ภาพในชั้นเรียน


สิบกว่าปีแล้ว ที่เก็บภาพในชั้นเรียนของเด็กๆมา แรกสุดเพราะต้องการภาพประกอบการขอกำหนดตำแหน่งของตัวเอง ต่อจากนั้นรู้สึกชอบ ชอบอากัปกิริยา ซึ่งมีให้เห็นทั้งอารมณ์เบื่อหน่าย ไม่สนใจ เมื่อไหร่จะหมดชั่วโมงเสียที(ฮา) และตื่นเต้น น่าสนใจ แววตาบอกชัดถึงความกระหายใคร่รู้ อย่างหลังนี้จะเป็นกำลังใจให้ครูอย่างเราเสมอๆ

สิบกว่าปีแล้วที่เก็บภาพในชั้นเรียนของเด็กๆมา แรกสุดต้องการภาพประกอบการขอกำหนดตำแหน่งของตัวเอง ต่อจากนั้นจึงรู้สึกชอบ ชอบอากัปกิริยา ซึ่งมีให้เห็นทั้งอารมณ์เบื่อหน่าย ไม่สนใจ เมื่อไหร่จะหมดชั่วโมงเสียที(ฮา) และตื่นเต้น น่าสนใจ แววตาบอกชัดถึงความกระหายใคร่รู้ อย่างหลังนี้จะเป็นกำลังใจให้ครูอย่างเราเสมอๆ

เริ่มตั้งแต่กล้องฟิล์มซึ่งยืมพี่สาวมาใช้ ไม่นานจึงตัดสินใจซื้อกล้องคอมแพ็ค เมื่อก่อนราคาสูงจัด แต่ถือว่าสะดวกและทันสมัยมากในสมัยนั้น ไม่ต้องไปล้างหรืออัดภาพที่ร้าน แค่นำการ์ดไปเสียบเปิดในคอมพิวเตอร์ ก็สามารถพิมพ์ภาพมาใช้ได้เลย คุณภาพของภาพที่ได้คมชัดกว่า ถ่ายง่ายกว่า เพราะมองเห็นภาพก่อนในกล้อง ไม่ดีก็ถ่ายแก้ตัวใหม่ได้

ต่อมาๆความชอบทำให้ซื้อกล้องตัวใหม่อีก คราวนี้เป็นกล้อง DSLR(Digital Single-Lens Reflex) ซึ่งมีโหมดให้เลือกถ่ายหลากหลายรูปแบบสถานการณ์ เรียนรู้อยู่นาน ว่าจะถ่ายอะไร? ต้องถ่ายแบบไหน? อย่างไร? สำหรับเรื่องถ่ายภาพในชั้นเรียนนั้น ก็ยังคงปฏิบัติต่อไป มากขึ้นกว่าเดิมด้วยซ้ำ เนื่องจากความอยากรู้อยากลองกล้องใหม่(ฮา)


ปกติถ่ายภาพไม่ชอบใช้แฟลช เพราะเดิมคิดว่า แสงแฟลชให้ภาพไม่สวยเท่าแสงปกติ แต่เอาเข้าจริงแล้ว แฟลชคุณภาพดีๆ รวมถึงเทคนิคบางอย่างที่ช่างภาพผู้มีประสบการณ์มี ก็สามารถทำให้คุณภาพภาพจากแฟลชไม่ด้อยไปกว่าแสงธรรมชาติมาก อย่างที่เราเคยเชื่อและเข้าใจ แต่จนวันนี้ก็ยังไม่ได้ใช้แฟลชถ่ายภาพอยู่นั่นเอง เพราะแฟลชดีๆตัวหนึ่ง ราคาไม่ใช่ถูก

ที่พูดถึงแฟลช เพราะการถ่ายภาพในชั้นเรียน มักมีอุปสรรคเรื่องแสงที่มีอยู่น้อยในห้อง ถ้าจะแก้ปัญหาง่ายๆด้วยการเร่งความไวแสง หรือ ISO(International Organisation for Standardisation)ให้สูงขึ้นก็ได้ แต่สีสันภาพจะไม่เนียนละเอียดอย่างที่เราต้องการ หรือจะเกิดจุดรบกวน(Noise)มากขึ้นนั่นเอง


หากจะแก้ปัญหาด้วยการลดความเร็วชัตเตอร์ กิจกรรมในชั้นเรียนที่เด็กๆเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลานั้น จะทำให้ภาพที่เกิดขึ้นไม่คมชัด เบลอ..เนื่องจากความเร็วชัตเตอร์ช้ากว่าการเคลื่อนไหวของวัตถุที่เราถ่าย

จากการไม่ชอบใช้แฟลชเพราะไม่มี(ฮา) ตัวเองเลือกที่จะไม่เพิ่ม ISO แต่จะลดความเร็วชัตเตอร์ที่ทำให้เราพอจะถ่ายได้ และเปิดรูรับแสง(f)ให้มีตัวเลขลดลงสุดๆ หรือเลือกเปิดรูรับแสงให้กว้างมากขึ้นแทน ข้อด้อยของภาพลักษณะนี้ที่ได้ก็คือ ภาพจะคมชัดเฉพาะวัตถุด้านหน้า(ตำแหน่งโฟกัส) หรือเด็กๆที่อยู่ด้านหน้า รวมถึงเด็กที่อยู่นิ่งๆ หรือเคลื่อนไหวน้อย

วันนี้ถ่ายภาพกิจกรรมการเรียนรู้ของลูกศิษย์ตามปกติ เป็นปฏิบัติการศึกษาโครงสร้างไตของสุกร ทั้งภายนอกและภายใน รายละเอียดเนื้อหาโครงสร้างไต สำหรับหลักสูตรระดับชั้นมัธยมแล้ว ไม่มีอะไรยุ่งยาก ตัวเองจึงมีเวลาพอสมควรเลยกับการเก็บภาพ อีกทั้งปัญหาเรื่องแสงตามที่กล่าวมาง่ายกว่าในห้องเรียนด้วย เพราะชั่วโมงนี้เราเลือกมาทำปฏิบัติการกันบริเวณใต้ซุ้มการเวกขนาดใหญ่ ซึ่งอยู่หน้าอาคารเรียน ทั้งสองฟากฝั่ง

ภาพที่ได้ถูกใจ ความคมชัด แสงเงา อากัปกิริยา หรืออารมณ์ของเด็กๆ

หลายๆภาพ ให้กำลังใจครูอีกแล้ว!

หมายเลขบันทึก: 590997เขียนเมื่อ 11 มิถุนายน 2015 16:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 สิงหาคม 2015 23:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ชอบใจแสงและสีชัดเจนมาก

ผมว่ากำลังจะเปลี่ยนกล้องตัวเก่าใช้มาเกือบ 8 ปีแล้ว

ทำกล้องหล่น

เลนส์เบลอๆเลย

พี่ครูถ่ายภาพได้อารมณ์ดีมาก มาเขียนบันทึกอีกนะครับ

  • หล่น เบลอ แต่ยังถ่ายได้ ทนใช้ได้เลยนะครับ..8 ปี คุ้มค่า!
  • ขอบตุณอ.ขจิตครับ

ภาพได้อารมณ์จดจ่อ อยากรู้อยากเรียนมากค่ะ แสงสวยมากค่ะคุณครู

ภาพสวยงามมีองคืประกอบศิลปะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท