ปัญหามา ปัญญาเกิด (๓) : วิธีการประกันคุณภาพการศึกษา


ครูไม่ชอบที่มีครูคนอื่นเข้ามาจ้องมอง จริงๆ แล้ว ไม่ได้เป็นการสะเทือนที่ตัวแผน แต่เป็นการสะเทือนที่ตัวฉัน

โรงเรียนปัญญาประทีป

คุณครูตัง การจะทำให้คุณครู "อิน" ไปกับเราด้วย มีวิธีดีๆ ที่ดีกว่าการมานั่งคุยกันไหม



คุณครูใหม่ Lesson Study ของคนไม่เคยทำ เหมือนสินค้าใหม่ ต้องชวนลองชิม ลองใช้ อยากชวนให้ครูตังลองไปชวนน้องๆ มาคิดแผนการเรียนรู้ร่วมกันว่าจะสอนเรื่องอะไร จะสอนแบบไหน แล้วลองเอาประสบการณ์ ความคิดเราไปแบ่งปัน ช่วยกันสร้างแผนการเรียนรู้ด้วยกันกับครูน้องๆ และลองดูผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน กับครูในขณะที่สอน แล้วมาสะท้อนหลังสอนกัน แต่มีเงื่อนไขว่าครูที่เข้าไปแนะนำจะต้องมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน ทั้งก่อนสอน ขณะสอน และหลังสอน วิธีการลองเลยเหมาะที่สุด

คุณครูโอ่ง ที่โรงเรียนเพลินพัฒนาคุณครูที่เริ่มเข้ามาทำงาน จะต้องเข้าระบบ Lesson Study เลย ต้องมีคนมาสังเกต น้องจะได้รู้ว่ามีคนช่วยแน่ๆ มีบัดดี้ ไม่ตายเดี่ยว น้องจะอุ่นใจ ในทุกสัปดาห์ต้องมีการจัดเวลาสำหรับการทำpre - while - post ตัวครูโอ่งต้องเข้าทุกระดับชั้นที่ทำ pre - post ที่ต้องเฉลี่ยเข้าก็เพื่อให้ได้เห็นทุกทีม

นอกจากนี้ในบางภาคเรียนยังมีกิจกรรม การเปิดชั้นเรียน หรือที่เรียกกันว่า Open Class ที่สร้างการเรียนรู้ให้กับคุณครูเพิ่มมากกว่าการทำ Lesson Study ที่อยู่ในตารางปกติ ช่วงชั้นที่กำหนดว่าจะมีชั้นเรียน OC จะต้องต้องจัดตารางเวลาให้คุณครูที่สอนในหน่วยวิชานั้นๆ ทุกคน ในทุกระดับชั้น เข้าร่วม pre - while - post ด้วยกันได้ แทบทุกครั้งที่มีการเปิด OC ทีมครูที่ได้มาเรียนรู้ร่วมกันก็จะได้เห็นคุณค่าและพลังของการที่ทุกคนได้มาร่วมคิดร่วมทำด้วยกัน ซึ่งดีกว่าการคิดคนเดียว ทำคนเดียว มากมาย

ส่วนครูคนที่ทำ OC ต้องเป็นครูที่ยินดีที่จะเปิดห้องของตัวเองให้เป็นพื้นที่เรียนรู้ของกลุ่ม อยากทำและกล้าทำ เมื่อ ๔ ปีที่แล้วครูเอมเป็นน้องใหม่ที่เข้ายังไม่ถึงปี ก็เป็นเจ้าของห้องที่เปิดชั้นเรียน เมื่อจบช่วงของการเปิดชั้นเรียน ที่จะประกอบไปด้วยการ pre - while - post ประมาณ ๓ รอบ / จบ ๑ แผน น้องก็จะเก่งขึ้น เพราะได้คนไปช่วยคิดแผนการเรียนรู้ ช่วยมอง ช่วยสะท้อน ช่วยกันหาทางแก้ไขปัญหาเด็ก

กิจวัตรอีกอย่างหนึ่งคือ ในทุกสัปดาห์มีวง KM มีการแลกเปลี่ยนความสำเร็จของครูที่สอนในหน่วยวิชาเดียวกัน ที่เอื้อให้ครูที่สอนกันคนละระดับชั้นได้มาเรียนรู้ร่วมกัน ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่ครูแต่ละคนจะสะสมความสำเร็จไปเขียนงาน KM ทุกภาคเรียนวิริยะและวิมังสา ทำให้ครูที่เพิ่งเข้ามาใหม่ได้เรียนรู้ และเข้าสู่ระบบ LS อย่างเป็นธรรมชาติ ดั้งนั้น การเรียนรู้เป็นทีมสำคัญจึงกับระบบ LS มาก

คุณครูออน ที่ปัญญาประทีป กลายเป็นครูใหม่ทำมากที่สุดแต่ครูเก่าไม่ทำเลย เราก็ทำอะไรต่อไม่ได้ ทัศนคติของครูใหม่กับครูเก่าไม่เหมือนกันเลย ครูใหม่จะเข้าใจว่าเข้ามาแล้วจะต้องทำอะไร ครูเก่าจะมีความมั่นใจระดับหนึ่งว่าที่ผ่านก็สอนได้ ครูส่วนใหญ่พูดว่าแผนของเราไม่อยากให้ใครมายุ่ง เป็นเรื่องของอัตตา ไม่ชอบให้ใครมานั่งจ้องในห้องเรียน เพราะรู้สึกตกใจ หรือประหม่าลืมแผน เป็นปัญหาที่สำคัญมาก ในเรื่องของแผนยังคิดว่าจะทำอย่างไรต่อ เทอมนี้มีนโยบายว่าจะเปิดห้องให้ครูเข้าไปเรียนรู้ ให้ครูเข้าใจมากขึ้น ปัญหาคือจะทำอะไรให้ครูเก่าเห็นคุณค่าของประโยชน์ที่จะได้จาก LS



คุณครูสุ สิ่งที่คุณครูออนพูด ทำให้นึกถึงหน้างานของตัวเองในปีที่แล้วที่ได้รับโจทย์ให้เข้าไปปรับระบบการทำงานของทีมคณิตศาสตร์ช่วงชั้นที่ ๑ เมื่อเข้าไปก็พบว่า น้องมีแผนบ้างไม่ครบบ้าง ไม่มีแผนกระดานบ้าง จึงตั้งคำถามกับน้องว่าทำไมต้องมีแผน ทำไมต้องมีแผนกระดาน โชคดีมีการสอบ PPT - Plearnpattana Test ทำให้พบว่าการเรียนรู้ของเด็กหลุดตรงไหน ข้อมูลนี้ทำให้น้องในทีมยอมรับและพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง ข้อสอบนี้ช่วยให้ครูมองเห็นจุดอ่อน จุดแข็งของเด็กเป็นรายบุคคล ทั้ง C - Concept / S - Skill / P - Process พอครูน้องๆ เห็นผลการสอบ น้องก็ยินดีเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอนของตนเอง การจะปรับใครสักคนไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็เป็นไปได้ หากเราต้องทำให้เขารู้ว่าปรับแล้วจะเกิดประโยชน์อะไร LS สำคัญที่ใจ และศรัทธา

คุณครูหนึ่ง ที่ครูออนบอกว่า ครูไม่ชอบที่มีครูคนอื่นเข้ามาจ้องมอง จริงๆ แล้ว ไม่ได้เป็นการสะเทือนที่ตัวแผน แต่เป็นการสะเทือนที่ตัวฉัน ครูเพลินได้เข้ากระบวนการจิตตปัญญา สุนทรียสนทนา การเข้า KM ทั้งในระบบชั้น ช่วงชั้น และระดับโรงเรียน เราต้องจัดตารางให้เห็นอย่างชัดเจน และทำให้เป็นรูปธรรม และชัดเจน และเดินตามตารางอย่างสม่ำเสมอ และเข้าไปอยู่ในวิถีชีวิต

คุณครูออน จริงๆ แล้วเมื่อเราจะเริ่มการทำอะไรใหม่ๆ เราควรจะเริ่มที่การฝึกที่ภายในก่อน และให้ข้อมูลให้เต็มที่ เป็นเพราะเราเห็นว่าดีก็ลงมือเลย จึงเป็นเรื่องที่เราพลาดในจุดนี้ไป คือไม่ได้สร้างความเข้าใจร่วมกันก่อน จึงทำให้เราเป๋ไปเลย ซึ่งออนต้องไปแก้โครงสร้างให้มีการสนับสนุนการทำงาน เราต้องไปแก้ทั้งหมดตั้งแต่ โครงสร้าง ระบบเวลา อุปกรณ์ ฯลฯ

คุณครูปาด ดูเหมือนครูออนจะมี vision เห็นวิกฤตที่รออยู่

คุณครูเปา ที่ครูออนสรุปก็ดูครอบคลุม แต่สิ่งที่คิดขึ้นมาได้คือโรงเรียนเราจะต้องมีข้อสอบที่เป็นมาตรฐานหรือเปล่า เพราะที่โรงเรียนครูออกข้อสอบกันเอง อาจจะจะมีครูปล่อยเกรดบ้าง

คุณครูปาด ในช่วงแรกที่ผมทำงานที่รุ่งอรุณเมื่อเกือบ ๒๐ ปีที่แล้ว เราก็ได้ห้องเรียนที่ดี แต่พอเวลาผ่านไปก็เกิดคำถามว่า “ถ้าไม่มีพวกเราจะเกิดอะไรขึ้น” แล้วก็มานั่งไตร่ตรองคิดว่าการกระทำอย่างนั้นไรสาระ สุดท้ายก็กลับมาคิดเรื่อง standard ในฐานะ cross check จึงกลับมาอ่านหลักการทางการศึกษาที่ต้องมีการประเมินในระดับชั้นเรียน โรงเรียน และระดับชาติ เพื่อเป็นการ cross check เพื่อเป็นการรักษาเป้าหมาย จึงเกิดความคิดเรื่อง เพลินพัฒนา test ครูจะเห็นทันทีว่าผลลัพธ์อยู่ไกลหรือใกล้กับเป้า ครูที่อยากจะทำของดีๆ เอาเด็กเป็นตัวตั้ง

ตอนเริ่มลงโครงการครั้งแรกเอาวิดีโอห้องเรียนญี่ปุ่นมาให้ดูมีครูกลุ่มหนึ่งลุกขึ้นพูดว่า ”อยากมีห้องเรียนแบบนี้บ้าง” จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้น และกลายเป็นวัฒนธรรม ซึ่งง่ายสำหรับคนใหม่ ส่วนคนเก่า จะต้องมีแรงบันดาลใจที่จะทำสิ่งที่ดี และต้องมีสายตาว่าสิ่งที่ดีเป็นอย่างไร หน้าที่เราคือทำให้เขารู้ว่าของดีหน้าตาเป็นอย่างไร ตอนนั้นเรามีแต่ตัวอย่างจากห้องเรียนคณิตศาสตร์ จึงมีเงื่อนไขในการพัฒนาต่อว่าถ้าหน่วยวิชาอื่นๆ นำเอาไปใช้แล้วจะต้องพัฒนาและปรับปรุงให้เป็นไปใน "ทาง" ที่เป็นของเราอย่างไร





หมายเลขบันทึก: 592492เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2015 11:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กรกฎาคม 2015 11:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท