ตอนที่ 4 ตราประทับใต้ก้นถ้วยกังไสโบราณบอกที่มาของบรรพบุรุษได้หรือไม่


หลังจากที่ครอบครัวเราได้ให้ความสำคัญกับการค้นหารากเหง้าของต้นตระกูลผ่านถ้วยกังไสโบราณที่เป็นของตกทอดจากบรรพบุรุษจำนวนกว่า 200 ชิ้น ทำให้เราเห็นคุณค่าองค์ประกอบของถ้วยแต่ละใบมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมอีกค่ะ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งตราประทับที่ก้นถ้วยกังไสโบราณมีความสำคัญมากเพราะสามารถบ่งบอกได้ว่าถ้วยนั้นทำขึ้นในราชวงค์ใดของจีนจะเป็นราชวงศ์หมิงหรือชิงหรืออื่นใด

ท่ามกลางถ้วยกังไสโบราณของเราเองนั้นมีอยู่ประมาณ 20-30 ชิ้นที่มีตราประทับซึ่งจะเป็นก้นถ้วยหรือฝาบนเท่านั้นส่วนใหญ่คล้ายลายมือเขียนและแต่ละชิ้นก็เขียนไม่เหมือนกันน่าจะมีความหมายคนละอย่างค่ะ

ซึ่งอาจจะเป็นตราประทับของร้านที่ทำ ชื่อศิลปิน คำอวยพร หรือแม้แต่ชื่อผู้สั่งทำ ที่แน่ๆ ไม่ได้เขียนว่า Microwave safe ค่ะ ฮา ฮา

เรามองเห็นเสียงรำไรว่าถ้าตราประทับเหล่านี้เป็นชื่อผู้สั่งทำขึ้นมาละก็รากเหง้าต้นตระกูลของเราคงชัดเจนขึ้นมาก แต่ตอนนี้แม้แต่แซ่หรือนามสกุลดั้งเดิมเราก็ยังไม่รู้เลยค่ะ

เราถ่ายรูปตราประทับทุกอันกลับมาหาดใหญ่และคิดว่าถ้ามีเวลาเมื่อไรก็จะไปสอบถามอาแป๊ะที่ศาลเจ้าทำนองนั้น จนบัดนี้ก็ยังไม่ได้ไปสักทีค่ะ

ในที่สุดเราก็หันมาพึ่งเทคโนโลยีสุดล้ำจาก Google นั่นคือ Google Translate ค่ะ แต่ก็ต้องผิดหวังเพราะว่า มีแค่อันเดียวเท่านั้นที่ Google สามารถรู้จักและแปลออกมาได้ แต่ถูกหรือไม่นั้นเราก็ไม่รู้อีกนั่นแหละค่ะ คงเป็นเพราะความเก่าแก่โบราณมากของคำที่มีอยู่ในคำที่ใช้อยู่ในปัจจุบันแล้วก็เป็นได้

และชิ้นนี้เองค่ะที่ Google Translate อ่านว่า Goods West ในภาษาญี่ปุ่นไม่ใช่ภาษาจีนค่ะ แต่อันนี้ก็เป็นอันเดียวกันกับที่ถามจากคนใน Reddit ที่เขาบอกว่าอ่านว่า Made from Jiangxi ค่ะ



เขื่อคนหรือเชื่อหุ่นยนต์ดีหนอเรา....

ส่วนตราประทับล่างลงมานี้ ถ้ าผู้รู้ท่านใดผ่านเข้ามาอ่าน ถ้าอ่านได้รบกวนขอคำแนะนำด้วยนะคะ เพื่อสืบหาต้นตระกูลของปิยะวัฒน์ค่ะ ไม่ได้เอาไปขายแต่อย่างไร ทุกชิ้นจะส่งต่อรุ่นสู่รุ่นอย่างแน่นอนค่ะ

หมายเลขบันทึก: 590234เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2015 08:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2015 09:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

รูปแรก เหมือนตราประจำตระกูล ในหนังจีนที่ผมชอบดูครับ

รูปสอง-สาม เหมือนลายเซนลายมือ

ถ้ามีโอกาสเจอคนจีนผมคงให้อ่านและแปลให้ครับ

ระหว่างการรอคอยปาฏิหารย์ที่จะเกิดขึ้นครับ

ผู้ที่รู้วัฒนธรรมจีน และความรู้เกี่ยวกับจีนดีมากคนหนึ่งคือคุณจิตรา ก่อนันทเกียรติ เธอเขียนหนังสือเกี่ยวกับประเพณีจีนมากมายวางขาย เธออาจอ่านได้ และรู้ประวัติของพวกนี้ค่ะ ทำให้เชื่อมโยงมายังเรื่องของเราได้ อาจารย์ลองให้คุณปู่เล่าเรื่องเก่า ๆเป็นจุดเริ่มต้นหรือยังคะ เดี๋ยวก็รู้เรื่องแซ่ค่ะ

=ราชวงศ์ซ่ง


= ราชวงศ์ถัง

ขอบคุณมากค่ะ ที่นำเสนอให้ได้เรียนรู้

บันทึกดีมากค่ะ อาจารย์

ขอบคุณมากๆ นะคะคุณลิขิต เขียนว่าราชวงศ์ถังกับซ่งเลยเหรอค่ะ ไม่อยากจะเชื่อเลยค่ะ ถ้าทำในราชวงศ์นั้นจริงๆ ถ้วยเหล่านี้ก็อายุกว่าพันปีเชียวค่ะ

ใบที่ ๗ ภาพกลับหัว อ่านว่า กิม

ใบที่ ๑๐ อ่านว่า สู่ (ภาษาแต้จิ๋ว) แปลว่า เสือ

ใบที่ ๑๓ อ่านว่า จอเปา แปลว่า ห่อซ้าย

และพ่อเล่าให้ฟังว่า คนจีนชอบเขียนตัวอักษร และอวดกันว่าใครจะเขียนสวย และมีความหมายดีค่ะ

คำว่ากิม แปลว่า ทอง ค่ะ

จึงเดาว่า อาจจะเป็นชื่อคนก็ได้ ค่ะ

ใบที่ ๑๖ อ่านว่า กังไซชุกปิ้ง แปลว่า ทำจากกังใส

ผมมีสามชิ้นครับ

ถ้าเครื่องลายครามทำจากเตาเผาราชสำนักจะบอกยุคสมัยและชื่อฮ่องเต้ โดยส่วนมากจะมีอักษร 6 ตัว เช่น สมัยหมิง เขียนว่า ต้า หมิง เฉิง ฮัว เหนียน จื้อ เป็นต้น

ถ้าเครื่องลายครามทำจากเตาเผาราชสำนักจะบอกยุคสมัยและชื่อฮ่องเต้ โดยส่วนมากจะมีอักษร 6 ตัว เช่น สมัยหมิง เขียนว่า ต้า หมิง เฉิง ฮัว เหนียน จื้อ เป็นต้น

เคยจะศึกษาค้นคว้ายุหลายครั้งไม่ว่างซะทีมาเห็นกระทู้นี้แล้วน่าสนใจต้องขอร่วมกันศึกษาไปด้วยคนละครับเริ่มแบวมั่วๆไปก่อนคำว่ากังไส เท่าที่รู้มาคือชื่อมนฑนกังไสของ ปท.จีนเป็นต้นกำเนิดของเครื่องเคลือบ ที่ผลิตให้ราชวงค์ต่างๆ เท่านั้น ประชาชนไม่มีสิทธ์ได้ใช้ ในยุคสมัยเริ่มแรก…ย้อนกลับมาวิเคราะห์คำว่ากังไสต่อครับ ทำไมต้องที่นี้….คาดว่าน่าจะเป็นสถานที่ที่มีวัตถุดิบที่ดีและเพียงพออย่างเช่นบ้านเชียงของเรา ส่วนสายการผลิตกัอแยกออกไปเป็นงานศิลปของตระกูลต่างๆ แตกขแนงออกไปจากรุ่นสู่รุ่น ซึ้งจดยังคงไว้ในเอกลักษณ์ ของเนื้องานไม่ว่าจะเป็น…น้ำยาเฉพาะ ศิลปในการวาดแต่งแต้มสี ส่วนตราประทับนั้นผมว่า(ความคิดเห็นส่วนตัว)คือโลโก้หรือยี่ห้อของแต่ละตระกูล อ้างอิงจาก ผมเคยเห็นงานทีาใช้ศิลปเดียวกันผลิต และรูปแบบเดีบวกัน ตราเดียวกัน แต่ลักษณะของของน้ำยาต่างกันความเก่าของน้ำยาสามารถแบ่งช่วงการผลิตได้เหมื่อน การแบ่งแยกยุคสมัยของเราว่าไหนอยุธยาไหนสุโขทัย กลับมาที่ความเหมือนที่แตกต่างในเมื่อศิลปและน้ำยาเป็นตัวเดียวกันความเก่าของน้ำยาต่างกันแต่โลโก้เดียวกัน ยุคสมัยในการผลิตก้อจะต่างกัน เพลินไปน่าจะยาวแล้วพอก่อนเดี่ยวจะเบื่อแล้วจะมาเล่าถึงงานเซรามิกแยกออกเป็นกี่ชนิดนะครับ……..ดร.จันทวรรณ. ผมก้อพอมีเก็บยุบ้างครับนายศักดิ์ดา..

เคยจะศึกษาค้นคว้ายุหลายครั้งไม่ว่างซะทีมาเห็นกระทู้นี้แล้วน่าสนใจต้องขอร่วมกันศึกษาไปด้วยคนละครับเริ่มแบวมั่วๆไปก่อนคำว่ากังไส เท่าที่รู้มาคือชื่อมนฑนกังไสของ ปท.จีนเป็นต้นกำเนิดของเครื่องเคลือบ ที่ผลิตให้ราชวงค์ต่างๆ เท่านั้น ประชาชนไม่มีสิทธ์ได้ใช้ ในยุคสมัยเริ่มแรก…ย้อนกลับมาวิเคราะห์คำว่ากังไสต่อครับ ทำไมต้องที่นี้….คาดว่าน่าจะเป็นสถานที่ที่มีวัตถุดิบที่ดีและเพียงพออย่างเช่นบ้านเชียงของเรา ส่วนสายการผลิตกัอแยกออกไปเป็นงานศิลปของตระกูลต่างๆ แตกขแนงออกไปจากรุ่นสู่รุ่น ซึ้งจดยังคงไว้ในเอกลักษณ์ ของเนื้องานไม่ว่าจะเป็น…น้ำยาเฉพาะ ศิลปในการวาดแต่งแต้มสี ส่วนตราประทับนั้นผมว่า(ความคิดเห็นส่วนตัว)คือโลโก้หรือยี่ห้อของแต่ละตระกูล อ้างอิงจาก ผมเคยเห็นงานทีาใช้ศิลปเดียวกันผลิต และรูปแบบเดีบวกัน ตราเดียวกัน แต่ลักษณะของของน้ำยาต่างกันความเก่าของน้ำยาสามารถแบ่งช่วงการผลิตได้เหมื่อน การแบ่งแยกยุคสมัยของเราว่าไหนอยุธยาไหนสุโขทัย กลับมาที่ความเหมือนที่แตกต่างในเมื่อศิลปและน้ำยาเป็นตัวเดียวกันความเก่าของน้ำยาต่างกันแต่โลโก้เดียวกัน ยุคสมัยในการผลิตก้อจะต่างกัน เพลินไปน่าจะยาวแล้วพอก่อนเดี่ยวจะเบื่อแล้วจะมาเล่าถึงงานเซรามิกแยกออกเป็นกี่ชนิดนะครับ……..ดร.จันทวรรณ. ผมก้อพอมีเก็บยุบ้างครับนายศักดิ์ดา..ออ.ลืมสรุปคำว่ากังไสคือ ชื่อเรียกสินค้าประเภทเครื่องดินเผาเคลือบน้ำยา ที่ดีที่สุดสวยที่สุดราคาแพงที่สุดต้องมาจากมนฑนกังไสประเทศจีนเราจึงติดปากเรียกเซรามิกที่มีคุ๋ณภาพดีที่สุดว่าใช่กังไสรึปะ(ความคิดเห็นส่วนตัวครับ)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท