สื่อสาร สัมพันธ์ สานใจ


ขอบพระคุณเนื้อหาที่ดีมากๆจาก [Acknowledgement www.wikihow.com] ทำให้ผมเตรียมที่จะไปเยี่ยมและฝึกกิจกรรมบำบัดจิตสังคมแบบจิตอาสาได้อย่างมั่นใจในผู้รับบริการที่กำลังมีประสบการณ์จิตเภท อ่านเพิ่มเติมที่นี่

โดยสรุปมีคำแนะนำที่น่าสนใจ ได้แก่:-

  • แนะนำตัวเองในแบบธรรมชาติที่กำลังอยากพบปะกับคนทุกคน
  • แม้ว่าเคสจะมีความบกพร่องทางการรับรู้และมีอาการแสดงภาวะโรคจิตเภท ก็พยายามสื่อสารเป็นตัวของตัวเอง ไม่ต้องแสดงให้เคสรู้สึกว่า "ต้องช่วยเหลือทุกประการ" ลองปล่อยให้เคสทำสิ่งต่างๆด้วยตัวเอง
  • ในกรณีที่เคสมีบุคลิกภาพแปรปรวนแบบแยกตัว (Schizoid Personality Disorder) เช่น ชอบทำอะไรตามลำพัง มีอารมณ์สีหน้าราบเรียบ ไม่มีความรู้สึกร่วมกับคนแปลกหน้า ไม่อยากคิดทำกิจกรรมกลุ่ม เป็นต้น หรืออื่นๆ ควรศึกษาวิธีการเข้าหาเพิ่มเติม
  • ควรพูดช้า ชัดเจน มีช่วงให้สงบเงียบ เพราะเคสอาจมีหูแว่วประสานหลอนและเสียงของเราอาจรบกวนความรู้สึกของเคสมากเกินไป
  • ให้มีสติว่า "กำลังคุยกับเคสที่คิดเพ้อฝันหรือย่ำคิดในสิ่งที่เป็นอดีต" ค่อยๆพิจารณาว่า จะให้เหตุผลความจริงในปัจจุบันมากน้อยเพียงใดขณะสนทนา
  • ให้ทบทวนสิ่งที่เราหรือเคสพูดว่า "คำหรือวลีสั้นๆนั้นกำลังมีความหมายว่า เคสอยากทำอะไร"
  • ให้มั่นใจว่าเคสมีความคิดสร้างสรรค์ภายในใจ ลองให้เวลาสำรวจดูสิ่งแวดล้อมรอบๆบ้านว่า "เคสมีความสนใจอยากทำอะไรบ้าง"
  • ในกรณีีที่เคสหงุดหงิดและเริ่มมีท่าทีก้าวร้าว อย่าจ้องหน้าเคส รับฟังอย่างสงบ เคลื่อนไหวในที่โล่ง ตั้งสติทบทวนว่า อะไรเป็นเหตุให้เคสอารมณ์เสีย อย่าแตะต้องเหตุนั้น แล้วค่อยๆพูดกับเคสอย่างนุ่มนวลชวนให้อารมณ์ดี อย่าหัวเราะก่อนเคส หัวเราะพร้อมกับเคส แสดงความเป็นเพื่อนที่สร้างความหวังและแรงจูงใจเท่าที่จะทำได้มากที่สุด
  • บุคลากรทางสุขภาพจิตควรให้ความรู้ความเข้าใจในการฝึกทักษะแก่ผู้ดูแลในครอบครัวของเคส ได้แก่ การฟังอย่างลึกซึ้งด้วยการเปิดใจและให้ความปรารถนาดีกับเคส (คนพูดหนึ่งคนเป็นหลัก ลดเสียงพูดซ้อนกันลง) การให้ความสำคัญกับความเชื่อของเคสที่ไม่ตรงกับความคิดของเรา แต่สร้างสัมพันธภาพอย่างปลอดภัยด้วยบรรยากาศที่ผ่อนคลาย (ไม่ขัดแย้ง ไม่โต้เถียง ใช้ความรู้สึกมากกว่าความคิด คำพูดสั้นและง่าย) และค้นหาสิ่งที่เป็นแรงจูงใจในเคสให้มากที่สุด คลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่ [Acknowledgement http://www.invegasustenna.com/] และ/หรือ ดาวน์โหลดเอกสารได้ที่นี่ [Acknowledgement http://www.schizophrenia.com/]
  • มีตัวอย่างการเข้าหาเคสที่ไม่มีแรงจูงใจได้น่าสนใจที่นี่ [Acknowledgement Youtube.com]
  • มีตัวอย่างการเข้าหาเคสที่กำลังโกรธได้น่าสนใจที่นี่ [Acknowledgement Youtube.com]
  • มีการอบรมที่ต่อเนื่องและเพิ่มทักษะการดูแลเคสได้อย่างน่าสนใจที่นี่ [ขอบพระคุณสมาคมสายใยครอบครัว]
หมายเลขบันทึก: 593017เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2015 08:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 สิงหาคม 2015 08:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เป็นการบำบัดผู้เป้นจิตเภทนะครับ

ตามมาให้กำลังใจในการทำงานครับ

ขอบพระคุณมากครับคุณแสงแห่งความดี

ขอบพระคุณมากครับพี่โอ๋ พี่ดารนี และคุณ P. Rinchakorn

ขอบพระคุณมากครับพี่ดร.จันทวรรณ

ขอบพระคุณมากครับคุณเข็มสิริ และคุณวินัย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท