นุชรัตน์
ดร. นุชรัตน์ ประสิทธิศิลป์ชัย

บันทึกการนิเทศ : สังเกตชั้นเรียน โรงเรียนหนองโพนวิทยายน


มีแว่นขยายมากมาย ที่จะนำมาเป็นกรอบในการตีความในการสังเกตชั้นเรียน

วันนี้ภาคเช้าที่ โรงเรียนหนองโพนวิทยายน ผู้อำนวยการได้เตรียมครูผู้สอนปฐมวัย อนุบาล 2 และ ชั้นป.6 ไว้ให้ กิจกรรมเริ่มต้นด้วย

1. ศึกษาแผนการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน
ครู หน่อย ปฐมวัย ได้จัดเตรียมแผนการจัดประสบการณ์ เรื่อง กลางวัน และ กลางคืน โดยจะเริ่มสนทนา กับผู้เรียน หลังจากนั้นก็จะมีกิจกรรมเคลื่อนไหว หลังจากนั้นจะเสริมประสบการณ์เด็กด้วยใบงาน และสิ้นสุดด้วยกระบวนการ วาดภาพสร้างสรรค์ และการพับสี ศน.ได้ซักถาม ประเด็นต่างๆ เช่น "วัตถุประสงค์เพื่ออะไร .(ครูตอบ เพื่อให้ นร.สามารถบอก ช่วงเวลากลางวันและกลางคืนได้, และให้วาดภาพ เพื่อจะดูความคิดสร้างสรรค์) จะรู้ได้อย่างไร ว่า นร.บรรลุวัตถุประสงค์ ครูบอกว่า สังเกตพฤติกรรม การซักถามนักเรียน และ ให้นร.มาเล่าเรื่องที่วาดภาพ

ครู ดุสิต ป.6 สอนกับ DLTV ครูบอกว่า ส่วนใหญ่ก็จะดูและกระตุ้นให้ นร.จด และเมื่อจบบทเรียนทุกครั้ง ก็จะมีการสรุปบทเรียนร่วมกับผู้เรียน

2. สังเกตการสอน
ขณะสังเกตการสอน ได้ใช้เวลา คนละ 1 ชั่วโมง ครู ปฐมวัย (ศน.นุชรัตน์) ครู ดุสิต (ศน.กชพร) โดยมีผู้อำนวย เดินไปมา อำนวยความสะดวกในการทำงาน




3. สะท้อนผลหลังสอน
ผู้อำนวยการให้ครูทุกคนในโรงเรียน เข้ารับฟังการสะท้อนบทเรียนทุกคน
ครูหน่อยสะท้อนตัวเอง ว่าพอใจในการสอนมาก นักเรียนให้ความร่วมมือดีมาก และ แตกต่างจากการสอนครั้งก่อนๆ และคิดว่าเด็กบรรลุเป้าหมาย

ครูดุสิต สะท้อนตนเองว่า โดยภาพรวมพอใจและนักเรียนบรรลุเป้าหมายการสอน ในครั้งนี้

ศึกษานิเทศก์ : ชั้นเรียนปฐมวัย โดยภาพรวมครูจัดกิจกรรมได้เป็นไปตามขั้นตอนที่ได้ออกแบบการสอนไว้ นักเรียนมีส่วนร่วม คุณครูเสียงดังแต่ไม่น่ากลัว ชั้นเรียนบรรยากาศ น่าเรียน ในเรื่องของ "กลางวันและกลางคืน" จากการสังเกตพบว่า ครู ใช้คำถามเพื่อสรุปบทเรียน เพียง 2-3 คำถาม เพื่อสนทนากับเด็ก และมี นร.เพียงคนหรือสองคนตอบถูก ครูก็จะรีบ ตะครุบคำตอบของเด็กทันที และ อ้างอิงว่า ทั้งชั้นเข้าใจแล้ว

ใน ระหว่างการสนทนาครูกับ นร. ครูมีการเชื่อมโยงกับประสบการณ์ในชีวิตประจำวันน้อยมาก การใช้ภาษา กำกวม เช่น "ถ้าตะวันขึ้นตรงหัว คือเวลาใด (เด็กตอบ กลางเช้า ..กลางวัน) , ถ้ากลางคืน จะมีสีใด สีดำ ใช่ไหม แล้วมีอะไรออกมา ( ผี ) และกิจกรรมให้เด็กพับสี ก็ไม่ได้ สอดรับกับกิจกรรมกลางวันและกลางคืนแต่อย่างใด (อันนี้ เป็นความผิดพลาดตอน ศึกษาแผนร่วมกัน ศน.บอกว่ากิจกรรมเยอะไป 1.30 ชม. คงดูได้ไม่ทั้งหมด ขอให้ตัดบางกิจกรรมออก ครูจึงตัดกิจกรรมวาดภาพสร้างสรรค์ ซึ่งเกี่ยวกับเรื่อง กลางวัน และ กลางคืน)

ข้อเสนอแนะ : เรื่องที่สอน ดูเหมือนจะง่าย แต่จริงๆ ครูควรทำความเข้าใจ มีการค้นคว้าทางอินเทอร์เน็ต และ หลีกเลี่ยงการ สื่อให้เด็กจินตนาการไปเรื่องที่น่ากลัว (ผี) ควรใช้สื่อ (ในห้องมีคอม และ ทีวี) เพื่อให้เด็กเห็นชัดเจนขึ้น

ศึกษา นิเทศก์ : สังเกตชั้น ป.6 , ครูผู้สอน สอนด้วย dltv ใน ชม.ที่สังเกต ที่ใช้ HD มีการหยุด และ play เป็นระยะ กับเด็กนักเรียน ครูมีลำดับในขั้นตอนการสอนได้ดีมาก มีการเชื่อมโยง และสะท้อนความชำนาญในการสอน แต่ ครูไม่รอฟังคำตอบของผู้เรียน ทุกครั้งที่ถาม และ มัก เฉลยคำตอบเอง บรรยากาศ โดยรวมครูเเป็นศูนย์กลาง และ ครูดูแลเด็กทั้งชั้นยังไม่ทั่วถึง ..นักเรียน ส่วนใหญ่ ให้ความร่วมมือดี สนใจ ตอบคำถาม และคิดตามครู ครูควรปรับปรุงการพูด คือ พูดเร็วมาก และใจร้อน ไม่ทนรอฟังคำตอบผู้เรียน

บทสรุป

เรา ได้ ทิ้งเป็นข้อเสนอแนะ ให้กับ โรงเรียนว่า การอบรมพัฒนาครูที่ผ่านมาอาจจะไม่ได้ผล เท่าใดนัก และ ฝากให้โรงเรียนได้นำกระบวนการศึกษาชั้นเรียน การสังเกตการสอน AAR เข้าสู่สถานศึกษาเพื่อให้เป็นวัฒนธรรมของโรงเรียน

ผอ.ได้ สะท้อนศึกษานิเทศก์ "ผมมีความสุข และพอใจ ที่เห็น ศน..ได้มาลงลึก และช่วยโรงเรียน ในหลายๆ ครั้งเกี่ยวกับการเรียนการสอน และ ร.ร.รอบๆ ข้างล้วนมีพัฒนาการที่ดีขึ้น"

ครู .." การ สังเกตการสอน ก็เป็นเรื่องที่ดี แต่กลัวไม่มีเวลาค่ะ และ ไม่มีความรู้ลึกซึ้งที่จะนิเทศ เพื่อนครูด้วยกัน " (ส่วนใหญ่ครูตอบแบบนี้)
ศน. ให้กำลังใจ และบอกว่า ทุกคนเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน ไม่มีคนเก่งที่สุด และ อาจมองภาพรวมก็ได้ เช่นบุคลิกภาพ คุณลักษณะ เป็นต้น

ปัจจุบัน ผอ.ได้ให้ครูจับคู่กัน ทำงาน และมีการช่วยเหลือเกื้้อกูลกัน ระหว่างคู่ทำงาน .. แต่ สัญญาว่า จะนำกระบวนการนี้เข้าสู่ โรงเรียน


มีแว่นขยายมากมาย ที่จะนำมาเป็นกรอบในการตีความในการสังเกตชั้นเรียน


คำสำคัญ (Tags): #นิเทศ#plc
หมายเลขบันทึก: 597518เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2015 19:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2015 07:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท