ความรู้ การเรียนรู้ และการสร้างนวัตกรรม


การจัดการความรู้ เป็นตัวผลักดันให้เกิด การเรียนรู้ขององค์กร

ความรู้ การเรียนรู้ และการสร้างนวัตกรรม

Knowledge, Learning, and Innovation

พันเอก มารวย ส่งทานินทร์

[email protected]

9 กุมภาพันธ์ 2559

บทความเรื่อง ความรู้ การเรียนรู้ และการสร้างนวัตกรรม (Knowledge, Learning, and Innovation) มีพื้นฐานมาจาก เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award: TQA) ประจำปี พ.ศ. 2559-2560

ผู้ที่สนใจเอกสารแบบ PowerPoint (PDF file) สามารถ Download ได้ที่ http://www.slideshare.net/maruay/knowledge-learning-and-innovation

เกณฑ์ TQA 2559-2560 ถามว่า

  • 4.2ก(1) การจัดการความรู้ (Knowledge Management) องค์กรมีวิธีการอย่างไรในการจัดการความรู้ขององค์กร
    • รวบรวมและถ่ายทอดความรู้ของบุคลากร
    • ผสาน/หาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ (Big Data) เพื่อสร้างความรู้ใหม่
    • ถ่ายทอดความรู้ระหว่างองค์กรกับลูกค้า ผู้ส่งมอบ พันธมิตร และผู้ให้ความร่วมมือ
    • รวบรวมและถ่ายทอดความรู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในการสร้างนวัตกรรมและกระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์
  • 4.2ก(2) การเรียนรู้ระดับองค์กร (Organizational Learning) องค์กรมีวิธีการอย่างไรในการใช้องค์ความรู้และทรัพยากรต่างๆ เพื่อให้การเรียนรู้ฝังลึกลงไปในวิถีการปฏิบัติงานขององค์กร

หมายเหตุ 4.2ก(1)

  • การผสานและหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ อาจเกี่ยวข้องกับ การจัดการชุดข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) และประเภทข้อมูลและสารสนเทศที่แตกต่างกัน
  • ความรู้ขององค์กรที่สร้างขึ้นจากข้อมูลเหล่านี้ ต้องมีการปกป้องจากการนำไปใช้งานด้วยจุดมุ่งหมายอื่น

ข้อสังเกต การจัดการความรู้

  • ต้องมุ่งเน้นที่ความรู้ที่บุคลากรต้องใช้ในการปฏิบัติงาน เพื่อการปรับปรุง กระบวนการ ผลิตภัณฑ์ และบริการ (processes, products, and services) และใช้ นวัตกรรม (innovation) เพื่อเพิ่ม คุณค่า (value) ให้แก่ลูกค้าและองค์กร

ทรัพย์สินทางความรู้

  • หมายถึง ทรัพยากรทางปัญญาที่มีการสั่งสมภายในองค์กร โดยเป็นความรู้ที่ทั้งองค์กรและบุคลากรเก็บรวบรวมในรูปแบบสารสนเทศ
  • เช่น ซอฟต์แวร์ สิทธิบัตร ฐานข้อมูล เอกสาร นโยบายและแนวทางการปฏิบัติ แผนภาพทางเทคนิค นอกจากนี้ สินทรัพย์ทางความรู้ยังมีอยู่ที่ลูกค้า ผู้ส่งมอบ และพันธมิตรด้วย
  • เพื่อองค์กรจะได้นำไปใช้ประโยชน์ในการลงทุน ใช้ในการสร้างคุณค่าให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และ ความได้เปรียบเชิงแข่งขัน

การเรียนรู้

  • หมายถึง ความรู้หรือทักษะใหม่ ที่ได้รับจากการประเมิน การศึกษา ประสบการณ์ และนวัตกรรม
  • การเรียนรู้ระดับบุคคล ได้มาจากการศึกษา การฝึกอบรม และโอกาสในการพัฒนาเพื่อความเจริญก้าวหน้าของแต่ละบุคคล
  • การเรียนรู้ระดับองค์กร ได้มาจากการวิจัย วงจรการประเมินและการปรับปรุง (PDCA) ความคิดและมุมมองจากบุคลากรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การแบ่งปันวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (best practice) และ การจัดระดับเทียบเคียง (benchmarking)

ข้อสังเกต การเรียนรู้ระดับองค์กร

  • จากการทำ KM ทำให้องค์กรได้ประโยชน์จากสินทรัพย์ทางความรู้ของ บุคลากร ลูกค้า ผู้ส่งมอบ ผู้ให้ความร่วมมือ และพันธมิตร ซึ่งร่วมกันขับเคลื่อนให้เกิด การเรียนรู้ระดับองค์กร (Organizational Learning) และ การสร้างนวัตกรรม (innovation)
  • การจัดการความรู้ เป็นตัวผลักดันให้เกิด การเรียนรู้ขององค์กร

การเรียนรู้ระดับองค์กร

  • การเรียนรู้ควรเป็น
    • ส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงานประจำวัน
    • เพื่อการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุโดยตรง
    • เน้นการสร้างและแบ่งปันองค์ความรู้
    • ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีความหมาย รวมทั้ง การสร้างนวัตกรรม (innovation)

การเรียนรู้ระดับองค์กร

  • ส่งผลดังนี้
    • เพิ่มคุณค่าให้ลูกค้าผ่านผลิตภัณฑ์และการบริการใหม่ (หรือที่ปรับปรุงใหม่) เป็นการสร้างโอกาสใหม่ ๆ ให้กับธุรกิจ
    • เพิ่มความสามารถในการดำเนินการขององค์กร
    • ลดความสูญเปล่า และต้นทุนที่เกี่ยวข้อง
    • มีความคล่องตัวสูง

การสร้างนวัตกรรม

  • หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเพื่อปรับปรุงผลิตภัณฑ์ บริการ แผนงาน กระบวนการ การปฏิบัติการ และรูปแบบทางธุรกิจขององค์กร เพื่อสร้างคุณค่าใหม่ให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • จำเป็นต้องมีสภาพแวดล้อมที่เกื้อหนุน ในการระบุ โอกาสเชิงกลยุทธ์ (strategic opportunities) และ ความกล้าเสี่ยงอย่างฉลาด (intelligent risks) ที่เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการเรียนรู้ขององค์กร รวมทั้งบูรณาการนวัตกรรมเข้าไว้ในการปฏิบัติงานประจำวัน

โอกาสเชิงกลยุทธ์

  • หมายถึง ภาพอนาคตที่เกิดจากการคิดนอกกรอบ การระดมสมอง การใช้ประโยชน์จากความบังเอิญ กระบวนการวิจัยและสร้างนวัตกรรม การประมาณการอย่างฉีกแนวจากสภาพปัจจุบัน และแนวทางอื่นๆ เพื่อมองอนาคตที่แตกต่างออกไปจากเดิม
  • การเลือกว่าจะดำเนินการตามโอกาสเชิงกลยุทธ์ใด ต้องพิจารณาถึง ความเสี่ยงสัมพัทธ์ (Relative Risk) ด้านภาระการเงิน และด้านอื่นๆ จากนั้นจึงตัดสินใจอย่างรอบคอบ (ความกล้าเสี่ยงอย่างฉลาด – Intelligent Risks)

ความกล้าเสี่ยงอย่างฉลาด

  • หมายถึง โอกาสที่จะได้รับประโยชน์มีสูงกว่าโอกาสที่จะเกิดความเสียหาย หรือหากไม่นำโอกาสนั้นมาพิจารณาจะบั่นทอนความยั่งยืนขององค์กร
  • ความกล้าเสี่ยงอย่างฉลาด องค์กรต้องกล้ายอมรับความล้มเหลว
  • องค์กรต้องยอมรับว่า ไม่สามารถคาดหวังให้เกิด นวัตกรรม ได้ หากดำเนินการเฉพาะเรื่องที่มีโอกาสสำเร็จเพียงอย่างเดียว
  • องค์กรต้องลงทุนในเรื่องที่มีโอกาสสำเร็จ และในขณะเดียวกัน ต้องตระหนักถึงความล้มเหลวที่อาจเกิดขึ้นด้วย

การได้คะแนนการเรียนรู้ 90 - 100%

  • มีกระบวนการประเมินและปรับปรุงอย่างเป็นระบบโดยใช้ข้อมูลจริง และมีการเรียนรู้ในระดับองค์กรจากการสร้างนวัตกรรมเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการทั่วทั้งองค์กร มีการแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนทั่วทั้งองค์กรว่าการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นและนวัตกรรม มีพื้นฐานจากการวิเคราะห์และการแบ่งปันระดับองค์กร
  • สรุปคือ PDCA + innovation + sharing = whole organization

การได้คะแนนการเรียนรู้ 70 - 85%

  • มีกระบวนการประเมินและปรับปรุงอย่างเป็นระบบโดยใช้ข้อมูลจริง และมีการเรียนรู้ในระดับองค์กรรวมถึงการสร้างนวัตกรรมเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการ มีการแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น อันเป็นผลจากการวิเคราะห์และการแบ่งปันระดับองค์กร
  • สรุปคือ PDCA + innovations + sharing

การได้คะแนนการเรียนรู้ 50 - 65%

  • มีกระบวนการประเมินและปรับปรุงอย่างเป็นระบบโดยใช้ข้อมูลจริง และมีการเรียนรู้ในระดับองค์กรรวมถึงการสร้างนวัตกรรมในบางเรื่อง เพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการที่สำคัญ
  • สรุปคือ PDCA + some innovations

การได้คะแนนการเรียนรู้ 30 - 45%

  • แสดงให้เห็นว่าเริ่มมีกระบวนการประเมินและปรับปรุงของกระบวนการที่สำคัญ
  • สรุปคือ PDCA

การได้คะแนนการเรียนรู้ 10 - 25%

  • แสดงให้เห็นว่าเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงจากการตั้งรับปัญหา มาเป็นแนวคิดในการปรับปรุงทั่ว ๆ ไป
  • สรุปคือ beginning

สรุป

  • การจัดการความรู้ หมายถึง กระบวนการของการดักจับ การพัฒนา การแบ่งปัน และการใช้ความรู้ขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล
  • การเรียนรู้ หมายถึง ความรู้หรือทักษะใหม่ ที่ได้รับจากการประเมิน การศึกษา ประสบการณ์ และนวัตกรรม
  • การสร้างนวัตกรรม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเพื่อปรับปรุงผลิตภัณฑ์ บริการ แผนงาน กระบวนการ การปฏิบัติการ และรูปแบบทางธุรกิจขององค์กร เพื่อสร้างคุณค่าใหม่ให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

***************************************

หมายเลขบันทึก: 600727เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2016 19:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2016 19:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท