​สรุปโครงการอบรมวิทยากร/ที่ปรึกษาเกณฑ์ตามระบบCUPT QA


สรุปโครงการอบรมวิทยากร/ที่ปรึกษาเกณฑ์ตามระบบCUPT QA

วันที่ 24 กรกฎาคม 2557
ณ ห้องเพทาย ชั้น14 โรงแรมวินเซอร์สวีท สุขุมวิท กรุงเทพฯ

โดย ผศ ทิพยวรรณ นิลทยา

รองอธิการบดีฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษา

ที่มาของเกณฑ์ CUPT QA โดย ผศ. ดร. ประเสริฐ คันธมานนท์(ประธานคณะกรรมการ CUPT QA) ดังนี้

1. ทำไมเกณฑ์ประกันคุณภาพภายใน ภายนอกไม่ใช่รายงานฉบับเดียวกัน

2. ทำไมเกณฑ์ประกันคุณภาพการศึกษาเป็นOne site fixed off
3.. เกณฑ์ในการประเมินทำให้เกิดคุณภาพจริงไหม
4. ทำอย่างไรจะเกิดความเข้าใจที่ตรงกันของผู้ประเมิน
จากคำถามดังกล่าว ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2556 คณะทำงานจึงรับแนวคิดจาก ทปอ. ทำเกณฑ์ ที่รวมเกณฑ์ 7 ด้าน สมศ. จนได้เกณฑ์ CUPT QA

CUPT QA แบ่งเป็น 2 ระยะ
1. CUPT QA 1 พัฒนามาจากเกณฑ์ AUN ตัวชี้วัด สกอ. สมศ.
2. CUPT QA 2 มุ่งสู่ EdPEX
โดยภาพรวมไม่ว่าเกณฑ์ใดเป็นขั้นตอนที่จะนำไปสู่การบริหารงานที่มีแนวคิดการประกันคุณภาพในการบริหารงาน MBQA

ทำไม ทปอ. เลือก AUN
1. free
2.แปลเป็นภาษาไทย
3.กลไกการทำงานแบบ EdPEX

วัตถุประสงค์ของการอบรมวิทยากร/ที่ปรึกษาเกณฑ์
1.เพื่อให้มีเครือข่ายสื่อสารความเข้าใจในมหาวิทยาลัย
2.เพื่อเข้าใจกลไก และการบริหารงานให้เกิดคุณภาพเชิงระบบด้วย CUPT QA
3.เพื่อเกิดความตระหนักในการสร้างความเข้าใจให้กับบุคลากรว่ามีบทบาทอย่างไรในการให้เกิดQA

สรุปการอบรมที่บูรณาการกับการนำไปใช้ใน มนร
ปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนเป็นห้องเรียนใหญ่ ระบบการศึกษาวัดนักศึกษาที่หลากหลายความสามารถด้วยเกณฑ์เดียวกัน เปรียบเปรยกับสายพานการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกมาตามอายุของการเข้าศึกษาเป็นการจัดการเรียนการสอนผ่านกระบวนการอย่างเดียวกัน ทั้งที่อาจมีศักยภาพต่างกัน

วิทยากรเปรียบเทียบการจัดการศึกษากับการผลิตลูกอมจะทราบได้อย่างไรว่าลูกอมทุกเม็ดมีรสชาดและผลิตภัณฑ์เหมือนกัน จึงต้องมีระบบการประกันคุณภาพ
การผลิตบัณฑิต อาจเริ่มจาก การคัดเลือกผู้เข้าศึกษาที่เหมาะสม ประเด็นพิจารณาคือ วันนี้เราคัดนักศึกษาได้ตรงตามที่ต้องการหรือยัง จึงต้องมี การประกันคุณภาพที่ไม่ได้เกิดจากการบังคับที่ต้องทำตามกฎหมายแต่เพื่อตอบว่า
1.บัณฑิตมีคุณภาพดี
2.ตอบความต้องการของตลาด/อุตสาหกรรม
3.สู่อาเซี่ยน
4.สร้างชื่อเสียงให้มหาวิทยาลัย

CUPT QA SYSTEM
IQA เป็นการดำเนินการประกันที่มีผลการดำเนินงานของตนเองเอาข้อมูลมา Monitoring ไปใช้ประโยชน์ สำคัญคือ ใช้การประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อ Monitoring แล้วหรือยัง การตัดสินไม่ใช่เป็นการตก/ออก ตย. เช่น นศ ตก ออก มีการวิเคราะห์เพื่อสะท้อนว่ามีระบบหรือไม่

การรายงานองค์ 1 ใช้ มคอ. 7 เดิม ที่ไม่รวมองค์2-6 สกอ. องค์ 2 ระดับหลักสูตรต้องมีการประเมินทุก 5 ปี ระดับคณะ/สถาบันต้องมีการประเมินทุกปีเริ่มจากเรากำลังผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะอย่างไร ต้องการเป้าหมายอย่างไร อาจารย์และบุคลากรต้องมีคุณลักษณะเช่นนั้น

Organizational Profile (OP)โครงร่างองค์กร เป็นเครื่องมือสื่อสารให้คนในคณะ/มหาวิทยาลัยเข้าใจลึกซึ้งเกี่ยวกับปัจจัยภายในและภายนอกที่สำคัญตรงกัน ทำให้รูตัวเองว่าเราเป็นใคร ศิษย์เก่าทำงานที่ไหน ตำแหน่งอะไร ประสบความสำเร็จอย่างไร เป็นจุดเริ่มต้นของการประเมินด้วยตนเอง หากเขียนOP เสร็จให้นำไปลงWebsite หรือlink เชื่อมกับการรับนักศึกษาของ สกอ. จะเป็นส่วนนี้ช่วยให้นักศึกษาและผู้ปกครองตัดสินใจในการเลือกเข้าศึกษา

ระบบการประเมิน
1. การประเมินระดับหลักสูตร ปี 2558 มนร. จัดอยู่ในกลุ่มหลักสูตรที่ไม่มีกำหนดตรวจ AUN QA ตามรอบปีการศึกษา และไม่เคยตรวจตามเกณฑ์ AUN -QA จัดทำเผยแพร่ ตามรูปหน้า 13 ในคู่มือ องค์1 ไม่มีformat ผู้ประเมินไม่ต้องลงพื้นที่ ตรวจโดยไม่ต้องมาเปิดแฟ้ม มคอ ประเมินได้ตลอดโดยไม่ต้องรอสิ้นปีการศึกษา ดังนั้น การช่วยให้ผู้ประเมินเข้าถึงข้อมูลต้องรวบรวมผ่านสื่อelectronic
ระยะเวลาในการประเมิน 2 1/2 วัน
ระยะเวลาในการส่งรายงาน ทุกปีแม้จะไม่มีการประเมินในปีนั้นต้องทำ internal Assessment

2.การประเมินระดับคณะ/สถาบัน คณะกรรมการเป็นไปตามเกณฑ์ ขั้นตอนการประเมิน 1 ตรวจสอบเอกสารก่อนsite visit 2 site visit และสัมภาษณ์ รายงานผลภายใน 15 วันหลังจากการตรวจประเมิน และส่ง Common Data Set ให้ สกอ. ผ่านระบบ CHE QA Online

ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวชี้วัด
C1 ใช้ข้อมูลย้อนหลัง3 ปี ข้อมูลระดับหลักสูตร หลักสูตรเป็นคนดูแลส่งข้อมูลให้คณะ ตารางที่ใช้ เท่ากับจำนวนหลักสูตร
C2 ท่านมีระบบการmonito การได้งานทำอย่างไร
C5 C6 FTE =Full-Time Equivalent คิดจาก40 ชม/ สปสามารถนำอาจารย์ past-timeและอาจารย์พิเศษมาคิดด้วย (รวมทั้งครูพี่เลี้ยงของคณะพยาบาล) ประเด็นคือต้องพิจารณาผู้สอนว่าเหมาะกับคณะอย่างไร
C8 ระบบการพัฒนาอาจารย์มีไหม หากมีระบบนำข้อมูลไปใช้ในการทำผลงานทางวิชาการและการใช้เงิน
C12 ความพอใจของนักศึกษาเป็นการสำรวจว่าอะไรคือหัวใจหลักของนักศึกษาโดยไม่ดูคะแนนความพึงพอใจ คณะต้องสำรวจให้ได้ทุกหลักสูตร วิธีการประเมิน คิดจากคุณภาพการจัดการเรียนการสอน สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ การให้คำปรึกษา การเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงาน สิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ สำหรับ นศ. การวัดให้วัดทีละด้านแล้วดูoverall ว่าบริบทนั้นอะไรคือสิ่งสำคัญ เช่น มนร. อาจมองเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกเนื่องจาก OP เขียนเกี่ยวกับสถานการณ์ความไม่สงบ
S1 ตย. เป็นการตั้งค่าน้ำหนักที่ได้จากข้อมูลราย 6 เดือน ดังนั้นหากปี58 มนร ควรเก็บข้อมูลรายเดือนอาจเพิ่มตาราง กรณีบัณฑิตแพทย์ /พยาบาลเรื่องการใช้ทุน สถานที่ทำงาน การผ่านใบประกอบวิชาชีพ

ขั้นตอนการดำเนินการ มนร.
1.กำหนด C 1-14 และS
2.เสนอสภามหาวิทยาลัย
3.ผลอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยส่ง สกอ เพื่อแจ้ง คปภ
หมายเหตุ แม้ว่า ทปอ จะกำหนดให้ใช้เกณฑ์ CUPT QA ปี 2558 แต่ขึ้นอยู่กับสภามหาวิทยาลัยว่าจะใช้หรือไม่ ซึ่งฝ่ายประกันคุณภาพ มนร. นำเข้าที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ในวันที่ 25 กรกฎาคม 2558

สรุปสุดท้าย
ปีแรกข้อมูลไม่มีไม่เป็นไร แต่จะให้มีระบบจะทำอย่างไร

หมายเลขบันทึก: 592831เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2015 14:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2015 14:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

งานนี้ ผมคงต้องขอรบกวนความรู้จากอาจารย์เยอะๆ แล้วละครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท