บทบาทของธนาคารต่อธุรกิจในช่วงวิกฤติ


วิกฤติอุทกภัยที่ไทยเผชิญอยู่ในขณะนี้ได้ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจในวงกว้าง และมีการคาดหวังว่า มาตรการสินเชื่อ ดอกเบี้ยต่ําของ ธปท.จะเป็นทางเลือกที่เหมาะสม แต่ความจริงแล้ว มาตรการนี้ทําให้การจัดสรรทรัพยากรไม่ทั่วถึงและเกิดการ แย่งชิงทรัพยากรได้รวมถึงไม่สามารถช่วยเหลือภาคธุรกิจให้แข็งแกร่งในระยะยาวอย่างที่คาดหวัง นอกจากนี้ยังสร้าง ผลกระทบต่อกลไกการดําเนินการของสถาบันการเงิน และนโยบายการเงินของธนาคารกลางด้วย อย่างไรก็ตามธนาคารกลางมีช่องทางในการให้ความ ช่วยเหลือแก่ภาคธุรกิจในช่วงวิกฤต ดังนี้

1. นโยบายการเงิน ให้นโยบายอัตราดอกเบี้ยแบบผ่อนคลาย เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลง ซึ่งจะทําให้ ต้นทุนการดําเนินธุรกิจต่ำที่สุด

2. นโยบายตลาดเงิน อัดฉีดสภาพ คล่องเข้าระบบการเงินเพื่อให้มีสภาพคล่องเพียงพอ ต่อความต้องการของธุรกิจ

3. นโยบายสถาบันการเงิน โดยผ่อนผันเกณฑ์การดูแลสถาบันการเงินเพื่อให้ ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินได้มาก ขึ้น


การเพิ่มประสิทธิผลในการดําเนินนโยบาย

1. การเลือกดําเนินนโยบายให้สอดคล้อง ปัญหาสภาพคล่องของภาคธุรกิจ คือการประเมินผลกระทบต่อสภาพคล่องของภาคธุรกิจว่ามีผลกระทบด้านใดบ้างจะได้หาวิธีแก้ไขให้ถูกตามสถาณการณ์

2. มาตรการเสริมจากภาครัฐ คือ ภาครัฐควรมี มาตรการเสริมเพื่อห้ธนาคาร พาณิชย์หันมาปล่อยกู้แก่ภาคธุรกิจที่ได้รับความ เดือดร้อนอย่างแท้จริง เช่น การนําผลขาดทุนจาก การดําเนินการตามภารกิจนี้มาลดหย่อนภาษีได้ มากกว่าปกติภายในระยะเวลากําหนด


หมายเลขบันทึก: 601989เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2016 13:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2016 13:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท