แม่กุ ผู้นำธรรมชาติด้วยกิจกรรมบำบัด


ดิฉันได้มีโอกาสพานักศึกษากิจกรรมบำบัดไปร่วมเรียนรู้และทำกิจกรรมจิตอาสาที่สมาคมสายใยครอบครัว ที่มีที่ตั้งในโรงพยาบาลศรีธัญญา จังหวัดนนทบุรี เป็นสมาคมที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดูแลผู้ป่วยจิตเวช

ตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้พบแม่กุ ก็รู้สึกประทับใจ สัมผัสได้ถึงความกระตือรือร้น ความตั้งใจ ความเสียสละที่ผู้หญิงในวัยเจ็ดสิบคนหนึ่ง ได้ทุ่มเทเพื่องานที่ตัวเองรัก นั่นก็คือการทำงานจิตอาสากับผู้ป่วยจิตเวช

แม่กุเล่าที่มาที่ไปของการมาทำงานจิตอาสาว่าตนเองมีลูกชายป่วยเป็นโรคจิตเภท และได้ใช้ความสามารถที่ตนเองและลูกชายมี คือ ศิลปะในการช่วยเยียวยา จนลูกชายมีการฟื้นตัวดีขึ้น สามารถทำงานศิลปะ มีรายได้จากการจำหน่ายหนังสือ และมีโอกาสเข้าเฝ้าและถวายงานแด่สมเด็จพระเทพ ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจของแม่กุมาก จนตั้งใจว่าถ้าสามารถทำให้ลูกตนเองดีขึ้นจะช่วยผู้อื่นเหมือนกับลูกของตัวเอง ตลอดการทำงานแม่กุได้ช่วยเหลือผู้ป่วยและอีกหลายครอบครัวที่ทุกข์ใจที่คนในครอบครัวของตนเองเจ็บป่วยจากโรคจิตเวชมาจำนวนหลายพันคน

แม่กุใช้ประสบการณ์จากการเป็นครูในการสอนความรู้เรื่องโรคแก่ผู้ป่วยให้เข้าใจแบบง่ายด้วยการเปรียบเทียบจากการวาดรูป จนผู้ป่วยยอมรับประทานยาและรักษาตัวเอง ใช้การนำเสนอสิ่งที่เป็นความจริง (present reality) ในรายที่ยังมีความคิดหลงผิด ย้ำคิดย้ำทำ ใช้หลักการปรับพฤติกรรมในรายที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม โดยจัดศาลาพักใจในรายที่ไม่เคารพกฎกติกา จัดกิจกรรมกลุ่ม ให้คำปรึกษา ลงไปถึงบ้านผู้ป่วย ใช้เทคนิค CBT ให้โปรแกรม Supported employment ฯลฯ

ด้วยฝีมือของผู้หญิงตัวเล็กๆ แต่มีพลังมหาศาล แม่กุไม่ได้มีพื้นฐานเป็นนักกิจกรรมบำบัดแต่ได้ทำกิจกรรมบำบัดไปแล้วตามธรรมชาติ ด้วยความเห็นอกเห็นใจในเพื่อนมนุษย์ที่อยู่ในภาวะที่ยากลำบากเช่นเดียวกับที่ตนเองเคยประสพ ระหว่างที่ดิฉันสังเกตเห็นแม่กุให้การดูแลผู้ป่วย และให้คำปรึกษากับผู้ป่วยไปด้วย ขอชื่นชม และ จะนำมาเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติงานต่อไปในอนาคต

แม่กุโมเดลใช้ Activity therapy model เพื่อเป้าหมาย คือ เป็นนายแห่งตน(Mastery) ผ่านการบำบัด พัฒนา ฟื้นฟู ด้วยกิจกรรมตามธรรมชาติ

ซึ่งประกอบไปด้วย

10S

  • Symbolic
  • Supportive
  • Sensitive
  • Systemic (4S แรก = communication skills)
  • Story telling>> Successful aging
  • State (Mood management)
  • Self to social management
  • Social support system
  • Self-management skills(Self-acknowledgement), Self-development(Psychotherapy), Self-actualization(Self-determination and Self-satisfaction), CBT(Problem solving: learning teaching, assessing)
  • Supported employment(Return to work)

ทักษะของแม่กุ

5R

  • Remember
  • Respect
  • Recognition
  • Recovery
  • Rehability

เครดิต: ผศ.ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง

ในสังคมไทยยังต้องการคนที่เสียสละและทุ่มเทกำลังของตนเอง เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเวช แม่กุสร้างโมเดลและเป็นโมเดลให้พวกเราคนรุ่นหลังได้เฝ้ามองและปฏิบัติเป็นแบบอย่าง ขอระลึกถึงคุณความดีของแม่กุค่ะ

หมายเลขบันทึก: 601984เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2016 12:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2016 12:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท