในการอบสมุนไพรนั้นมีประโยชน์และสรรพคุณแตกต่างกันไปตามชนิของสมุนไพรที่ใช้

แต่ประโยชน์หลักที่ได้ท่านผู้พันได้อธิบายให้กลุ่มพวกได้ฟังดังภาพด้านล่างนี้


และในการลงพื้นที่ครั้งนี้ทางกลุ่มของพวกเราได้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการอบสมุนไพรและประโยชน์ต่างของสมุนไพรอย่างมากมายเลยทีเดียวต้องขอขอบคุณท่านผู้พันไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะค่ะ



สวัสดีค่ะ ^^!




หมายเลขบันทึก: 602823เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2016 17:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มีนาคม 2016 22:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

นำเสนอได้ละเอียดดีครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท