แม่กุ ต้นแบบทักษะการบำบัดด้วยกิจกรรม


ผมได้เคยบันทึกการเรียนรู้ทักษะการจัดกลุ่มพลวัติ ซึ่งเป็นสุดยอดการฝึกแก้ปัญหาและติดสินใจประเมินระดับการรู้คิดหรือความรู้ความเข้าใจในผู้รับบริการทางกิจกรรมบำบัดทุกช่วงวัยที่ต้องการพัฒนาทักษะทางสังคมหลังจากเกิดภาวะความบกพร่องทางร่างกาย จิตสังคม และการเรียนรู้ ที่ส่งผลกระทบลดความสุขความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตที่มีเป้าหมายกับมีความหมายในแต่ละรายบุคคล

วันนี้ดร.ป๊อปขอขอบพระคุณคุณแม่กุ ผู้นำสุขภาวะและทักษะเมตตาด้วยความเป็นครู ไม่เคยตีเด็ก ใช้คำพูดสอนเด็ก ใช้ใจเย็นเมตตา และให้โอกาส ตลอด 10 ปี ในการบำบัดฟื้นฟูด้วยกิจกรรม หรือ Activities Therapy ด้วยธรรมชาติของคุณแม่ผู้รักลูกที่ป่วยเป็นจิตเภทถึงสองท่าน โดยคุณเอคือผู้ที่ตระหนักรู้ดูใจตนเองกว่า 8 ปี ในการยอมรับทานยาและรู้สึกเป็นสุข อยากหายป่วย กล้าออกสื่อด้วยเป็นคนแรกที่ดูแลตนเองได้แล้วใช้ความย้ำคิดย้ำทำมองดอกไม้และวาดออกมาได้อย่างปราณีต โดยมีคุณแม่กุเป็นผู้สร้างแรงจูงใจ ออกแบบแนวคิดการวาดภาพดอกไม้ในวรรณคดีไทย พร้อมประกอบกลอนอันไพเราะจากวรรณคดีไทย และช่วยพัฒนาทักษะการวาดรูปจากภาพแรกจนถึงภาพที่ 44 จนตีพิมพ์สวยงาม ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระเทพฯ ออกรายการเจาะใจ และเป็นคู่กับแม่กุช่วยเหลือเคส พร้อมบุกเบิกระบบการฟื้นคืนสุขภาวะกับคุณหมอสมรัก ณ ศูนย์สายใยครอบครัว

วันนี้ผมยินดีที่เคยสัญญากับคุณแม่กุ ผู้เป็นปรมาจารย์ด้านการฟื้นคืนสุขภาวะของไทย ผู้นำสุขภาวะจิตอาสาช่วยเหลือผู้มีประสบการณ์สุขภาพจิตพร้อมครอบครัวกว่า 6,000 ราย ใช้เวลาเต็มวันอย่างน้อย 7 วันและอย่างมาก 1-4 เดือน ในการกระตุ้นการรู้คิด การทำงานของสมองผ่านการวาดรูปที่สะท้อนอารมณ์จากสี ลายเส้น และรูปทรง เช่น สีน้ำตาลม่วงบ่งชี้อารมณ์ซึมเศร้า สีเหลืองบ่งชี้ความสุข สีส้มบ่งชี้อารมณ์แปรปรวน และการฝึกทักษะการดูแลตนเองในสถานการณ์จริง โดยตั้งเป้าหมายสูงสุดตลอดชีวิตอย่างดีงามว่า "ลูกเอเคยอยู่รพ.ไม่ได้ อยากกลับบ้าน หมอบอกแม่กุรักษาลูกไม่ได้ แม่กุบอกหมอจะต้องรักษาให้ดีกว่าหมอเพราะความรักลูก ทำไมเราถึงโชคร้าย คิดๆก็ร้องไห้ ถ้าร้องไห้ ใครจะดูแลลูก พนมมือ ถ้าข้าพเจ้ารักษาลูกหายเมื่อไร จะรักษาลูกคนอื่นเหมือนลูกตนเอง" ... นับเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้ามศาสตร์ (Interdisciplinary) จนถึงทำแทนกันได้ (Transdisciplinary) ที่ดีกว่าสหวิชาชีพแยกส่วน (Multidisciplinary) ภายใต้วิกฤตของสังคมไทยที่ยังขาดแคลนผู้นำดีงามอย่างคุณแม่กุในการช่วยเหลือผู้มีประสบการณ์สุขภาพจิตกว่า 10% ของประชากรไทย

ดังนั้นเมื่อสังเกตและมีส่วนร่วมกับการทำงานของแม่กุกับเคสกว่าสิบท่าน ทำให้ผมขอชื่นชมและคิดค้นถอดบทเรียน "แม่กุโมเดล" ที่เทียบเคียงกับแบบจำลองกิจกรรมการดำเนินชีวิตของมนุษย์ที่เน้นระบบการสร้างแรงจูงใจกับความสนใจและความตั้งใจเปิดใจในการพัฒนาทักษะชีวิตของตนเองให้มีศักยภาพ ประกอบกับ 10 S (โปรแกรมการบำบัดด้วยกิจกรรม) กับ 5 R (ทักษะของผู้บำบัด) ตามภาพข้างบนนี้

และครึ่่งวันบ่าย ผมขอขอบพระคุณและปรบมือดังๆ แสดงความชื่นชมกับผลงานการฝึกทักษะการสร้างกลุ่มกิจกรรมบำบัดแบบพลวัติ ซึ่งเป็นประสบการณ์จริงครั้งแรกของนศ.กิจกรรมบำบัดชั้นปีที่สาม ม.มหิดล แม้ว่าจะต้องปรับปรุงในหนึ่งชม.ต้น เพิ่มความรับผิดชอบในการกระจายงาน บทบาท และหน้าที่ ในแต่ละรายบุคคล อย่างตรงเวลา อย่างมั่นใจในสมรรถนะในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้รับบริการ และอย่างมีระบบการวางแผนกิจกรรมที่มีเป้าหมายกับความหมายตามความต้องการของผู้รับบริการ โดยควรใส่ใจ เปิดใจ และตั้งใจ วางแผนกระบวนการทางกิจกรรมบำบัดที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น เช่น ไม่ควรใช้กิจกรรมนันทนาการแบบการเต้นร้องเพลงพร้อมทำท่าทางที่เร็วกับหลายขั้นตอนคล้ายนำรับน้องในมหาลัยเพราะผู้รับบริการมีระดับการรู้คิดแยกเป็นสองกลุ่มคือ ระดับการใช้ท่าทางและระดับการใช้ตามือ กับระดับการทำกิจกรรมหนึ่งเป้าหมายและการสำรวจสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังมีการปล่อยให้เกิดความเงียบที่ทำให้กลุ่มกิจกรรมไม่เป็นพลวัติ และไม่ได้เกิดการฝึกวางแผนพร้อมทดลองทำอย่างมีเหตุผลทางคลินิก

ขอบพระคุณอ.แอนกับอ.เดียร์ ที่เป็นผู้เปิดใจให้ความสุขความสามารถของตนเองได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาทักษะความเป็นครูที่ดีงามพร้อมๆกับนักกิจกรรมบำบัดที่มีคุณภาพ เป็นต้นแบบแก่นักศึกษาในช่วงหนึ่งชม.หลัง และขอบพระคุณคุณหมอหยกที่สะท้อนความมีชีวิตชีวาในการจัดกลุ่มที่ทำให้ปรับเปลี่ยนอารมณ์ความรู้สึกที่เป็นบวกพร้อมส่งเสริมทักษะการเข้าสังคมในขอบเขตการใช้เวลาว่างทำกิจกรรมที่มีคุณค่าได้น่าประทับใจ สังเกตและเรียนรู้จากการแสดงสีหน้า ท่าทางประกอบ และอารมณ์ที่สนุกสดชื่น เกิดการเข้าร่วมทำกิจกรรมได้อย่างมีสุขภาวะ

ทำให้ผมขอสรุปบทเรียนที่นศ.ควรเตรียมปรับการวางแผนจัดกลุ่มพลวัติให้มีตัวเลือกที่พร้อมกระตุ้นทักษะการแก้ไขสถานการณ์ตามระดับการสื่อสารและการแสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึกที่ขึ้นลงของผู้รับบริการด้วยการเพิ่มพูนทักษะเมตตาแห่งตนเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความจริงใจ มิใช่ขาดการกระตุ้นบทบาทผู้บำบัดในสามกระแส ได้แก่ ผู้สอนจัดกระบวนการ ผู้เรียนรู้ร่วมกับผู้รับบริการ และผู้ประเมินทักษะของผู้รับบริการที่เกิดการเปลี่ยนแปลงขณะทำกิจกรรมที่มีคุณค่า โดยเฉพาะการวางแผนทำงานเป็นทีม แยกแยะผู้นำกลุ่มคนเดียวและส่งต่อผู้ช่วยนำกลุ่ม การดึงศักยภาพของผู้บำบัด เช่น การเล่นเปียโนด้วยใจพร้อมเสียงเพลงง่ายๆ ตามคำร้องขอของผู้รับบริการ และการคิดยืดหยุ่นก่อนลงมือจัดกิจกรรมบำบัด เพราะผมผิดหวังเล็กน้อยที่นศ.ขาดการสื่อสารกับอาจารย์ให้เป็นรูปธรรมว่าจะไม่เล่นเปียโนด้วยเหตุผลเสียงเปียโนเพี้ยนแล้วเล่นลองเสียงขณะที่เกิดการแยกเป็นสองกลุ่มที่อาจารย์ทั้งสองต้องใช้เสียงที่ดังชัดเจนในกลุ่ม ตลอดจนใช้เพลงและท่าทางที่ทำขึ้นทันทีโดยมิได้พิจารณาความหมายของเพลงแบบลาจากที่อาจกระตุ้นปมความเศร้าของผู้รับบริการได้ ทำให้ผมต้องหยุดการปิดกลุ่มที่ไม่เหมาะสมตามวิสัยทัศน์เฉพาะทางด้านกิจกรรมบำบัดจิตสังคมของผม ซึ่งขออภัยนศ.ในครั้งนี้เพื่อเป็นบทเรียนที่เหนื่อยมากที่ต้องกระตุ้นนศ.เพื่อไปกระตุ้นผู้รับบริการพร้อมๆกัน โดยภาพรวมนศ.เกินครึ่งที่ปรับตัวได้อย่างเปิดใจ

หมายเลขบันทึก: 600753เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2016 22:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2016 22:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอขอบคุณ อ.ป๊อบ ที่ใส่ใจรายละเอียดกับการสอนและสะท้อนความคิดเห็นอย่างจริงใจและตรงไปตรงมาค่ะ หากจะปลูกต้นไม้กลางทะเลทราย ไม่ว่าจะเจออุปสรรคอะไร ขอให้ผู้ปลูกอย่าพึ่งท้อแท้นะคะ อาชีพนี้ต้องการต้นแบบที่ดีและคนที่ทุ่มเททั้งกาย-ใจและจิตวิญญานแบบอ.ป๊อบค่ะ

สู้ๆ :)

ขอบพระคุณมากครับอ.แอน ขอมอบกำลังใจและแรงบันดาลใจในการร่วมบ่มเพาะความดีงามด้วยกิจกรรมบำบัดศึกษาต่อไปครับผม

ขอบพระคุณกำลังใจจากพี่โอ๋และพี่นงนาทมากครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท