ศิลปะที่ดื่มได้



ข่าว Artisanal American coffee gains popularity in Japan ที่ผมอ่านพบใน นสพ. Sunday China Post ที่ห้องรับรองสายการบิน อีวีเอ แอร์ สนามบินเถาหยวน ไทเป ทำให้ผมเขียนบันทึกนี้

เพื่อสะท้อนความคิดว่า ในยุคศตวรรษที่ ๒๑ คนจำนวนหนึ่งดำรงชีวิตอยู่กับปัจจัยขั้นต่ำในการดำรงชีวิต ที่อยู่เหนือปัจจัยสี่ เพราะยุคสมัยแห่งความขาดแคลนได้ผ่านไปแล้วสำหรับคนเหล่านี้ ชีวิตของเขากำลังถูก ท้าทายด้วยยุคสมัยแห่งการผลิต/มี มากเกินพอ ซึ่งความพึงพอใจในชีวิตขยับไปเป็นการได้เสพศิลปะ ไม่ใช่เสพวัตถุ

กาแฟ Blue Bottle ซึ่งขายศิลปะแห่งการดื่มกาแฟ ที่เป็นคลื่นลูกหลังของ Starbuck จึงน่าจะเป็นการทำธุรกิจที่จับสาระแห่งชีวิตของคนยุคใหม่

ไม่ทราบว่า การสะท้อนคิดตีความของผม จะถูกหรือผิดประการใด ท่านผู้อ่านที่ตีความต่าง กรุณาแลกเปลี่ยนด้วย

อย่างไรก็ตาม ผมไม่สมาทานแนวทางนี้สู่ชีวิตส่วนตัว เพราะมันเป็นแนวเสพ ผมอยากฝึกฝนตนเองในแนวสร้าง และแนวรับใช้สังคมมากกว่า


วิจารณ์ พานิช

๓๑ พ.ค. ๕๘

ห้องรับรอง สายการบิน อีวีเอ แอร์, สนามบินเถาหยวน ไทเป

หมายเลขบันทึก: 592144เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2015 18:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 กรกฎาคม 2015 18:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เขาเหล่านี้ก็ยังเสพศิลปะอยู่..เจ้าค่ะ..

สตาร์บัค ราคาต่อแก้วเกือบสองร้อยบาท

แต่มีคนต่อคิวซื้อ และนั่งผ่อนคลายอารมณ์ในร้าน

ถ้าจะให้คิด ดูเหมือนร้านกาแฟ เขาขายความสุขไปด้วย มีที่นั่งหลายประเภท

บรรยากาศผ่อนคลาย

มี wifi ให้ใช้ฟรี

ส่วนกาแฟ ไม่ต้องพูดถึง. ดื่มได้จนหยดสุดท้าย

รสชาด ไม่บาดคอ ความหวานพอดี

ทำให้คนพร้อมจะจ่ายค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท