วัฒนธรรมของ นิเทศศาสตร์ และ ครุศาสตร์


วันนี้จะมาลอง review เกี่ยวกับ สถาบันทั้งสองของโลกสมัยใหม่ คือสถาบันการศึกษา
และสถาบันสื่อมวลชน สถาบันทั้งสองถือว่า เป็นสถาบันที่ทำหน้าที่ผลิตซ้ำอุดมการณ์
เช่นเดียวกัน สถาบันแรกผลิตความรู้สิ่งที่เรียกว่า "ครุศาสตร์" ส่วนอีกสถาบันหนึ่งผลิต
สิ่งที่เรียกว่า "นิเทศศาสตร์" หรือ "สื่อสารมวลชน"

โลกสมัยใหม่คือ โลกแห่งระบบทุนนิยมนั่นเอง เป้าหมายแบบชัด ๆ ของนิเทศฯ สื่อมวลชน
คือ นำคนเข้าสุ่ระบบบริโภคจากผลแห่งการ "นำเสนอ" เนื้อหา ผ่านเทคโนโลยี กระจายตัว
ทางเดียวแบบ Passive Learningแม้พยายามจะให้มี interactive บ้าง แต่ก็ไม่มากนัก เนื้อหา
ที่นำเสนอจะถูกคณะกรรมการเซ็นเซอร์เสียก่อน เนื้อหาส่วนใหญ่ที่นำเสนอหลักคือโฆษณา
ขายสินค้าทั้งทางตรงทางอ้อม ส่วนเนื้อหารอง ทุกอย่างมีตารางกำกับควบคุมเวลาตามที่ได้
โดยเฉพาะสื่อที่ได้ยิน และสื่อที่มาพร้อมเสียงและภาพ ส่วนหนังสือพิมพ์ วารสารต่าง ๆ ก็มี
การกำกับพื้นที่เนื้อหาสาระ และ พื้นที่โฆษณา จากนั้นก็มีการกระจายภาพเสียง และหนังสือ
ไปยังมวลชนต่าง ๆ รูปแบบการนำเสนอมีความน่าสนใจ นำเสนอตัวน้อย ๆ แต่มีความถี่บ่อย

นอกจากนั้น ยังมีละคร เพลง ที่นำเสนอวิถีชีวิตฟู่ฟ่าในระบบบริโภคนิยม การผลิตสื่อสั้น ๆ
ออกมาใช้ราคาหลายสิบล้านเพื่อผลิตสิ่งที่สั้นได้ใจความ คนจดจำและบริโภคได้ ซึ่งก็เป็น
ไวยากรณ์ แบบเชื่อฟัง จำได้ และทำตาม(บริโภค) เมื่อวิเคราะห์แสงสว่างกลับไปกลับมา
ของทีวีมีผลทำให้สมองเกิดชัทดาวน์ การนำเสนอโฆษณาจึงต้องกระตุ้นเรื่องราวให้น่าสนใจ
ในระยะเวลาอันสั้น เพื่อกระตุ้นหรือหลอกสมองให้สนใจ ยกตัวอย่างเช่นการกระตุ้นความอยาก
เช่นการดื่มชาขวด แล้วมีคนจับหมายเลขใต้ฝาได้รางวัลเงินล้าน กระตุ้นความโลภให้อยากบริโภค
มากขึ้นไม่ใช่เพราะรสชาติชาเขียว แต่เป็นเพราะอยากได้รางวัล ชีวิตในระบบทุนนิยมที่หรูหราฟู่ฟ่า
ผ่านดาราที่แสดงละครและชีวิตจริง การแต่งกายที่ทันสมัยราคาแพง การบริโภคอาหารแบบหรูหรา
เป็นต้นแบบแห่งสไตล์การบริโภค

ส่วนเป้าหมายของครุศาสตร์ ซึ่งเป็นตัวแทนแห่ง สถาบันการศึกษา ที่มีหน้าที่โดยตรงเช่นกันในการ
ผลิตความคิดความเชื่อ ซึ่งรัฐเป็นผู้กำหนดให้ ซึ่งผมจะไม่กล่าวถึงรัฐที่เป็นหน่วยหนึ่งแยกจากระบบ
ทุนนิยม แต่ผมเห็นว่ารัฐก็คือระบบทุนนิยมบริโภคนั่นแหละ เข้ามาถึงวิธีการของสถาบันการศึกษาจะ
ถูกควบคุมและเซนเซอร์โดยหลักสูตร หลักสูตรคืออะไร หลักสูตรก็คือ เนื้อหาและวิธีการของรัฐที่
วาดหวังไว้ให้คนไปเป็นผู้รับใช้ที่ดีในระบบทุนนิยมอย่างไร หลักสูตรก็ผลิตโดยปัญญาชนของรัฐ
ที่รับใช้และผลิตซ้ำระบบทุนนิยมนั่นแหละ หลักสูตรจะเหมือนกับการกำหนดตารางเวลาในการนำ
เสนอออกอากาศ

โดยไวยากรณ์สำคัญของหลักสูตรก็คือ เชื่อฟัง จำได้ และทำตาม โดยมีสื่อที่สำคัญคือ ครู ครูที่ผ่าน
การฝึกอบรมมา จะทำหน้าที่ฑูตแห่งระบบทุนนิยมโดยอย่างแรกต้องแต่งตัวสมัยนิยมแบบชนชั้นสูง
มีระบบการใช้ชีวิตหรูหราฟู่ฟ่าแบบชนชั้นกลาง มีรสนิยมกินอาหารแพง ๆ ดื่มเครื่องดื่มแพง ๆมียี่ห้อ
ซึ่งสิ่งต่าง ๆ นี้เป็นแบบอย่างที่นำเสนอเป้าหมายในระบบทุนนิยม แม้เงินไม่มี ก็มีสถาบันการเงินให้กู้
เพื่อซื้อความหรูของชนชั้นต้นแบบ ต้นแบบทุนนิยมแบบนี้ได้ผลดีมากโดยเฉพาะการกลายเป็นนักบริโภค
ตอบสนองการผลิตแบบทุนนิยม ส่วนกระบวนการสร้างคนเข้าไปทำงานในระบบทุนนิยม กลไกสำคัญก็คือ
การกล่อมเกลา และปราบปราม เนื่องจากไวยากรณ์คือ เชื่อฟัง จำได้ และทำตาม จึงมีวัฒนธรรมในฐานะ
ชุมชนในระบบโรงเรียน ที่เป็นกลไกการปราบปราม เป้าหมายก็เพื่อที่จะให้เกิดการเชื่อฟัง และทำตาม
เพื่อควบคุมกระบวนการเรียน สอน สอบ และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในระบบทุนนิยมเช่น ปัจจุบัน
ระบบทุนนิยมเป็นทุนนิยมอุตสาหกรรมแบบมาตรฐาน การพัฒนาคุณภาพ ซึ่งก็สอดคล้องกับไวยากรณ์ที่
ให้เชื่อฟัง จำได้ และทำตาม มาตรฐานคือคำสั่งให้ทำตามอย่างละเอียด ดังนั้นโรงเรียนจึงพัฒนาตามความ
ก้าวหน้าในระบบทุนนิยม มีการกำกับ ตรวจสอบ เข้มงวด จากภายในระบบบริหารภายใน หน่วยงานภายนอก

ความแตกต่างระหว่างการนำเสนอของสื่อสารมวลชน และครุศาสตร์ ก็คือ สื่อสารมวลชน นำเสนอสั้นกระชับ
น่าสนใจ สอดคล้องกับจิตวิทยาการเรียนรู้ ทำให้ความสนใจของทุกคนดีกว่า ส่วนครุศาสตร์ นำเสนอยาวยืด
ยาดและน่าเบื่อ ทั้งที่ต้องการคนแบบเดียวกัน คือ เชื่อฟัง จำได้ และทำตาม ทำให้ความคิด ความเชื่อ ของ
ผู้เรียน ภายใต้ระบบสื่อสารมวลชนได้รับการตอบสนองมากกว่า และยิ่งกว่านั้น สื่อสองทางอย่างเกมส์ อินเตอร์เนต
ที่มีตัวตนของผู้เรียนรู้ เข้าไปมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็ง ตอบสนองทั้งการให้รางวัล จึงไม่แปลกเลยที่องค์ความรู้
ความคิดความเชื่อ นั้นมาจากนิเทศศาสตร์ นั้นสามารถครอบครองพื้นที่ความคิดมากกว่า การตีชิงคืนพื้นที่ของ
สถานศึกษาดูเหมือนจะไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงปรับปรุงเพื่อต่อสู้มากนัก แต่ก็สร้างนักบริโภคที่ดี ให้กับระบบทุน
อยู่แล้ว แต่ในที่สุดแล้วระบบทุนนิยมเปลี่ยนไปสนับสนุนทุนนิยมแบบ "ความคิดสร้างสรรค์" เพื่อสร้างสมรรถภาพ
ใหม่ให้กับคนที่สร้างนวัตกรรมทางด้านความคิดสร้างสรรค์ในศตวรรษหน้า ซึ่งมีไวยากรณ์ว่า "คิดต่าง ทำสร้างสรรค์"
ซึ่งกระบวนทรรศน์ทุนนิยมแบบมาตรฐาน ทำไม่ได้ เพราะว่า "มันคนละขั้ว คนละความคิด" คนละไวยากรณ์กับ
เชื่อฟัง จำได้ และทำตาม


คำสำคัญ (Tags): #วัฒนธรรม
หมายเลขบันทึก: 589679เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2015 21:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2015 21:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

Ummmh, I don't see them like that but you have your view and express it in a way between both (not short -- long but not too long ;-) i would say 'teachers --idealy-- aim to excite students' curiosity' and 'journalists aim to sensationalize with or use audiences' curiosity'.

Multimedia techologies offer more 'channels' and means to excite and use people's senses.

Thank you for your comment, I review and focus on the theory: Cultural Ideology and reproduction. I have idea from the part of animation RSA ted talk by Sir Ken Robinson.
If you have seen my picture above my discourse,This is my idea to explain about two institution between education institution and Mass communication institution in only one
duty of reproduction of capitalism ideology. My Question that: How Efficiency of hegemony
between education and mass communication? I can explain the cartoon above on my view.

ขอบคุณ ที่ผมได้อ่านข้อเขียนดีๆครับ สรุปสาระของเรื่อง ประสิทธิภาพคนละขั้ว แต่ผลลัพท์เป้าหมายตอบสนองทุนนิยมเหมือนกันนะครับ..

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท