กรอบแนวคิดในการประเมินมูลค่าของผลประโยชน์จากงานวิจัย (Benefit-cost analysis ) ตอนที่ 2


หากพิจารณาจากกรอบแนวคิดที่กล่าวมาข้างต้น หนึ่งในวิธีวิเคราะห์ที่เป็นที่นิยมใช้ ได้แก่ การวิเคราะห์เพื่อประเมินความคุ้มค่าในการลงทุน (Benefit-Cost Analysis หรือ BCA) สามารถสรุปเป็นหลักเกณฑ์สำคัญอย่างคร่าวๆได้ดังนี้

  1. เป็นเครื่องมือในการประเมินโครงการหรือกิจกรรมในมุมมองเชิงเศรษฐศาสตร์ ทำให้ทราบถึงความคุ้มค่าในการลงทุน
  2. การนำเอาผลกระทบภายนอก (Externalities) มาใช้ประกอบการวิเคราะห์ควบคู่กับต้นทุนและผลประโยชน์ สามารถให้มุมมองประกอบการตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น
  3. การนำเรื่องกรอบเวลามาพิจารณาในแง่มูลค่าทางเศรษฐกิจที่คิดลดตามระยะเวลาที่ได้รับประโยชน์ล่าช้าออกไป ทำให้ทราบถึงมูลค่าที่แท้จริงในปัจจุบัน ซึ่งสอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อมูลค่าของประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการหรือกิจกรรมในขณะนั้น

โดยขั้นตอนที่สำคัญในการประยุกต์ใช้แนวคิด BCA ประกอบด้วย

cba

จากกรอบแนวคิดและกระบวนการที่กล่าวข้างต้น อาจนำไปสู่การกำหนดแนวทางการประเมินมูลค่าของผลประโยชน์จากงานวิจัยถึงการพิจารณามูลค่าตลาดของผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ที่เกิดจากการวิจัย

มูลค่าที่วัดจากราคาที่ตกลงซื้อขายกันอย่างเสรีในตลาดถือว่าเป็นมาตรวัดผลประโยชน์ที่เป็นกลางและน่าเชื่อถือที่สุด หากผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เกิดจากการวิจัยมีการซื้อขายกันในตลาดอยู่แล้ว เราก็สามารถประมาณผลประโยชน์ของงานวิจัยได้โดยใช้ราคาตลาดประกอบกับการคาดคะเนส่วนแบ่งตลาดที่ผลิตภัณฑ์หรือบริการจากงานวิจัยน่าจะได้มา ดังแสดงในรุปที่ 1

cba2

หากผลิตภัณฑ์หรือบริการที่พัฒนาจากงานวิจัยไม่มีการซื้อขายกันในตลาด เพราะเป็นของใหม่ การประมาณมูลค่าผลประโยชน์จากงานวิจัยจำเป็นต้องตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับราคาสินค้าหรือบริการใหม่ที่คาดว่าน่าจะตั้งได้ ประกอบกับการประมาณการจำนวนหน่วยที่คาดว่าจะขายได้ ดังแสดงในรุปที่ 2

cba3

อย่างไรก็ตาม มูลค่าที่เกิดขึ้นในตลาด มีต้นทุนมากมายหลายส่วน ดังนั้นเราจึงมิอาจเหมาเอามูลค่าทั้งหมดที่เกิดขึ้นเป็นผลประโยชน์จากงานวิจัย วิธีหนึ่งที่อาจสะท้อนส่วนแบ่งของผลประโยชน์ที่มาจากงานวิจัยคือการประมาณสัดส่วนของต้นทุนค่าวิจัยและพัฒนา ว่าเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของต้นทุนทั้งหมดในการนำผลิตภัณฑ์หรือบริการไปสู่ท้องตลาด สัดส่วนเปอร์เซ็นต์ดังกล่าว สามารถนำไปใช้ลดทอนผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด เพื่อสะท้อนส่วนแบ่งของมูลค่าที่เกิดจากงานวิจัยได้อย่างสมเหตุสมผลมากยิ่งขึ้น ดังแสดงในรุปที่ 3

cba4

ที่มา: http://www.thanakrit.net/cost-benefit-analysis-2

หมายเลขบันทึก: 590082เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2015 11:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มกราคม 2016 06:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท