ผมกราบเรียนถามพระธุดงค์ท่านว่า "ท่านกลัวงูหรือไม่ ?"


ตั้งแต่วันแรกที่ผมเข้าไปกราบพระธุดงค์ท่าน

ผมได้กราบเรียนสอบถามท่านว่า "ท่านกลัวงูหรือไม่ ?"

ประโยคแรก ท่านเปรยขึ้นว่า "ความกลัว มันก็เป็นอาการของจิต"


แต่ในตอนนั้น ผมไม่สามารถเข้าใจประโยคนั้นได้

ท่านจึงค่อย ๆ ทยอยขยายความเพิ่มเติมให้อย่างเป็นเหตุเป็นผล

พร้อมกับยกตัวอย่างประสบการณ์ธรรมที่เกี่ยวกับงูให้ฟัง

ผมจึงพอจะประมวลผลตามความเข้าใจแห่งตนได้บ้าง




แต่สุดยอดเคล็ดวิชานั้น ท่านได้เอ่ยขึ้นตั้งแต่ประโยคแรก

ผ่านมาตั้งหลายเดือน พึ่งจะมาเข้าใจในสัปดาห์นี้ หนอ


ประโยคที่ว่า .. "ความกลัวก็เป็นอาการของจิต" .. นี้

เป็นประโยคที่ยิ่งใหญ่มาก ๆ

ในตอนนั้น ยากนักที่จะเห็นตามดั่งที่ท่านพูด

ผมจะทดลองอธิบายดู ไม่แน่ใจว่าจะอรรถาธิบายได้มากน้อยเพียงใด

และต้องใช้กี่บรรทัด กี่บันทึก จึงจะสามารถทำให้เห็นตามท่านได้ หนอ









แม้ผมจะพิจารณา ธาตุ ๔ ขันธ์ ๕

ให้รวมลงสู่พระไตรลักษณ์มานานหลายปีแล้วก็ตาม

แต่มันยังเป็นแค่ขั้นการปูพื้นฐานเท่านั้นเอง หนอ


จุดเปลี่ยนที่ทำให้เข้าใจประโยคแรกของท่านนั้น

อยู่ที่ความเข้าใจ "ธาตุ ตัวที่ ๕" หรือ ธาตุรู้ นั่นเอง หนอ


ผมพยายามเขียนโมเดลเพื่อใช้ประกอบการอธิบาย ดังนี้ครับ




กว่า 10 ปีแห่งการเพียรปฏิบัติธรรมของผมนั้น

แม้ในภาคปริยัติทฤษฎี จะดูเหมือนว่าไปไกลแล้วก็ตาม

แต่ในภาคปฏิบัตินั้น ยังอยู่แค่ระดับการพัฒนาตัวรู้เท่านั้นเอง


ยังไม่สามารถก้าวไปถึงขั้น "ปล่อยรู้" ด้วยความเห็นจริง

(ปล่อยรู้ได้ชั่วคราว ด้วยความบังเอิญ)


หมายเลขบันทึก: 596263เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2015 04:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 ตุลาคม 2015 05:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ปล่อยรู้แล้ว..ปฏิบัติ..(..55555...)

มีรูปหมาน้อย..ธรรมดาๆมาฝาก เจ้าค่ะ..

ที่บ้านเจอบ่อย ดิฉันกลัวค่ะ แต่พยายามตั้งสติ เพื่อให้ความกลัวบรรเทา ก็ช่วยได้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท