มูลนิธิเศรษฐกิจใหม่ (New economics foundation. 2549) ได้เผยผลสำรวจดัชนีความสุข ว่าประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลก คือ สาธารณรัฐวานูอาตู เป็นประเทศเล็กๆ อยู่บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก มีประชากร 199,829 กว่าคน ที่น่าอยู่เพราะมีความพอเพียง ไม่ได้สนใจสังคมนิยม อยู่ตามอัตภาพแบบชีวิตพอเพียง ดัชนีที่ใช้วัดความสุขของประเทศ คือ 1. ความเป็นอยู่และผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม 2. ความพอใจในการมีชีวิต 3. ความคาดหวังในชีวิต 4. ปริมาณการใช้สภาพแวดล้อมในการดำเนินชีวิต คือ ปริมาณที่ดินที่เหมาะสมสำหรับจำนวนประชากรและการบริโภคพลังงาน ผลสำรวจครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จหรือความล้มเหลว ของประเทศต่างๆ ในการดูแลประชาชนให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี และความจำกัดของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในการใช้ชีวิตของทุกคน จึงกล่าวได้ว่าความสุขดังกล่าวเกิดจาก 1. ความพอใจในชีวิตความเป็นอยู่ของคนตามสภาพที่เป็นจริง 2. การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเหมาะสมกับจำนวนประชากร 3. ความพอใจกับสิ่งเล็กน้อย ไม่เน้นบริโภคนิยม 4. ความเป็นชุมชนที่หวังดีต่อกัน ประเทศวานูอาตู ใช้ทรัพยากรด้วยการประหยัด หรือการใช้อย่างคุ้มประโยชน์ ความสุขของประเทศวานูอาตู จึงเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รู้สำนึกพอใจกับทรัพยากรที่มีอยู่แม้จะมีปริมาณน้อยแต่ไม่ต้องเดือดร้อนวุ่นวายเกินเหตุ
ชาววานูอาตูพอใจกับสิ่งเล็กน้อยที่มี และการดำรงชีวิตร่วมกับสิ่งแวดล้อมที่ไม่ก่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การมีชีวิตที่มีความสุขได้ก็คือการมีปัจจัยขั้นพื้นฐาน มีอาหารรับประทาน มีน้ำบริโภค มีอากาศไว้หายใจที่พอเพียง (วินัย วีระวัฒนานนท์ ) ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถพัฒนาให้ชุมชนมีชีวิตที่มีความสุขได้ เหมือนตัวอย่างคำกล่าวของคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดังนี้ “...การพัฒนาเมืองน่าอยู่ ชุมชนน่าอยู่ ต้องอาศัยความเข้มแข็งของชุมชนและการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในสังคม รวมพลังพัฒนาให้เมืองและชนบทมีความสงบ สะดวก สะอาด ปลอดภัย มีระเบียบวินัยมีเศรษฐกิจฐานรากที่เข้มแข็ง ประชาชนมีคุณภาพชีวิตดีมีความสุข...”
ชาววานูอาตูพอใจกับสิ่งเล็กน้อยที่มี และการดำรงชีวิตร่วมกับสิ่งแวดล้อมที่ไม่ก่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การมีชีวิตที่มีความสุขได้ก็คือการมีปัจจัยขั้นพื้นฐาน มีอาหารรับประทาน มีน้ำบริโภค มีอากาศไว้หายใจที่พอเพียง (วินัย วีระวัฒนานนท์ ) ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถพัฒนาให้ชุมชนมีชีวิตที่มีความสุขได้ เหมือนตัวอย่างคำกล่าวของคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดังนี้ “...การพัฒนาเมืองน่าอยู่ ชุมชนน่าอยู่ ต้องอาศัยความเข้มแข็งของชุมชนและการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในสังคม รวมพลังพัฒนาให้เมืองและชนบทมีความสงบ สะดวก สะอาด ปลอดภัย มีระเบียบวินัยมีเศรษฐกิจฐานรากที่เข้มแข็ง ประชาชนมีคุณภาพชีวิตดีมีความสุข...”
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย ดร.สรฤทธ จันสุข ใน ความสุขที่พอเพียง
คำสำคัญ (Tags)#วานูอาตู#ความสุขที่พอเพียง#ความสุขที่สุดในโลก
หมายเลขบันทึก: 59481, เขียน: 14 Nov 2006 @ 08:48 (), แก้ไข: 11 Feb 2012 @ 16:21 (), สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ, ความเห็น: 1, อ่าน: คลิก
ขอบคุณมากครับที่แวะมาเยี่ยม