​“ถ้าคุณเป็นธนาคารที่จะต้องปล่อยสินเชื่อให้กับธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งคุณจะพิจารณาจากอะไรบ้าง”


“ถ้าคุณเป็นธนาคารที่จะต้องปล่อยสินเชื่อให้กับธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งคุณจะพิจารณาจากอะไรบ้าง”


เมื่อหลายวันก่อนได้นั่งเรียนเกี่ยวกับ “เรื่องการจัดหาเงินลงทุน” และมีคำถามว่า “ถ้าคุณเป็นธนาคารที่จะต้องปล่อยสินเชื่อให้กับธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งคุณจะพิจารณาจากอะไรบ้าง” ซึ่งเป็นคำถามที่น่าติดตามตรงที่ว่า ปกติ เราจะคิดว่า จะทำอย่างไรให้ธุรกิจเรา ขอสินเชื่อจากธนาคารได้ มากกว่ามานั่งคิดว่า ธนาคารมีหลักเกณฑ์อะไรในการดูว่าควรให้สินเชื่อกับใครบ้าง ซึ่งจริงๆจะใช้หลักหลักพื้นฐาน 7 C’s ดังนี้

1. Character หรือลักษณะส่วนตัวของลูกค้า เป็นการมองภาพรวมของผู้กู้ว่าเป็นคนอย่างไร มีอุปนิสัยอย่างไร ดังนั้น หากจะต้องทำการขอสินเชื่อกับสถาบันการเงิน การติดต่อกับสถาบันการเงินควรแต่งกายให้เรียบร้อย ดูสบายตา เตรียมเอกสารให้ครบถ้วน ชัดเจน และเตรียมการตอบคำถามให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงของธุรกิจ

2. Capacity หรือความสามารถในการชำระเงิน เป็นการดูว่าเงินที่ขอสินเชื่อนั้นจะนำไปทำอะไร ซึ่งหากเป็นบุคคลธรรมดาอาจขอเอกสารเกี่ยวกับแหล่งที่มาของเงินได้ว่ามาจากแหล่งใดบ้าง โดยต้องมีเอกสารที่น่าเชื่อถือ อย่างเช่น สมุดบัญชีธนาคาร ใบรับรองเงินเดือน หรือเช็คจากเครดิตบูโร เป็นต้น แต่หากเป็นนิติบุคคลก็จะดูจากงบการเงินที่นิติบุคคลนั้นจัดทำส่งให้กับพาณิชย์หรือกรมสรรพากรประกอบด้วย ซึ่งในบางกรณีอาจดูไปถึงผู้ที่ค้ำประกันสินเชื่อนั้นด้วย

3. Capital หรือเงินทุนของผู้ขอกู้ เป็นการวิเคราะห์ถึงสัดส่วนของเงินที่ต้องการขอสินเชื่อ กับเงินทุนของผู้ขอกู้ว่าเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งอาจรวมถึงสินเชื่อเดิมที่ผู้ขอกู้ยังไม่ได้ชำระด้วย ซึ่งสถาบันการเงินมักไม่ให้สินเชื่อกับธุรกิจขนาดเล็กที่มีเงินทุนไม่มาก แต่ขอกู้สินเชื่อจำนวนสูง เพราะสถาบันการเงินจะมีความเสี่ยงสูงตามไปด้วย ดังนั้นผู้ประกอบการที่มีไอเดียธุรกิจที่ดีและมีความสามารถจริง คงต้องเตรียมเก็บเงินให้พร้อมก่อนทำการขอสินเชื่อด้วย

4. Collateral หรือหลักประกัน การให้สินเชื่อของสถาบันการเงิน เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเก็บเงินต้นและดอกเบี้ยไม่ได้ สถาบันการเงินส่วนใหญ่จึงมักจะขอหลักประกันเป็นอสังหาริมทรัพย์มาค้ำประกันเงินสินเชื่อด้วย แต่ในกรณีที่สินเชื่อไม่สูงมากนักอาจจะใช้บุคคลมาค้ำประกันให้ก็ได้ ดังนั้นหากต้องการขอกู้ก็ขอให้เตรียมเอกสารหลักประกันไว้ให้พร้อมและให้เจ้าหน้าที่สถาบันการเงินมาทำการประเมินราคาด้วย

5. Condition หรือสถานการณ์ เป็นการวิเคราะห์สภาวะเศรษฐกิจทั้งระดับมหภาคและจุลภาค โดยวิเคราะห์เศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจระดับประเทศ สภาพของอุตสาหกรรมที่ขอสินเชื่อ จนถึงระดับของธุรกิจ ซึ่งแต่ละสถาบันการเงินอาจมีมุมมองต่อสถานการณ์และอุตสาหกรรมแต่ละอย่างแตกต่างกันไป ดังนั้นการเลือกขอสินเชื่อกับธนาคารที่ให้ความสนใจหรือให้ความสำคัญต่อธุรกิจที่ขอสินเชื่อ ย่อมมีโอกาสได้รับสินเชื่อง่ายกว่า และประหยัดเวลากว่าอีกด้วย

6. และ 7. Country and Currency หรือประเทศและอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา สำหรับสองข้อนี้เป็นกรณีพิเศษเพิ่มเติมในกรณีที่การขอสินเชื่อข้ามประเทศหรือขอสินเชื่อด้วยเงินตราสกุลอื่น ๆ ต้องวิเคราะห์นโยบายและกฏหมายของแต่ละประเทศประกอบด้วย รวมถึงเสถียรภาพทางการเมือง สังคม ค่าเงินสกุลนั้น ๆ และอัตราเงินเฟ้อ มาพิจารณา ซึ่งตรงส่วนนี้ ผู้ประกอบการของไทยเคยประสบปัญหามาแล้วหลายรายในช่วงปี 2540 ที่กู้เงินจากต่างประเทศมา และค่าเงินบาทอ่อนลงอย่างรุนแรง ซึ่งการลดความเสี่ยงก็สามารถทำได้โดยการทำสัญญาซื้อขายเงินล่วงหน้านั่นเอง

แหล่งที่มา : http://www2.feu.ac.th/acad/ba/articles_detail.php?id=113
รูปภาพ :https://i.kinja-img.com/gawker-media/image/upload/s--YeaiHBZZ--/c_fill,fl_progressive,g_north,h_358,q_80,w_636/zj42kn2xzlivgllfpa2u.jpg

หมายเลขบันทึก: 599959เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2016 17:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มกราคม 2016 17:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท