KM @ เชียงใหม่ (๓) สุขภาพช่องปากคนพิการ : กาดแลก แจก แถม


ตั้งแต่ทีมผู้เหนี่ยวนำกระบวนการ (Mentor) ใช้กระบวนการ “ตลาดนัดความรู้” และระดมจิตใจ (Mind storming)

จัดกิจกรรมแบ่งปันความรู้ฝังลึก (Tacit knowledge) และระดมจิตใจร่วมทำสิ่งดีงามหลายอย่าง ... มาหลายครั้ง

พอจะบอกได้ว่า นอกจากความรู้ฝังลึกจะถูกทำให้ออกมาชัดแจ้งขึ้นแล้ว

การจะสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้ชุมชนนักปฏิบัติด้านช่องปาก .... ผ่อนคลาย สบายใจ

อยากจะแบ่งปัน อยากจะถ่ายทอด ไม่กั๊ก อยากจะปล่อยออกมาให้หมด ให้เพื่อนได้รู้เหมือนกับเรา …. ไม่ยากนัก

การให้สลับบทบาทเป็นผู้รับฟัง ที่อยากจะเปิดใจรับ ไม่มีอคติ ถึงสงสัย ก็อยากจะถาม อยากจะค้นหาสิ่งดี ๆ เพิ่มเติม .... ไม่ใช่จับผิด ไม่ใช่หาเรื่อง

เงื่อนไขหลังนี้ ขึ้นกับเวลา การออกแบบกิจกรรม และความ “ถึงพร้อม” ของผู้ร่วมกิจกรรม .... เป็นสำคัญ

^_,^

ครั้งนี้เช่นกัน ตุ้ม ๆ ต่อม ๆ มีเวลาเตรียมการสื่อสาร เพียงก่อนเบรกแรกช่วงเช้าของวันแรก

ไม่แน่ใจนัก จะสร้างบรรยากาศอบอุ่น ความรู้สึกปลอดภัย ที่ทุกคนจะเปิดหัวใจกว้างพอที่จะรับความรู้สึกจากเพื่อน

พร้อมกับใจของตนจะสงบนิ่งพอไหม? จะซึมซับประทับใจสิ่งดีงามที่เพื่อนตั้งใจนำมาแบ่งปัน …. ได้ไหมหนอ?

อยู่กับปัจจุบันขณะ อย่าเพิ่งกังวลล่วงหน้า อ่ะ .... เดี๋ยวรู้กัน

^_,^

เทคนิคเล็ก ๆ น้อย อายุน้อยพูดก่อน เคาะระฆังจับเวลาเท่า ๆ กัน สลับบทบาทผู้พูด-ผู้ฟัง

ค่อย ๆ ฝึกการแบ่งปันเวลา เมื่อเริ่มชินก็ให้เวลารวมเท่านั้น แบ่งปันเวลาที่แต่ละคนใช้ในการพูดกันเอง

ค่อย ๆ ฝึกความชำนาญในการร่วมกันใช้มณฑลสาธารณะหรือเวทีการแลกเปลี่ยน .... ที่เป็นของพวกเราทุกคน

^_,^

การเรียนรู้แบบกลุ่ม แบ่ง ๖ กลุ่มเรียนรู้

คุยกันเอง แบ่งหน้าที่ให้สมาชิกกลุ่มไปเก็บเกี่ยวความรู้จากทั้ง ๙ จุดเรียนรู้ (booth)

แล้วค่อยกลับมาบอกเล่าให้คนในกลุ่มฟัง เรื่องที่เรียนรู้มา

  • สิ่งที่กลุ่มต้องเตรียมนำเสนอในที่ประชุมใหญ่
    • แต่ละจุดเรียนรู้นั้น มีจุดเด่นอะไร ๓ ประเด็น
    • แต่ละจุดเด่นให้บอกเล่าว่า เขามีวิธีทำอย่างไร/ทำได้อย่างไร

^_,^

เป็นครั้งแรก ที่มีสมาชิกกลุ่มมาถามซ้ำหลายกลุ่ม ๙ × ๓ = ๒๗

ต้องหาประเด็นจุดเด่นที่ประทับใจ ๒๗ ประเด็น จาก ๙ จุดการเรียนรู้ จริง ๆ เหรอคะ?

ใช่จ้ะ .... แบ่งกันหา แล้วพอรวมก็จะได้ ๒๗ ประเด็นจ้ะ

^_,^

เริ่มเปิดตลาดนัดความรู้ หรือ “กาดแลก แจก แถม”

บรรยากาศเรียนรู้แต่ละจุด ทีมเจ้าของพื้นที่ ๒ – ๓ คน เป็นผู้นำเสนอ ๑๕ นาที

แล้วค่อยให้ผู้มาเรียนรู้ได้ซักถาม ๑๕ นาที รวม ๓๐ นาที ห้ามย้ายหรือเปลี่ยนจุดเรียนรู้

จากนั้น .... เห็นภาพที่ไม่ยอมเลิกรา ไม่ยอมแยกจากวงสนทนา

ยิ่งพูด-ฟัง ยิ่งมัน ระฆังเตือนสองสามรอบ อิ อิ

^_,^

จุดเรียนรู้ช่วงเช้า

๑. ศรีบุญเรือง หนองบัวลำภู

๒. นากลาง หนองบัวลำภู

๓. อุบลราชธานี

๔. บ้านฝาง ขอนแก่น

^_,^

คั่นกลางอีกแล้ว ๑๑ นาฬิกา เชิญพี่มานพ เชื้อบัณฑิต

รองปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองบัวลำภู

คนสำคัญริเริ่มการวางระบบดูแลช่วยเหลือคุณภาพชีวิตคนพิการ

ทั้งบ้านพักอาศัย อุปกรณ์เครื่องช่วยการยังชีพ ดูแลคนดูแล เชื่อมประสานส่วนที่เกี่ยวข้อง

ให้ตรงความต้องการของคนพิการและครอบครัว ..... "ทำด้วยหัวใจ ใช่เพียงหน้าที่"

รายละเอียดเพิ่มเติม ชม Slide ได้นะคะ ท้องถิ่นกับการดูแลคนพิการ.pptx

^_,^

ช่วงพักเที่ยง น้องแจ้ว จากบ้านสมานใจ เชียงใหม่

มาทอผ้าด้วยกี่น่ารัก นำไปแต่งเสื้อยืดเหมือนที่น้องแจ้วใส่ แต่งกระเป๋าผ้า ทอเป็นผ้าพันคอ ฯ

เพื่อน ๆ สมาชิกบ้านสมานใจช่วยกันหารายได้เลี้ยงตัวเองมาได้ ๘ ปี แล้ว

ทีมน่านก็ขนกระเป๋าแบบต่าง ๆ จากฝีมือคนพิการมาขาย เพิ่มรายได้ใช้ในชีวิตประจำวัน

ถ้ามีจัดประชุมอีก หนองบัวลำภูบอกว่าจะขนกระติบมาขาย และอีกหลายผลิตภัณฑ์

^_,^

สาว ๆ จับจ่ายกันสนุกสนาน ก่อนเริ่มกิจกรรมภาคบ่ายด้วยน้องทิพย์ ทีมน่าน

แนะนำบทบาทของนักกิจกรรมบำบัด

ร่วมกับนักจิตวิทยา จัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับคนไข้ ประเมิน แบ่งกิจกรรมให้คนไข้ทำ

กลุ่มผู้สูงอายุ ดูสภาพจิตใจ กระตุ้นการทำกิจกรรม ปรับสภาพบ้านให้เหมาะสม ดูสิ่งแวดล้อม

ทำร่วมกับทีมสหวิชาชีพ Med Stroke unit, Ortho, กระตุ้นพัฒนาการเด็ก sensory integration

• กายภาพบำบัด ดูกล้ามเนื้อมัดใหญ่ การเจ็บปวดกล้ามเนื้อ กระดูกโครงสร้างชิ้นใหญ่ ฝึกเดิน

กิจกรรมบำบัดเน้นกล้ามเนื้อมัดเล็ก แขน มือ ช่องปาก พูดไม่ชัด พูดช้า กลืนลำบาก hypersensitivity, gag reflex, perception ช้า cognition พูดไม่รู้เรื่อง กินไม่ได้ ใส่ ng tube ติดขวดนม

• เรียนที่คณะเทคนิคการแพทย์ สาขากิจกรรมบำบัด มีที่มหิดลและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

และน้องทิพย์พาพวกเราใช้การฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็ก

เป็นกิจกรรมกระตุ้นสมอง ป้องกันไม่ให้หลง ๆ ลืม ๆ ตอนอายุมากกว่านี้

แล้วเข้าสู่กิจกรรม "กาดแลก แจก แถม" ต่อไป

^_,^

จุดเรียนรู้ช่วงบ่าย

๕. สงขลา

๖. น้ำพอง ขอนแก่น

๗. น่าน

๘. สูงเนิน นครราชสีมา

๙. ปง พะเยา

พอกลับมาเข้ากลุ่มเรียนรู้ ชั่วโมงกว่าผ่านไป ๔ โมงเย็นแล้ว ยังเล่ากันไม่จบ

จับฉลากเพื่อความเสมอภาค จากทั้งหมด ๖ กลุ่มเรียนรู้

๓ กลุ่ม จะได้นำเสนอผลการเรียนรู้ให้ทั้งห้องฟัง ๒ booth

อีก ๓ กลุ่ม นำเสนอแค่ ๑ booth

^_,^

จากที่ปูพื้นมาตั้งแต่กิจกรรม “ต้นไม้แห่งชีวิต” วันแรก

คนต้นเรื่อง สื่อผ่านคนกลางที่ ๒ ถึงคนรับสารที่ ๓ – ๔

เรื่องดี ๆ ที่ส่งผ่านเข้าไปในใจเพื่อนได้ ความประทับใจจะไม่ลบเลือนง่าย ๆ

ภาษา คำพูดอาจไม่คงเดิมเป๊ะ แต่แก่นเนื้อหาสาระ ความคงเส้นคงวา ....

โปรดติดตามในบันทึกต่อไปนะคะ

สวัสดีค่ะ

^_,^



ความเห็น (6)

แต่ละทีมให้ความรู้ที่ดีมากเลยครับ

ชอบใจกิจกรรมนี้ทำให้นึกถึงกิจกรรมนี้ครับ

https://www.gotoknow.org/posts/205769

หนนี้เห็นบรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มีความสุข สืบเนื่องจากบันทึกก่อนที่เตรียมพร้อมรบ เอ๊ย พร้อมเรียนนะคะ

ว่าแต่ว่า "เทคนิคเล็ก ๆ น้อย อายุน้อยพูดก่อน..." ทำไมละจ๊ะ

อายุมากก็ไม่เหลืออะไรให้พูดสิงั้น ไม่ยอมหรอก...555...

โห ... พี่นนพยายามขายลูกชายมาหลายปีแล้วหรือนี่ ยังไม่สำเร็จ อิ อิ

๕ ๕ ๕ ๕ แก้เขินกันในช่วงแรกเท่านั้นค่ะ พี่นุ้ย คนอายุมากเรื่องเล่าเยอะ เล่าทีหลังก็ได้ ไม่หมดง่ายหรอก อิ อิ

พอคุ้นกันแล้ว ใครเริ่มก่อนก็ได้ค่ะ แต่ต้องมีคนฟังเสมอ .... ห้ามแย่งกันพูดพร้อมกัน จร้า

-สวัสดีครับ


-กิจกรรมแต็มเอี๊ยด...แต่ก็หนุกหนาน..นะครับ


-ตลาดนัดความรู้...อิๆ


-ไปเชียงใหม่คราวนี้คุ้มจริง ๆ นะครับพี่หมอ..


-ขอบคุณครับ






ขอบคุณค่ะคุณเพชรฯ สนุก มีความสุขมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท