การสำรวจตลาด (International Market Survey)


หนังสือ ธุรกิจส่งออก สำเร็จได้ รวยเร็ว หาซื้อได้ที่ซีเอ็ดบุคส์ทุกสาขา

--------------------------------


การสำรวจตลาด ที่กำลังพูดถึงสำหรับการค้าระหว่างประเทศนี้มักจะไม่ค่อยมีคนได้พูดถึงกันนัก ส่วนใหญ่ท่านน่าจะคุ้นเคยกับการสำรวจตลาดในประเทศกันมากว่า สำหรับท่านที่ยังไม่คุ้นกับการค้าระหว่างประเทศ การส่งออก จึงได้ใส่ International Market Survey ไว้ในส่วนหัวข้อด้วยนั่นเอง ซึ่งค่อนข้างที่จะมีวิธีการหลายๆอย่างที่ต่างกันบ้าง เหมือนกันบ้างดังผู้เขียนจะขอแยกการสำรวจเป็น 2 ส่วนคือ 1. การสำรวจด้านแนวโน้มของสินค้า 2. การสำรวจด้านราคาตลาดของสินค้านั้น

1. การสำรวจด้านแนวโน้มของสินค้านั้น แหล่งที่เราจะสามารถหาว่าแนวโน้มของสินค้าที่เราทำอยู่จะเป็นอย่างไร ในอนาคตเพื่อที่จะทำการปรับเปลี่ยนสินค้าของเราให้อยู่ในแนวโน้มนั้น เพื่อที่จะเป็นผู้นำ หรือยังสามารถพัฒนาให้อยู่ในขอบข่ายที่จะเป็นที่นิยมของตลาดอยู่ ไม่ว่าจะเป็นแง่อัตถประโยชน์การใช้ เทคโนโลยี ในแง่รูปลักษณ์ดีไซน์สีสรรค์ รูปร่าง และทางด้านบรรจุภัณฑ์เป็นต้น แหล่งต่างๆเหล่านี้ก็จะมี

- งานแสดงสินค้าในต่างประเทศ ทั้งที่งานแสดงสินค้านั้นอาจจะมีภายในประเทศด้วยนั้น ที่ระบุในต่างประเทศก็เพราะตลาดของเราเป็นตลาดสำหรับส่งออก ดังนั้นแนวโน้มต่างๆที่เราควรให้ความสำคัญในการศึกษาก็ควรเป็นแนวโน้มของประเทศนั้นๆเอง เพราะความนิยมของผู้บริโภคในแต่ละตลาดจะไม่เหมือนกัน เช่นสิ่งที่ขายได้ปริมาณมากในสหรัฐอเมริกาอาจไม่ส่งผลเช่นเดียวกันสำหรับตลาด สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น หรือออสเตรเลีย ถึงจะมีบางกรณีที่สินค้าขายดีในตลาดหนึ่งจะสามารถเป็นที่นิยมได้เช่นกันในอีกตลาดหนึ่ง ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลนั้นบางทีก็ไม่มีสูตรแน่นอนหากเรายังไม่สามารถพัฒนาให้ Brand หรือตราสินค้าเราแข็งแกร่งแล้ว ได้ความจงรักภักดีจากผู้บริโภคแล้วเช่นสินค้าด้านเทคโนโลยีอย่างไอโฟน สินค้าเครื่องสำอาง และแฟชั่นหลายๆชื่อที่เป็นที่รู้จักดี
ในงานแสดงสินค้าแทบทั้งหมดจะเป็นการจัดแสดงแนวโน้มสินค้าสำหรับฤดูกาลต่อไป หรือหากไม่ใช่สินค้าตามฤดูกาลก็สามารถเรียกได้ว่าเป็นสินค้าสำหรับที่จะวางขายในรอบถัดไป เช่นงานแสดงสินค้ารถยนต์ที่ไม่มีฤดูกาลชัดเจนรถยนต์แต่ละรุ่นจะสามารถขายในตลาดได้หลายปี แต่ส่วนใหญ่แล้วงานก็จะจัดกันปีละครั้งเป็นต้น แต่ละค่ายก็จะนำแนวโน้มของสินค้าตัวเองมาจัดแสดงเช่นอยู่ในรูปแบบรถต้นแบบบ้าง หากเป็นสินค้าชิ้นเล็กที่ต้นทุนการผลิตต่ำกว่าก็จะอยู่ในรูปแบบตัวสินค้าเลยบ้าง เนื่องจากในงานจะไม่อนุญาติให้ถ่ายรูปได้ ดังนั้นการเก็บแคตตาลอกสินค้า โบร์ชัวร์ และสิ่งพิมพ์อื่นอาจมีประโยชน์หากได้นำกลับมาเพื่อเป็นแนวทางการพํฒนาสินค้าอย่างจริงจัง เนื่องจากคนไทยชอบของฟรี ส่วนใหญ่หยิบกลับมาซะทุกอย่างให้หนักกระเป๋า ต้องเสียค่าน้ำหนักเพิ่มแต่ไม่ได้นำมาใช้ได้ทั้งหมด หรือบางรายก็ละเลยไปเลยไม่นำกลับมารีวิวก็มี ก็น่าเสียดาย

- นิตยสารด้านการตลาดของกลุ่มอุตสาหกรรม นิตยสารเป็นอีกแหล่งหนึ่งซึ่งบางทีจะรวบรวมผลงานการวิจัยของนักวิชาการบ้าง บทความหรือคอลัมน์ของ Designer ของสถาปนิก หรือบุคคลที่มีส่วนในการกำหนดทิศทางแนวโน้มของสินค้าในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสีสรรค์ รูปร่าง เทคโนโลยีใหม่ หรือ software ต่างๆ เช่นสินค้า Internet of Things ยกตัวอย่างเช่นตู้เย็นที่สามารถคำนวนว่าอาหารที่มีอยู่ในตู้เย็นชิ้นไหนจะหมดอายุเมื่อไหร่ สามารถคำนวนปริมาณแคลลอรี่จากวัตถุดิบต่างๆได้ การค้นพบว่าสาร Anthocyanin ที่สามารถต้านอนุมูลอิสระมีปริมาณมากในพืชที่เป็นอาหารทีมีสีม่วงเข้ม น้ำเงิน ดำ หรือแดง อาจสร้างแนวคิดในการพัฒนาสินค้าอุปโภคในรูปแบบอื่นๆได้อีกมากนอกจากรูปแบบอาหาร เป็นต้น

- องค์กรที่รณรงค์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต ที่เราต้องสำรวจแนวโน้มความคิดเห็นของคนเหล่านี้เนื่องจากการที่ประเทศต่างๆโดยเฉพาะในประเทศเจรฺญแล้ว ที่ส่วนใหญ่จะเป็นตลาดของเราด้วยนั้นต่างให้ความสำคัญในด้านนี้ โดยจะใช้กฏหมายในการควบคุมและกำหนดทิศทาง อย่างเช่นได้กล่าวถึงในเรื่องคุณภาพสินค้ามาตรการการกำหนดมาตรฐานโลหะหนัก สำหรับสินค้ากลุ่มภาชนะที่ใสอาหาร และเครื่องประดับร่างกายเหล่านี้ ก็จะส่งผลให้เป็นมาตรการที่ผู้ผลิตจะต้องผลิตสินค้าให้สอดคล้อง หากมีแนวโน้มใหม่ๆ ที่อาจจะยังไม่ได้กำหนดเป็นกฎหมายแต่เราเล็งเห็นแน่นอนแล้วว่าทางรัฐบาลเขาให้ความสำคัญ หรือเราได้ข่าวการรณรงค์ของ นักวิชาการ และ NGO ในประเทศนั้นๆ ที่อาจจะนำไปสู่การออกกฎหมายถาวรแล้วเราสามารถปรับตัวให้สินค้าเรามีมาตรฐานที่สอดคล้องแล้ว สินค้าเราก็จะมีโอกาศมากขึ้นในตลาดก่อนใครๆเป็นต้น

- กลุ่ม Designer และ R & D ของบริษัทลูกค้าเอง ที่ส่วนใหญ่แล้วเราอาจไม่สามารถเข้าถึงบุคคลเหล่านี้ได้โดยตรง หากความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างกันยังไม่แนบแน่นพอ อย่างผู้เขียนถือว่าโชคดีที่มีลุกค้าที่มีความสัมพันธ์ถึงระดับนี้ ในขณะที่เดินทางไปเยี่ยมทีม Buyer ก็มักจะได้โอกาศในการร่วมประชุมโดยตรงกับ Designer และ R & D ของบริษัทลูกค้าเอง แทนที่จะได้รับข่าวสารการพัฒนาสินค้าผ่าน buyer อย่างเดียวที่อาจมีโอกาสล่าช้า หรือตกหล่นเนื่องจากการสื่อสารกันโดยตรง เราจะสามารถแจ้งข้อจำกัดในการผลิตบางอย่างได้ทันที ฝ่ายนี้ก็สามารถจะทำการปรับแบบสินค้าให้เป็นไปได้มากที่สุดสำหรับการผลิต และมีต้นทุนที่เหมาะสม ขณะที่แบบยังคงใกล้เคียงกับความต้องการของเขาได้มากที่สุดเช่นกัน ก็จะสามารถกระชับขั้นตอนได้

- ห้างสรรพสินค้า หรือหน้าร้านที่ขายสินค้านั้น การสำรวจด้านราคาตลาดของสินค้านั้น แต่ส่วนนี้เราต้องไม่มุ่งที่จะไปสำรวจที่ที่จำหน่ายสินค้าของลูกค้าเราแต่อย่างเดียว จะต้องไปในแหล่งร้านค้าที่ขายสินค้าที่เราผลิตโดยวงกว้าง เพื่อที่จะได้ดูแนวโน้วของตลาดทั้งหมดไม่ใช่เฉพาะของลูกค้าเรา เพราะจะเป็นการเพิ่มโอกาศการพัฒนาต่อยอดในสินค้าของลูกค้าเดิม และลูกค้ารายใหม่ๆในขณะเดียวกัน

2.การสำรวจด้านราคาตลาดของสินค้านั้น แหล่งที่สามารถจะสำรวจได้ก็จะแคบลงมามากว่าการสำรวจในประเด็นแรก แต่ก็จะเพียงพอที่จะให้ idea ว่าสินค้าชนิดนั้นๆ ควรที่จะวางขายในท้องตลาดราคาเท่าไหร่ ต้นทุน FOB จากเราเป็นเท่าไหร่ ต้นทุนการผลิตเป็นเท่าไหร่เป็นต้น เพราะหลายครั้งเราไม่สามารถกำหนดราคาตลาด ไปจากต้นทุนราคาการผลิตแล ราคาส่งลงเรือ แล้วต่อไปเป็นราคาขายปลีกได้ซะเลยที่เดียว เราจึงมีความจำเป็นในการสำรวจย้อนกลับในลักษณะนี้ที่เป็นการย้อนจากราคาขายปลีกที่หน้าร้านกลับมาด้วย แต่การสำรวจในแง่การตลาด จากตลาดผู้บรโภคโดยตรงทั้งแง่ราคา และรุปแบบที่ทำในประเทศนั้นๆก็จะมีอยู่ เราต้องคอยติดตามจากลูกค้า หรือนิตยสารด้านการตลาดในประเทศนั้นว่าจะมีแนวโน้มเช่นไร ที่นี่แหล่งที่เราสามารถสำรวจได้เองก็จะมี

-ห้างสรรพสินค้า หรือหน้าร้านที่ขายสินค้าเช่นเดียวกับกรณีไปดูแนวโน้ม เราจะสามารถสำรวจด้านราคาได้ไปพร้อมๆกัน และสิ่งที่ดีสำหรับการไปห้างสรพพสินค้าก็คือ เราจะสามารถดูทั้งแนวโน้ม และราคาของสินค้าที่มาจากประเทศคู่แข่งได้ด้วย เราก็จะสามารถทราบได้ว่าของเขามีราคาถูก หรือแพงอย่างไร แล้วเราเองจะสามารถสู้ได้หรือไม่ทั้งในแง่รูปลักษณ์ และราคา ทั้งนี้ไม่จำเป็นเสมอไปที่จะแข่งด้านราคาให้ถูกว่าเสมอ แต่เราต้องดุในภาพรวมทั้งหมดมากว่า

-นิตยสารด้านการตลาด การค้าปลีก หนังสือพิมพ์สิ่งพิมพ์อื่นเช่น แคตตาลอก โบร์ชัวร์ ที่จะมีข้อมูลเหล่านี้ด้วยนั้นเอง
และแน่นอนว่าตัวลูกค้าเองด้วย ที่จะคอยบอกเราว่าราคาที่เขาซื้อได้นั้นอยู่ในระดับไหน แต่ทั้งนี้หากเราได้มีทั้งข้อมูลการตลาดทั้งทางด้านรูปแบบ สินค้าและราคาแล้ว ก็จะเป็นการง่ายในการเจรจาต่อรองว่าสินค้าเรา ข้อดี ข้อด้อยเปรียบเทียบกับสินค้าอื่นๆ จากประเทศอื่นๆอย่างไร เหมาะสมกับราคาที่เราได้เสนออย่างไรนั้นเอง

การสำรวจตลาดอยู่เสมอจึงมีความจำเป็น ที่จะส่งผลเป็นการคงความสามารถในการแข่งขัน การสร้างหรือพัฒนา Core Competency การจะพัฒนา Differentiation การที่จะต่อยอดหรือ Diversify สินค้าไปอย่างไร หวังว่าท่านจะสามารถสร้างสินค้าให้แข็งแกร่งได้ในตลาด สร้างความภักดี (Brand Loyalty) ได้ ก็จะสามารถครองตลาดได้อย่างง่ายเหมือนผู้ที่แข็งแกร่งต่างๆที่ทำเป็นตัวอย่างได้นั่นเอง ทั้งนี้เขาเหล่านั้นก็ยังไม่หยุดการพัฒนา ยังมีการสำรวจตลาดอยู่อย่างสม่ำเสมออยู่นั่นเอง ขอให้ทุกท่านโชคดี

หนังสือแนะนำ English for Business Meeting คลิก



หมายเลขบันทึก: 597782เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2015 10:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 เมษายน 2019 16:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท