ชีวิตที่พอเพียง 2569c. โลกของคนแก่ขี้ลืม


ผมมีความเชื่อในพลังของ “สมองนอกตัว” ที่มากับ gadget สมัยใหม่ทั้งหลาย ที่ตัวที่สะดวกที่สุด และทรงพลังที่สุดคือ สมาร์ทโฟน ผมจึงใช้มันทำหน้าที่ “สมองนอกตัว” เน้นทำหน้าที่จำ และเตือน

ชีวิตที่พอเพียง 2569c. โลกของคนแก่ขี้ลืม

ระหว่างนั่งอ่านบทความ Beyond Taste Buds : The Science of Delicious และเขียนบันทึกที่ลงเมื่อวาน จอของ MacBook ตัวใหม่ ที่ผมเพิ่งใช้มาประมาณ ๕ เดือนก็ขึ้นคำเตือนให้หยิบสมุดธนาคาร เพราะตอนบ่ายผมจะไปประชุมที่มูลนิธิสยามกัมมาจล จะได้ไปโอนเงินเข้าบัญชีสาวน้อย ที่จริงคำเตือนแบบนี้ MacBook Air ตัวเก่า รวมทั้ง iPhone, iPad ก็ให้บริการ

เอามาเล่าเชื่อมโยงสู่ชีวิตของคนแก่ขี้หลงขี้ลืม ที่ดิ้นรนดำรงชีวิตให้มีคุณค่าที่สุด พยายามขยายเวลาที่ยังช่วยตัวเองได้ และทำประโยชน์ได้ ให้ยาวที่สุด

ผมมีความเชื่อในพลังของ “สมองนอกตัว” ที่มากับ gadget สมัยใหม่ทั้งหลาย ที่ตัวที่สะดวกที่สุด และทรงพลังที่สุดคือ สมาร์ทโฟน ผมจึงใช้มันทำหน้าที่ “สมองนอกตัว” เน้นทำหน้าที่จำ และเตือน

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีช่วยได้มาก เวลานี้ผมจะลงนัดหรือเตือนความจำไว้ในเครื่องใดก็ได้ในสามเครื่อง คือ ไอโฟน ไอแพด และแม็คบุ๊ก แล้วเขาจะคุยกันเอง เพิ่มความจำและการนัดกันเอง ดังกรณีที่ผมใส่การเตือนให้หยิบสมุดธนาคารลงใน ไอโฟน เมือวานซืน แล้วแม็คบุ๊กเตือนผมเมื่อสักครู่นี้ ที่จริงการเตือนจะปรากฎที่ไอโฟน และไอแพดด้วย พร้อมๆ กัน ที่ผมเห็นในแม็คบุ๊กก็เพราะกำลังใช้งาน

เครื่องเหล่านี้ต้องการพลังงานในการทำงาน ผมจึงมีวัตรปฏิบัติก่อนนอนทุกคืน ต้องเสียบปลั๊ก ชาร์จไฟของสารพัดเครื่องใช้ ให้เขามีไฟใช้ตลอดวัน ที่ออกจากบ้าน โดยไม่ต้องแบก power bank ไปด้วย

แต่ก็มีเรื่องให้ลืมจนได้ คือลืมดูสิ่งที่เครื่องเตือน ที่จริงเครื่องเขาเตือนด้วยเสียงด้วย แต่ผมไม่ชอบเสียงรบกวน จึงมักปิดเสียงโทรศัพท์ เขาจึงเตือนด้วยเสียงไม่ได้

คนแก่จึงยังขี้ลืมด้วยประการฉะนี้

วิจารณ์ พานิช

๒๙ ธ.ค. ๕๘

หมายเลขบันทึก: 599057เขียนเมื่อ 3 มกราคม 2016 05:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มกราคม 2016 05:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

การลืม เป็นคุณสมบัติที่จำเป็นของการมีชีวิตอยู่ เป็นศิลปะของการปล่อยวาง แก้อาการติดคิดที่ไม่ดีต่อสุขภาวะถ้ามีมากจนเกินไป

เทคนิคการบันทึกสิ่งที่ไม่ควรลืมลงใน "สมองนอกตัว" ให้คอยเตือนเราในจังหวะของกาละ-เทศะที่เหมาะสมเป็นช่องทางที่ดี มีประโยชน์ เราจะได้มีเวลา "ปล่อยวาง" โดยไม่กังวลมากเกินไป

หนูก็ใช้เหมือนอาจารย์ค่ะ 3 อย่าง

ปีใหม่นี้ขอให้พระคุ้มครองอาจารย์เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรกับพวกเราด้วยนะคะ

สวัสดีปีใหม่นะครับอาจารย์

ตอนท้ายของบันทึกหนูขออนุญาตหัวเราะนะคะอาจารย์...^^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท