การสำรวจเรื่องประเด็นต่างๆและการเขียนข้อทดสอบ ในการทดสอบภาษา ตอนที่ 4 (A Survey of Issues and Item Writing in Language Testing)


3.2 ความถูกต้องแบบอื่นๆ (Other Types of Validity)

ความถูกต้องของแบบทดสอบ อาจมีการประเมินในวิธีการที่ง่ายๆ และไม่มีสถิติ หลังจากที่นักเรียนได้เข้าเรียนวิชาไปแล้ว ในช่วงปลายของภาคการศึกษา ครูสามารถเปรียบเทียบผลของคะแนนห้องเรียน หรือสอบย่อยกับคะแนนในแบบทดสอบตอนปลายภาคได้ ครูสามารถมุ่งหมายนักเรียนที่มีคะแนนสูงที่สุด ที่จะทำคะแนนได้สูงกว่าคนอื่นๆในห้อง หากผลเป็นเช่นนี้จริงๆ ก็แสดงว่าห้องนั้นมีระดับความถูกต้องเชิงเนื้อหาในระดับสูง เพราะว่าสิ่งนั้นจะมีความถูกต้องเชิงทำนาย (predictive validity) ที่จะบ่งชี้คะแนนในอนาคตของนักเรียนได้

แบบทดสอบอาจมีความเที่ยงตรงตามสภาพ (Concurrent) กับ ความเที่ยงตรงเชิงเกณฑ์ (Criterion) ได้ หากผลการสอบมีความเหมือนกับการวัดในทักษะเดียวกัน จะมีการคาดหมายกันว่าการทดสอบการอ่านเพื่อความเข้าใจจำนวน 2 ฉบับ เมื่อมาทำสหสัมพันธ์กันแล้ว จะมีค่าสหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนของนักเรียนในระดับสูง นั่นแปลว่า นักเรียนที่ได้คะแนนสูงในแบบทดสอบฉบับหนึ่ง ย่อมมีคะแนนที่ใกล้เคียงกันในแบบฉบับที่สองด้วย

อย่างไรก็ตาม ผลคะแนนของนักเรียนในแบบทดสอบการอ่าน ย่อมไม่มีสหสัมพันธ์กับคะแนนการเขียน หรือการวัดทักษะอื่นๆ

ตรงนี้ขอสรุปความเที่ยงตรง หรือความถูกต้องไว้สักหน่อย

ลักษณะของความเที่ยงตรง แบ่งได้เป็น 4 ลักษณะ คือ

1. เที่ยงตรงตามเนื้อหา ( Content Validity ) หมายความว่า ข้อสอบฉบับนั้นมีคำถาม
สอดคล้องตรงตามเนื้อเรื่องหรือเนื้อหาวิชาที่ระบุไว้ในหลักสูตร สามารถวัดเนื้อหาสาระที่ต้องการวัดได้ครบถ้วน หรือวัดได้ครบตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนด

2. เที่ยงตรงตามโครงสร้าง ( Construct Validity) หมายถึงเครื่องมือนั้นสามารถวัด
พฤติกรรมและสมรรถภาพด้านต่าง ๆ ได้ตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้และเป็นไปตามหลักการของทฤษฎีนั้น ๆ อย่างครบถ้วน มิใช่ถามแต่ความจำเป็นส่วนใหญ่

3. ความเที่ยงตรงตามสภาพ (Concurrent Validity) หมายถึงลักษณะของเครื่องมือ
ที่สามารถวัดได้ตรงตามสภาพความเป็นจริงของผู้ที่ถูกวัดในขณะนั้น ความเที่ยงตรงตามสภาพนี้เราไม่สามารถวัดได้จริงๆ โดยใช้แบบทดสอบ แต่เราต้องเอาคะแนนของเด็กไปเปรียบเทียบกับสภาพจริงของเด็กดูว่าสอดคล้องกันหรือไม่

4. ความเที่ยงตรงตามพยากรณ์ ( Predictive Validity) หมายถึงเครื่องมือที่สามารถ
ให้ข้อมูลได้สอดคล้องกับผลการเรียนในภายหน้า วิธีหาความเที่ยงตรงของแบบทดสอบชนิดนี้ทำได้โดยนำคะแนนที่สอบได้ไปหาความสัมพันธ์กับคะแนนที่ได้ในอนาคตว่า มีความสอดคล้องตรงกันน่าเชื่อถือได้หรือไม่เพียงใด

หนังสืออ้างอิง

Gregory strong. (1995). A Survey of Issues and Item Writing in Language Testing. http://eric.ed.gov/?id=ED397635

หมายเลขบันทึก: 589955เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2015 18:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤษภาคม 2015 18:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท