เสริมการเรียนรู้ด้วยดนตรี..เป้าหมายคือ..BBL


ผมเริ่มหันมาใช้..อังกะลุง..พัฒนาศักยภาพผู้เรียน ชั้น ป.๒ หลังจากปล่อยวางเครื่องดนตรีชนิดนี้มานานหลายปี ..วันนี้..ผมมีความเชื่อว่า..โน๊ตเพลงอังกะลุง..จะช่วยเสริมศักยภาพทางอารมณ์..และบ่มเพาะการเรียนรู้ให้เกิดพัฒนาการทางสติปัญญา

ปีการศึกษา ๒๕๕๘..ผมประชุมสัมมนาข้าราชการครูอยู่เสมอ เพื่อย้ำเตือนเป้าหมายปลายทางการจัดการศึกษาของโรงเรียน ที่จะต้องเป็นไปให้สอดคล้องกับนโยบายของเขตพื้นที่การศึกษาฯและสพฐ...นั่นก็คือ..การทดสอบวัดผลและประเมินผลชั้น ป.๓ (NT) และการทดสอบของ สทศ. ชั้น ป.๖ (O-NET)..ที่ยังคงต้องรักษาคุณภาพทางวิชาการเอาไว้

อีกสองกืจกรรมที่สำคัญ ได้แก่ การคัดกรองการอ่าน ชั้น ป.๑ - ป.๖ ที่จะต้องพัฒนาประสิทธิภาพการอ่านของนักเรียนทุกชั้นกันตั้งแต่ต้นปี และครูทุกคนจะต้องใส่ใจ ให้กับโครงการห้องเรียนคุณภาพ..ของเขตพื้นที่ฯที่ไม่ต้องการเห็นเพียงแค่..บรรยากาศห้องเรียนที่สวยงาม แต่ครูต้องมีการตระเตรียมเอกสารการสอนหลักฐานการวัดและประเมิน ตลอดจนธุรการงานชั้นเรียนที่เป็นระบบครบวงจร

ในส่วนของ BิbL. (Brain - based Learning) ที่ สพฐ. มีนโยบายให้นำมาใช้เป็นแนวทางหลัก เพื่อพลิกโฉมการเรียนรู้..ชั้น ป.๑ ให้อ่านคล่องภายใน ๑ ปี มีเทคนิคและกระบวนการหลายขั้นตอน ที่เห็นว่าทำได้ก่อนและนิยมกันอยู่ในเวลานี้ คือ ทาสีโต๊ะเก้าอี้ ด้วยสีสันต์สดใส สว่างวาบไปทั้งห้องเรียน ส่วนสนามเด็กเล่น ก็จะมีการทาสีล้อยางรถยนต์ ให้นักเรียนได้เดินทรงตัวและเพลิดเพลินกับการเล่น

จุดประสงค์ของ BbL ก็เพื่อเสริมประสิทธิภาพทางสมองแก่ผู้เรียน กระตุ้นให้เกิดความสนใจใฝ่รู้ใฝ่เรียน ซึ่งผมก็พอเข้าใจได้..แต่ก็บอกครูว่า..เราจะไม่ทาสีโต๊ะเก้าอี้นะ..แต่..มีอย่างอื่นไหม..ที่โรงเรียนมีอยู่แล้ว..นำมาใช้เพื่อกระตุ้นเซลล์สมอง ต่อมใต้สมองจะได้ทำงาน ในเชิงการคิดและวิเคราะห์ได้ดียิ่งขึ้น

ครับ..บทสรุป..ที่ดีที่สุด ก็คงใช้กิจกรรมดนตรีที่เคยส่งผลดีต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนมาโดยตลอด ในระยะ ๔ - ๕ ปีที่ผ่านมา ซึ่งครูเคยใช้เมโลเดียน..เป็นเครื่องดนตรีนำร่อง และนักเรียนก็ชอบ ปีนี้..ยังเน้นเมโลเดียนที่ชั้น ป.๓ - ๖ เหมือนเดิม

ผมเริ่มหันมาใช้..อังกะลุง..พัฒนาศักยภาพผู้เรียน ชั้น ป.๒ หลังจากปล่อยวางเครื่องดนตรีชนิดนี้มานานหลายปี ..วันนี้..ผมมีความเชื่อว่า..โน๊ตเพลงอังกะลุง..จะช่วยเสริมศักยภาพทางอารมณ์..และบ่มเพาะการเรียนรู้ให้เกิดพัฒนาการทางสติปัญญา

ผมเริ่มต้นด้วยเพลง..ชวา..ฝึกให้นักเรียนอ่านเนื้อเพลงแล้วร้องให้ถูกต้อง จากนั้น..ก็ไล่เรียงตัวโน้น ไปตามท่วงทำนองของเพลง..ซึ่งบทเพลงจะมีโน้ตไม่ยาวมาก จำง่าย และบรรเลง ๒ เที่ยว...

เนื้อเพลงมีว่า..".เพลินเสียงเพลง ครื้นเครงวิญญาณ์ ฟังซิฟัง เสียงดังลอยมา กรอกริ๊กกรอ อ๋อเพลงชวา ลา ลา ลา ท้ายทำนองเพลง....เพลินเสียงเพลง ครื้นเครงวิญญาณ์ งามแสงจันทร์ขาวนวลยวนตา บนฟ้าไกลไร้ดวงดารา มาซิมา ร้องรำทำเพลง..."

โน็ตสากล ของเพลง ชวา..จะเป็นตัวเลข พบปรับเป็นพยัญชนะไทย..เขียนได้ ดังนี้...

ม ซ ม ซ ม ม ม ร ม ร ม ร ร ร ด ร ด ร ด ด ด ล ด ล ด ล ล ล (ซ้ำ)

ผมสังเกต..เห็นรอยยิ้มของนักเรียน เห็นเม็ดเหงื่อ..เมื่อนักเรียนยกอังกะลุง..เขย่า..ตามจังหวะตัวโน้ต..จังหวะเพลง(เด็ก) คือจังหวะชีวิตของนักเรียน ความรู้ความจำตัวโน้ตในมือ..จะทำให้เขาบรรเลงเป็นเพลงได้ และการเล่นบรรเลงกับเพื่อนๆ ในเพลงเดียวกัน..นี่คือ..สังคมแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน...รู้รัก..สามัคคี ฝึกความระเบียบวินัยขั้นพื้นฐาน ผมคิดว่า..บางที..เราเร่งพัฒนาสมองกัน..จนลืมศิลปะ และอารมณ์สุนทรีย์..กันไปแล้ว..ก็เป็นได้

ชยันต์ เพชรศรีจันทร์

๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๘

</span></strong>

</span></strong>

หมายเลขบันทึก: 590977เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2015 20:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2015 20:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

Music is a wonderful media for learning (by senses) to work together (to tune in) in harmony (or in peace) and in time (tempo). Many people believe music can build lives and networks of friends. I do too.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท