ช่องทางในการให้ความช่วยเหลือแก่ภาคธุรกิจในช่วงวิกฤติอย่างเหมาะสมของธนาคารกลาง


(1) นโยบายการเงิน

ได้แก่การดําเนิน นโยบายอัตราดอกเบี้ยแบบผ่อนคลาย เพื่อสร้างแรง กดดันให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลง ซึ่งจะทําให้ ต้นทุนการดําเนินธุรกิจลดลงในที่สุด

(2) นโยบายตลาดเงิน

ควรอัดฉีดสภาพ คล่องเข้าระบบการเงินเพื่อให้มีสภาพคล่องเพียงพอ ต่ออุปสงค์ของภาคธุรกิจ และถ้าหากหลักประกันใน ตลาดการเงินไม่เพียงพอ อาจต้องพิจารณาขยายฐาน หลักประกันที่ธนาคารพาณิชย์สามารถนํามาวางค้ํา ประกันที่ธนาคารกลางได้เพื่อสามารถอํานวยสินเชื่อ ให้กับภาคธุรกิจอย่างเต็มที่ (คล้าย BOJ)

(3) นโยบายสถาบันการเงิน

โดยผ่อนผัน เกณฑ์การกํากับดูแลสถาบันการเงินเพื่อเอื้อให้ ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อสู่ภาคธุรกิจได้มากขึ้น (คล้ายธนาคารกลางฟิลิปปินส์)

4. การเพิ่มประสิทธิผลในการดําเนินนโยบาย

(1) การเลือกดําเนินนโยบายให้สอดคล้อง ปัญหาสภาพคล่องของภาคธุรกิจ ทั้งนี้จากการ ประเมินผลกระทบต่อสภาพคล่องของภาคธุรกิจที่ คาดว่าจะได้รับจากภัยพิบัติครั้งนี้สามารถแบ่งปัญหา สภาพคล่องเป็น 3 แบบ ได้แก่ แบบแรกคือ ปัญหา สภาพคล่องของธุรกิจจากการกอบกู้กิจการที่ได้รับ ผลกระทบและการดําเนินธุรกิจ แบบที่สองคือ ความเสี่ยงต่อการเป็นสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของภาคธุร กิจ ซึ่งจะกระทบต่อการ ดําเนินงานและสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์และ นําไปสู่ปัญหาสภาพคล่องของธุรกิจในที่สุด แบบที่ สามคือ ปัญหาสภาพคล่องจากความต้องการเงิน ลงทุนเพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักรและโรงงานที่ได้รับ ผลกระทบซึ่งจําเป็นต้องอาศัยเงินทุนระยะยาวจาก สถาบันการเงิน โดยช่วงนี้มีความสําคัญมากต่อความ อยู่รอดของธุรกิจในระยะยาว และจะช่วยเพิ่ม ศักยภาพในการเติบโตของประเทศในอีกทางหนึ่ง ด้วย

(2) มาตรการเสริมจากภาครัฐ แม้ธปท. พยายามเตรียมพร้อมให้และการพิจารณาให้ความ ช่วยเหลือจึงขึ้นกับการตัดสินใจของธนาคารพาณิชย์ ขึ้นอยู่กับกลไกตลาดเป็นหลัก ดังนั้น หากต้องการ เพิ่มประสิทธิผลในเชิงนโยบาย ภาครัฐควรมี มาตรการเสริมเพื่อสร้าง Incentive ให้ธนาคาร พาณิชย์หันมาปล่อยกู้แก่ภาคธุรกิจที่ได้รับความ เดือดร้อนอย่างแท้จริง เช่น การนําผลขาดทุนจาก การดําเนินการตามภารกิจนี้มาลดหย่อนภาษีได้ มากกว่าปกติภายในระยะเวลากําหนด รวมถึงการ สร้างแรงกดดันจากการแข่งขันจากสถาบันการเงิน เฉพาะกิจแก่ธนาคารพาณิชย์มากขึ้น เป็นต้น

ที่มา : https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/ArticleA...


หมายเลขบันทึก: 601993เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2016 16:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2016 16:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท