ผู้จัดการความรู้และทีมงานจัดการความรู้


บางครั้งความรู้หรือความคิดดีอาจแวปขึ้นในสมองขณะกินข้าว ขณะทำงาน การใช้เทคโนโลยี่สารสนเทศจะทำให้สมาชิกกล้าที่จะแสดงความคิดเห็น และไม่ถูกกดดันจากคนรอบข้าง
         ในกระบวนการจัดการความรู้ ผู้จัดการความรู้นับว่าเป็นผู้ที่มีความสำคัญที่สุดที่จะทำให้การจัดการความรู้นั้นประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงไรสามารถนำความรู้มาใช้แก้ปัญหาขององค์กรได้หรือไม่อย่างไร หรือประสบความล้มเหลวอย่างไร

         ผู้จัดการความรู้ต้องเป็นคนฉลาดหลักแหลม มีไหวพริบ มีทั้ง IQ และ EQสูง มีบุคลิกส่วนตัวประนีประนอม ใจเย็น สุขุม ลุ่มลึก มีความรู้ทักษะและศักษาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้เป็นอย่างดี มีความรู้และใช้เทคโนโลยี่สารสนเทศได้อย่างดี

         เมื่อได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการความรู้ ผู้จัดการความรู้ต้องฟอร์มทีมงานซึ่งเป็นผู้บริหารระดับกลาง สำรวจประเด็นที่จะต้องนำความรู้มาแก้ไข  การตั้งประเด็นปัญหาอาจเป็นหัวข้อเริ่มต้นในการสำรวจความคิดเห็นในชั้นต้นก่อนเพื่อจะนำปัญหาที่ได้การนำเสนอมาจัดเรียงลำดับความสำคัญในการจัดการความรู้ ซึ่งผู้จัดการความรู้อาจคัดเลือกประเด็นปัญหาทีละประเด็นหรือจัดการไปพร้อมๆกันหลายๆประเด็นก็ได้

         

      การรวบรวมความรู้จากสมาชิกนั้นอาจใช้วิธีการเขียนใส่กระดาษ บอกโดยตรง เดินคุยกันหรือใช้เทคโนโลยี่สารสนเทศก็ได้ การรวบรวมความรู้ต้องใช้เวลา ไม่เร่งรัด ไม่ควรใช้วิธีประชุมเนื่องจากการประชุมอาจทำให้สมาชิกที่มีความคิดดีๆไม่กล้าแสดงความคิดเห็น บางครั้งความรู้หรือความคิดดีอาจแวปขึ้นในสมองขณะกินข้าว ขณะทำงาน การใช้เทคโนโลยี่สารสนเทศจะทำให้สมาชิกกล้าที่จะแสดงความคิดเห็น และไม่ถูกกดดันจากคนรอบข้างเหมือนการประชุม นอกจากนี้การประชุมบ่อย ทำให้เสียเวลาในการทำงานเกิดการเบื่อหน่าย เหมือนเป็นงานที่ถูกบังคับให้ทำ ท้ายสุดอาจนำไปสู่ความล้มเหลวได้ง่าย ดังนั้นการจัดการความรู้จึงควรหลีกเลี่ยงการประชุมให้เหลือน้อยที่สุดเช่นอาจประชุมเพื่อสรุปในการนำความรู้มาใช้แก้ปัญหาในขั้นสุดท้าย               

         ตัวอย่างการจัดการความรู้ในโรงเรียน               

         ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ว่าต้องการจัดเครื่องเล่นอย่างปลอดภัยสูงสุดขึ้นในโรงเรียน ผู้จัดการความรู้ตั้งประเด็นปัญหาว่าจะจัดการเกี่ยวกับเครื่องเล่นในโรงเรียนอย่างปลอดภัยได้อย่างไร ผู้จัดการความรู้จึงได้ตั้งทีมงานจัดการความรู้(core management team)ได้แก่หัวหน้าชั้นต่างๆซึ่งมีหน้าที่หลัก 4 ประการคือ การเสาะหาความรู้   การสร้างความรู้   การสั่งสมความรู้   และการใช้ความรู้มาแก้ปัญหาโดย  ตั้งคำถามประชากรที่เกี่ยวข้องได้แก่ นักเรียน ครู นักการภารโรง ตลอดจนผู้ปกครอง เพื่อแสวงหาความรู้ทั้ง Tacit และ Explicit ผู้บริหารสร้างบรรยากาศของการจัดการความรู้เช่นพานักเรียนไปดูเครื่องเล่นในที่ต่างๆเพื่อให้เกิดความรู้ และแลกเปลี่ยนความรู้กับองค์กรหรือเครือข่ายอื่น ความรู้ที่ได้มาซึ่งมีคุณค่าเป็นอย่างยิ่งสามารถสั่งสมไว้ต่อไปโดยจัดหมวดหมู่ เช่น หมวดเครื่องเล่นที่ปลอดภัย(มีนวัตกรรมใหม่ๆ) หมวดการติดตั้ง หมวดสถานที่ติดตั้ง ความรู้เหล่านี้เก็บไว้แลกเปลี่ยนกับเครือข่ายภายนอกเป็นเกลียวความรู้ไม่สิ้นสุด  ขั้นสุดท้ายก็นำมาแก้ปัญหาโดยการจัดเครื่องเล่นทีในโรงเรียนได้อย่างปลอดภัยที่สุดทั้งเครื่องเล่น สถานที่ และวิธีติดตั้ง ผู้จัดการความรู้และทีมงานต้องมีการประเมินผลเป็นระยะๆเพื่อพัฒนาความรู้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นต่อไป               

           ผู้เขียนขอชื่นชมศูนย์อนามัยที่8จ.นครสวรรค์ที่สามารถแยกประเด็นเพื่อการพยายามรวมรวมความรู้ในหลายๆหัวข้อกว้างๆหวังว่าเจ้าหน้าที่ในศูนย์จะได้พยายามเสนอข้อคิดความเห็นเพื่อการพัฒนาศูนย์ของท่าน และหวังว่าศูนย์อนามัยอื่นๆน่าจะนำไปเป็นตัวอย่างได้เป็นอย่างดี

คำสำคัญ (Tags): #ข้อคิด#ความเห็น
หมายเลขบันทึก: 59081เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2006 10:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท