ในมุมมองของ….ครูมะเดื่อ….ตอนที่ ๑๒ "ทฤษฎีบริหารการศึกษา : ตีให้แตกแล้วแยกปกครอง


ผุ้บริหารที่บริหารงานไม่เป็น จะนำพาองค์กรไปถึงฝั่งได้อย่างไร ?


ระบบการบริหารงาน " ตีให้แตกแล้วแยกปกครอง"

คงไม่่มีกล่าวไว้เป็นที่อ้างอิงได้ในตำราบริหารงานใด ๆ

หากแต่ มันอยู่นอกตำรา และหาดูได้ไม่ยากเลย



องค์กรใด ๆ ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ อยู่ในเมืองหรือในชนบทก็ตามแต่

หากผู้นำใช้ระบบการปกครองที่เรียกว่า " ตีให้แตกแล้วแยกปกครอง"

แล้วไซร้...จะหาความก้าวหน้าไม่ได้เลย และไม่มีแม้แต่ " ย่ำอยู่กับที่"

จะมีก็แต่ ถอยหลังลงสู่ห้วงเหวทุกวัน



ผู้นำที่ใช้ระบบการบริหารแบบตีให้แตกแล้วแยกปกครอง

จะเป็นผู้บริหารประเภท ที่ภาษาชาวบ้านเรียกว่า " ไม่มีน้ำยา"

บริหารงานไม่เป็น แต่ต้องการจะเป็นผู้บริหารเพราะ ในครั้งที่

ตนเองเป็นลูกน้องจะถูกกดดันมาก ทำอะไรก็มักจะไม่เป็น

ผลสำเร็จ ไม่ได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงานและเจ้านาย



ด้วยเหตุนี้ จึงต้องดิ้นรนที่จะหาทางเป็นผู้บริหารให้ได้ ไม่ว่า

จะเป็นได้ด้วยวิธีที่ถูกต้อง หรือ ไม่ถูกต้องก็ตาม แล้วเมี่อเป็น

ผู้บริหารแล้ว " ความเก็บกด" ที่มีมานานจึงระบายออก

สิ่งที่ต้องดำเนินการเมื่อเข้ามาเป็นผู้บริหารใน

หน่วยงานก็ คือ

๑. พูดว่า " ที่นี่ไม่เห็นจะมีอะไรดีเลย" (เพื่อให้บุคลากร

ในหน่วยงานเห็นว่า ตนเองเข้าใจในงาน และวิเคราะห์

สภาพงานเป็น)

๒. ใช้คนให้ " ถูกใจ" ไม่คำนึงถึงว่าคน ๆ นั้นจะทำงานเป็น

หรือไม่ แต่ถ้า ... ใช่ค่ะ ถูกครับ ได้ค่ะ...เป็นใช้ได้

๓. ล้มเลิกงานของผู้บริหารเก่า ถึงแม้จะเป็นงานที่ดี

ที่ทำมาอย่างต่อเนื่อง และเป็นงานที่พัฒนาองค์กร

ให้ก้าวหน้ามาตลอดก็ตาม เพื่อให้ทุก ๆ คนเห็นว่า

" ข้า...ก็แน่...ข้าก็ทำได้"

๔. หากในองค์กร บุคลากรทำงานเป็นทีม เป็นระบบการทำงาน

ที่มีเพียงกลุ่มเดียว ก็จะ " ตีให้กลุุ่มแตกแยกกัน"

โดยการ ปรึกษางาน มอบงาน และไว้ใจ ให้ทำงาน

เฉพาะคนที่มักจะเป็น " ลูกทีม หรือ ผู้ตาม"

แล้วหาทาง " ฝัง " คนที่ทำงานในระดับผู้นำ

ไม่ให้ได้มีโอกาสได้หยิบจับงานใด ๆ อีก

๕. จำกำจัด " อำนาจเก่า" (ความนิยมในการทำงาน

ของผู้บริหารคนเก่า) ไม่ให้หลงในความทรงจำ

ของทุก ๆ คน

๖. ใช้" ความดีความชอบ" มาสร้างค่านิยมให้กับตนเอง

" ใครทำถูกใจ...ให้สองขั้น" (อย่างนี้จึงเกิดการ....เลี....)

ไม่ชอบหน้าใคร....ตาย..ไม่ได้เกิด

๗. กุมอำนาจในการทำงานทุกงาน ไว้ในมือ (คงเพราะ

สร้างค่านิยมให้ดูดีว่า..ทำงานเก่ง หรือเกรงลูกน้องจะเหนื่อย)

การทำงาน สั่งงาน ไม่เคยฟังเสียงทักท้วงของลูกน้อง

ไม่เคยกำหนดแนวทางการทำงานได้อย่างชัดเจนหรือ

เป็นเรื่องเป็นราว (เพราะทำงานไม่เป็น)



ไม่ช้า ก็จะเกิดการแตกแยกทั้งการทำงาน และทางความคิด

ขึ้นในหน่วยงานอย่างชัดเจน คนที่ตั้งใจทำงานมาตลอดแต่

ไม่เห็นดีเห็นงามกับระบบงาน ก็จะหมดกำลังใจ ท้อ และถอย

ส่วนอีกฝ่ายหนึ่ง แม้จะดูว่า ทำงานเข้ากับผู้บริหารได้ แต่..

ก็หาความจริงใจกันไม่ได้


ผู้บริหารประเภทนี้ หากมีจุดอ่อน หรือ " แผล" อยู่ด้วยแล้ว

ก็จะถูก ลูกน้องที่ประจบประแจงเก่ง ชักจูงได้ง่ายมาก

อีกทั้งยังหาความจริงใจกับใคร หรือลูกน้องคนไหนก็ไม่ได้

ต้องคอยระแวดระวังตัวตลอดเวลา



แบบนี้ องค์กรจะเดินหน้าไปได้อย่างไร...??

นี่แหละฤทธิ์เดชของระบบงาน " ตีให้แตกแล้วแยกปกครอง"


หมายเลขบันทึก: 598637เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2015 20:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ธันวาคม 2015 20:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สภาพนี้เป็นไป เกือบ ทุกโรงเรียนครับ

-สวัสดีครับ..

-การบริหารงานนะครับ?

-เป็นกำลังใจให้กับเด็ก ๆ ทุกคนนะครับ..

หวัดดีจ้ะท่านอาจารย์ต้น เหมือนโรคร้ายที่ลุกลามอ่ะนะ

ทั้ง ๆ ที่เบื้องบนก็รู้ ก็เห์น แต่ก็เหมือนจงใจจะให้การศึกษาไทย

ล่มจมเพราะคนพวกนี้....เวรของเด็ก...กรรมของครู

หวัดดีจ้ะคุณเพชร ใช่เลย...การบริหารที่...หาร...ไม่ลงตัวจ้ะ

ขอบคุณที่แวะมาให้กำลังใจกันจ้ะ

อ่านแล้วชอบมากครับ
สะท้อนความจริงได้แจ่มชัดมากๆ
มีมุมหยกแซวที่น่ารัก

เป็นภาพสะท้อนระบบและกลไกการศึกษาไปในตัว ...

ขอบพระคุณครับ



หวัดดีจ้ะอาจารย์แผ่นดิน คุณมะเดื่อเขียนจากประสบการณ์จริงจ้ะ

จึงมีไอแห่งความเป็นจริงทั้งบันทึก ขอบคุณจ้าา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท