โครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ รุ่นที่ 1 (ช่วงที่ 4 ระหว่างวันที่ 3-4 มีนาคม 2559)


สวัสดีครับชาว Blog และลูกศิษย์ห้องเรียนผู้นำของมหาวิทยาลัยทักษิณ

วันนี้เข้าสู่ช่วงที่ 4 ของการเรียนรู้สำหรับห้องเรียนผู้นำของมหาวิทยาลัยทักษิณ ผมขอเรียนว่า "TSU Leader Class" ซึ่งในช่วง 4 วันนี้ เราจะเน้นเรื่อง CEO – HR – Non HR – Stakeholders for 3V’s, Case Studies and Intensive Management Workshop: TSU and Human Resource Strategies, แรงบันดาลใจ เส้นทาง และประสบการณ์ในการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยเพื่อสังคม University – Research and Innovation Forum Managing Self Performance เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในงานด้านต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยทักษิณ เพื่อเป็นบทเรียนสำหรับการบริหาร ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการเรียนรู้ร่วมกันในช่วงนี้ ลูกศิษย์ของผมจะได้รับมุมมองที่เป็นประโยชน์มาปรับใช้กับการพัฒนาตนเอง องค์กร และสังคมของเรา

ผมขอใช้ Blog นี้ เป็นคลังความรู้สำหรับกิจกรรมในช่วงที่ 4 ของเราครับ


โครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ

สรุปการบรรยายวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559

วิชาที่ 14

Group Assignment & Presentation Lesson Learned – Share and Care:บทเรียนจากหนังสือ (เล่มที่ 2) เรื่อง The Alibaba Way

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และอาจารย์พิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

หลักสูตรนี้มี 3 เรื่องใหญ่ คือ

  • Transfer Knowledge

2.Process how to learn สร้างภาวะผู้นำ

3.ไปสู่ความเป็นเลิศ สร้าง Network

ต้องทำต่อเนื่อง อย่างมหาวิทยาลัยทักษิณต้องสร้างผู้นำด้วย ทำอย่างไรให้ลูกศิษย์มีความภูมิใจในตัวเอง คือ การมี Honor Dignity Respect คนอื่น และให้คนอื่น Respect เรา สิ่งที่อยากฝากไว้ในการพัฒนาคนคือเรื่องการค้นหาตัวเอง ประเด็นคือการนำไปใช้และสร้างมูลค่าเพิ่มและเอาชนะอุปสรรคหรือไม่ How to get there ? สำคัญกว่า Successful ประเด็นคืออยากให้ทุกคนบ้าคลั่งและผนึกกำลังกัน เน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มร่วมกัน

ในสัปดาห์นี้สำคัญมาก อย่างในวันนี้จะพูดเรื่อง Human Capital ซึ่งหลังจากวิจารณ์หนังสือแล้วจะพูดถึงการทำงานทรัพยากรมนุษย์หรือทุนมนุษย์ให้ประสบความสำเร็จ

คนทำ HR ที่ดีอยู่ที่การเงิน การตลาด และเทคโนโลยี

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

ทำไมมหาวิทยาลัยทักษิณต้องสร้างภาวะผู้นำ

กล่าวถึงครูกับอาจารย์ต่างกันอย่างไร โดยได้ไปถามมุมมองจากดร.จีระเดช ดิสกะประกาย กล่าวว่า ครูจะเป็นคนพาลูกศิษย์ให้ไปถึงฝั่ง แต่อาจารย์จะเหมือนแค่ไปส่งถึงฝั่ง มหาวิทยาลัยทักษิณอยู่กึ่งกลางระหว่างครูและอาจารย์ หน้าที่ก้ำกึ่งกัน การสร้างผู้นำคือการสร้างนักวิชาการศึกษา มีพันธกิจที่สำคัญ คือมีกระบวนการสอน คิด สร้างสรรค์ และสร้างภาวะผู้นำ

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

อยากให้คิดโปรเจคร่วมกัน และเมื่อจบไปแล้ว 3 เดือนก็จะกลับมาประเมินผล Impact จะเกิดจากการปะทะกันทางปัญญาเล็ก ๆ อย่าง Bill Clinton ไปจับมือกับ John F. Kenedy ทำให้เกิดแรงบันดาลใจขึ้นมา

การนำเสนอผลที่ได้จากการอ่านหนังสือ

กลุ่มที่ 1

Chapter 1 มี 2 ส่วนใหญ่คือ

  • Alibaba way คือ เริ่มต้นด้วยคน 10 คน ด้วยเงินเพียงแค่ 500,000 หยวนแต่เป็นที่แปลกใจว่ามีการเติบโตมหาศาล และภายในเวลา 12-14 ปี กลายเป็นอาณาจักรของ E-commerce กับ E-bay และ Amazon.com

2.อะไรคือ Alibaba way คือ 1. การเปลี่ยนวัฒนธรรมของผู้ประกอบการ เป็นลักษณะการให้รากหญ้ามาทำธุรกิจ 2. ปลดปล่อยคนที่เป็นรากหญ้าได้ทำธุรกิจและประสบความสำเร็จดีมาก 3. พัฒนาเมืองที่เคยเป็นชนบทมีความยากจนแร้นแค้น แต่สามารถสร้างความเจริญเป็นเมือง 4. ทำการพัฒนาที่ส่งผลต่อประชากร และส่งผลต่อสังคมที่ควรทำแต่บริษัทได้ทำแทนให้

3.จากภาพทั้งหมดได้ลองเปรียบเทียบ Alibaba ในมุมมองของกลุ่ม คืออยากเปรียบเทียบ Alibaba ว่า E=MCC

E คือ ผู้ประกอบการที่มีพลังมาก และทำธุรกิจบนความเสี่ยง

M คือ Micro เริ่มจากผู้ประกอบการที่มีความเก่งในเรื่องที่ตัวเองทำ เป็นลักษณะเล็ก ๆ คือทำ Inovation ให้เป็น Routine

C คือ Customer Centre คือความไว้วางใจ และเชื่อมั่นต่อผู้สื่อสินค้า

C คือ China หมายถึงการมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจการพัฒนาของจีน และการเติบโตของสังคม

สรุปคือ Alibaba มีความอยาก ความหิวกระหายจึงทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เสนอว่า

กล่าวว่าตัวอย่างของ Alibaba เป็นผู้ที่ไม่ประสบความสำเร็จในหลายเรื่องมาก่อน บางครั้งอาจให้ Dare to failed ช่วยในการเป็นบทเรียนเพื่อก้าวสู่ความสำเร็จ

อยากให้เราหลุดจาก Comfort Zone กล้าทำอะไรบางอย่างและให้ทำต่อเนื่อง พลังติดตัวจริงหรือไม่

Innovation is Routine ทำอะไรก็แล้วแต่ที่หลุดจากงานประจำไปจนไม่ใช่งานประจำ

อาจารย์ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

การนำมา Apply ในองค์กร Culture Change สำคัญมาก อย่างแจ็กมาร์เป็นครูสอนภาษาอังกฤษที่ดีและใช้ประสบการณ์ตรงนี้พัฒนาคนขายของทาง Digitalization เป็นลักษณะ Fast forward moving มีเรื่อง Integrity ความซื่อสัตย์ โดยจะ Change Culture และดึงศักยภาพคนในองค์กรมาใช้ได้อย่างไร แต่เรื่อง Fast forward เป็นการมองนอกกรอบ แต่ต้อง Take risk ต้องมองว่าถ้าทำให้ได้เราจะกำจัด Risk อย่างไร

ให้เราเรียนรู้จากคนที่เก่ง ไม่ต้องอยู่ในองค์กรใหญ่โต เราจะได้มีแนวคิดและมุมมอง ชอบเรื่อง Dare to fail จะพบว่าในประเทศไทยมีน้อยมาก คนไม่กล้าพูดถึงความล้มเหลวขององค์กร แต่ส่วนใหญ่ชอบพูดแต่เรื่องความสำเร็จ

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เราชอบหลีกเลี่ยงความล้มเหลว ทั้ง ๆ ที่ความล้มเหลวก็คือยา ไม่ใช่มองว่าคนเราจะสำเร็จไปทุกเรื่อง เราต้องยอมรับให้ได้ อย่างองค์กร Alibaba ต้องมองเรื่อง Organization and Honesty สังเกตได้ว่า Alibaba เป็นการสร้าง Trust ให้คนกล้าเสมือนเป็น Flagship ของจีน อย่าง IPO ที่ตลาดหุ้นก็ขึ้น

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

อาจารย์จีระพูดถึง Flag ship ดีมาก ทำให้กระบวนการที่นำเสนอ อาจจะมาจากหลาย ๆ ความคิด จะมาอีกแนวหนึ่ง อีกสิ่งหนึ่งที่เรามองคือจะเห็นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของผู้ประกอบการ ผู้ประกอบการก็คือ Employment ของ ม.ทักษิณ ต้องสร้างความเป็น Entrepreneurship

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

บอกว่า Entrepreneurship คือลดต้นทุนกับเพิ่มลูกค้า ยกตัวอย่างร้านก๋วยเตี๋ยวที่ท่าพระจันทร์รายได้ไม่เท่ากัน เพราะบริหารต้นทุนไม่เท่ากัน อย่างอาจารย์จีระเป็น Entrepreneur ได้ เพราะมีคนบ้าคลั่งในสินค้าของ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และเรียนรู้เรื่องการบริหารทุน

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

1. การลงไปในชุมชน ต้องเพิ่มความเป็นผู้ประกอบการ ให้คิดและต่อยอดขึ้นมา

2. การปลดปล่อยเรื่องรากหญ้า ก็คือสิ่งที่ ม.ทักษิณทำอยู่แล้ว แต่เราจะทำอย่างไรให้ดึงมาเป็น Alibaba ได้

3. ช่วยพัฒนาองค์กร ม.ทักษิณทำอยู่แล้วเช่นพัทลุง ลุ่มน้ำสงขลา ทำอย่างไรให้คนชื่นชม อาจเปลี่ยนชื่อให้คนชื่นชม การทำ Urbanization คือการกระจายความเจริญไป เป็นลักษณะการชนะเล็ก ๆ ก่อนชนะใหญ่ ๆ

4. การหาช่องอย่างทีมฟุตบอลเรสเตอร์ คือพยายามหาพื้นที่เล่น เพราะมีโอกาสเสมอ แต่ต้องมีทีมเวอร์กช่วย เราไม่ต้องสร้างใหม่ตลอดเวลา แต่สร้างจากสิ่งที่มีให้งอกงามได้ตลอดเวลา

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การพัฒนาทุนมนุษย์ของประเทศไทย มีพ่อแม่ ครอบครัว ศาสนา โภชนาการ และสื่อ ซึ่งถ้าสื่อทำร้ายสังคมก็ไม่ดี เพราะสื่อจะมีอิทธิพล

กลุ่มที่ 2

Chapter 2

E-bay เปรียบเหมือนฉลามในมหาสมุทร และ Alibaba เปรียบเสมือนจระเข้ในแม่น้ำแยงซี แต่ก่อนไม่เคยเห็นแจ็คมาร์ เห็นหน้าแล้วไม่ชอบ แต่พอศึกษามากขึ้น จึงรู้สึกว่าคนนี้ไม่ธรรมดา เป็นลักษณะการช่วยคนต่าง ๆ อย่างแท้จริง ต่างกับคนที่รู้จัก

อย่างชื่อมหาวิทยาลัย ถ้าศึกษาจริงอาจมองข้ามชื่อมหาวิทยาลัยได้

เริ่มต้นจากการหาข้อมูล Alibaba คืออะไร หาในเว็บไซต์ เป็นลักษณะการชนะเล็ก ๆ ชนะเรื่อย ๆ จนเป็นลักษณะก้าวกระโดด เริ่มต้นด้วยกลุ่มเพื่อนของเขา ในปีค.ศ.1999 ตอนนั้นแจ็คมาร์ไม่มีอะไรจนกระทั่ง 14 ปีถัดมากลายเป็นผู้ชายที่รวยที่สุดในจีนไปแล้ว

ที่ชอบมากคือในปี ค.ศ. 2003 ตอนนั้นเกิดโรคระบาดซาร์ เป็นผู้นำในการเชิญชวนทุกคนออกมาทำงาน จนกระทั่งปี 2014 Alibaba ได้เป็นที่รู้จักทั่วไป

ในบทที่ 2 เป็นเรื่อง Efficiency and Ecosystem เป็นระบบประสิทธิภาพและระบบนิเวศของ Alibaba

ที่มาของ Alibaba

เป็นคำพูดที่ทุกคนเข้าใจและง่าย ให้ไปหาโพสต์ว่าหมายถึงอะไร

Alibaba Value

  • Customer First
  • Commitment

2.Teamwork

3.Embrace Change

4.Integrity

5.Passion

E-commerce ของ Alibaba มี เต่าเบ๋า.com

Ali express เป็นสินค้าของแบรนด์เนม

Ali pay เป็นช่องทางการจ่ายเงิน

Alibaba E-commerce Ecosystem

มีเสมือนสายน้ำ มีแหล่งน้ำ มีหญ้า สายน้ำของเขาเหมือน Alibay และมี Green Gas

มีชนเผ่าของเขาโดยตรง

มี Small and Eco Enterprise

มีองค์กรอิสระ

Alibaba Efficiency

Alibabaสามารถตี E-bay ได้ด้วยยุทธศาสตร์ของเขา คือ เข้าใจวัฒนธรรมคนจีนมากที่สุด ใน Alibaba สามารถสร้างความเชื่อมั่นเรื่องการจ่ายเงินได้

E-bay ทำทุกอย่างเพื่อไม่ให้ผู้ซื้อ ผู้ขายเจอกัน แต่ Alibaba พยายามให้ผู้ซื้อผู้ขายเจอกันจะได้เอาชนะลูกค้าได้

Alibaba พยายามขยายช๊อบทางธุรกิจแต่ E-bay ช๊อบทุกอย่าง

Alibaba มีความยืดหยุ่นต่อธุรกิจ

ดร.จีระ หงส์ดารมภ์

เสนอให้เอา Ecosystem มาใช้ในงานของเรา ในทุกบริษัทคิดเรื่ององค์กร เรื่องคน อย่างเรื่อง Ecosystem เอาสิ่งแวดล้อม มนุษย์ ความสมดุล การมีชีวิต และเป็นอยู่ร่วมกัน

Pay per performance เป็นการจ่ายเงินให้พนักงาน ถ้าพนักงานคนไหนเก่งเราก็จ่ายให้คนนั้นมากขึ้น เป็นการจ่ายเงินตามมูลค่าของงาน

เราต้องรู้ว่าธุรกิจประสบความสำเร็จได้อย่างไร และรูสึกดีที่ Alibaba เป็นระบบนิเวศ สัตว์ป่าและคนต้องสามารถอยู่ด้วยกันได้

กลุ่มที่ 3

Chapter 3

ทำไม Alibaba อยู่ เติบโตและรุ่งเรืองต่อไป

Alibaba เลี้ยงคนอย่างไร ให้มองธุรกิจโดยรอบ มุมมองของการผลิตบัณฑิตม.ทักษิณ เทียบกับ Alibaba way

  • การดูแลคนของ Alibaba คือเลี้ยงคนด้วยหัวใจ ด้วยความหวัง ด้วยความศรัทธา เป็นลักษณะการสอนให้คนตกปลาได้ สิ่งแรกที่ Alibaba ทำคือความหวัง สร้าง Sense ขึ้นมาต่างจากที่คนอื่นสร้าง เป็นมากกว่าความเป็นเจ้าขององค์กร คุณจะเป็นเจ้าของธุรกิจของคุณเอง แต่ละบริษัทจะยืนด้วยตนเอง แต่ก็สามารถพึ่งพาซึ่งกันและกัน
  • การสร้างความศรัทธา Alibaba ประกาศว่าเราจะแข่งกับ City Valley เป็นลักษณะการประกาศว่าเราจะไปตรงนั้น และจะยืนนิ่งตรงนั้น ไม่เปลี่ยนนโยบายและบทบาทบ่อยจะทำให้ Alibabaไปสู่คุณภาพที่ชัดเจน และสู่เป้าหมายได้ง่ายขึ้น
  • Alibaba เลี้ยงคนด้วยใจ พัฒนาและสร้างความรู้สึกที่ดี แต่สิ่งที่ทำคือ Alibaba จะไม่ใช้การตรวจสอบ แต่จะใช้ประเมินผลแบบว่าลูกค้าว่าอย่างไร แล้วเราสามารถดำเนินธุรกิจได้หรือไม่ ไม่ทำให้คนรู้สึกด้อยค่าในองค์กร
  • Alibaba ใช้เต๋าเป่า ช่วยในการพัฒนาคนให้มีสมรรถนะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จาก Glass root ได้มีการพัฒนาคนให้เก่งขึ้นเรื่อย ๆ
  • มี B2B และ B2C และ E2E ประเด็นเหล่านี้จะหยิบยกคนให้ดูแลนิสิต ใช้สมรรถนะเป็นตัวผลักดันให้เกิด
  • Long tail effect การผลิตบัณฑิต คณะต่าง ๆ จะแบ่งสัดส่วนคือ Hit กับ Non-Hit อย่างไร และถ้าสาขาไหน Hit จะลงทุนระยะยาวหรือไม่ ต้องมีการทบทวนอีกครั้งต่อไปว่าอันไหนจะให้เป็น Hit และ Non Hit อาจให้มีการคิดใหม่ทำใหม่บางเรื่อง และดำรงสิ่งที่ดีอยู่แล้ว
  • การเอื้อประโยชน์ต่อกัน อย่าให้เกิด Mathew Effect จะเกิดความน้อยใจและกระทบการบริหารของคน สิ่งที่จะแก้ได้คือการบริหารความแตกแยก ดังนั้นสิ่งสำคัญคือการดูแลคนทุกคณะให้อยู่ร่วมกันได้ คนผอมให้อิ่ม คนอ้วนให้อาหารเสริม
  • คิดแบบ 80 : 20 Rule อย่ามองแค่ Simple เรื่อย ๆ
  • การเลือกลงทุนที่เหมาะสมในมหาวิทยาลัยแห่งนี้จึงมีความจำเป็น
  • ในสถานการณ์ที่แข่งขัน เราควรจะเลือกเป็นเรือ เมื่อน้ำสูงขึ้น ทำให้เรือล่มหรือเรือสูง ดังนั้นเราจะพามหาวิทยาลัยไปล่มหรือสูญ เราจะใช้ KPI อย่างไรให้เกิดความสมดุลในมหาวิทยาลัยให้คนรู้สึกทรงเกียรติทั้งหมด แต่ไม่ใช่ Lacking of control
  • ถ้ามี KPI ให้กับ ม.ทักษิณ KPI Driven จึงเป็นส่วนสำคัญในการทำต่อหรือไม่

ประเด็นที่ทำให้กระตุกคิดคือทิศทางการผลิตบัณฑิต Alibaba ไม่ได้สำเร็จด้วยความบังเอิญ ในตอนที่ประกาศว่าจะสู้กับ City Valley มีการขยายธุรกิจเร็วเกินไปทำให้เงินไม่พอ แต่ตอนหลัง Alibaba กลับมาที่แนวคิด Simple

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

กล่าวถึง KPI ที่สำคัญที่สุดในม.ทักษิณ ต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดการจับผิด โดยเป้าหมายการพัฒนาศัยกภาพไปสู่เป้าหมายอย่างนั้น แต่สุดท้ายอยู่ที่เป้าหมายขององค์กร คุณภาพของบัณฑิต ขึ้นกับอาจารย์ ผู้สนับสนุน มูลค่าในการทำงาน และการตอบแทน

กลุ่มที่ 4

Chapter 7

เป็นหนังสือที่มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เล่าสู่กันฟังว่าสิ่งที่ทำนี้มีกระบวนการอย่างไร

เข้าไปจะเห็นบรรยากาศที่ซื้อหรือช้อปปิ้งออนไลน์เป็นประโยชน์จากการซื้อขายสินค้าตนเอง ไม่ได้เป็นผู้ผลิตสินค้า แต่เป็นการรวมกันของเจ้าของผลิตมาไว้ เป็นลักษณะร้านออนไลน์ที่รวมสิ่งของไว้ขายหลายอย่าง คล้ายกับ E-bay , Amazon

ฐานะของ Alibaba เมื่อเปรียบเทียบกับร้านออนไลน์อย่าง Matrix หรือ Amazon และถัดมาเป็น Alibaba ในขณะนั้น ทำรายได้ 249.1 แต่ E-bay 31.1

ภาพลักษณ์ Alibaba นำเสนอธุรกิจในจีนที่ใหญ่ที่สุด ทำให้ธุรกิจโลกออนไลน์สั่นสะเทือน โดยเฉพาะอเมริกา รัศมีจะอ่อนด้อยลง

เชิญแจ็คมาร์ว่าทำอะไรถึงประสบความสำเร็จ เป็นการสร้างงาน เงิน รายได้ให้แก่รากหญ้า Alibaba เป็นเพียงตัวกลางกำลังเป็นตัวเชื่อม

สิ่งที่โดดเด่นคือเอาบริษัทที่เป็นนวัตกรรม

Put DNA in your Brain ต้องไม่กลัวความคิดใหม่ นอกจากสถานะความเป็นเจ้าของ ใครมีอะไรใหม่ ๆ ทุกคนต้องรีบแสดงออก เป็นวิธีการ และผลผลิตเข้าด้วยกัน เป็นการเอาผลประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่

ในเชิงปรัชญาการเปรียบเทียบ TSU กับ Alibaba เปรียบเทียบไม่ได้ คือ Alibaba เป็นเอกชน มีกำไร แต่ TSU เป็น Academic ในรัฐ

เราต้องเปลี่ยนความคิดใหม่ การให้คะแนนโดย Personal Based เราอาจจำไม่ได้แต่เราจำปรัชญาของมหาวิทยาลัยได้ ทุกคนอาจจำไม่ได้ในทุกตัวอักษร เรามีปรัชญา มี Value เราเรียกนิสิตของเราว่าลูกค้า

Hidden Agenda , Hidden Course ในนั้น

Teamwork ต้องมีการยอมรับความจริงในมหาวิทยาลัย ของมหาวิทยาลัยทักษิณเป็น Teamwork ขนมชั้น

Teamwork ในตัวเองเป็นลักษณะการด้อยค่า ไม่ทำให้มหาวิทยาลัยล่มสลาย เมื่อความคิดของเราถูกนำเสนอ อาจเลือกให้อยู่เฉย ๆ เป็นลักษณะขนมชั้นที่แกะออกได้เป็นชิ้น ๆ

สร้างความเปลี่ยนแปลงหรือไม่ จะมองเห็นอนาคตว่าทุกคนคิดแต่นำไปสู่การปฏิบัติจริงหรือไม่ ที่ตั้งจะถูกบล็อกโดยสิ่งที่ไม่มีคน บริบทของเรายังเป็นคนที่กลัวความเปลี่ยนแปลง ไม่ยอมถอยออกมาจากมุมที่สบาย เพราะไม่กล้าที่จะยืนโดดเดี่ยว ไม่กล้าที่จะนำการเปลี่ยนแปลง

เรื่อง Integrity คุณธรรม จริยธรรม เป็นสิ่งที่วัดยาก อยากให้ประเมินตนเองว่าอยู่ในระดับใด

Passion เป็นเรื่องความรักที่จะนำพา ความรู้สึกและศรัทธาในนั้น เพราะไม่ว่าเราจะทำอะไรสำเร็จต้องใช้ความรักและหัวใจอยู่ในนั้น เราต้องดูว่าเราเป็นดินประเภทไหน เช่นดินเมื่อโยนไม้ไปแล้วปวกเปียก ให้เราดูว่าเราเป็นคนประเภทไหนของสังคม คนที่ทำใจรัก ด้วยศรัทธาจะไม่กลัวอุปสรรค

Commitment คนเราต้องมีพันธะสัญญา เป็นสัญญาที่ทำให้เกิดกับตัวเราเองว่าวันนี้จะทำอะไร วันนี้ Favour of Ali หรือ Ali Favour ในหนังสือมีความคิดหลายอย่าง แต่ทางกลุ่มได้เลือกให้มหาวิทยาลัยก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงคือ

  • Virtual Organization คือดึงคนเก่ง ๆ มาจากแต่ละแผนกและให้ทำงานเป็น Project เพราะมีหลายคนอยู่ เก่งและสามารถ ต้องหาให้เจอ
  • Fairy and Flexible Organization System เป็นองค์กรที่ยืดหยุ่น เป็นปรัชญาชีวิตของคนเอเชีย คือคนเอเชียจะรักคน คือให้คนเป็นกลไกสำคัญ เป็นการมอบหมายคนโดยเน้น Task ของแต่ละคน
  • การสื่อสารในเชิงแนวระนาบ เวลาตัดสินใจบางช่วงน่าจะตัดสินใจได้เลย บางช่วงสนับสนุนอยู่แล้ว
  • Idea from bottom up อย่าง Alibaba สำเร็จเพราะฟังคนรากหญ้าว่าเสนออะไร คิดอะไร มีกิจกรรมการสื่อสารเรียกว่า Say what you want หรือ poison of weak มีการเปิดโอกาสให้วิพากษ์และอภิปราย ให้เปิดโอกาสอภิปรายว่าไม่ชอบอะไร มีเวทีในการอภิปราย และปรัชญาของคนเอเชียให้จด Diary และ Journal มีการเขียนว่าวันนี้จะทำอะไรที่จะสำเร็จ ต้องมีการแข่งขัน ไม่ใช่มีการเขียนแบบลมเพลมพัด มีกิจกรรมเปิดโอกาสให้สมาชิกทุกคนแข่งกันว่าใครมีหัวสมองสร้างสิ่งใหม่ให้บริษัทรับรางวัล
  • กฎ 4 ประการ

- Product Innovation สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ เชื่อในการ Rotate 8o

- Paradigm เป็นการหมุนเวียนเปลี่ยนไปตามสถานการณ์

สรุป Alibaba ไม่ได้สำเร็จด้วยแจ็คมาร์อย่างเดียวแต่สำเร็จเพราะทีมเวอร์ก และการคิดอะไรใหม่ ๆ ในองค์กร

กลุ่มที่ 5

Chapter 8

เป็นเรื่องของ Grass roots และพยายามสรุปเป็นแผนภาพเพื่อดูกรอบแนวคิดของ Alibaba มีส่วนการทำวิจัย ในรูปแบบดำเนินธุรกิจของ Teamwork มีรูปแบบการจ้างงาน หรือสร้างงานที่ต่างจากยุโรป ผลจาการวิจัยเน้นการจ้างในลักษณะ Grassroot

การจ้าง E-commerce เป็นลักษณะ 1.SMEs เล็ก ๆ ดำเนินกิจการเอง 2.การทำงานกระจายกันไป 3.ใช้ E-commerce หารายได้ร่วมกันอย่างอื่น 4.การสร้างเครือข่ายร่วมกันทำงาน ดังนั้นการจ้างหรือการ Approach ใช้ E-commerce จะสร้างInnovative Approach เป็นการทำงานลักษณะรากหญ้า และสร้าง Innovative ธุรกิจต่าง ๆ พยายามสร้างเพื่อให้เกิดการสร้างงาน ตามลักษณะ Individual nature เพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้หรือทำธุรกิจนี้โดยตรง ให้มีการทำงานที่เป็นลักษณะ Online เป็นหลัก ให้มีการทำงานแบบ Any time , Any way , Any place มีการบริหารเวลา การสร้าง Platform เพื่อ Serve หรือ Support สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ สร้างแรงกระตุ้นเพื่อช่วยส่งเสริมการทำงานเช่น Free of chance มองจากคนที่ไม่มีพื้นฐาน ต้องการช่วยส่งเสริม ฝึกคน สอนให้คนจับปลาได้ แต่สิ่งที่สำคัญคือ ในตัวระบบของ Alibaba จะต้องมีส่วนที่เป็น Chain Service เป็นการยอมรับเรื่องการจ่ายเงิน มีการสนับสนุนทางด้านการเงินเพื่อช่วยให้ทำธุรกิจได้

ธุรกิจเต่าเป๋า เน้นลักษณะธุรกิจ C2C คือลูกค้าสามารถเสนอขายกันได้

ในภาพรวมแล้ว Alibaba จะดูภาพรวมการทำงานในตลาดการจ้างงาน พัฒนาระบบ และสร้างองค์กรให้ผู้ประกอบธุรกิจดำเนินธุรกิจช่วยตนเองได้อย่างดี

จากการประกอบธุรกิจด้วยตนเองจะทำให้รู้สึกดีขึ้น และพบว่า Impact เป็นการตอบโจทย์สามารถสร้างงานในจำนวนมหาศาลได้ สามารถกระจายโอกาสได้อย่างเท่าเทียมกัน ทุกคนสามารถสร้างธุรกิจเองได้ ภายใต้การจ้างงานและ Opportunities ต่าง ๆ และมีส่วนของการสนับสนุนเรื่อง Training และ Financing เป้าหมายคือต้องการขยายในเรื่อง Employment ประเทศจีนจะมีการพัฒนาและโตอย่างรวดเร็ว มีตัวเลขที่ชี้ชัดเรื่องการจ้างงานทั้งโดยตรงและโดยอ้อม มีเรื่องการซื้อขายต่าง ๆ เป็น Exponential Future คือการเติบโตแบบพุ่งไป

การพัฒนาระบบต่าง ๆ ตามโมเดลที่วางไว้ มีระดับขั้นตอนหรือโมเดลที่วางไว้ มีการโปรโมทให้เกิดการจ้างงานมากขึ้น เน้นตาม Grassroots

ทำการร่วมมือกับรัฐบาลที่เน้นในด้าน HR โดยเฉพาะการออกนโยบายต่าง ๆ เพื่อเอื้อต่อ Platform ของ Alibaba

การพัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์มาตรฐานสิ่งต่าง ๆ

กรจัดความร่วมมือ HR กับ Social Responsibility เพื่อให้เกื้อหนุนต่อการทำงาน Grassroots

การสร้างแรงจูงใจในการทำงานต่อไป

ในระดับ Global สังคมนิยม Socialism รูปแบบวิธีการคิดกลับด้านกัน อย่าง Amazon มีธุรกิจเข้าร่วม มีธุรกิจทั่วโลกที่เข้ามาเป็นฐานของ Amazon เป็นบริษัทที่มีความแข็งแกร่ง แต่ของจีนคิดในเรื่องหาโอกาสให้คนในจีน มีอินเทอร์เน็ต มีความสามารถในการขายของ จึงคิดการสร้าง Internet Approach ให้แข็งแกร่งและเปิดโอกาสให้ Grassroots กลุ่มใหญ่เข้าร่วมในธุรกิจนี้ เป็นลักษณะ Small Business เป็นคนมีประสบการณ์น้อย รวมกับความร่วมมือของภาครัฐจัดให้มีการร่วมมือด้านต่าง ๆ ให้มีการสอน ให้คนเข้ามาร่วมงานได้ ทำให้เกิดการขยายตัวของธุรกิจรากหญ้า ผลจะเกิดความเท่าเทียม โดยใช้ IT เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ ต้องสร้าง Employment market สร้างความสุข โดยใช้ความสามารถตนเอง

การเปรียบเทียบกับประเทศไทย ในด้าน OTOP ทำไม่มีบาง OTOP ที่ประสบความสำเร็จ ส่วนที่ไปไม่ถึงฝันเพราะคิดแยกส่วน ไม่ได้คิดครบวงจร แต่ของ แจ็กมาร์มีการวาง Platformไว้

Digital Economy ยังมีความแตกต่างกัน มีความเห็นว่าประเทศไทยน่าจะมีการถอดแบบ Alibaba และสร้างให้เข้มแข็ง ผลักดันให้ธุรกิจรากหญ้าประสบความสำเร็จ ส่วนในระดับม.ทักษิณ นักลงทุนเปรียบเหมือนบัณฑิตที่ผลิตออกไป ได้มีการศึกษาว่าอะไรที่ตลาดต้องการ ในความเห็นส่วนตัว บัณฑิตที่ผลิตออกไปน่าจะอยู่ใน 4 กลุ่มนี้

การส่งเสริมโอกาสให้รากหญ้าหรือคนภายนอกได้มีโอกาสมากขึ้น ซึ่งตามแผนของ ม.ทักษิณก็มีการเปิดโอกาสให้เรียนในคอร์สสั้น ๆ แล้วไปพัฒนาธุรกิจ พยายามทำ Open Online Course เป็นความร่วมมือ

สามารถมองหา Business Opportunities ต่าง ๆ เช่นการทำ Solution Provider มีการเปิดอบรม คอร์สส่งเสริม และขยายความร่วมมือกับหน่วยงานทำให้ม.ทักษิณมีโอกาสเติบโตได้

ร่วมแสดงความคิดเห็น

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวว่า ม.ทักษิณ ถ้าเอาชุมชนมาทำแบบ Smart Realistic จะดีมากเลย อยากให้จบแล้วทำไม่เรียนอย่างเดียว

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์ คือ Push people before strategy มีค่านิยมของ ม.ทักษิณ ซึ่งค่านิยมสะท้อนถึงแบรนด์ ได้กลับมาที่ค่านิยมจำนวนมาก มีการทำแผนแล้วเอาไปใช้แต่สิ่งหนึ่งที่แจ็คมาร์สะท้อนคือมี Passion และ wining spirit ในตัวของเขา ตรง Culture สร้าง Trust และเกิด Alibaba way

การนำ People แล้วไปปรับ Behavior และอีกเรื่องที่ทำคือการให้ Knowledge and Skill แต่ถ้ามีคนเก่งแต่ไม่สร้าง System ที่ดี คนจะหมดศรัทธาในองค์กร ดังนั้นองค์ประกอบที่สำคัญ ภายใต้ความสำเร็จจะมีความล้มเหลว

1.ผู้นำแบบแจ็คมาร์เข้าสู่ผู้นำแบบใหม่คือ Collaborative Leadership คือผู้นำที่ดึงศักยภาพคนมาใช้ให้มากที่สุดโดยผ่านกระบวนการ เป็นเรื่องที่ถามกับทุกองค์กรคือ How to ? ที่ทำไป Serve Why ทำไม

2. การมอง Resource ให้รัฐบาลเห็นความสำคัญคือ Social Responsibility ให้เห็นว่าทุกอย่างทำได้คือ Winning Spirit

สิ่งที่แจ็คมาร์ มีเช่น Winning Inspiration , how to play , ความสามารถแบบใด และมี Management System

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ กล่าวว่าแต่ละกลุ่มได้ใช้ความรู้ความสามารถในการนำเสนอ Alibaba มีต้นกำเนิดที่ร้านกาแฟ อยากให้ดูวิธีการเรียนรู้แบบ 4L’s คือมีกระบวนการเรียนรู้ที่ดี สรุปคือการมีแนวความคิดที่ดี ถ้าไม่รดน้ำ ไม่พรวนดิน ไม่เก็บแมลง แต่เห็นกระบวนการ

ตัวอย่าง Alibaba มี Innovation เกิดต้องเอา DNA ใส่ในยุคนี้ อย่างอาจารย์จีระเคยบอกว่า Agro จะมาแรงมาก ซึ่ง ม.ทักษิณควรมีสิ่งนี้อยู่

Alibaba ใช้เวลา 14 ปี ในช่วงนั้นมี Process คือซาร์ เปิดโอกาสธุรกิจ เพราะคนไม่เดินทางก็เกิดช่องธุรกิจ เกิด Position Innovation เริ่มสู้ในชัยภูมิที่รู้จักดี แต่ไปทำในชัยภูมิที่ไม่คุ้นเคย เลยทำให้ผิดพลาด จึงมาสู่การปรับตัวคือ Simple and Strong forward ย้อนกลับมาสู่จระเข้น้ำจืดแต่พร้อมออกสู่น้ำกร่อย

ต้องมี Pioneer ต้องมี Connector มี Equalizer ดูว่าอะไรเดินได้อะไรเดินไม่ได้ เป็นความกังวลของความคิดที่ดี หลังจากดู Process แล้วก็มาดู Paradigm คือมีใจ มีความหวัง ศรัทธา และที่สำคัญต้องมีนสมรรถนะ ถ้าไม่มีก็ไปไม่ได้ สอดคล้องกับทฤษฎี 3 วงกลมของอาจารย์จีระ คือ องค์กร สมรรถนะ และแรงจูงใจ


วิชาที่ 15 CEO-HR-Non HR-Stakeholders for 3V’s

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

ดร.เกริกเกียรติ ศรีเสริมโภค

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ทำอย่างไร เพื่ออะไรจะมีอุปสรรคอย่างไร และเพื่อไปสู่ความสำเร็จยังไม่ได้ศึกษา เป็นการเอาทุนมนุษย์ไปสู่ความสำเร็จ

CEO อาจหมายถึงอธิการบดีและคณบดีด้วย Non-HR อาจไม่เกี่ยวข้องกับ HR โดยตรง บางทีฝ่าย HR อิทธิพลไม่พอ อยากให้ CEO – HR – Non HR ทำงานร่วมกัน รวมถึงคู่ค้า และผู้ผลิตก็อาจมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย บางครั้งเราข้ามอุปสรรคไป ไม่ได้ Aware

ดร.เกริกเกียรติ ศรีเสริมโภค

ด้านที่เกี่ยวข้องคือให้การ Consult HR หลายองค์กร ซึ่งหัวข้อนี้อาจเป็นหัวข้อเสริมให้ได้เห็นภาพ ว่า CEO-HR-Non HR-Stakeholders มีความสำคัญอย่างไร

คิดอย่างไรกับ ภาพว่า กูเกิ้ลกร้าว ไอไม่แคร์ใบปริญญาของกู

ผู้บริหารให้ความสำคัญ

1.จบมหาวิทยาลัยเกรดดีจะมี Ego มากเกินไป

2.คนที่สร้างผลงานตั้งแต่เรียนไม่จบ เป็นการแสดงถึงคนนั้นมีค่า

  • ความสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงเร็ว มีความสำคัญมากกว่า IQ เราต้องการคนที่ยืดหยุ่นในการทำงาน

ทฤษฎีเก่า Put the right man into the right job

ทฤษฎีใหม่ Put the wrong man into the wrong job เป็นการทำงานที่ดู Skill

ประเด็นหลัก

1.ความท้าทายในการพัฒนาคน

2. มีกลยุทธ์แบบใด

3. ทำอย่างไรให้องค์กรประสบความสำเร็จ

ตัวอย่างที่ 1 เราต้องการให้บริษัทเติบโตอย่างรวดเร็ว เราจะทำอย่างไร

สังคมยุค Digital ต้องควบคุม Outsource วิธีคิดเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไป

ปัจจัยในการขับเคลื่อนธุรกิจ

1. Faster

2. Better

3. Cheaper

ความรู้เป็นกลไกสำคัญในศตวรรษที่ 26

ถ้าเราต้องการเอายางพาราที่อยู่ในภาคใต้มาทำเครื่องสำอาง ถ้าเราเอายางพารามาทำธุรกิจการแพทย์จะสูงกว่ารถยนต์ เราสามารถซื้อยางพาราที่มีคุณภาพในการทำงานไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 500 บาท จึงมีการรวบรวม

การ Impact ในการพัฒนาคน

  • Innovation

2.การเชื่อมโยงคน

3.Competency of Growth องค์กรที่มีความยั่งยืน การเปลี่ยนแปลง Life Style ของคน

หลักสูตรที่ผลิต มีธุรกิจชุมชนสังคม ที่ทำให้ทันสมัยมาก ๆ

Starting Point เป็นหัวใจสำคัญคือ Business Model

ถ้าองค์กรไม่รู้ว่า Business Model คืออะไร จะทำธุรกิจไม่ได้ เป็นตัวกำหนดทิศทางการเจริญเติบโต เริ่มตั้งแต่เป็นตัว ODM คือการรับจ้างผลิต เราเลยพัฒนาเป็น

  • ODM คือ Development and Science

การ Transform จาก ODM เข้าสู่ Global Supply Chain ต้องมีพนักงานที่มีศักยภาพสูงมากในการทำงาน

ในธุรกิจเครื่องสำอางจะมีข้อกำหนดในกลุ่มธุรกิจเครื่องสำอางคือจะมีการเข้ามา Audit ผสม กวน กรอก มีเพียงพอต่อการ Deliver ตรงตามเวลา และมีคุณภาพหรือไม่

ทุกคนต้องให้ความสำคัญในเรื่องการสื่อสารโดยใช้หลัก 3 ,4,5

กลยุทธ์ในการพัฒนาคนในยุคดิจิตอล

ต้องดูก่อนว่าอะไรคือHuman Value และ Business Value ที่สำคัญ เช่น องค์ความรู้ เรื่อง R&I ยิ่งมีตัวนี้เยอะมากเท่าไหร่จะทำให้การขายสู่ลูกค้าได้เร็ว ต้องอาศัยความสามารถของคนในการทำ

1.Business Value เป็นตัวตั้ง

Value แบ่งเป็น Value Added, Value Creation, Value Diversity คนจะแข่งขันได้ต้องสร้างไปสู่มูลค่าที่หลากหลายและตอบโจทย์ลูกค้าได้มากที่สุดเป็น Flagmentation เช่นถ้ารับได้วันละ 100 ชิ้นได้ ต่อไปก็จะทำได้

Business and HR Grid

ดูที่ ศักยภาพของคน และศักยภาพของธุรกิจ

2 = กินบุญเก่า

3=ความยั่งยืน

1= กลับบ้านเก่า

4 = ???

ศักยภาพของคน

ศักยภาพของธุรกิจ

เราต้องใช้องค์ความรู้สร้าง Value Added แล้วส่งเข้าภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม

การพัฒนาคน สู่องค์การ

เราต้องการให้คนรู้จักว่าลูกค้าคือใคร และ HR ช่วยอะไร

ในการคัดคนเข้ามาทำงานอาจแบ่งประเภทคนเป็น 3 ประเภท โดยการหาข้อมูลจากลูกค้าแล้วแยกกันไปทำงาน

คุณค่าของคนมาจากคุณค่าทางธุรกิจหรือ Set Value

เช่นต้องการให้นักศึกษาทุกคนมีงานทำหมดเลย วิธีคิดคือจ้างหรือมีอาชีพของตนเองมีงานทำหมด

การพัฒนาศักยภาพคน

  • คิดแตกต่างคนอื่นหรือไม่
  • ทำได้หลากหลายหรือไม่
  • มีความยืดหยุ่นหรือไม่

กรณีศึกษาที่ 3 คือ HR Transformation เปลี่ยนจาก Service Provider เป็น Strategic Partner

ต้องให้ความคิดเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้นำเปลี่ยน การปรับเปลี่ยนบทบาทการพัฒนาคนแบ่งเป็น 3 ลูก คลื่นลูกที่ 1 HR ทำ คลื่นที่ 2 Line Manager ทำ คลื่นที่ 3 พนักงานทำ

Employee พนักงานต้องวางแผนพัฒนาตนเองมากขึ้น ให้คิดว่าตัวเองมีศักยภาพอะไรและจะพัฒนาอะไร

วิธีการบริหารให้ประสบความสำเร็จ มอง 360 องศา

1. สังคม เรื่องการบริหารคน ไม่ใช่เรื่องฝ่ายบุคคล Line Manager แต่ต้องมองไปถึงสังคม

2. ลูกค้า

3. ผู้ถือหุ้น

4.ผู้บริหาร

5.พนักงาน

กระบวนการ

Employee Development Portfolio

เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าวิธีการอบรมสำเร็จ

  • Reaction

2.Learning

3.Apply – ให้เริ่มจากการคิดบวกก่อนแล้ว Apply จะสามารถเกิดได้

4.Performance – การเกิดขึ้นจริง

5.ROI – ลงทุนไปเท่าไหร่ได้ผลตอบแทนเท่าไหร่

จุดเริ่มต้นต้องเปลี่ยนที่ตัวเองก่อน ตัวอย่างเอาน้ำจากพื้นราบไปสู่ที่สูงโดยไม่ใช้พลังงานไฟฟ้าเลยจะทำอย่างไร

ทำอย่างไรกับการฝึกอบรม ตัวอย่างเช่นถมดินให้ได้ 9 Layer พอ

วิธีการพัฒนาคน

  • Classroom
  • Self Learning

Teach less learn more

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

กล่าวว่าสิ่งนี้เป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่ทำอยู่

ชนะความท้าทายด้วยกลยุทธ์บริหาร “คน”

โดย ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังค์

เรื่อง Critical Thinking จำเป็นต้องใส่ให้เยอะ ๆ ต้องผลิตบัณฑิตให้คิดเป็น มีหลายคนบอกว่าจะทำอย่างไรที่กลัวเด็กเข้ามาใหม่แล้วถูกกลืน

ไอน์สไตล์บอกว่าโลกจะถูกทำลายด้วยคนที่เห็นว่าจะทำอะไรแล้วไม่ทำอะไรเลย มองว่าธุระไม่ใช่

การมองต้องเข้าใจ People Management คือการบริหารคนที่อยู่ในยุค Diversity ทำอย่างไรให้นำความแตกต่างมารวมใน 1 เดียว เพราะทุกคนต้องปรับตัว

Why we exist ?

เรามี Vision , Mission , Business Strategy เราต้องมาดู What we need to do ? เราเปลี่ยนอะไรมากมาย อยากทำอะไรใหม่ ๆ ทำไม่ได้ ถ้ามองในแง่ HR เราต้องมีวิธีในการสัมภาษณ์ ต้องเป็น Behavior Base Interview

ต้องเปลี่ยน Structure System หรือ Process

ตัวที่เป็น KPI ต้องเปลี่ยน Mentality ของเด็กรุ่นใหม่ ว่าไม่ได้ทำเพื่อคะแนนแต่ต้องออกมาจากความสามารถ

สิ่งที่ไม่นำมาประเมินคือ Core Competency แต่นำ Value มาประเมิน เพราะ Value สะท้อน Branding สำนักงานเปลี่ยนจาก Core competency เป็น Core Value

Competency คือตัวสร้างความต่าง

System ดี Process ดีแต่ไม่ทำ ดังนั้นจะขับเคลื่อนได้

  • การสร้างมูลค่าเพิ่มได้ต้องมีบุคลากรที่มีความสามารถ
  • การสร้างคุณค่าใหม่ต้องสร้างจากความหลากหลาย

ผู้นำ คนที่ทำงานในสาย HR ต้องสามารถเป็น Strategic Partner ต้องสามารถบอกสถานการณ์ผู้บริหารได้ว่าเป็นอย่างไร

บทบาทของผู้นำ

  • Strategic Partner
  • Change Agent
  • Employee Champion
  • Admin Expert

HR หมายถึงหัวหน้าทุกคนที่จะทำ Strategic Partner การทำ IDP อยู่ที่ใคร การค้นหา Successor ใครคือคนทำ สรุปคือเราต้องมี Strategic เรื่องของคน และกล้าที่จะเปลี่ยน ต้องมี Courage กล้าคิดที่จะเปลี่ยน

KPI เป็นส่วนหนึ่งของระบบ Performance Management

ถ้าเรามองระบบ PMS คือเราตั้งเป้าหมาย เท่าที่เจอ Corporate Strategy ไม่ชัด ดังนั้นภาคแรกของ Strategic Plan ต้องชัด

การประเมินควรวัดที่ Result ไม่ใช่ Process

Open Communication

ความสำเร็จของระบบนี้คือการพัฒนาคนของเราให้เป็น ให้มีทั้ง Knowledge and Skill เวลาตั้งเป้าหมาย ต่างคนต่างทำ

ความท้าทายถ้าในแง่การวิจัยคือ Crisis ทำอะไรต้องสอนให้ Manage Conflict ให้ได้ แต่ทุกคนมีอัตตาสูงอยู่ ทำอย่างไรที่จะดูเรื่อง Stakeholder Management

โลกาภิวัตน์ กับการปรับตัว

Globalization เป็นกระแสทั่วโลก

คนไทยต้องเร่งพัฒนาเร่งปรับเปลี่ยน

VUCA World

เราอยู่บนโลกความเปลี่ยนแปลงเร็ว ไม่แน่นอน ซับซ้อน ความชัดเจนไม่มี

Volatility ความรุนแรงของสภาพแวดล้อมภายนอก

Uncertainty ความไม่แน่นอน

Complexity ความสลับซับซ้อน

Ambiguity ความกำกวม

A culture of purpose ต้องมีผู้นำที่สามารถ Adapt ตัวเองได้ ต้องมีความยืดหยุ่นและต้องเข้าใจคนได้มากขึ้น สิ่งที่สำคัญคือ ต้องสร้างบทสนทนาได้ ผู้นำที่ดีต้องมี Dynamic Conversation จึงเข้าสู่คนได้

แนวโน้มเรื่องการบริหารทรัพยากรบุคคล

- การพัฒนาผู้นำเป็น Process ไม่ใช่ Learning แค่ 2-3วัน

- IT ใช้เทคโนโลยีมากขึ้น

- มีวัฒนธรรมในการทำงาน

- ทำการวิจัยมากขึ้น

- มอง HR เป็น HR Marketing เพราะ Marketing เหมือน Research ไม่ได้ยัดเยียด สังเกตว่าบริษัทใดทำ Marketing แล้วคนติด Product สรุปคือ HR ต้องทำงานวิจัย และงานที่ออกมาต้อง Simplify ไม่ต้องดูแล้วขลัง

- การสื่อสาร สื่ออย่างไรคนไม่เข้าใจเพราะไม่รู้ว่าเราสื่ออย่างไร

มุมมองการทำงานของคนในองค์กรไม่ใช่เรียนรู้เพื่อต้องการเรียนรู้ แต่ต้องเรียนรู้เพื่อการยอมรับ ดังนั้นเรื่อง Leaning Development สำคัญ หมายถึงเปลี่ยนเป็น ให้ Case Study มากขึ้น ช่วยให้เราเรียนรู้มากขึ้น Thinking มากขึ้น มี Logical Thinking มากขึ้น อยากให้เริ่ม Logical Thinking ก่อน Strategic Thinking

เวลาทำ Business Plan ต้องมองความสมดุล ธุรกิจ องค์กร

การสร้างคุณค่าองค์กร

  • Create
  • Trust

2.Value

This is your world or someone else will

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ก่อนอื่นต้องจับประเด็นให้ได้ก่อนว่าเพื่ออะไร ในยุทธศาสตร์เรื่องคน ท่านคณบดี ผู้บริหารเป็นนักวิชาการไม่ได้เน้นการจัดการคนให้ไปสู่ความสำเร็จได้ เวลามองเรื่องคนมองเรื่อง Realistic

ที่ดร.จีระ คิดเรื่องนี้เป็นเพราะว่าเวลาพูดเรื่องคน เก็บเกี่ยว Motivation Respect Dignity ให้เอาตัวละคร 3 ตัวในบริบทของมหาวิทยาลัย มีตัวอย่างความสำเร็จบ้าง จึงอยากนำเสนอในการทำ Workshop ต่อไปนี้หมายถึงในมหาวิทยาลัยทักษิณ

หลักสูตรนี้เป็นตัวอย่างของ CEO ที่มีความสามารถ อย่างคณะแพทยศาสตร์ สงขลานครินทร์ ก็มีคณบดีเป็นผู้นำ

ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ผู้บริหารเริ่มบ้างแล้ว ประเด็นจึงอยู่ที่ทุกคน ซึ่งถ้าไม่เข้าใจเรื่องคนจะเป็นอุปสรรค และในช่วงหลังจึงไปบวกกับ Stakeholder

มีข้อสังเกตว่าตัวละครทุกกลุ่มต้องมีปรัชญาร่วมกัน HR คือ Philosophy ต้องมี Share Value about Important Resource ดังนั้นให้ยกระดับความเข้าใจเรื่องคน ใช้ทรัพยากรธรรมชาติขยายที่ดิน ป่าไม้

แรงงานไร้ฝีมือต้องเข้าใจเขาเพราะว่าเขายากจน

ทุนมนุษย์หรือทรัพยากรมนุษย์ถ้าทำด้วยตัวเองจะไม่สำเร็จ ดังนั้นการมองเรื่องคน ต้องIdeation มองเรื่อง Vision Mission และ Strategy ด้วย ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องเสริมด้วย CEO Owner Stakeholder ด้วย

เราได้ไปเพราะขาด Action Plan

เราอย่าคิดว่า Non- HR ไม่สำคัญ

ระบบ HR คือ System Thinking ก่อน

ดังนั้นการพัฒนาคนต้องต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง

HR ต้องมีท่าทีในการให้เกียรติคนอื่น ๆ ด้วย ดังนั้นการพบกันแล้วจะเป็นความสำเร็จเล็ก ๆ

ดร.จีระ มีข้อสังเกต 3-4 ข้อ ดังต่อไปนี้ ที่จะทำให้งานของ HR ของตัวละครเหล่านี้ทำงานร่วมกัน ได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างสูงสุด

  • สิ่งแรกที่ตัวละครทุกกลุ่มจะต้องมีร่วมกัน คือ ปรัชญาและความเชื่อเสียก่อนว่า คน คือ ทรัพยากรที่มีค่าที่สุดขององค์กร
  • ทุนมนุษย์ หรือ ทรัพยากรมนุษย์โดยตัวของมันเองไม่สำเร็จจะต้องโยงไปกับเป้าหมายขององค์กร

ในกรณีของ TSU ดร.จีระ คิดว่าน่าจะเริ่มจาก..

  • Ideation เราเกิดมาเป็นมหาวิทยาลัยทักษิณเพื่ออะไร?
  • Vision เป้าหมายและปรับเป็น Goals
  • Mission ภารกิจสำคัญ คือ อะไร?
  • สุดท้าย Strategy , HR Strategy เพื่อสอดคล้องกับ Vision หรือ Goal คืออะไร
    • ผู้ที่ทำงาน HR โดยเฉพาะในภาครัฐต้องมีบทบาทที่สำคัญ
    • ประเด็นแรกจะต้องเป็นทั้ง Innovator และ Integrators คือ นวัตกรรมและครอบคลุมบูรณาการหลายๆ จุด
    • ต้องบริหารการเปลี่ยนแปลงให้ได้
    • ต้องทำอะไร ทำจริง Credible activists
    • ต้องเป็น Capability builder
    • ทำงานร่วมกับ Non-HR
    • ต้องมองทุกอย่างเป็น Strategic positioning โดยเฉพาะมอง Macroว่าอะไรเกิดขึ้นแล้ว จึงมาจัดการพัฒนาทุนมนุษย์ให้เหมาะสม
    • ต้องมี Technology Proponent

3. หนังสือ Dave Ulrich ได้พูดไว้หลายปีแล้วในหนังสือ HR Champions ว่า New HR ที่ดีต้องเป็น Strategic Partners กับกลุ่มในองค์กร อย่าทำอะไรแบบแยกเป็นส่วนๆ หรือ “Isolation”

หนังสือเรื่องนี้ Ulrich เน้น 2 เรื่อง คือ ประเด็นที่หนึ่ง คือ การจะศึกษาการพัฒนา HRD ระหว่างประเทศ ผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องเข้าใจ Context (บริบท)ของประเทศเหล่านั้น

ในประเทศไทยจะปรับตัวร่วมกับประเทศอื่นๆ ใน ASEAN ผู้เกี่ยวข้อง คือ HR People ต้องรู้เขาพอๆกับรู้เรา เช่น เศรษฐกิจ สังคม การเมืองของประเทศเหล่านั้น ซึ่งการจะทำ HR หรือ HRD ไปสู่ ASEAN ก็คือ จะต้องรู้จริงในประเทศเหล่านั้น และนำมาปรับวิธีการ ฝึกข้าราชการให้ทันกับเหตุการณ์เหล่านั้น

อีกประเด็นที่สำคัญของ Ulrich ต่อทุนมนุษย์ใน ASEAN คือ

4. ประเด็นนี้ก็น่าสนใจ คือ แนวคิด Balance Scorecard .. Non HR ต้องเข้าใจเป้าหมายอื่นๆ Non HR หรือผู้นำต้องเข้าใจ HR ต้อง Balance ให้ได้ ถ้าเอียงไปในด้านใดก็ไม่สำเร็จ ในธุรกิจองค์กรที่คิดเรื่องกำไรก็จะได้ลงทุน อย่างที่ TSU กล้าลงทุนก็เพราะ CEO เอาด้วย และถือธงนำ

ปัญหาขององค์กรส่วนใหญ่ คือ Boss มาจาก Non HR จึงไม่ได้ให้ความสำคัญเรื่องคน แต่คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา สมัยที่ท่านเป็น CEO ที่ปูนซิเมนต์ไทยฯ ท่านมาจาก HR จึงมีความเข้าใจและมองเรื่องคนเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการพัฒนา

สำหรับดร.จีระ สนใจเรื่องคน เพราะดร.จีระทำงานเป็นผู้อำนวยการสถาบันทรัพยากรมนุษย์ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงมีความเชื่อและปรัชญาเรื่องคนทั้งๆ ที่ไม่เคยเรียนมาโดยตรง

5. การทำงานร่วมกันต้องเป็นทีมเดียวกัน ต้อง Shared Value ต้อง Shared Benefits กัน มีกรณีศึกษาหลายแห่ง ที่ทำงานร่วมกันมักจะไปสู่ Comforts ต้องให้การทำงานร่วมกันไปสู่ Success ซึ่งก็เป็นเหตุผลในการจัดหลักสูตรนี้จะได้ทำงานร่วมกัน

6. สุดท้าย.. มีกรณีศึกษาของ IRPC มาให้ดู และหวังว่าคงจะได้ประโยชน์และมองไปที่มหาวิทยาลัยของเราเพื่อไปสู่ 3V ให้ได้ ขอเรียนว่า.. เส้นทางไกลและยาก แต่ถ้าท่าน เรียนรู้ ปรับตัว ผมคิดว่า น่าจะไปสู่ความสำเร็จแน่นอน

Workshop

1. ท่านคิดว่า NON-HR ในมหาวิทยาลัยฯ ของเรา

1.1 จุดแข็งคืออะไร?

1.2 จุดอ่อนคืออะไร?

1.3 จะแก้จุดอ่อนและพัฒนาจุดแข็งให้ดีขึ้นอย่างไร

  • ยกตัวอย่างในมหาวิทยาลัยฯ ที่ตัวละครทั้ง 4 กลุ่มหรืออย่างน้อย 3 กลุ่ม

ทำงานร่วมกัน

2.1 สำเร็จ.. ทำไมจึงสำเร็จ

2.2 ล้มเหลว.. และเหตุผลที่ล้มเหลว

2.3 จะปรับปรุงวิธีการร่วมกันอย่างไร?

3. เสนอโครงการ “เรื่องคน” ที่อยากทำ โดยตัวละครทั้ง 4 กลุ่มทำงานร่วมกัน พร้อมเหตุผล

4. Business Value ของ TSU คือ อะไร? มีกลยุทธ์อย่างไรในการพัฒนาคนให้สามารถขับเคลื่อนและพัฒนา Business Value ที่ตอบสนองต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้บริหาร อาจารย์ นักศึกษา สังคม ชุมชน และภาคธุรกิจ

5. วิเคราะห์กรณีศึกษา : ความท้าทายของ CEO และปรับใช้กับมหาวิทยาลัยทักษิณ (ในเอกสาร 1 แผ่นที่แจก)

กลุ่มที่ 2

2.ยกตัวอย่างในมหาวิทยาลัยฯ ที่ตัวละครทั้ง 4 กลุ่มหรืออย่างน้อย 3 กลุ่มทำงานร่วมกัน

2.1 สำเร็จ.. ทำไมจึงสำเร็จ

ที่สำเร็จคือโครงการนี้ เพราะว่าเป็นโครงการฯ ที่ประสบความสำเร็จที่ได้คนทั้ง 4 กลุ่มมาทำงานร่วมกันแล้วประสบความสำเร็จ และมองว่าแต่ละส่วนก็มาทำงานร่วมกัน อย่าง CEO จะสละเวลาพร้อมประเมินไปด้วยว่าประสบความสำเร็จหรือไม่ นอกจากนี้รองอธิการฯ สายพิณก็มาดูแลไม่ไปไหน ด้าน HR ทำอย่างเต็มที่ ส่วน Non HR และ Stakeholder ก็เกี่ยวข้องด้วย

วิธีการ มี Intensive Learning มีวิทยากรดี ๆ มีการเรียนรู้ดูงานนอกห้องเรียนอย่าง Teach less learn more มีเครื่องมือที่ดี

ความล้มเหลว มีเรื่องประเด็นที่สำคัญและยังเป็นการล้มเหลวอยู่คือเรื่องการสื่อสารองค์กรยังอ่อน เช่นการทำความเข้าใจร่วมกันเรื่อง Core Value หรือแผน 10 ปี ที่จะทำให้ทั้ง 4 ส่วนเข้าใจร่วมกันยังอ่อนอยู่มาก แต่ผู้บริหาร CEO กับ HR จะเข้าใจ

คนในองค์กรไม่มีเป้าหมายทิศทางเดียวกัน ยังทำงานเป็น Silo ขาดการมีส่วนร่วม และเชื่อมกับ Stakeholderต้องมีการสื่อสารไปยังส่วนต่าง ๆ และ Stakeholder ด้วย

2.3 จะปรับปรุงวิธีการร่วมกันอย่างไร?

1.เพิ่มการมีส่วนร่วม ทำอย่างไรให้ทั้ง 4 กลุ่มมีส่วนร่วมซึ่งกันและกัน ปรับวิธีการทำงานร่วมกัน ตอบสนอง Stakeholder และปรับให้ตรงประเด็น ทำแล้วต้องมีการส่งข้อมูลกลับด้วย

2. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอะไรที่แข็งตัวเกินไป ต้องพยายามปรับด้วย ซึ่งบางระบบจำเป็นอย่างยิ่งต้องปรับ

3. เปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานและกระบวนการทำงานอย่างแท้จริง

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Stakeholder อาจหมายถึงนักเรียน พ่อแม่ ชุมชน และจังหวัดอื่น ซึ่งในครั้งนี้ยังไม่มี Stakeholder เข้ามา บางครั้งอาจเชิญมา 2-3 คน ก็อาจทำให้งานประสบผลสำเร็จได้

ให้ทำเรื่องการสื่อสารเสมือนเป็นการทำเรื่องคน ส่วน Stakeholder ยังไม่ได้เข้ามา อาจทำให้ภาพลักษณ์ดีขึ้น อย่างในอนาคตอาจเชิญที่อื่นมาเป็นแขกเพื่อสร้างให้เกิด Diversity และตัวแทนของจังหวัด จะได้รู้ว่าหลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรที่สร้างแบรนด์

กลุ่มที่ 5

5. วิเคราะห์กรณีศึกษา : ความท้าทายของ CEO และปรับใช้กับมหาวิทยาลัยทักษิณ (ในเอกสาร 1 แผ่นที่แจก)

จะเห็นได้ว่าตัวละครมีหลายตัว CEO เปรียบเป็น President ที่เหลือเป็นระดับรอง ปฏิบัติการ และครอบครัว

บุคคลที่รู้สึกว่าเป็น Talent ขององค์กรจะทำอย่างไรให้อยู่กับเราได้นานที่สุดให้พยายามอ้างเหตุผลของบุคคล ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากการทำงานแบบไร้ระบบ ขาดการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ และวางแผนผลการดำเนินงาน

ทำอย่างไรให้เขาอยู่ต่อกับเรา มีการทำ Exit Introduce ก่อนว่าคืออะไร มาจากเงื่อนไขจริงหรือไม่ หรือจากอะไร และเมื่อได้ Crisis ที่ชัดเจนให้ดูว่า Conflict ใดที่สามารถจัดการได้และหาการเปลี่ยนแปลงนั้น อาจเริ่มต้นจากการเจรจาก่อน ดึง Ime ทำอยู่กับเรา ให้ผูกพันกับงานและยังนึกว่าขาดไม่ได้ เป็นงานที่ผูกพันกับชุมชน Stakeholder ค่อนข้างเยอะ องค์กรอาจให้สิ่งจูงใจเพิ่มเติม ค่าตอบแทนอาจเพิ่มได้เมื่อเทียบกับสิ่งที่ทำให้องค์กรและค่าจ้างจากตลาดแท้จริงแต่ถ้าทำไม่ได้ อาจหาแนวทางถ่ายทอดองค์ความรู้จาก Ime ไปยัง Successor ให้ถ่ายทอดให้เร็วที่สุด แต่อาจเป็นโปรแกรมที่ค่อนข้างเร่งรัด

สิ่งที่เกิดขึ้นจะนำไปปรับใช้กับม.ทักษิณได้อย่างไร อย่างรักในการทำงานแต่มีเรื่องครอบครัวมาเกี่ยวข้อง อาจเสนอให้ทำทั้ง 2 ด้าน ให้ค่อย ๆ ถ่ายโอนความรู้ให้กับคน

เราต้องยอมรับว่ามีการแปรปรวนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แม้แต่คน สภาพแวดล้อมในองค์กร การแข่งขัน ค่าแรง ผลตอบแทน ข้อมูลข่าวสาร ซึ่งเรื่องคนเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและมีความคลุมเครือมาก เราจะทำให้ปราศจากความคลุมเครือได้อย่างไร เราต้องไปเปลี่ยน และปรับตัวผู้นำให้เข้ากับสถานการณ์ เป็นลักษณะ Dinamic Conversation ทำอย่างไรให้คนอย่างอยู่ในองค์กร ต้องเป็น HR Marketing

ปรัชญาจะเป็นองค์กรอะไร บอกถึง Vision ภารกิจในอนาคตและทำให้เกิดค่านิยมร่วมกัน

การ Implement โครงสร้าง ต้องมีการแบ่งงานแบ่งหน้าที่ให้ชัดเจน ระบบได้บอกถึงกระบวนการและขั้นตอนทั้งหมด และนำไปสู่การปฏิบัติ

กลุ่มที่ 4

4. Business Value ของ TSU คือ อะไร? มีกลยุทธ์อย่างไรในการพัฒนาคนให้สามารถขับเคลื่อนและพัฒนา Business Value ที่ตอบสนองต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้บริหาร อาจารย์ นักศึกษา สังคม ชุมชน และภาคธุรกิจ

Business Value ของ TSU ทางกลุ่มแปลถึงการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยในการดำเนินธุรกิจ คืออะไร

  • ความยั่งยืน ยั่งยืนอยู่ได้ด้วยปัญญา ทุกคนในองค์กรต้องรู้จริง รู้แน่น สร้างองค์ความรู้เองเป็นปัญญาได้

2.เป็นสถาบัน มีการสร้างความเชื่อมั่น

3.การพัฒนาตนเอง

เป็นบทบาทที่ทุกคนต้องมองเห็นและเข้าใจ

กลยุทธ์อย่างไรในการพัฒนาคนให้สามารถขับเคลื่อนและพัฒนา Business Value ที่ตอบสนองต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง

  • งานทุกงานถ้าทำได้ทุกคนต้องเข้าใจความหมายเดียวกันหรือร่วมมือกัน
  • การมองเห็นเพื่อนบ้าน หรือสถานการณ์จริงเป็นแรงกระตุ้นหรือผลักดัน
  • หน่วยงานต้องรู้ว่าอยากพัฒนาส่วนไหน ทำอะไร นำเสนอไอเดียในกลุ่ม วิธีไหนคิดว่าดีที่สุดนำมาทำจริง มองว่าทำอย่างไรให้ยั่งยืนให้ได้
  • การแข่งขันเพื่อให้เกิด Best Practice จะเป็นกลยุทธ์ได้ดี

กลุ่มที่ 3

3. เสนอโครงการ “เรื่องคน” ที่อยากทำ โดยตัวละครทั้ง 4 กลุ่มทำงานร่วมกัน พร้อมเหตุผล

โครงการคน TSU นำพาสังคม เชื่อว่าคน TSU ต้องนำพาสังคมได้

CEO ต้องกำหนดนโยบายต่อการทำงานของ HR-NonHR ร่วมถึงเครือข่ายภายนอก

HR ต้องตอบสนองต่อนโยบายเพื่อกำหนดแผนการพัฒนาต่าง ๆ ตอบสนองต่อคนในองค์กรและสังคมนอกด้วย

Non-HR บุคลากรมีทั้งสายสนับสนุนและอาจารย์ ตอนแรกเข้ามารู้ว่าทำอะไร แต่ต่อมาอาจลืมหน้าที่ของตนเอง มหาวิทยาลัยต้องกระตุ้นให้ทำหน้าที่ตรงนี้บ้าน และกิจกรรมโครงการต้องให้ Stakeholder ที่เกี่ยวข้องรับทราบว่าเราทำอะไร มีหน้าที่ถ่ายทอด ใช้ความรู้ที่มีถ่ายทอดสมรรถนะที่ทำ

Stakeholder ทั้งภายในและภายนอกต้องสะท้อนให้เขาได้ประโยชนต้องทำให้เขาเห็นว่ามหาวิทยาลัยให้ประโยชน์อะไร และเขาได้ประโยชน์อะไร

กลุ่มที่ 1

  • ท่านคิดว่า NON-HR ในมหาวิทยาลัยฯ ของเรา
    • จุดอ่อนคืออะไร?
  • ทุนในการทำวิจัย
  • รูปแบบการทำวิจัยรุ่นก่อนกับรุ่นนี้ต่างกันอย่างไรบ้าง
  • แรงบันดาลใจในการทำวิจัย
  • การทำ Inter Disciplinary
  • งานวิจัยจะเริ่มอย่างไร
  • เด็กที่เข้ามาเรียนเศรษฐศาสตร์ คณิตศาสตร์ไม่ค่อยดีมาก ในการเรียนเศรษศาสตร์ให้เด็กรุ่นใหม่ ที่ไม่ชอบคณิตศาสตร์ในการชอบเศรษฐมิติหรือ Tool

1.1 จุดแข็งคืออะไร?

ทุกคนเป็นอาจารย์ ถ้าพูดถึง HR อาจไม่เกี่ยวข้องโดยตรง เราทุกคนมีความสามารถทุกคน มีความสามารถที่เป็นความรู้ที่ติดตัวมา ด้วยการที่มีความสามารถเฉพาะ ความเป็นอาจารย์ ความรับผิดชอบต้องมาที่หนึ่ง ต้องรับผิดชอบหน้าที่หลักคือการเรียน การสอน ไม่ได้ละทิ้ง ในขณะนี้คือเรามีภาพลักษณ์ที่ดี บางครั้งไปในบางที่เป็นคณบดี เป็นอาจารย์วีณา เป็นเพื่อนที่ร่วมแชร์ศาสตร์ต่าง ๆ จึงเสมือนว่าแต่ละคนเป็น PR

ความชำนาญเฉพาะทาง เฉพาะเรื่อง มีความเป็นตัวตนสูงมาก ความภาคภูมิใจเยอะ ทำให้การรับฟังและการร่วมแสดงความคิดเห็นถูกปิดกั้นด้วยกำแพงตัวเอง การเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กรอย่างค่อยเป็นค่อยไป จะพบว่า ความเป็นม.ทักษิณ จะมีความเป็นพี่เป็นน้องกันอยู่ อย่างเช่นการประชุมระหว่างคณะ หรือวิทยาเขต สามารถทำได้หมด แสดงถึงความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ทำร่วมกัน

ถ้าความเป็นเจ้าของไม่เกิด ความผูกพันน้อย ความทุ่มเทในการทำงานน้อยด้วย และยังขาดแรงจูงใจ เป็นการแรงเป็นระยะ ๆ เป็นช่วง ๆ บางคณะมีความเกรงใจเยอะ บางคณะน้อย แต่ปัญหาคือทำให้อย่างที่ให้แรงจูงใจส่งผลมา เท่านั้น

อย่างในคณะจะมีแรงจูงใจในการโปรโมท

ไม่เป็น HR โดยตรงในภาพรวมยังขาดการเชื่อมโยงพอสมควร

1.3 จะแก้จุดอ่อนและพัฒนาจุดแข็งให้ดีขึ้นอย่างไร

พัฒนาจุดแข็ง
การทำให้คนอื่นเห็นจุดแข็ง บางคนเก่งแต่ไม่ค่อยอยากแสดงออก เราต้องมองให้ออกว่าแต่ละคนจะดึงจุดแข็งที่มีออกมาได้อย่างไร ต้องเปิดโอกาส สร้างเวทีในการโชว์จุดแข็ง เช่นมีกิจกรรมอะไรที่ไปเสริมในเรื่องการสังสรรค์ สร้างบรรยากาศให้ทำในสิ่งที่จะได้ และสร้างความผูกพันที่มี

ในการเป็นจุดแข็งจะทำอย่างไรให้ดึงจุดแข็ง สร้างเวที สร้างโอกาสในการแสดงสิ่งนั้นออกมา สิ่งหนึ่งที่ต้องทำคือ ที่เราบอกว่าจะสร้างเวทีแต่จะทำอย่างไรให้เขาขึ้นสู่เวที ต้องดึงให้เขาขึ้นเวทีให้ได้ ไม่เช่นนั้นการพัฒนาไม่เกิด สิ่งที่ทำได้ง่าย ๆ คือ เมื่อใครทำในสิ่งที่ดี คือการยกย่องชมเชยต้องทำ เป็นลักษณะการยกย่อง หรือการพบปะบุคลากรในเวทีต่าง ๆ สร้างความภูมิใจ ให้มีความใส่ใจ รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา ไม่ทำร้ายกัน พูดแต่สิ่งที่ดีต่อกัน

ตัวอย่างการมี Session นี้เกิดขึ้น ทำให้อาจารย์อรจันทร์คิดว่าเมื่อไหร่ถึงจะได้มี Branding เหมือนอาจารย์จีระสักที

แก้จุดอ่อน

ถ้าความเป็นเจ้าของไม่เกิด ความผูกพันน้อย ความทุ่มเทในการทำงานน้อยด้วย และยังขาดแรงจูงใจ เป็นการแรงเป็นระยะ ๆ เป็นช่วง ๆ บางคณะมีความเกรงใจเยอะ บางคณะน้อย แต่ปัญหาคือทำให้อย่างที่ให้แรงจูงใจส่งผลมา เท่านั้น

อย่างในคณะจะมีแรงจูงใจในการโปรโมท

ไม่เป็น HR โดยตรงในภาพรวมยังขาดการเชื่อมโยงพอสมควร

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

การยกตัวอย่าง Ime เป็นเรื่องจริง บางครั้งยึดตัวคนเดียว ใครเก่งทำ ขาด Business Plan และ Succession Plan ไม่มีการทำ Planner เลย ส่วนกลุ่มอื่นมีการเชื่อมโยงกัน ก่อนอื่นต้องดูว่า Business Plan ต้องการอะไร อย่างเช่นต้องการความยั่งยืน แต่เราต้องตอบให้ได้ว่าเราต้องการความโดดเด่นในเรื่องใด

ม.ทักษิณ มีทั้งจุดแข็งและจุดอ่อน ปัญหาของ องค์กร Ego สูง สิ่งหนึ่งที่ผู้บริหารบอกว่าไม่รู้จักองค์กรน่ากลัว ไม่ผูกพัน ขาด A=Ownership ต้องมีการกำหนดนโยบายและสร้างเครือข่าย CEO ต้อง Network ต้องสร้าง with in

Non-HR มีความสามารถแต่ต้องรู้ว่ามีความสามารถแบบไหน

- คนบางคนมีการเรียนรู้เพื่อเติบโตเป็นผู้บริหารอย่างเดียว คือ Spiral

- คนเรียนรู้เชิงลึกจะรู้จริง

- คนเรียนรู้แบบกว้าง ๆ

- คนเรียนรู้แบบไปเรื่อย ๆ

มีคนบอกว่าเด็กรุ่นใหม่ที่เป็น Talent มาก ๆ มีเป้าอยากเป็น CEO บอกว่าถ้าเป็นที่นี่มี่ได้จะไปเป็นที่อื่น

ในกระบวนการ Orientation ต้องทำ On Boarding คือทุกคนที่มาที่นี่คือเราคาดหวัง และคนที่มาคาดหวังอะไรจากเรา

เล็งเห็นความเชื่อมโยง 5 ข้อ น่าจะมีกลุ่มให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

ดร.เกริกเกียรติ ศรีเสริมโภค

การส่งมอบให้เข้ากับผู้เกี่ยวข้อง ชุมชน สังคม ภาคธุรกิจ ถ้าเรามีความเข้มแข็งก่อน ถ้านึกถึงแล้วทำอย่างไรให้นึกถึงมหาวิทยาลัยทักษิณ อาทิการพัฒนา Social Enterprise มีการทำวัสดุบางชิ้นให้เกิด Value

วิศวะกรรม วัสดุศาสตร์เกี่ยวหรือไม่ ออกแบบเกี่ยวหมด CEO HR/NonHR สามารถเรียนรู้ด้วยกันทั้งหมด อาจดูว่ากระทบต่อสังคมมากน้อยแค่ไหน สิ่งนี้อาจเป็นตัววัดได้อย่างดี

กระบวนการสร้าง Busines Value หรือพัฒนาคน เช่น Social Enterprise ในแต่ละคณะทำได้ มีการเอาเงินจากธุรกิจขนาดใหญ่มาก Subsidize ขนาดเล็ก

สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ BEC (Business Enterprise Center) แต่รัฐบาลจะ Subsidize เมื่อทำมากส่วนนี้จะไปช่วยลด Tax ได้สามารถนำไปใช้กับโมเดลของมหาวิทยาลัยเป็นการเรียนรู้

ตัวอย่างสมัยนี้เด็ก ป. 4 เด็กทุกคนจะทำการประเมินจาก Project ทั้งหมด ไม่ได้มีสอบ และมีส่วนร่วมในการออกแบบเรียนรู้ ต้อง Develop Project ให้ใช้ประโยชน์อย่างไร ซึ่งถ้าตั้งโจทย์ดี ๆ คือ มี Business Valueที่ชัด ต้อง Put the wrong man to the wrong job อาจเห็นความสามารถในสิ่งที่เขาไม่เห็น เพราะส่วนใหญ่มองว่าจบอะไรต้องทำสิ่งนั้น ถ้าหาโจทย์ตรงนี้ไม่เจอ การส่งมอบอาจมีปัญหา บางครั้งหลักสูตรโบราณ ทั้ง ๆ ที่พัฒนาไปมากกว่านี้แล้ว ส่วนการพัฒนาต้องร่วมมือในทุก Stakeholder

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

กล่าวว่า Session นี้เป็น Session ที่ดีมาก ม.ทักษิณเป็นระดับมหาวิทยาลัย

1.Non HR ไม่ได้ผลิตคน ผลิตทุนมนุษย์ เราต้องคิดว่าบทบาทมีส่วนสำคัญ น่าสนใจมากเพราะมหาวิทยาลัย Output คือคนอยู่แล้ว

2.คนที่เป็น Non-HR จะเริ่มเข้าใจมากขึ้นว่าบทบาทของคนในห้องนี้เป็นบทบาทที่สำคัญคล้ายกับ HR ในโลก คนที่เป็นหัวหน้าจะรู้ Talent ของคนมากกว่า แต่คนที่เป็น HR อาจรู้นโยบายแต่อาจยังไม่รู้ข้อเท็จจริง ถ้าจะเข้าใจและรู้ Future จะเป็นฝ่ายสนับสนุนที่ดี

สรุปคือ HR เป็นการเรียนรู้ที่สำคัญตัวอย่าง สิงคโปร์ CEO ทุกคนเรียนรู้เรื่องคน อยากให้เรื่อง Flagship 1-2 อันแล้วไปค้นหาคุณค่า ดีใจที่หัวข้อนี้ Realistic และช่วยเพิ่ม High Performance มีศักยภาพเก่ง คุณธรรม จริยธรรม มีภาวะผู้นำ มีทุนทางอารมณ์ คือสิ่งที่กระตุ้นให้คนในห้องนี้ นอกนั้นก็เป็นเรื่อง Networking และการบริหารการเปลี่ยนแปลง

วิชาที่ 17 แรงบันดาลใจเส้นทางและประสบการณ์ของข้าพเจ้าในการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยเพื่อสังคม

โดย ศ.ดร.อารีย์ วิบูลย์พงศ์

สอบถามผู้เข้ารับการเรียนรู้ถึงสิ่งที่ต้องการรู้ในเรื่องงานวิจัย

  • การคิดโจทย์ที่ท้าทายทำอย่างไรจึงข้ามตรงจุดนั้น
  • ต้องวิเคราะห์ตัวงาน คืองานที่ทำอยู่ไม่สามารถทำวิจัยได้ทำให้งานวิจัยไม่ออกมาขั้น Advance อีกเรื่องคือฐานข้อมูล
  • ที่มาการเข้าถึงแหล่งทุนยังเป็นปัญหาอยู่ ทีมงานภายในยังเกิด Conflict กัน
  • การทำเชิงนโยบายผลของการวิจัยมีผลกระทบเชิงนโยบาย เมื่อเปลี่ยนอาจเป็นปัญหา

ศ.ดร.อารีย์ วิบูลย์พงศ์

กล่าวว่ามีลูกศิษย์คนหนึ่งมี Portfolio งานวิจัยเต็มมาก และสามารถบอกได้ว่าเดือนไหน Status เป็นอย่างไร สิ่งที่เขาทำคือเขาไม่ได้เป็นผู้บริหาร Hobby ของเขาคืองานวิจัย เริ่มเรียนปริญญาโทที่เชียงใหม่ได้ทำงานทุนวิจัย ประเด็นคือเขาไม่เป็นผู้บริหารแต่เราเป็นผู้บริหาร ทำไมมีเรื่องเขียนเป็นร้อย เพราะเขาไม่ทำงานคนเดียว ต้องทำงานเป็นทีม ใครเก่งตรงไหนก็เชิญมา

เรามีลูกศิษย์ใหม่ ๆ มาเขียนคำนวณ ไม่ใช้ Software ที่ซื้อ ไม่ใช้ Commercial Software ทำ Application ที่จะลง Top Journal งานเขียนตรงนั้นต้องมี Creativity สูงมาก เราต้องตอบให้ได้ว่าอะไรคือความคิดริเริ่ม อะไรคือความใหม่ ในโลกนี้ เหมือนเราทำงานบริหาร เราไม่มีการชูผลตอบแทนโครงการฯ

1.จะเอาเรื่องอะไรมาทำ ต้องนั่งคิดโจทย์

1.ต้องสร้างเรื่องที่เป็นประเด็นให้เป็นประเด็นสำคัญ เช่นทำงาน Local ก็ต้องทำให้เป็น Global

- Productivity and Efficiency ตัวอย่างเช่น Demand for loan ต้องคิดให้ออกว่าอะไรโยงกับอะไร การเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพของชาวนาจะทำอย่างไร ถ้าลงทุนไปในระดับเหมาะสมต้องเป็นประสิทธิภาพสูงสุดและได้กำไร แต่เกษตรกรทำไม่ได้ถึงจุดนั้น เนื่องจากเงินทุนไม่พอ ก็ต้องไปกู้มา ซึ่งพอคิดหัวข้อนี้ขึ้นมา ก็ได้รับเงินในการทำวิจัย ในการเดินทางไปหาข้อมูล สรุปคือ เราต้องดึงเรื่องที่เกิดปัญหาในที่ทั่ว ๆ ไป มาคิดโจทย์ เป็นของจริงทั้งนั้น

การใช้ข้อมูลชุดไหน ก็เป็นชุดที่ใช้อยู่แล้ว

ตัวอย่าง ดร.อารีย์ ทำโครงการฯ หนึ่ง มีคำถามที่ต่อยอดไปเรื่อย ๆ ส่วนหนึ่งจะเป็นนักเศรษฐมิติประยุกต์คือเมื่อเจออะไรแล้วชอบสงสัย ในตอนนั้นหาคนทำไม่ได้ ทำให้กรรมการต้องทำเอง อย่างโครงการที่ขอไบโอเทคใช้เงิน 20-30 ล้านบาท จะมาศึกษายีนที่ต้านโรคไหม้พันธุ์ข้าว เวลาลงมาที หมดไปเท่าไหร่ และทำไมต้องทำด้วย ความจริงมีคนเสนอเข้ามา แต่สิ่งที่เขาเสนอคือไปทำในสิ่งที่ยังไม่ได้เกิด พอ Comment ไปก็ถอนตัวหมด ความจริงคือไม่ต้องรอยีนตัวนั้นเกิด อย่าไปวิเคราะห์ในสิ่งที่ไม่มีแล้วมาป้องกัน ให้คิดกลับคือ มีโรคที่เกิดอยู่แล้ว และมองไม่เห็น ก็ไปวัดความเสียหายตรงนั้น เป็นการทำ Feasibility Study พูดเรื่องข้าวก็ดูถึงปัจจัยที่ใส่เข้าไป และก็ดูผลผลิต อีกแบบทำแบบเกษตร ทำแบบ Cutting ใน 1 นาทำอย่างไร เสียเงินเยอะหรือไม่ ก็มานับเมล็ด และใส่ปัจจัยทุกตัวที่ทำให้ข้าวโต ข้าวออกรวง จบจากงานนั้น สวทช. ชอบใจมาก อยากให้เสนอให้อีกทุนคือ ถ้าเกิดฝนแล้งรุนแรงจะเกิดผลเท่าใด คำตอบได้อยู่ในงานวิจัยเดิมอยู่แล้ว เนื่องจากเวลาออกแบบงานวิจัย ได้ออกแบบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจริง

สรุปคือให้ดูว่าแบบจำลองที่ใช้ทั้งโลกนี้มีข้อบกพร่องตรงไหน ในข้อมูลชุดเดียวกันเขียนหลายเรื่องและ Improve วิธีการเรื่อย ๆ สามารถ Add Value ได้

Paper ที่พูดอยู่นี้ เป็น Paper สำหรับมหาวิทยาลัยที่ยังต้อง Transform ตรงนั้นอยู่ แต่ในระยะหลัง ศ.ดร.อารีย์หันมาทำงานด้านการพัฒนาเยอะมาก

องค์ประกอบที่อยู่ใน Error term มีความสัมพันธ์กันหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกท่านยังต้องช่วยอาจารย์ของคนในห้องเองด้วยเช่นกัน

เราต้อง Challenge ตัวเอง ได้เคยเชียร์อาจารย์ที่อยู่ มอ.ว่าไม่ต้องขอทุน แต่อย่างไรก็ตามต้องมีพี่เลี้ยง พอไปถึงมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตอนนั้นเป็นมหาวิทยาลัยชั้นแรก

พอรู้ว่าวิจัยคืออะไร คือการ Report หรือ Survey เท่านั้น ถามว่าในอดีตเคยขึ้นหิ้ง แต่ทุกวันนี้มีโจทย์ที่ต้องแก้ปัญหาอยู่เสมอ ระบบโครงสร้างต่าง ๆ มีคนของเขา ทำงานของเขา เขาก็ไม่เอางานเราไปใช้ ในเรื่องของระบบตลาด ถ้าเศรษฐศาสตร์ทำเรื่องนี้ได้แล้วจะไปบอกให้รัฐมนตรีเปลี่ยนโครงสร้างได้หรือไม่ จึงเปลี่ยนเรื่องเป็นการทำนโยบาย สรุปคือให้ดูความจริงในสิ่งที่จะเกิดผลด้วย บางเรื่องที่ท้าทายอาจไม่ได้ทำ เรารู้พฤติกรรม โครงสร้างตลาด และให้ดูว่าจะ Perform อย่างไร ธุรกิจต้อง Report นักวิชาการไทยไม่มีการเก่งเรื่อง Industrial Organization สรุปคือให้ทำในสิ่งที่เราพอมีความรู้ และไม่ทำในสิ่งที่ไม่เกิดประโยชน์ สรุปคือการทำวิจัยต้องมีข้อมูลบ้าง

ตัวอย่างเช่น พ.ร.บ. Anti Trust กำลังเดินสายที่ ม.อ. จัดเวทีระดมความคิด ถ้าอยากช่วยกันระดมความเห็นให้ได้จริงก็เชิญไปร่วมแสดงความคิดเห็นกัน

ในยุคปัจจุบันจะยากขึ้นเนื่องจากมีคนทำไปมากแล้ว เสมือนไม่รู้ว่าจะทำอะไรแล้ว ประเด็นที่สำคัญคือการต่อยอดงานวิจัยไปเรื่อย ๆ ในส่วนของ ศ.ดร.อารีย์ ต่อยอดในเครื่องมือ จับผิดช่องโหว่ไปเรื่อย การวิจัยคือการหาความรู้ใหม่ ต้องบอกให้ได้ว่า Knowledge Gap อยู่ตรงไหน สิ่งนี้คือเรื่อง Academic ล้วน ๆ ในส่วนงานวิจัยของประเทศเรา ถ้าทำวิจัยแบบเดิมเสมือนขึ้นหิ้ง ถามว่าทำอย่างไรถึงได้ใช้ ต้องไปนำโจทย์จากผู้ใช้ ที่ประเทศไทยเปลี่ยนเพราะงานวิจัยไทยเหมือนเดินช้า ต้องไปหาว่า Stakeholder คือใครและเขาต้องการอะไร ให้นำการวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ถ้าไม่จับมือคนที่ใช้ประโยชน์ร่วมกับเราเอาไปให้เขาใช้เขาก็ไม่ทำ สรุปคือ ผู้ใช้ต้องเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย

ทำเพราะรัก เป็นการทำเพื่อส่วนรวมไม่ใช่เพื่อตัวเอง วันนี้ได้ไปอยู่ในหอประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยไปแล้ว

งานวิจัยหลังสุดโจทย์มาจากความขัดแย้งระหว่างประเทศ งานชิ้นนี้มีคนเสนอให้ไปรับรางวัล

มีการได้รับเชิญไปอยู่ในงานวิจัยนี้ด้วย มีการทำเรื่องสมดุลของมหาวิทยาลัย มีการทำร่วมกันระหว่าง 3 มหาวิทยาลัย เรื่อง Sufficiency Thinking งานนี้เกิดจากมีแบบสำรวจ มีทุนของสกว.เก็บมาว่าข้อมูลนี้เอาไปทำอะไร แต่จริง ๆ ต้องคิดก่อนว่าจะทำอะไร

ในตอนนั้น การเก็บมาใช้ได้จริง ได้ไม่ครบ ได้เอาแบบสำรวจมานั่งดูแล้วทฤษฎีก็วิ่งเข้ามาในหัวทำให้ออกมาเป็นเรื่อง ๆ และสามารถตีความเป็นอะไรได้บ้าง และหลังจากประชุมเสร็จเลยได้งานจาก สกว.ไปทำ

สิ่งที่เราเห็นว่าเป็นธรรมดา ถ้าเป็นประโยชน์ต่อ User เขาจะไม่เห็นว่าเป็นธรรมดาอีกต่อไป และเมื่อทำเสร็จเขียนเป็นภาษาง่าย ๆ ในแบบการ์ตูนเป็นภาษาชาวบ้าน เขียน Chapter 6 ในนั้น นำเสนอในวันที่ 29 มกราคม ในการประชุม G77 เหลือนำเสนอ 15 นาที เป็นเรื่องการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงแล้วส่งผลอย่างไร มีการพิสูจน์แบบมีข้อมูล สิ่งที่เกิดได้เนื่องจากการทำงานแล้วต่อเนื่อง

เวลาเสนอผลงาน ส่วนใหญ่จะถามว่างานชิ้นนั้น ชิ้นนี้ มีความต่อเนื่องอย่างไร ตัวอย่างเช่นทำงานให้กับสภาพัฒน์เป็นแผนแม่บทชุมชน ให้เขาเห็นว่างานมีการทำมาอย่างเข้มข้นขนาดไหน คนที่เขียนหนังสือเล่มนี้อยากให้ทั่วโลกรู้จักเศรษฐกิจพอเพียง ก็เป็นสปอนเซอร์ ก็มาคิดต่อว่าเวลาที่เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแล้วส่งผลกระทบอย่างไร ก็มานั่งเก็บข้อมูลเพิ่ม ซึ่งมีคนชอบมากเลย

เสนอให้ทุกคนในห้องไปหาใน Google ว่า ปิยะวัฒน์ วิชาการรับใช้สังคม คืออะไร มีการนำหนังสือ Area Based Research มาให้ดู โจทย์มากจากชุมชน ถ้าเป็นสังคมจะเป็นอีกเล่ม เป็นวารสารคนละชุด

วารสารของสกอ. เป็นวิชาการรับใช้สังคมอีกเล่ม สิ่งที่ต้องการคือผลงานนำไปใช้ และ ผลงานตีพิมพ์

สิ่งที่ต้องระวังเวลาทำงานวิจัย จะเพลินและมีความสนุกสนานต่อสิ่งที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ถามว่าโจทย์วิจัยอยู่ตรงไหน เราตอบได้หรือยัง ทำไมที่ผ่านมาไม่มีคนฟังเพราะขาดทฤษฎี เราต้องปิดGap การปฏิบัติแค่ไหนถึงว่าใช่ Wording ทุกคำจะมีความหมายหมด เช่น ประกอบด้วย และ ความหมายต่างกัน ทุกอย่างต้องสามารถตอบโจทย์ได้ และ Journal ที่ Quality สูง ๆ

เคยเข้าไปใน Google Scholar ว่าเท่าไหร่

ที่เลือกเรียนวิชาปริมาณเพราะเครื่องมือไม่พอ คืองบประมาณผิด ผิดไปถึงไหน ไม่มีตัวพิสูจน์ อยากให้ดูตัวอย่างของ Noble Prize คืออย่างไร คณิตศาสตร์เป็นการแก้ปัญหาโลกได้เพราะต้องนำไป Apply ถ้าวัดไม่ได้จะช่วยโลกได้อย่างไร


โครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ

สรุปการบรรยายวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559

วิชาที่ 18

University - Research and Innovation Forum

โดย คุณพูลสวัสดิ์ เผ่าประพัธน์

ผศ. ดร.พรทิพย์ เย็นจะบก

คุณพูลสวัสดิ์ เผ่าประพัธน์

อยากให้เห็นว่าการทำวิจัย ปลายทางเกิดอะไรขึ้น กล่าวถึง VTR ปลายทางคืออะไรบ้าง

1. อนาคตค้าปลีกไทยและอาเซียน

2 กระบวนการสำคัญในการสร้างสรรค์นวัตกรรม

3. มุมมองที่ช่วยให้นวัตกรรมประสบความสำเร็จ

สังเกตว่าองค์กรที่มีนวัตกรรมจะไม่กลัวเรื่องการแข่งขันเรื่อง GDP

องค์กรที่ทำวิจัยด้านนวัตกรรมได้แก่

สวทน. สวทช. สนช. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักนายกฯ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หอการค้าไทย สมาคมธนาคารไทย สสว. ThaiBispa CPAll

มีวัตถุประสงค์สนับสนุนงานวิจัยช่วยประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

…………………………………………………….

รับชมวีดิโอ

ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กล่าวถึงการสร้างฐานวิจัยเพื่อนวัตกรรม ต้องมีองค์ประกอบคือ

ผู้ประกอบการต้องมีความกระตือรือร้นในการคิดเพิ่มมูลค่า เช่น การแปรรูปสินค้าข้าว โดยต้องใช้ความร่วมมือ รัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา และการมีทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ คน การบริหารจัดการจะช่วยได้อย่างแท้จริง

ความร่วมมือ เป็นสิ่งไม่น่าชื่นชม และเป็นสิ่งที่น่าสนับสนุนอย่างยิ่ง อย่างการอยากสร้างอะไรต่าง ๆ ขึ้นมาบนเวที เป็นการสร้างโอกาสให้ทุกภาคส่วนดำเนินสู่ความสำเร็จและก้าวหน้า

ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ เห็นความสำคัญของนวัตกรรม สิ่งใหม่ ๆ ในโลก เห็นสัญญาณของผู้ประกอบการ มีเผ่าพันธุ์ใหม่ คือ Start up ผู้ประกอบการใหม่ ขอให้มีความสร้างสรรค์ และให้มีการริเริ่มสร้างขึ้นมา สร้างโอกาส สภาพแวดล้อม มีนวัตกรรม แปลงความสร้างสรรค์ออกเป็นตัวเงิน

การเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย

นวัตกรรมสามารถกระจายได้หลายที่เพราะการสื่อสารข้อมูล มีมากขึ้น สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นคือการผลักดันนวัตกรรมทั้งระบบให้ออกมาเป็นรูปธรรม ลำพังเชิงการแข่งขันด้านราคา ต้นทุนต่ำไม่ได้ เราต้องการขยายให้ระบบนวัตกรรมกว้างขวาง ไม่ใช่เปิดแต่ให้ทั่วถึง

……...................................

อนาคตค้าปลีกไทยและอาเซียน

ยกตัวอย่างนวัตกรรมโอตะ ที่ ดร.สมคิดมอบ นวัตกรรมยาแต้มสิว ของ ม.เกษตรศาสตร์

Start up เป็น SMEs ขนาดเล็กที่โตเร็ว มีบาง SMEs ยอดขยายให้เห็นไม่เกิน 100 ล้าน มีสมุทโต๊ะ เป็นครีมทำจากต่างประเทศ น้ำเต้าหู้ โตโฟะซัง ราคา 100 ล้านบาทก็ได้ขยายขึ้นเรื่อย ๆ

ประเทศที่มีนวัตกรรม หรือบริษัทมีนวัตกรรมจะไม่รอ เขาจะทำสวนกระแส

พบว่าตลาดไม่ได้อยู่แค่เมืองไทย จะไปสิงคโปร์ อาเซียน ก็รออยู่ว่าใครจะพาเขา Go inter แสดงให้เห็นว่าสินค้าไทยมีโอกาสเยอะมาก จึงอยากทราบอนาคตของค้าปลีกและอาเซียน

GDP ทั้งโลก เติบโตดีที่สุดคือ Asia ไม่นับญี่ปุ่น ถัดมาเป็น แอฟริกา Middle East และอเมริกาเหนือ

การเติบโตทางเศรษฐกิจ GDP Growth Rates (%)

การประมาณการปีพ.ศ. 2558 สภาพัฒน์คาดไว้ 2.9% ธปท.คาดไว้ 2.7% สำนักงานเศรษฐกิจการคลังคาดไว้ 2.8% กสิกรไทยคาดไว้ 2.8% โดยคาดว่าปี 2559 จะโต 3.0-4.0%

ถามว่า GDP ทั้งโลกประเทศไหน Lead

คำตอบคือGDP อเมริกาเป็น 23% ของ GDP โลก อย่างจีน 13 % นอกนั้นก็เป็นยุโรป ญี่ปุ่น เอเชีย เวลามองให้มองว่าที่ไหนมีตัวชง

อเมริกา

1.การเกษตร

2. อุตสาหกรรม

3. บริการ

ประเทศที่มี GDP สูงจะมีรายได้จาก Service Sector สูง รายได้เกษตรถูกซ่อนในอุตสาหกรรมเนื่องจากเป็นเกษตรแปรรูป สามารถขายได้ในราคาที่สูงกว่า ทั้งหมดมาจากการวิจัย

ประเทศไทยรายได้เกษตรสูง 13 % ทำอย่างไรจึงย้ายมาสู่ภาคอุตสาหกรรมได้ คือความรู้ ซึ่งเป็นตัวผลักดันของประเทศ Power ไม่ใช่ต้องใหญ่แต่สร้างการแข่งขัน

GDP ของอาเซียนเป็น 17% ของทั้งโลก แต่ถ้ารวมจีน ญี่ปุ่น เกาหลีเมื่อเข้ามาทำให้ GDP ใน อาเซียนเป็น 24% ของทั้งโลก

แต่อย่างไรเศรษฐกิจเป็นแค่โครงสร้าง ไม่จำเป็นต้องรอถึงคิดนวัตกรรม

ประเทศไทย GDP ลดลงจากเดิมเหลือ 2.5 ประเทศไทยต้องคิดใหม่ ทำใหม่แม้เศรษฐกิจไม่ได้

ถ้าเข้าใจแนวโน้ม ตลาดอยู่ที่ไหน การเติบโตสำคัญมาก เราต้องมองตลาดทั้งโลก

สิงคโปร์ไปไกลกว่าเราเยอะมาก การจะทำให้สำเร็จได้ต้องอาศัย Supply Chain สามารถเชื่อมต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำได้

สิ่งที่ภาคธุรกิจ-องค์กรต้องเผชิญในช่วง 3-5 ปีข้างหน้า

1. AEC

2. การแข่งขันที่สูงขึ้น

3. การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว

4. การเข้ามามีบทบาทของ Logistics & เทคโนโลยีไทย

5. รูปแบบทางการตลาดไทยเพื่อสร้าง Brand Engagement

ดังนั้นสิ่งที่จำเป็นต้องทำคือตอบสนองให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของลูกค้าและตลาดเป็น Response to Change สำคัญมาก

แนวทางการปรับตัวของผู้ค้าปลีกเพื่อรับมือสถานการณ์

การจะอยู่รอดได้ในภาวะการแข่งขันที่รุนแรง

1. สร้างความแตกต่างด้านสินค้าและบริการ หมายถึง สินค้าต้องมีนวัตกรรม

2. ตอบสนองความต้องการแต่ละกลุ่มได้ถูกต้อง

ดังนั้นคน(การบริการ) และการค้นหา คัดเลือกสินค้าและบริการที่มีนวัตกรรม ต้องสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

การวิจัยเพื่ออะไร ได้ประโยชน์อะไร

Traditional Trade มากับการพัฒนาของเมือง Modern Trade ต้องมีการร่วมมือกัน ให้ดูตัวอย่างประเทศที่เจริญแล้ว บางครั้งนักวิชาการพูดจะดูดีกว่า

ภาพนวัตกรรม

1. ต้องดูความต้องการของลูกค้า

2. สิ่งใหม่อาจเป็นแค่สิ่งประดิษฐ์ ไม่จำเป็นต้องเป็นนวัตกรรม ใครคิดอะไรได้ ฝั่งซ้ายเป็นนวัตกรรม ฝั่งขวาเป็นสิ่งประดิษฐ์

3. จะดูว่าประเทศไหนมีนวัตกรรมให้ดูที่ผลลัพธ์ ถ้าดีกว่าองค์กรอื่นคือนวัตกรรม

แนวโน้มนวัตกรรม

มาจากการสังเกตผู้บริโภค

- เด็กเล่นกีฬาเพราะสนุก

- คนหนุ่ม คนสาวไปฟิตเนสเพื่อความสวยงาม

- ผู้สูงอายุออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ

สังเกตได้ว่าแต่ละคนต่างกรรม ต่างวาระ ต้องทำวิจัยนวัตกรรมให้ถูกเป้าหมาย

Trends

1. สังคมผู้สูงอายุ

- การเติบโตของผู้สูงอายุ (Aging Population)

Population trend คาดว่าในปี 2021 ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (อายุ 65 ปีขึ้นไปเกิน 14%) Demand for health and Wellness

- สมาชิกในครอบครัวเล็กลง เจอกันน้อยลง (Smaller Family)

Population trend จำนวนสมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 3.2 เป็น 3.0 ในปี 2020 Demand for Convenience

- Urbanization พบว่าประเทศที่เจริญแล้วคนอยู่ในสังคมเมืองมากขึ้น เป็นกระแสของทั้งโลก

Population trend คาดว่าจำนวนประชากรในเขตเทศบาลเพิ่มจาก 47% เป็น 52% ในปี 2020

2. Health and wellness กระแสทำให้เกิดความต้องการด้านสุขภาพ

Traditional Trade ต้องไปเมียนมา ไปลาวเป็นต้น

โอกาสการต่อยอดผลงานนวัตกรรม

สังเกตได้ว่าในปัจจุบันมี ตลาดใหญ่มาก ตัวอย่าง SCG Paper เปลี่ยนเป็น SCG Packaging

ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ กล่าวว่าถ้ารู้ความต้องการลูกค้า มีเทคโนโลยี และมีดีไซน์ จะสามารถขายสินค้า ได้ยกตัวอย่าง Uniqlo

การพัฒนาสินค้าต้องพัฒนาสินค้าที่แตกต่าง อย่างจำนวนนักท่องเที่ยวที่มามีจีน ญีปุ่น รัสเซีย ยุโรป ต้องวิเคราะห์ให้ได้

P.I.T.C.H. เป็นการเข้าใจหรือออกแบบนวัตกรรมได้ต้องเข้าใจ

1. Physical

2. Institution

3. Technology

4. Culture

5. History

การทำการตลาดต้องมองภาพรวมให้ได้ และนำไปสู่มูลค่าเพิ่ม การจัดทรัพย์สินทางปัญญามีมากขึ้น วิธีคิดของคนรุ่นใหม่ จะต้อง Start up ในโลกได้ใช้

การทำนวัตกรรมเวลาของขายได้ไม่มีของ ถ้าไม่มองถึงต้นทาง ของไม่มีแน่นอน อย่างเรื่อง Value Chain หรือ Strategic Alliance

ตัวอย่าง Start up การใช้ท่อเล็ก ๆ รักษาต้อหินโดยไม่ต้องใช้เลเซอร์ มีสิงคโปร์ลงทุนให้แล้ว

การทำให้ Start up หรือ SMEs เกิดได้ต้องมีความแตกต่าง นวัตกรรม และมี Platform ที่ดี

การเข้ามาของ Platform จะเชื่อมทั้งโลกได้ ไม่ได้ขายสินค้าเป็นชิ้น ๆ เป็น Strategy ในระดับประเทศ

Culture Service เป็นตัวอย่างที่ดีของ Platform

Internet of Thing จะเป็นตัวอย่างที่ดีของ Platform ในอนาคต

อนาคตค้าปลีกไทยและอาเซียน

มุมมองใหม่ (เพื่อพร้อม AEC ปี 2016)

- มองตลาดรวม + Supply Chain สู่ Innovation + Networking

- R&D สู่ Innovation สู่ HVA (High-Value Added Products & Services)

- IP (Intellectual Properties) สู่การมีบทบาทสำคัญกับธุรกิจมากขึ้น

- Inter-Connecting สู่ Sourcing Strategies (วัตถุดิบ คน และสินค้า)

- Strategic Partners สู่ Strategic Alliances สู่ Value Chain

มุมมองใหม่ (เพื่อพร้อมรับ AEC ปี 2016)

1. Local Innovation+ Global Innovation สู่ Competitive Advantage

2. Customer Engagement สู่ Customer Bonding (เครือข่ายการให้บริการ)

3. Entrepreneurship (SBU) สู่การคิดค้นและสร้างสรรค์นวัตกรรม

4. Product + Services สู่ Platform (System Lock-in) สู่ CS Boading

5. Local Innovation + Global Innovation สู่ Close + Open Innovation

นวัตกรรมต้องเป็นแบบเปิดถึงอยู่ได้แต่ถ้าเป็นแบบปิดจะมีปัญหา

Google เป็นตัวอย่างการทำนวัตกรรมของโลกไปแล้ว สังเกตได้ว่า Apple กำลังทำอย่าง Google อย่างตอนนี้ Google กำลังทำหุ่นยนต์เหมือนในหนังเลย

กระบวนการสำคัญในการสร้างสรรค์นวัตกรรม

1. การวิจัยคือการนำเงินแปลงมาเป็นความรู้

2. นวัตกรรมคือการนำความรู้มาแปลงเป็นเงิน

ทำไมเราต้องการนวัตกรรม

1.ความรู้เปลี่ยนแปลงเร็ว ดังนั้น การทำนวัตกรรมแบบเปิดจะดีกว่าปิด

2. โลกได้เปลี่ยนจากเศรษฐกิจฐานความรู้ไปสู่เศรษฐกิจนวัตกรรม

ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงมีตลอดเวลา ในธุรกิจ CP All ธุรกิจอยู่ตรงนี้ ยังมีห้องที่ขยายการเติบโตได้

Value = Quality (Products & Services) / Price

นวัตกรรมในตลาดเดิมและตลาดใหม่

- ความต้องการของลูกค้า (ตลาดเดิม)

- นวัตกรรมแบบค่อยเป็นค่อยไป (ตลาดเดิม)

- นวัตกรรมแบบก้าวกระโดด (ตลาดใหม่) – สร้างเพื่อให้ต่อยอด Product life cycle ต่อมา

ทั้งหมดใช้ระยะเวลามีลักษณะเป็น Product life Cycle

กระบวนการสำคัญคือการสำเสียงลูกค้ามาพัฒนานวัตกรรม

สินค้ากับการตลาดจะเลือกตัวลูกค้าเอง เช่นระบบสแกนเส้นเลือดดำใต้ฝ่ามือ เครื่องทำน้ำร้อนจากเครื่องปรับอากาศ

เหตุผลในการขายสินค้าจะได้หรือไม่ได้จะต้องดูเรื่องกระบวนการคิดว่าลูกค้าอยากได้อะไร กระบวนการสร้างสรรค์นวัตกรรม

1. Inputs ถามถึงความต้องการของลูกค้า

- การทำงานเชิงรุก และฟังเสียงของลูกค้า

2. Processes กระบวนการแก้ปัญหาเพื่อลูกค้า และกระบวนการออกแบบเพื่อลูกค้า

- ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

- มีความเพียรพยายาม

3. Outputs ความพึงพอใจของลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

- สร้างประโยชน์ให้ลูกค้า

- สร้าง 3 ประโยชน์

Jack Truong Vice-President of 3M กล่าวว่า “เราตั้งใจฟังในสิ่งที่ลูกค้าไม่ได้พูดและเฝ้าสังเกตในสิ่งที่ลูกค้าได้ทำ”

แนวคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Initiative)

1. ความต้องการของลูกค้า - การออกแบบเชิงสร้างสรรค์ ถ้าไม่ได้ฟังอาจสังเกต แต่ละคนมีมุมมองไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับว่าใครมองมุมไหนและจะค้นหาอะไรจากภาพนี้

2. กระบวนการแก้ปัญหาเพื่อลูกค้า กระบวนการออกแบบเพื่อลูกค้า

3. ความพึงพอใจของลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

Order มาจาก Platform เป็นลักษณะ Service Platform เช่นเบตาดีนจะเป็นเจลได้หรือไม่นอกจากเป็นน้ำ ให้คิดว่าปัญหาทุกปัญหาอย่ารีบด่วนสรุป ให้หารากเหง้าของปัญหาและให้แก้ตรงนี้ให้ได้ การออกแบบใช้ 5 ขั้นตอนคือ เข้าใจปัญหา สังเกต ใช้โอกาส เรียนรู้จากผล ก่อนไปขยายผล

Ideo’s Innovation Process

1.ทำความเข้าใจ ตลาด ลูกค้า เทคโนโลยี ข้อจำกัด สภาวการณ์

2. สังเกต ค้นหาความต้องการที่แท้จริง ความต้องการที่ซ่อนเร้น

3. สร้างจินตนาการ หาแนวคิดใหม่ ระดมสมอง จำลองเหตุการณ์

4. ประเมินและทำให้กระจ่าง ทำการทดลอง รับทราบปัญหา

5. ขยายผล ทำให้เกิดผลเชิงพาณิชย์

แนวทางในการสร้างสรรค์นวัตกรรม

1.นำเสียงของลูกค้ามาพัฒนาให้เกิดนวัตกรรม

2. ฟังในสิ่งที่ลูกค้าไม่ได้พูด (สังเกตพฤติกรรมลูกค้า)

3. ใช้คำถามเชิงนวัตกรรม (ถามให้คิด)

4. นำปัญหามาเปลี่ยนเป็นโอกาส

5. ใช้กระบวนการ Prosumer (Producer Customer)

6. ใช้ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบหรือ Benchmarking

7. แปลงความรู้มาเป็นเงิน (หรือคุณค่า)

8. ใช้นวัตกรรมแบบเปิด (Open Innovation)

สรุปคือ นวัตกรรมอย่าทำคนเดียว ทำอย่างไรจึงจะเชื่อมโยงกัน ต้องมีกระบวนการผลิต และตลาด ทำอย่างไรจะต่อยอดได้ ทุกปีต้องมีของใหม่เพื่อต่อยอดหรือทำของใหม่

ความคิดริเริ่มมีการแปลกใหม่ และทันสมัยหรือไม่ คุณภาพขายได้ทั่วโลกหรือเฉพาะหมู่บ้าน ขนาดใหญ่หรือไม่ ส่วนแบ่งจะเป็นเจ้าเดียวหรือเจ้าที่สิบ ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร ประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับคนที่เกี่ยวข้อง ได้สร้างงานกับคนในสังคม ประโยชน์เกี่ยวกับประเทศชาติ ถ้า Inner Score ตลาดเกิน 800 จะ Matching ไม่ยาก

ตัวอย่างครีมรังนก โอโกะ สกัด Growth Factor

มุมมองที่ช่วยให้นวัตกรรมประสบความสำเร็จ

หัวข้อที่ใช้พิจารณาคัดกรองผลงานนวัตกรรม

1. แนวคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Initiative)

2. ความยากในการลอกเลียนแบบ

3. ระดับของมาตรฐานด้านคุณภาพ (สินค้าและบริการ)

4.ระดับของความใหม่ (ระดับบริษัท / ประเทศ/ โลก)

5. แนวโน้มของตลาด (Market Trend)

6. ขนาดของตลาด (Market Size)

7. ส่วนแบ่งการตลาด (Market Share)

8. ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น หรือผลตอบแทนการลงทุนเทียบกับค่าใช้จ่าย

9. ประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับลูกค้าหรือผู้บริโภค

10. ประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับผู้เกี่ยวข้อง (Stakeholder) และประเทศชาติ

11. ความสามารถในการแข่งขันด้านราคา (Price Competitive)

12. ความมั่นคงและสามารถในการขยายกำลังการผลิต (Capabiltity)

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการทำนวัตกรรม

1.ไม่ยึดติดกับความสำเร็จในอดีต

2. ใส่ใจกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

3. ใส่ใจกับเสียงของลูกค้า (ผู้บริโภค) และสังคม

4. ทำงานเชิงรุก มองปลายทาง เห็นภาพรวม

5. นำความสำเร็จจากการทดลองมาขยายผล

6. ติดตามวัดผลตอบแทน จากการทำนวัตกรรม

7. วัฒนธรรมการทำงานที่เอื้อ (ไม่เป็นไซโล)

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

ในวันนี้คุณพูลสวัสดิ์ อันดับแรกคือการเติบในสิ่งที่เขาต้องการ คือการทำความเข้าใจ อาจเกิดจากการสังเกตก่อน สิ่งที่ได้ในวันนี้คือมุมมองใหม่ ๆ ถ้าเราฟังจะเห็นกระบวนการของ ม.ทักษิณ เดินทางตั้งแต่ต้นน้ำ ถึงปลายน้ำ สิ่งที่ต้องการคือการมองมุมใหม่ หรือแตกต่าง กระบวนการจะมาจาก Step หลังจากนั้นมาทำวิจัยเกิดเป็น Product Innovation มีProcess Innovation มี Position ของ Alibaba ที่เรียนกัน ต้องวางตลาดให้ถูกต้อง ให้โดดเด่น ส่วนงานวิจัยต้องดูในสิ่งที่เหมาะและสิ่งที่มี สรุปคือให้ ม.ทักษิณ ไปสู่ในสิ่งที่มีอยู่แล้วเช่น รากบัวหลวง อาจนำไปทำวิจัยให้มีมากขึ้น แรงงานภาคใต้ ท่องเที่ยวเชิงกีฬากับชุมชน รวมหรือยัง ระบาดวิทยารวมหรือยัง

ยุทธศาสตร์งานวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

โดย ผศ.ดร.พรทิพย์ เย็นจะบก

ยุทธศาสตร์ มี 2 ระดับคือ

1. สร้างความเร่งด่วน

2. สร้างความเข้มแข็ง

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จะเน้นการส่งเสริมนักวิจัยหน้าใหม่

การทำให้เกิดมูลค่าจะเป็นอย่างไรได้บ้าง

ผลงานวิจัย ม.เกษตรศาสตร์

1. การพัฒนาพันธุ์พืชเกษตรเทคโนโลยีพัฒนาดิน

-ปุ๋ยสั่งตัด

- ผลิตภัณฑ์ข้าวฟ่าง

- ข้าวโพดส่งออก

- ถั่วเขียวผิวมัน

- กล้วยไข่

- สัตว์สายพันธุ์ต่าง ๆ

- การเลี้ยงหอยแมลงภู่

- ไส้เดือน พันธุ์ไก่ ระบบนิเวศน์

- วนศาสตร์

- กล้วยไม้พันธุ์ใหม่ ๆ

- ความหลากหลายของแมลงทับ ปีกมีการทำเครื่องประดับได้

- การแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารและไม่ใช่อาหาร เช่น สังขยาแผ่น ขนมจีนสำเร็จรูป Aging ลดเลือนริ้วรอย เซรั่มจระเข้ ลดคอเลสเตอรอล และความดัน หมามุ่ยอินเดีย แคปซูลเลือดจระเข้ ซีรั่มจระเข้ และดีแคปซูล เจลแต้มสิวมังคุด ข้าวนึ่งกล้อง

- เครื่องสีข้าวชุมชน

- วัสดุปลูกพืชทดแทนดินผสม

- อิฐบล็อกผนังปลูกต้นไม้แนวตั้ง

นวัตกรรมคือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ และความคิดใหม่

ทฤษฎีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มี 3 ขั้น

1. ขั้นแรกคืออะไร เชื่อ

2. นำไปปฏิบัติ

3. เผยแพร่

Social Science

การสื่อสารเพื่อเผยแพร่นวัตกรรม ทำอย่างไรให้ชุมชนยอมรับ บอกเขาอย่างไรใช้สื่ออย่างไรให้นำไปสู่ชุมชน

มีการสื่อว่าวิทยุชุมชนยังมีประโยชน์อยู่หรือไม่

1. ต้องศึกษาว่าชุมชนมีความต้องการอะไร นวัตกรรมจะช่วยได้

2. ขาดนวัตกรรมด้านไหน

3. เข้าใจบทบาทของสื่อ ผู้นำชุมชนจะเป็นผู้ชี้นำความคิดที่สำคัญ เป็นผู้นำสิ่งประดิษฐ์เข้าไปในนั้น และต้องเล็งให้ผู้นำชุมชนพูดเหมือนกัน พูดในประเด็นเดียวกัน

สิ่งที่จะต้องทำคือ ต้อง Mapping ให้ได้ว่าผู้นำเครือข่ายชุมชนคือใคร และคนรอบตัวเขาคือใคร แล้วคุยเพื่อก่อให้เกิดการประชุมใหญ่ขึ้นมา

ที่มาของทุนวิจัย

1. หน่วยงาน กระทรวง ทบวง กรม เยอะมาก มีทุนเยอะมาก ตัวอย่างกระทรวงมหาดไทยให้ทำแผนยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวภาคกลางตอนบน ต่อมาเป็นการทำการท่องเที่ยวชุมชนโดยใช้ทุนทางวัฒนธรรม การสำรวจทัศนคติที่มีต่อกองทัพไทย DSI ต้องการทำPaper เกี่ยวกับภาพลักษณ์ของ DSI

- การทำวิจัยเพื่อหานักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพสูงที่ไม่เคยมาประเทศไทยจาก 3 ประเทศ ได้นักท่องเที่ยวระดับสูงมาสู่ประเทศไทยได้อย่างไร

- มหาวิทยาลัยต้องมาคุยกันร่วมกันให้ได้ 1

สรุปคือ ทุนมีเยอะ แต่การได้มาเพื่อแจกได้ลงตามสาขาวิชาการให้เหมาะสมจะทำอย่างไร งานที่ขอ UNESCO ได้ต้องไปพัฒนาชุมชนกับการลงพื้นที่ให้จับมือกับ NGOs และท้องถิ่น ตัวอย่างงานวิจัยการรู้เท่าทันสื่อ และพัฒนาชุมชนเข้มแข็งด้วยสื่อวิทยุชุมชนเพื่อการพัฒนาสตรีและเด็ก ถ้าพัฒนาชุมชน Digital จะรู้ว่า 600 ศูนย์อยู่ที่ไหน

2. ต้องมีหู ตา กว้างไกลว่าเป็นอย่างไร ต้องรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ เป็นลักษณะ Digital Literacy ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยให้ส่วนกลาง แต่ให้พื้นที่ให้ชุมชนดู

กระทรวงฯที่เกี่ยวกับ Social Science เน้นเด็กและสตรี ซึ่งมีในแผนอยู่แล้ว จุดที่เป็นจุดอ่อน คือการแสดงสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก

จะสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนได้อย่างไร

ตัวอย่างการเขียนงานของ UNESCO ต้องชัด เขียนเป็นแผนงานที่จับต้องได้ และสามารถไปฝึกอบรม และนำไปใช้ได้จริง

ปัญหาเรื่องงานวิจัยและการติดขัด

การเพิ่มโอกาสในการสร้างวารสารให้ได้สร้างมาตรฐานให้ดี ให้มหาวิทยาลัยสร้างมูลค่าด้านนี้ แต่อาจเป็นความภูมิใจตัวเองบางงานวิจัยตีพิมพ์ไม่ได้แต่ตกไปกับชุมชนได้ งานวิจัยชุมชนต้องให้เขามีส่วนร่วมคิดงานกับเรา Creative Economy Tourism ให้ลองมาทำวิจัยกับเรา ในพื้นที่จะทำอย่างไรให้เกิดมูลค่าเพิ่ม เกิดกิจกรรมเพิ่ม

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

ถ้ามองในแง่ของมหาวิทยาลัย ยุทธศาสตร์ต้องมาก่อน มีแผนวิจัยแม่บท ในฐานะเป็นผู้บริหารจะมี Research กลุ่มไหนที่ดึงมาทำ

มีแผนวิจัยแม่บท เลือกส่งเสริมนักวิจัยหน้าใหม่

ทุนยกตัวอย่าง UNESCO

Trend มีสินค้าเกษตรแปรรูปไปสู่สินค้าอุตสาหกรรม ถ้ายังเป็นเกษตรยังคงทำให้ประเทศอยู่ที่เดิม Green Product , Health Product สินค้าบริการท่องเที่ยวและกีฬา ตลาดแรงงานใน 20 ปีข้างหน้า

การทำวิจัยนวัตกรรม ก่อนอื่นคือการคิดให้เป็นนวัตกรรม เผยแพร่ และการสื่อสาร ตัวอย่างม.ทักษิณ ผู้นำชุมชนจะเป็นส่วนสำคัญ

ตัวอย่าง Application Mapping ผู้นำชุมชน ใช้ระบบการพึ่งพาข้างใน ให้อสม.ไปจับ อาจมีการตั้งเป็นแรงงานที่จบแล้วไปอยู่ที่ไหนบ้าง ไปแล้วรุ่งเรือง หรือไปทำอะไร หรืออาจเป็นเรื่องเกษตรกรรมในพื้นที่อย่างรากบัวหลวงไปที่ไหน ทำเป็น Mapping ส่งไปที่ชุมชน และถ้าจะไปช่วยชุมชนก็ได้ มีตัวช่วย ถ้าทำได้ รวมทั้งท่องเที่ยวและทะเลน้อยอาจคิดตรงนี้ได้ มีตัวชี้วัด ที่สอดคล้องกับ Digital Economy ของ Alibaba

ชี้แจงการจัดทำโครงการ

โดย คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

โครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนางานของมหาวิทยาลัยทักษิณปี 2016-2020

โครงการนวัตกรรม คือใหม่ จากกระบวนการไปสู่ความสำเร็จ ขั้นตอนในการคิดมีอะไรบ้าง อาจขอให้เริ่มจากสิ่งที่มีอยู่แล้วและมาต่อยอด ให้ร่วมกลุ่มกัน 3 – 5 ท่าน โครงการมีที่มาอย่างไร ตอบโจทย์การคิดโครงการจากปัญหา และหาแนวทางแก้ไข

จากความรู้ สู่การปรับใช้ สู่การก้าวไป 3 V

โครงการนี้เป็นวิธีกระเด้งโดยไม่คาดหมาย ไม่จำกัดความคิด สามารถคิดแบบอิสระและนำไปใช้จริงได้อย่างไร

มีเวลาที่ทุกท่านนำเสนอในแต่ละช่วง และให้ทุกท่านช่วย Comment ว่าเป็นอย่างไร

1.จับกลุ่ม 3-5 คน สร้างสรรค์งานเชิงนวัตกรรมระดับพัฒนางาน เป็นระดับเขย่ง มีการใช้ความสามารถกับความหลากหลายในการรวมกัน

2. การกำหนด Action Plan

3. การกำหนด Vision สู่ Strategic

มีเรื่อง Innovative Project มี Value มี Impact มีการนำไปใช้ได้จริง และเป็น Practical เป็น Execution คือทำให้ประสบความสำเร็จ และมีความหลากหลายในการวัดผลได้ และให้มีการออกแบบศึกษาการวิจัยให้นำไปใช้ได้ง่าย

กระบวนการวิจัยต้องตอบโจทย์เพื่อยืนยันความจำเป็นและความสำคัญของโครงการฯ ดีอย่างไร คิดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมในการดำเนินงาน คิดกรณีศึกษาเปรียบเทียบความสำเร็จและความล้มเหลว

ร่าง Outline

1. รายชื่อสมาชิกที่ทำงานร่วมกัน

2. ชื่อโครงการ

3. หลักการและเหตุผล ความสำคัญและความจำเป็นของโครงการ

4. มีวัตถุประสงค์ เป้าหมาย

5. มีกรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์

6. มีแผนปฏิบัติการ ขั้นตอนดำเนินงานและรับผิดชอบ (คิดเรื่องทุนด้วย)

7. คิดเรื่องทุน

8. คิดเรื่องการประเมินผล

9. ตอบโจทย์อะไรได้บ้าง

10. ปัญหาและอุปสรรค และปัจจัยของความสำเร็จ

11. บทสัมภาษณ์เกี่ยวกับการดำเนินงานและอุปสรรคที่ทำให้เกิดความสำเร็จ อาทิ ผู้บริหารที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานโครงการฯ

Methodology

1. Where are we? Identify the problem ,Problem Analysis.

2. Where do we want to go? Goal Setting

3. How to do it? Finding Solution

4. How to do it successfully? Key success factors

วิชาที่ 19 Managing Self Performance

โดย อาจารย์อิทธิภัทร ภัทรเมฆานนท์

นับถือความเป็นตัวตนของลูก ดังนั้นเวลาคุยกับเขาต้องระมัดระวัง เวลาคุยกับเขาต้องคุยดี ๆ อย่าจัดการให้เป็นไปตามที่พ่อ แม่ ต้องการ

มีการสื่อสารระหว่างพ่อ แม่กับลูกในเรื่องการสื่อสาร บุคลิกภาพต้องปรับ

ช่วงการเปลี่ยนชีวิตคือทำงานกับอาจารย์แก้วสรร

แค่พูดว่าอยากทำอะไรใหม่ ก็ริเริ่มแล้ว

วิชา Project Management ในองค์กร

ขอให้เปลี่ยนคำว่าปัญหาให้เป็นโจทย์ แต่เราชอบคุยเรื่องปัญหา

โค้ชในองค์กรมี 2 อย่าง

1. หัวหน้างาน สอน ต้องสอนวิธีการสอนให้เขาสอนได้ เป็นลักษณะ We do สุดท้าย You do ถึงมอบงานให้ ช่วงนี้เป็นช่วงของการ delegated

ช่วง Delegated ถ้าทำไม่เสร็จคนที่โดนคือคนมอบหมายงาน แต่ถ้ามอบหมายงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว งานของใครใครต้องรับผิดชอบ

2. โค้ชชิ่ง เช่น ทำได้แล้วทำไมไม่ทำ อาจถามที่ดีโดยว่า มีเหตุผลอะไรหรือไม่ที่ไม่อยากทำ วิธีคิด Action Plan ให้ทำอะไรง่าย ๆ เวลาถามต้องให้เวลาอาจารย์คิด

อาทิ

1. ชาวบ้านได้รายได้เพิ่มขึ้น

2. ได้ประโยชน์จากการเรียนรู้จากชาวบ้าน

3. มหาวิทยาลัยได้ชื่อเสียง

คนที่ไม่ค่อยมีการเรียนรู้เพราะว่าปฏิบัติเยอะ เขารู้แต่ไม่มีระบบการคิด เราต้องไปพยายามให้เขาคิดแบบเป็นระบบ อย่างหนึ่งคือการ Share ร่วมกัน เพื่อให้เปิดระบบความคิด โดยสร้างเป้าหมาย

การมาวันนี้คือทำให้คนเรารู้ว่าเราได้รู้อะไร แต่เด็กรุ่นใหม่เขาไม่รู้ว่าไม่รู้อะไร

เด็ก Gen Y มี Mission ของเด็กรุ่นใหม่ว่าจะสลับเป็น MD กับเพื่อน 4 คน

Gen Y Talk คือสร้างผู้ใหญ่ใจดีให้เป็นโค้ช เคยถามเด็กว่าถ้าอยากบอกผู้ใหญ่บอกเรื่องอะไร

1. ถ้าจะว่าเด็กให้ว่าที่พฤติกรรม อย่าว่าที่ตัวตนเขาว่าเป็นเด็กไม่ดี

2. ต้องให้เด็กรู้ว่าเด็กทุกคนมีความดีอยู่ทุกคน แต่เขาอาจไม่มี Source เพียงพอ

ถ้ามีลูกสนใจเรื่องวิทยาศาสตร์ต้องใส่เรื่องศิลปะไปด้วยเช่น สอนเรื่องหุ่นกระบอก ต้องรู้ว่าเด็กรุ่นใหม่วิธีคิดเปลี่ยนไป

Physiology Phycology กายแทนจิต เป็นการสะท้อนการเรียนรู้ และการตื่นตัว

พวกเราเรียนรู้จากฐานความคิดได้ แต่ต้องถามความรู้สึก แต่เด็กหรือคนที่ไม่มีฐานคิด คือทำและสรุป Reflection ว่าได้ทำอะไร รู้สึกอะไร และมีความคิดอะไร ทำไมถึง Action Based Learning คือคนจะเรียนรู้จากการกระทำมากกว่า

ให้ชื่นชมเด็ก เด็กต้องการให้ผู้ใหญ่ชมว่าเด็ก เก่งและดีอย่างไร

เรื่องสมรรถนะ

ถ้าไม่เข้าใจจริงจะเป็นตัวจำกัด ถ้าเราเชื่อและช่วยจะดีมาก

NLP – Neuro-Linguistic Programming คือ ต้องมีความเชื่อก่อน ให้ประสบความสำเร็จ

Competency

หมายถึง กลุ่มของความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะ ซึ่งประกอบด้วยพฤติกรรม ทัศนคติ และแรงบันดาลใจ ที่บุคลากรจำเป็นต้องมีเพื่อปฏิบัติงานย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตรงตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร

ทำไมต้องดูที่ Competency

คนที่จะผ่านอะไรไปได้ต้องทำตัวเหมือนตุ๊กตาล้มลุกลมเต็ม

ถ้าองค์กรพัฒนาเป็น Project Based จะช่วยให้คิดได้มากขึ้น

Competency คืออะไร

1. Skills ส่วนที่มองเห็นชัด (Visible)

2. Knowledgeส่วนที่มองเห็นชัด (Visible)

3. Self-Concept ส่วนที่ซ่อนอยู่ ภายในแต่ละบุคคล (Hiddle)

4. Attitude , Value ส่วนที่ซ่อนอยู่ ภายในแต่ละบุคคล (Hiddle)

5. Trait, Motiveส่วนที่ซ่อนอยู่ ภายในแต่ละบุคคล (Hiddle)

ความตื้นลึกของ Competencies

1. คุณลักษณะที่มองเห็น (Visible) เช่น ความรู้และทักษะ (Knowledge & Skills)

2. คุณลักษณะที่มองไม่เห็น (Hidden) เช่น คุณลักษณะ (Attributes)

หนึ่งคุณลักษณะที่สำคัญที่เป็นสมรรถนะของผู้ที่จะประสบความสำเร็จ

ความมุ่งมั่นทำงานให้สำเร็จ

ความมุ่งมั่นทำงานให้สำเร็จเป็นความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายให้บรรลุวัตถุประสงค์เป้าหมายและมาตรฐานที่ได้กำหนดไว้ โดยคำนึงถึงผลงานและคุณภาพเป็นสำคัญ ตลอดจนการรักษาไว้ซึ่งผลการปฏิบัติงานที่ดีอย่างสม่ำเสมอ

The Success Principle by Jack Canfield

กฎแห่ง : ความรับผิดชอบต่อชีวิตคน 100 %

“การรับผิดชอบ หมายความว่า เธอเป็นคนสร้างทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับตัวเธอขึ้นมาเอง มันหมายถึงเธอเป็นต้นเหตุของประสบการณ์ของเธอทั้งหมด เธอต้องเลิกกล่าวโทษและเลิกบ่น แล้วหันมารับผิดชอบชีวิตทั้งหมดของเธอ”

ดร.โรเบิร์ต เรสนิก นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน กล่าวว่า

สูตร : รับผิดชอบต่อชีวิตคุณ 100 %

เหตุการณ์(E) + การตอบสนอง(R) = ผลลัพธ์(O)

ถ้าเราไม่พอใจผลลัพธ์ในปัจจุบัน เรามี 2 ทางเลือก

1. โทษเหตุการณ์(E)ที่ทำให้ไม่เกิดผลลัพธ์ (O)

2. เปลี่ยนการตอบสนอง (R) ต่อเหตุการณ์ (E) อย่างที่เป็นอยู่จนกว่าจะได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ

ทำตัวให้เป็น Cause อย่าเป็น Effect

Be @ Cause to create result not only and Effect of other people or events

ให้เป็นสาเหตุของความสำเร็จอย่าเป็นเหยื่อของสถานการณ์ คือต้องรู้ก่อนว่าความสำเร็จที่ต้องการคืออะไร ให้เขียนสิ่งที่ต้องการประสบความสำเร็จ

ต้องการสร้างให้เป็นเรื่องบวกในองค์กรจะทำอย่างไร

C > E

C – Who crates result (Make it happen)

E – (Wait it happen)

ต้องมีวิธีการ Empowerment ทำอย่างไรให้คนมี Accountability คือพร้อมปกป้องและพร้อมที่จะช่วย

ตัวอย่างเช่น ให้ลองถามที่ทำงานว่าปัญหาที่เขาเจอส่วนใหญ่คืออะไร เช่นคนส่วนใหญ่ไม่ชอบพูดในที่ประชุมแต่ชอบพูดในห้องน้ำและนินทาลับหลัง

ทางแก้คือแล้วเราคิดว่าอยากให้ทำอย่างไร จะเป็นการให้ Response ตามเป้าหมายก่อนที่จะแก้ปัญหา

กฎแห่ง “การเข้าใจให้ชัดว่าทำไมคุณถึงอยู่ตรงนี้”

- เข้าใจตัวตนว่าคุณเป็นคนเช่นไร

- อะไรคือเหตุผลเบื้องหลังสิ่งที่คุณทำ

- คุณเห็นภาพการแสดงออกของผู้คนรอบตัวคุณอย่างไรในโลกอันสมบูรณ์แบบต่อการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข

ตัวอย่างจุดมุ่งหมายของฉันคือ “ฉันต้องการใช้ความคิดสร้างสรรค์และความกระตือรือร้นของฉัน เพื่อสนับสนุนและสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นได้แสดงความสามารถของพวกเขาอย่างไร้ข้อจำกัดในแนวทางที่รักใคร่กลมเกลียวกัน”

กิจกรรมที่ 1 ดูวีดีโอ

1. ตัวอย่างเช่น ตัว O (Object) ดูหนังเรื่องนี้แล้วเห็นอะไรบ้าง

วิทยากร กิจกรรม Case Study หนัง เรื่องที่คนมาเล่า บางคนชอบจากปฏิบัติ ชอบความรู้สึกเร็ว ความรู้สึกช้า

2. ตัวอย่างความรู้สึก F (Feeling) จากการดูหนังเรื่องนี้

3. เรื่องนี้มีความหมายอะไรต่อเรา ต่อคนรอบข้างเรา

กิจกรรมที่ 2 ให้เลือกรูป 3 รูป และให้เรียงภาพอดีต ปัจจุบัน อนาคตของเรา ให้จับคู่คนที่ไม่รู้จักว่ารูปทั้ง 3 รูปบอกอะไร

สรุป ถ้าภาพดึงดูดจริง ๆ เราจะเล่าเรื่องจากภาพได้ เช่นเด็กบางคนอยู่กับสี 40 นาที เขาจะวาดรูป บางคนชอบการปฏิบัติ ชอบประดิษฐ์ของ เขาอาจวาดเป็นโปรแกรม การหยิบการ์ดตัวตน จะมองว่าเขาเป็นคน Practical และ Uncomplicated

ในทางจิตวิทยา ทุกคนมีเรื่องเล่าแต่ไม่รู้ว่าจะเล่าจากอะไร

องค์ประกอบความเป็นตัวตน

1. สติปัญญา

2. Mind Body

3. ความรู้สึก ตัวอย่างเช่นบางครั้งที่เครียดมาก ๆ

4. ตัวตน ศักยภาพ คุณธรรม คุณค่าในตัว

แต่ละคนโดนพระเจ้ายอดเมล็ดพันธุ์ต่างกัน แต่จะเป็นคำถามในการวิเคราะห์ 5 วัน 4 คืน

อยากเด็กถ้าเข้าใจเรื่องนี้จะทำเรื่องการศึกษาได้ถูก

ในชีวิตมีคำ 3 คำที่มีอิทธิพลมาก ๆ คือ

1. Be

2. Have

3. Do

คุณค่ามีหลายฉบับ เคยถามหรือไม่ว่าทำไมไม่ชอบคนบางประเภท จะพบว่ามีบางเรื่องที่เป็นเรื่องใหญ่ของเรา แล้วทำให้บางคนมองว่าบางเรื่องเป็นเรื่องซีเรียส ซึ่งความเป็นเรื่องใหญ่ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน

1. ให้ List คนที่เราไม่ชอบ 5 ประเภท

คนเราทะเลาะกันเพราะคิดว่าคนอื่นว่าตัวเอง ทั้ง ๆ ที่จริงแล้วเป็นคนที่ไม่ชอบสิ่งที่ยึดถือไว้ คุณค่าอะไรที่ถูกกระทบกระเทือนความเป็นตัวตน เช่น ผู้ใหญ่ข่มเด็ก คือกำหนดกฎเกณฑ์ เอาเปรียบ และยุติธรรม เขาเลยเข้าไปป้องกันทั้งหมด เพราะว่าเป็นคนยุติธรรม

2. ให้ List คนที่เราชอบ 5 ประเภท

ให้พิจารณาจากประเภทคนที่ไม่ชอบ และจะรู้ว่าคนที่เราชอบคืออะไร เช่น ถ้าพูดแล้วต้องทำ ไม่ทำอย่าพูด แสดงว่าเป็นคนที่ใฝ่สำเร็จผลมาก ต้องให้เกียรติคนที่ยึดถือคุณค่าตรงนี้ ความเป็นตัวตนมาจากไหน เช่นการเลี้ยงดู จากการเรียนเป็นต้น

บางคนคำพูดเป็นคำลบ แต่ความจริงคือห่วงใยคน บางทีอาจนำเสนอผิด

3. ถ้าคนนั้นอยู่ฝ่ายตรงข้าม เขาจะเห็นเราเป็นคนอย่างไร

จะเป็นคนคิดต่างมุมได้

4. ให้ลองทายใจคนที่เราไม่ชอบว่าทำไมเขาเป็นคนแบบนั้น เพราะเหตุผลคืออะไรที่ทำให้เขามีตัวตนแบบนั้น

สรุปคืออย่าไปตัดสินคนด้วยสิ่งที่เขามี แต่ให้พยายามเข้าใจเขาว่าเขาเป็นแบบนี้เพราะเขายึดถือตัวตนแบบนี้ ให้มองดูว่าเขาเป็นคนแบบไหน แต่อาจไม่สามารถแสดงปฏิกิริยาได้สมสัดส่วน อาจทำเกินสัดส่วน (Aggressive) หรือ ด้อยสัดส่วน (Responsive) หรือมีสิทธิ์ใช้สิทธิ์แต่ไม่ทำร้ายคนอื่น (Assertive)

หลักการ 5 ข้อของความสำเร็จ

1.ต้องรู้ว่าต้องการอะไร

2. Take Action

3. ต้องรู้ว่าคนนั้นชอบอะไรไม่ชอบอะไร

4. ต้องยืดหยุ่นว่าเขาคนละพวกกับเรา

5. ต้องสามารถจัดการกับคุณลักษณะแท้จริงของเราและความเป็นเลิศในสิ่งที่เราเป็น

แผนที่ของแต่ละคนไม่เท่ากัน แผนที่ที่ระบุไม่ได้ตัวที่ระบุอาณาบริเวณจริง แต่เป็นตัวสมมุติ ส่วนคนที่ทำผิดบางครั้งทรัพยากรจำกัดช่วงนั้น อย่าถือพฤติกรรม แต่ให้ดูเจตนา

ในโลกนี้ไม่มีใครล้มเหลว แต่เกิดจากความไม่เข้าใจ และทำไม่มากพอ

คุณสามารถยิ่งใหญ่ด้วยในตัวของคุณเองถ้าคุณเป็นคนที่มีศักยภาพ


โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อดูข่าวโครงการ

https://www.youtube.com/watch?v=acZUMw1O_zY&feature=youtu.be

ที่มา: รายการ คิดเป็น…ก้าวเป็น กับ “ดร.จีระ”
ตอน : กรณีศึกษาวิธีการเรียนรู้ในห้องเรียนผู้นำ
ออกอากาศวันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม 2559


โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่ออ่านข่าวโครงการ

http://www.gotoknow.org/posts/603295

ที่มา: FIHRD-Chira Academy Newsletter รายปักษ์. ประจำวันที่ 12-26 มีนาคม 2559

http://www.gotoknow.org/posts/604250

ที่มา:FIHRD-Chira Academy Newsletter รายปักษ์. ประจำวันที่ 29 มีนาคม-12 เมษายน 2559

หมายเลขบันทึก: 602803เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2016 13:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มีนาคม 2016 15:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

- ขอบคุณหนังสือ Alibaba Way ที่ทำให้เข้าใจหลักการบริหารคน ว่าต้องบริหารด้วยใจ ด้วยความเอาใจใส่ในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นผู้ร่วมงานระดับใด และมีการติดตามประเมินผล โดยใช้กลไกในการพัฒนาผู้ร่วมงานให้มีประสบการณ์จนสามารถพัฒนาเป็นผู้สอนที่มาจากประสบการณ์จริง และยังเปิดโอกาสให้ผู้ทำงานประเมินกันเอง รวมถึงมีผู้เชี่ยวชาญมาคอยดูแลให้คำแนะนำ เพื่อให้ผู้ร่วมงานเกิดความอุ่นใจ มุ่งหน้าสู่เป้าหมายเดียวกันได้ตลอดรอดฝั่ง

การเรียนรู้ในสัปดาห์นี้ เริ่มต้นด้วยการนำเสนอหนังสือ ทำให้ได้เห็นถึงเส้นทางการประสบผลสำเร็จในรูปแบบของ Alibaba Way การสร้างความเข้มแข็งจากความล้มเหลว สามารถนำมาปรับใช้ได้ในการมองหาข้อผิดพลาดและก้าวเล็ก ๆ ที่เข้มแข็งของคณะ สร้างระบบสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม เพื่อรอเวลาที่จะนำไปสู่ความสำเร็จที่อาจจะต้องใช้เวลา สิ่งแวดล้อมที่สำคัญประการหนึ่งคือ ความสำคัญของคนทุกคนในองค์กรที่มีส่วนขับเคลื่อนให้องค์กรเดินไปข้างหน้า ผู้นำที่จะต้องดึงความสามารถชองคนออกมาทำงานร่วมกันภายใต้ Business Model ของคณะ ส่วนประกอบที่สองคือ วิจัยอย่างมีคุณค่า มีแหล่งทุนที่ท้าทาย สร้างนักวิจัยเชี่ยวชาญ มีโจทย์ปัญหาที่ทำให้เราทำวิจัยได้อย่างต่อเนื่อง สร้างงานวิจัยที่สามารถนำไปต่อยอดให้เกิดมูลค่าเพิ่ม หรือเป็นนวัตกรรมที่ทำให้คณะวางตัวให้อยู่แนวหน้าของประเทศ ภายใต้รากฐานและภูมิปัญญาของบุคลากรในคณะ โดยตัวเราเองจะต้องเข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น ศึกษาและมองโลกในมุมมองที่แตกต่าง เลือกมองในเรื่องที่จะทำให้ผู้คนรอบข้างสามารถร่วมกันทำงานเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนรอบตัว

จิดาภา สุวรรณฤกษ์

ดิฉันติดตาม Alibaba Wayมานาน เพิ่งจะมาเข้าใจเรื่องหลักการบริหารคน ว่าต้องบริหารด้วยใจ และต้องให้โอกาสคน และต้องเข้าใจคนทุกระดับ ล้มได้แต่อย่าท้อค่ะ เพราะการล้มเหลวไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่ประสบความสำเร็จ อ่านแล้วมีกำลังใจมาก..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/602803

ท่ามกลางกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลงและพัฒนานั้นการสร้างนวัตกรรมนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัยอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการพัฒนาคนที่มีความคิดสร้างสรรค์และสามารถสร้างนวัตกรรมเพื่อนำไปสู่การพัฒนาและเปลี่ยนแปลงองค์การ ฉะนั้นผู้นำสมัยหม่จะต้องมีความเข้าใจในองค์การและขับเคลื่อนองคาพยบในองค์การเพื่อสร้างสรรค์รนวัตกรรมที่นำไปสู่เป้าหมายองค์การ ภายใต้กระบวนการ คิดใหม่ทำใหม่ใฝ่ใจเพื่อความมั่นคงและยั่งยืน

ความรู้ในวันนี้ทำให้ทราบว่าก้าวเล็กๆที่ยิ่งใหญ่ แปลว่าอะไร

ว็บไซต์อี-คอมเมิร์ซสัญชาติจีนนี้ จะไม่มีทางถือกำเนิดและมีชื่อเสียงได้เลย หากไร้ชื่อของ "แจ็ค หม่า" หรือ หม่าหยุน ในฐานะผู้ก่อตั้ง จากวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลประกอบกับความมุ่งมั่นอดทนของเขา ซึ่งฉายแววมาตั้งแต่สมัยเด็ก แม้จะมีพื้นฐานครอบครัวที่ค่อนข้างยากจน และทำให้เขาไม่สามารถใช้ชีวิตอยู่กับความหรูหราฟุ่มเฟือยได้ แต่นั่นกลับกลายเป็นพลังผลักดันเขาก้าวสู่ความมุ่งมั่น ใฝ่ดี และได้รับผลตอบแทนที่ดีแก่ชีวิต

อดีต... ประวัติการทำงานของ แจ็ค หม่า เริ่มต้นจากการเป็นครูสอนภาษาที่มีรายได้ราว 15 เหรียญ หรือเพียง 500 บาทต่อเดือนเท่านั้น! แต่ปัจจุบันเขาคือชายชาวจีนที่มีฐานะร่ำรวยที่สุด และยังติดอันดับ 1 ใน 50 มหาเศรษฐีของโลกอีกด้วยตามประวัติของแจ็ค หม่า ในสมัยเด็กนั้น เขาไม่เก่งคณิตศาสตร์แต่กลับสนใจเรียนภาษาอังกฤษเป็นอย่างมาก ถึงขนาดขี่จักรยานนานกว่า 40 นาที เพื่อเดินทางไปเตร่อยู่แถวๆ โรงแรม เพื่อหานักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเป็นคู่สนทนา หรือเสนอตัวเป็นไกด์ให้แก่คู่สนทนาเหล่านั้นโดยถือเป็นการฝึกซ้อมภาษาอังกฤษ หลังจากนั้น เขาก็ได้เข้าเรียนมหาวิทยาลัยและมุ่งมั่นจะเป็นครูสอนภาษา แม้จะต้องใช้ความพยายามในการสอบมากกว่า 1 ครั้ง แต่ท้ายที่สุดเขาก็ทำได้!

ข้อดีของแจ็คมา ที่นำมาใช้ได้คือ

1. ใฝ่ดีเรียนรู้

2. อดทน

3. มีความพยายาม

4. มีเป้าหมายที่เหมาะสม

5. ยอมรับความผิดพลาดและเรียนรู้

..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/602803
ระวีวัฒน์ ไทยเจริญ

การถอดบทเรียนจากหนังสือเล่มที่ 2 Alibaba Way

- เมื่อล้มเหลวอย่าเพิ่งย่อท้อ เพราะผู้ที่สำเร็จหลาย ๆ คนได้ผ่านประสบการณ์ในชีวิตมามากและหลายคนผ่านความล้มเหลวมาก่อน แต่ด้วยความมุ่งมั่น เปิดใจและแก้ไขสิ่งที่บกพร่อง หาจุดที่ดีของตนเอง มีความคิดสร้างสรรค์ ทำให้ประสบผลสำเร็จในเวลาต่อมา – ความสำเร็จเล็ก ๆ ไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่หากมีความพยายาม

- การพัฒนาคน - การสร้างองค์กรโดยโดยสร้างความหวัง ความศรัทธา การสอนคนให้สามารถสร้างธุรกิจของตนเอง มีนวัตกรรมใหม่ที่สามารถยืนด้วยตนเอง แต่สามารถพึ่งกันได้

- ผู้นำที่ดีคือผู้นำที่ดึงศักยภาพคนมาใช้ให้มากที่สุด

จากประเด็นของ ศ.ดร.จีระ ที่ว่า ความเป็นมหาวิทยาลัยทักษิณต้องเริ่มจาก

  • Ideation เราเกิดมาเป็นมหาวิทยาลัยทักษิณเพื่ออะไร?
  • Vision เป้าหมายและปรับเป็น Goals อย่างไร?
  • Mission ภารกิจสำคัญ คือ อะไร?
  • Strategy, HR Strategy เพื่อสอดคล้องกับ Vision หรือ Goal คืออะไร?

ถือเป็นสำคัญมากสำหรับมหาวิทยาลัยทักษิณท่ามกลางวิกฤตการณ์อุดมศึกษาไทยในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยต้องหาค้นหาคำตอบโดยอาศัยพื้นฐานการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคส่วนนิสิตเพราะถือว่าเป็นปัจจัยที่สามารถสร้างจุดเปลี่ยนแปลงได้มากที่สุดในปัจจุบัน

ผศ. ดร.อมลวรรณ วีระธรรมโม

สรุปบทเรียนช่วงที่ 4 CEO – HR – Non HR – Stakeholders for 3V’s, Case Studies and Intensive Management Workshop: TSU and Human Resource Strategies, แรงบันดาลใจ เส้นทาง และประสบการณ์ในการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยเพื่อสังคม University – Research and Innovation Forum Managing Self Performance เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในงานด้านต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยทักษิณ

จากการเรียนรู้ พบว่าเรื่องนี้มี 3 เรื่อง ใหญ่ๆ คือ 1)Transfer Knowledge 2) Process how to learn สร้างภาวะผู้นำ และ 3) ไปสู่ความเป็นเลิศ สร้าง Network แต่ต้องทำต่อเนื่อง อย่างมหาวิทยาลัยทักษิณต้องสร้างผู้นำด้วย ทำอย่างไรให้ลูกศิษย์มีความภูมิใจในตัวเอง คือ การมี Honor Dignity Respect คนอื่น และให้คนอื่น Respect เรา สิ่งที่อยากฝากไว้ในการพัฒนาคนคือเรื่องการค้นหาตัวเอง ประเด็นคือการนำไปใช้และสร้างมูลค่าเพิ่มและเอาชนะอุปสรรคหรือไม่ How to get there ? สำคัญกว่า Successful ประเด็นคืออยากให้ทุกคนบ้าคลั่งและผนึกกำลังกัน เน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มร่วมกันและต้องร่วมมือกับชุมชนรอบรั้วมหาวิทยาลัย และสิ่งที่เป็นข้อคิด คือ

1. การลงไปในชุมชน ต้องเพิ่มความเป็นผู้ประกอบการ ให้คิดและต่อยอดขึ้นมา

2. การปลดปล่อยเรื่องรากหญ้า ก็คือสิ่งที่ ม.ทักษิณทำอยู่แล้ว แต่เราจะทำอย่างไรให้ดึงมาเป็น Alibaba ได้

3. ช่วยพัฒนาองค์กร ม.ทักษิณทำอยู่แล้วเช่นพัทลุง ลุ่มน้ำสงขลา ทำอย่างไรให้คนชื่นชม อาจเปลี่ยนชื่อให้คนชื่นชม การทำ Urbanization คือการกระจายความเจริญไป เป็นลักษณะการชนะเล็ก ๆ ก่อนชนะใหญ่ ๆ

4. การหาช่องอย่างทีมฟุตบอลเรสเตอร์ คือพยายามหาพื้นที่เล่น เพราะมีโอกาสเสมอ แต่ต้องมีทีมเวอร์กช่วย เราไม่ต้องสร้างใหม่ตลอดเวลา แต่สร้างจากสิ่งที่มีให้งอกงามได้ตลอดเวลา

ซึ่งน่าสนใจมาก ทุกอย่างต้องทำแล้วเกิดประโยชน์ มีมูลค่าเพิ่ม และจากการอ่านและเรียนรู้ ALIBABA ได้แง่คิด คือ

จากภาพทั้งหมดได้ลองเปรียบเทียบ Alibaba ในมุมมองของกลุ่ม คืออยากเปรียบเทียบ Alibaba ว่า E=MCC

E คือ ผู้ประกอบการที่มีพลังมาก และทำธุรกิจบนความเสี่ยง

M คือ Micro เริ่มจากผู้ประกอบการที่มีความเก่งในเรื่องที่ตัวเองทำ เป็นลักษณะเล็ก ๆ คือทำ Inovation ให้เป็น Routine

C คือ Customer Centre คือความไว้วางใจ และเชื่อมั่นต่อผู้สื่อสินค้า

C คือ China หมายถึงการมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจการพัฒนาของจีน และการเติบโตของสังคม

โดยสรุปคือ Alibaba มีความอยาก ความหิวกระหายจึงทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ

อีกประเด็นหลักที่น่าสนใจคือ

1.ความท้าทายในการพัฒนาคน

2. มีกลยุทธ์แบบใด

3. ทำอย่างไรให้องค์กรประสบความสำเร็จ

และปัจจัยในการขับเคลื่อนที่เราสามารถปรับจากธุรกิจ ที่น่าสนใจ คือ

1. Faster

2. Better

3. Cheaper

ความรู้เป็นกลไกสำคัญในศตวรรษที่ 21

ส่วน Impact ในการพัฒนาคน คือ Innovation การเชื่อมโยงคน Competency of Growth องค์กรที่มีความยั่งยืน การเปลี่ยนแปลง Life Style ของคน

ถ้าองค์กรไม่รู้ว่า Business Model คืออะไร จะทำธุรกิจไม่ได้ เป็นตัวกำหนดทิศทางการเจริญเติบโต เริ่มตั้งแต่เป็นตัว ODM คือการรับจ้างผลิต เราเลยพัฒนาเป็น

  • ODM คือ Development and Science

การ Transform จาก ODM เข้าสู่ Global Supply Chain ต้องมีพนักงานที่มีศักยภาพสูงมากในการทำงาน และกลยุทธ์ในการพัฒนาคนในยุคดิจิตอล คือ ต้องดูก่อนว่าอะไรคือHuman Value และ Business Value ที่สำคัญ เช่น องค์ความรู้ เรื่อง R&I ยิ่งมีตัวนี้เยอะมากเท่าไหร่จะทำให้การขายสู่ลูกค้าได้เร็ว ต้องอาศัยความสามารถของคนในการทำ ต้องดู 1) Business Value เป็นตัวตั้ง 2) Value แบ่งเป็น Value Added, Value Creation, Value Diversity คนจะแข่งขันได้ต้องสร้างไปสู่มูลค่าที่หลากหลายและตอบโจทย์ลูกค้าได้มากที่สุดเป็น Flagmentation เช่นถ้ารับได้วันละ 100 ชิ้นได้ ต่อไปก็จะทำได้

ได้แนวคิดในการนำความรู้มาปรับใช้ในมหาวิทยาลัยทักษิณคือ ต้อง Push people before strategy ที่สามารถนำมา Apply ในองค์กร Culture Change สำคัญมาก อย่างแจ็กมาร์เป็นครูสอนภาษาอังกฤษที่ดีและใช้ประสบการณ์ตรงนี้พัฒนาคนขายของทาง Digitalization เป็นลักษณะ Fast forward moving มีเรื่อง Integrity ความซื่อสัตย์ โดยจะ Change Culture และดึงศักยภาพคนในองค์กรมาใช้ได้อย่างไร แต่เรื่อง Fast forward เป็นการมองนอกกรอบ แต่ต้อง Take risk ต้องมองว่าถ้าทำให้ได้เราจะกำจัด Risk อย่างไร ผู้นำของมหาวิทยาลัยทักษิณน่าจะได้คิดถึงเรื่องราวเหล่านี้ด้วย ซึ่งมีประโยชน์มาก การเรียนรู้เรื่องนี้ทำให้เราได้มีมิติการมองที่กว้าง และวิเคราะห์เรื่องราวต่างๆ เพื่อการปรับมหาวิทยาลัยของเราค่ะ

ได้ศึกษาหนังสือ Alibaba พร้อมทั้งศึกษาแนวทางของ Alibaba Way เพื่อทราบถึงข้อผิดพลาด การล้มเหลว และการหาทางแก้ไขเพื่อก้าวสู่ความสำเร็จ โดยให้ความสำคัญกับความสำเร็จเล็กๆ Small is beautiful เพื่อแบ่งปัญหาใหญ่ให้เล็กลง เล็กพอที่เราจะเอาชนะปัญหานั้นและก้าวสู่ความสำเร็จได้ การทำธุรกิจโดยเปิดโอกาสให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องสามารถเติบโตได้และเข้มแข็งไปพร้อมๆ กัน การเป็นผู้นำที่พร้อมให้โอกาสผู้อื่นๆได้ก้าวขึ้นมาทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ

ผู้ก่อตั้ง Alibaba เป็นผู้ที่ไม่เคยชนะ ผิดหวังมากว่าครึ่งชีวิต แต่ไม่เคยยอมแพ้ ถึงจะล้มกี่ครั้งก็เคยกลัวการล้ม และกล้าลุกขึ้นใหม่ทุกครั้ง จนกลายเป็นบทเรียนที่นำเค้าไปสู่ความสำเร็จและเป็นตัวอย่างที่ดีของการเป็นผู้นำ จากหนังสือเล่มนี้ทำให้ประทับใจว่า การเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่นั้น สามารถเริ่มต้นได้จากเพียงจุดเล็กๆ นั้นคือการปลุกวิธีคิดของตนเองให้ลุกขึ้นสู้ กล้าที่จะก้าวออกจาก Comfort Zone พัฒนาตัวเองไปสู่การกล้าที่จะก้าว กล้าที่จะทำสิ่งใหม่ๆ และต่อยอดไปเป็นการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆได้ในที่สุด

สิ่งที่สามารถนำมาปรับใช้เพื่อการอยู่รอดในภาวการณ์แข่งขันที่รุนแรง คือ 1) สร้างความแตกต่างด้านสินค้าและบริการ หมายถึง สินค้าต้องมีนวัตกรรม (หลักสูตร การบริการทางวิชาการ และวิจัย) 2)ตอบสนองความต้องการแต่ละกลุ่มได้ถูกต้อง (ศึกษาว่า Position ของมหาวิทยาลัยคืออะไร กลุ่มใด) และนำแนวคิดของ Jack Truong Vice-President of 3M กล่าวว่า “เราตั้งใจฟังในสิ่งที่ลูกค้าไม่ได้พูดและเฝ้าสังเกตในสิ่งที่ลูกค้าได้ทำ” แนวคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Initiative) มาปรับใช้ 1) ความต้องการของลูกค้า - การออกแบบเชิงสร้างสรรค์ ถ้าไม่ได้ฟังอาจสังเกต แต่ละคนมีมุมมองไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับว่าใครมองมุมไหนและจะค้นหาอะไรจากภาพนี้ 2) กระบวนการแก้ปัญหาเพื่อลูกค้า กระบวนการออกแบบเพื่อลูกค้า 3) ความพึงพอใจของลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

การเข้าร่วมโครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ

(ช่วงที่ 4 ระหว่างวันที่ 3-4 มีนาคม 2559)

สิ่งที่ประทับใจในการอบรมช่วงนี้ คือ การทำงานของ Alibaba way คือ การเปลี่ยนวัฒนธรรมของผู้ประกอบการ เป็นลักษณะการให้รากหญ้ามาทำธุรกิจ ปลดปล่อยคนที่เป็นรากหญ้าได้ทำธุรกิจและประสบความสำเร็จดีมาก พัฒนาเมืองที่เคยเป็นชนบทมีความยากจนแร้นแค้น แต่สามารถสร้างความเจริญเป็นเมือง ทำการพัฒนาที่ส่งผลต่อประชากร Alibaba มีวิธีการดูแลและพัฒนาคน ที่ควรนำมาเป็นต้นแบบในองค์การต่างๆ คือการดูแลคนของ Alibaba เลี้ยงคนด้วยหัวใจ ด้วยความหวัง ด้วยความศรัทธา เป็นลักษณะการสอนให้คนตกปลาได้ สิ่งแรกที่ Alibaba ทำคือความหวัง สร้าง Sense ขึ้นมาต่างจากที่คนอื่นสร้าง เป็นมากกว่าความเป็นเจ้าขององค์กร คุณจะเป็นเจ้าของธุรกิจของคุณเอง แต่ละบริษัทจะยืนด้วยตนเอง แต่ก็สามารถพึ่งพาซึ่งกันและกัน สร้างความศรัทธา Alibaba ไม่เปลี่ยนนโยบายและบทบาทบ่อยจะทำให้ Alibabaไปสู่คุณภาพที่ชัดเจน และสู่เป้าหมายได้ง่ายขึ้น Alibaba เลี้ยงคนด้วยใจ พัฒนาและสร้างความรู้สึกที่ดี ไม่ทำให้คนรู้สึกด้อยค่าในองค์กร

ในการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นตามแนวทางจากหนังสือ The Alibaba Way ทำให้เราต้องเปลี่ยนความคิดใหม่ ในการทำงานร่วมกันของบุคลากรและอาจารย์ในมหาวิทยาลัย ที่ยังเป็นการทำงานแบบแยกส่วนทั้งที่มหาวิทยาลัยมีทรัพยากรบุคคลที่ดี มีความสามารถอยู่หลากหลาย เพียงแต่ไม่ได้รับโอกาสให้ได้แสดงฝีมือหรือผลงานให้ประจักษ์ และสิ่งสำคัญที่จะได้งานนั้น ต้องให้ได้ใจก่อน ดังนั้นผู้บริหารจึงต้องบริหารใจของผู้ร่วมงานให้เป็นหนึ่งเดียว สร้างความรัก ความศรัทธาให้เกิด ยอมรับฟังความคิดเห็นอย่างรอบด้าน แล้วทุกคนก็จะทำทุกอย่างเพื่อองค์กรด้วยความจงรักและภักดี ที่สำคัญคือทำด้วยใจ...

การอบรมในช่วงที่ 4 ได้แนวคิดสำคัญที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับมหาวิทยาลัยทักษิณ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในส่วนของ HR คือ ALIBABA WAY โดยเฉพาะการสร้างศรัทธาให้เกิดกับคนในองค์กร การสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าขององค์กร และการมีส่วนร่วมในการนำองค์กร

  • การดูแลคนด้วยหัวใจ ด้วยความหวัง ด้วยความศรัทธา เป็นลักษณะการสอนให้คนตกปลาได้
  • การสร้างความศรัทธา Alibaba ประกาศว่าเราจะแข่งกับ City Valley เป็นลักษณะการประกาศว่าเราจะไปตรงนั้น และจะยืนนิ่งตรงนั้น ไม่เปลี่ยนนโยบายและบทบาทบ่อยจะทำให้ Alibabaไปสู่คุณภาพที่ชัดเจน และสู่เป้าหมายได้ง่ายขึ้น
  • Alibaba เลี้ยงคนด้วยใจ พัฒนาและสร้างความรู้สึกที่ดี แต่สิ่งที่ทำคือ Alibaba จะไม่ใช้การตรวจสอบ แต่จะใช้ประเมินผลแบบว่าลูกค้าว่าอย่างไร แล้วเราสามารถดำเนินธุรกิจได้หรือไม่ ไม่ทำให้คนรู้สึกด้อยค่าในองค์กร
  • สรุปประเด็นโดนใจและการนำไปปรับใช้ในการทำงาน

    จากการเข้ารับการอบรม

    "โครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ รุ่นที่ 1"

    (Tsu Executives and Leader Development Program for The Future)

    ช่วงที่ 4 ระหว่างวันที่ 3-4 มีนาคม 2559

    Process how to learn สร้างภาวะผู้นำครูจะเป็นคนพาลูกศิษย์ให้ไปถึงฝั่ง แต่อาจารย์จะเหมือนแค่ไปส่งถึงฝั่ง มหาวิทยาลัยทักษิณอยู่กึ่งกลางระหว่างครูและอาจารย์ หน้าที่ก้ำกึ่งกัน การสร้างผู้นำคือการสร้างนักวิชาการศึกษา มีพันธกิจที่สำคัญ คือมีกระบวนการสอน คิด สร้างสรรค์ และสร้างภาวะผู้นำ

    ในสัปดาห์นี้เริ่มด้วยการอ่านหนังสือ Alibaba Way เป็นเรื่องราวการประสบความสำเร็จในรูปแบบของ Alibaba Way คือการเปลี่ยนวัฒนธรรมของผู้ประกอบการ เป็นลักษณะการให้รากหญ้ามาทำธุรกิจ และปลดปล่อยคนที่เป็นรากหญ้าได้ทำธุรกิจและประสบความสำเร็จดีมาก พัฒนาเมืองที่เคยเป็นชนบทมีความยากจนแร้นแค้น แต่สามารถสร้างความเจริญเป็นเมือง รวมถึงการทำการพัฒนาที่ส่งผลต่อประชากร และส่งผลต่อสังคมที่ควรทำแต่บริษัทได้ทำแทนให้

    การอ่านหนังสือ Alibaba Way สะท้อนให้เข้าใจหลักการบริหารคน ว่าต้องอาศัยความเข้าใจและความเอาใจใส่ ไม่ว่าจะเป็นผู้ร่วมงานระดับใด จนสามารถพัฒนาเป็นผู้สอนที่มาจากประสบการณ์จริง

    สัปดาห์นี้ได้เรียนรู้ถึงการทำงานทรัพยากรมนุษย์หรือทุนมนุษย์ให้ประสบความสำเร็จ เริ่มโดยการนำเสนอหนังสือของ Alibaba Way ทำให้เราได้เข้าใจถึงหลักการบริหารคน ต้องเข้าใจคนทุกระดับ ทำให้ได้เห็นถึงเส้นทางการประสบผลสำเร็จในรูปแบบของ Alibaba Way และหนังสือสอนว่า เมื่อล้มเหลวอย่าเพิ่งย่อท้อ เพราะคนที่จะประสบความสำเร็จได้ต้องผ่านความล้มเหลวมาก่อน หากมีความพยายามสักวันต้องพบเจอความสำเร็จ

    วีณา ลีลาประเสริฐศิลป์

    จากการบริหารของอลีบาบา การเป็นผู้นำองค์กรจะต้องมีความอดทนถึงแม้จะล้มเหลวก็ต้องพยายามและให้การล้มเหลวเป็นบทเรียนในการพัฒนาต่อไป การเป็นผู้นำนั้นจะต้องใช้ศาสตร์และศิลป์ การเข้าใจคน การร่วมทุกข์ร่วมสุข การให้เกียรติ การรับฟังความคิดเห็นโดยไม่ดูถูก เป็นเรื่องสำคัญที่จะนำองค์กรขับเคลื่อนต่อไป

    วีณา ลีลาประเสริฐศิลป์

    การเรียนรู้การบริหารองค์องค์กรตามแนงทางอลีบาบา ทำให้เข้าใจว่าการเป็นผู้นำต้องใช้ศาตตร์และศิลป์ การอดทนต่อความล้มเหลว การไม่ย่อท้อและการใช้ความล้มเหลวเป็นบทเรียนเพื่อการพัฒนาต่อไป และการเป็นผู้นำนั้นจะต้องเข้าใจคน ร่วมทุกข์ร่วมสุข การให้เกียรติและการับฟังความคิดเห็นโดยไม่ดูถูก การดูคนในองค์กรทั้งกายและใจเป็นเรื่องที่สำคัญอันจะนำองค์กรให้ก้าวหน้าต่อไป

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท