​บทบาทหน้าที่ของนักการเงินต่อสถาบัน


บทบาทหน้าที่ของนักการเงินต่อสถาบัน

1.เป็นนักการเงินที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลและทันสมัย นักการเงินที่ดีควรมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล เปิดกว้าง และไม่คับแคบในการปฏิบัติหน้าที่ รวมไปถึงไม่ยึดติดกับวิธีการทำงานแบบเดิมๆ ควรเปิดรับวิธีการปฏิบัติงานและเครื่องมือใหม่ๆที่ทันสมัยมากขึ้น เพื่อปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคสมัยและเพื่อปรับใช้ในอนาคต

2.เป็นนักการเงินมืออาชีพ ที่มีความซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ หน้าที่ที่สำคัญที่สุดของนักการเงิน คือ การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพราะเป็นหน้าที่ที่ข้องเกี่ยวกับเงิน ถ้านักการเงินไม่มีความซื่อสัตย์ อาจจะก่อให้เกิดผลเสียต่อตนเอง รวมไปถึงส่งผลกระทบต่อสถาบัน ซึ่งอาจจะทำให้ผู้อื่นเกิดความไม่มั่นใจในการมาทำธุรกิจหรือมาทำธุรกรรมต่างๆกับสถาบันอีก

3.เป็นนักการเงินที่สร้างความเจริญเติบโตให้กับองค์กร การปฏิบัติหน้าที่ของนักการเงิน นอกจากจะทำเพื่อพัฒนาและความก้าวไกลในหน้าที่การงานของตนเองแล้ว ควรจะพัฒนาสถาบันให้มีความเติบโตมากขึ้นไปด้วย เพราะเมื่อสถาบันดีย่อมส่งผลให้หน้าที่ การทำงาน รวมไปถึงสิ่งแวดล้อมภายในสถาบันดีไปด้วย

4.เป็นนักการเงินที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม นอกจากจะมีความรับผิดชอบต่อสถาบันของตนเองแล้ว นักการเงินควรมีความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม รวมไปถึงเพื่อนร่วมงานด้วย เช่น การปฏิบัติหน้าที่ต่อทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียมทั้งผู้ที่มีตำแหน่งสูงกว่าที่ตำแหน่งน้อยกว่า หรือตอบแทนแก่สังคม และใส่ใจในสิ่งแวดล้อม

หมายเลขบันทึก: 600748เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2016 22:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2016 22:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท