เสรีนิยมใหม่ และ ทุนนิยม อะไรคือความแตกต่าง? (ตอนที่ 1)


ฉันคิดว่า เสรีนิยมใหม่ กับ ทุนนิยม มีลักษณะที่แตกต่างกัน ทุนนิยมไม่ใช่อุดมการณ์ (ideology) คำว่าอุดมการณ์ โดยมากแล้วจะมุ่งหมายถึงบางสิ่ง เช่น ความเชื่อในตลาดเสรี, ทรัพย์สมบัติของปัจเจกบุคคล ฯลฯ แต่สิ่งนี้ไม่ใช่ความหมายของทุนนิยม คำว่าอุดมการณ์นั้นเป็นกลุ่มของความเชื่อแบบเสรีนิยมมากกว่า นักเสรีนิยมอาจเป็นทุนนิยมหรือไม่ก็ได้ และพวกทุนนิยมอาจเป็นเสรีนิยมหรือไม่ก็ได้เช่นเดียวกัน ในทางประวัติศาสตร์แล้ว ความเป็นเสรีนิยมจะเป็นอุดมการณ์ที่ผิดพลาดของทุนนิยม (default ideology) แต่สิ่งนี้ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นสากลเสมอไป

โดยใจความหลักแล้ว ทุนนิยมก็คือการปฏิบัติการทางสังคมชุดหนึ่ง (a set of social practices) ซึ่งจุดประสงค์ของการปฏิบัติการนั้นก็เพื่อสะสมทุน อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้ไม่ใช่สิ่งเดียวกับการค้าขาย (commerce), การแสวงหาผลประโยชน์, การขายสินค้า, การกระทำทุกอย่างให้กลายเป็นสินค้า ไม่ว่าจะเป็นการบริการและความสัมพันธ์ทางสังคมก็ตาม, ตลาดเสรีในสินค้าและการบริการ, การว่าจ้างงานและการป้องกันไม่ให้ผู้ใช้แรงงานมีส่วนร่วมในการตลาดแรงงานในเรื่องผลประโยชน์ของแรงงานเอง, หรือแม้กระทั่งการเจ้าของทุนส่วนตัว อย่างไรก็ตาม ทุนนิยมจะสามารถเกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ หรือเกี่ยวข้องเป็นบางสิ่งกับที่กล่าวมานี้ทั้งหมด

อย่างไรก็ตาม มาร์ค ไม่เคยใช้คำว่า ทุนนิยม เขามักจะใช้คำว่า ทุน, พวกกลุ่มทุน, และวิถีการผลิตแบบทุน ต่อมาคำว่า ทุนนิยม จึงมีความหมายได้หลายนัย ได้แก่

1. คำว่าทุนนิยม มักจะมีความหมายว่า สิ่งที่พวกทุนนิยมชอบทำ เช่น ต้องการที่จะสมสมทุน

2. คำว่าทุนนิยม เป็นชื่อย่อของวิถีการผลิตแบบทุนนิยมในความคิดของมาร์ค วิถีการผลิตแบบทุนนิยม หมายถึง องค์รวมของความสัมพันธ์ทางสังคม, สถาบันต่างๆ, การปฏิบัติการ, กลไกเชิงอุดมการณ์ ซึ่งพวกนายทุนชอบใช้ เพื่อที่จะสร้างเงื่อนไขทางสังคมให้เอื้อต่อการสะสมทุนได้นั่นเอง

เสรีนิยม เป็นชื่อปรัชญาการเมืองที่มีลักษณะเฉพาะ เป็นกลุ่มของความเชื่อ และโปรแกรมทางการเมือง ที่นำเสนอโดยความเชื่อแบบเสรีนิยม ซึ่งกล่าวอ้างว่าต้องการที่จะเข้าใจบางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ และเศรษฐกิจ และความเข้าใจในธรรมชาติของมนุษย์รวมทั้งเศรษฐกิจนี้แหละ ที่จะให้รัฐต้องวางกลไกเพื่อสร้างความกินดีอยู่ดีในหมู่มนุษย์ให้มากที่สุด และหนึ่งในความเชื่อว่ามีวิธีการเดียวในการทำให้ความเจริญในหมู่มนุษย์สูงที่สุดก็คือ ใช้ผลประโยชน์จากนายทุนให้มากที่สุดนั่นเอง

ในการปฏิบัติ เสรีนิยมจะชื่นชมกลไกบางอย่างเป็นพิเศษ ซึ่งเป็นที่คุ้นเคยกับเรา เช่น การทำให้บริการ เช่น น้ำ หรือไฟฟ้า เป็นรัฐวิสาหกิจ และลดการควบคุมตลาดการเงินลง โดยสรุป เสรีนิยมจะชมชอบนโยบายที่เพิ่มอำนาจ และเกียรติภูมิของทุนการเงินเป็นพิเศษ (ธนาคาร, การกู้ยืมเงินมาเพื่อลงทุนเพื่อเพิ่มผลตอบแทน (hedge funds)) แทนที่จะให้ความสำคัญกับคนอื่นๆ (นักอุตสาหกรรม, ผู้บริโภค, คนงาน, ผู้ยืม) เป็นสิ่งถกเถียงกันได้ว่าการให้ความสำคัญกับทุนการเงินเหนือทุนอุตสาหกรรมบรรจุไว้ในทฤษฎีเสรีนิยม แต่อย่างน้อยเราต้องยอมรับว่าการให้ความสำคัญกับการเงินเป็นสิ่งที่บรรจุไว้ในเสรีนิยมใหม่ ตั้งแต่ในช่วงทศวรรษที่ 1970 แล้ว

แปลและเรียบเรียงจาก

Alan Finlayson. ‘Neoliberalism’ and ‘Capitalism’ – what’s the difference?

https://jeremygilbertwriting.wordpress.com/2015/07/14/neoliberalism-and-capitalism-whats-the-difference/

…………………………..

หมายเลขบันทึก: 594827เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2015 18:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กันยายน 2015 18:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท