ตำราชีวิต : บทบาทการทำงานของผู้รับบริการหลังจากพบเหตุการณ์สะเทือนใจอย่างรุนแรงในวัยผู้ใหญ่


PTSD ย่อมาจาก Post-traumatic stress disorder เป็นความผิดปกติทางด้านจิตใจที่เกิดขึ้นกับผู้ที่พบเหตุการณ์รุนแรง เช่น รถชน ถูกทำร้ายร่างกาย ข่มขืน สึนามิ หรือภัยธรรมชาติ มีอาการสำคัญ ดังนี้

  • นึกถึงเหตุการณ์นั้นซ้ำๆ ทำให้ฝันร้าย
  • ตกใจและหวาดกลัว ทำให้สมาธิความจำลดลง ส่งผลต่อการทำงาน ขาดความมั่นใจ ไม่กล้าแสดงออก อารมณ์แปรปรวน ควบคุมตนเองไม่ได้
  • ซึมเศร้าจากการสูญเสียพ่อแม่พี่น้อง
  • การใช้สุรายาเสพติดเพิ่มขึ้น เพื่อลดอาการทางจิตใจอารมณ์ จนเป็นโรคติดเหล้าหรือยาเสพติด

(รูปภาพ : http://www.ptsdunited.org/)

บทที่ 1 : PEOP interaction

จากกรอบอ้างอิงทางกิจกรรมบำบัด Person Environment Occupation Performance Model (PEOP)

P(Person) - ผู้รับบริการจะมีอาการหวาดกลัว ฝันร้าย วิตกกังวล ซึมเศร้า แยกตัวอยู่คนเดียว กลัวสถานที่ที่เกิดเหตุ ขาดความมั่นใจในตนเอง หลบเลี่ยงปัญหา จนมีปัญหาพฤติกรรม ไม่รับผิดชอบ หงุดหงิดก้าวร้าว ขาดแรงจูงใจในการทำกิจกรรม สมาธิลดลงส่งผลต่อการทำงานไม่ได้ ไม่สนใจในการทำงาน

E(Environment) - การจัดที่อยู่อาศัยให้มั่นคง ปลอดภัย มีระบบการป้องกันการเกิดภัยพิบัติซ้ำ ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและครอบครัว ถึงอาการ และการรักษา

O(Occupation) - ให้ผู้รับบริการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้สึกต่อผู้ที่พบเหตุการณ์เหมือนกัน และทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว เช่น งานประดิษฐ์ การทำอาหาร เล่นกีฬา เป็นต้น เพื่อไม่ให้เกิดการแยกตัวอยู่คนเดียว

P(Performance) - ผู้รับบริการจัดการตนเองได้ มีสมาธิ ความรับผิดชอบ ผ่อนคลายความเครียด สามารถกลับไปดำเนินชีวิตประวันและทำงานได้อย่างปปกติสุข

บทที่ 2 : Evidence base practice levels (EBP)

การประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานเชิงประจักษ์

- Relationship between Posttraumatic stredd disorder characteristics of Holocaust survivors and their adult offspring

เป็นหลักฐานระดับ 2 การศึกษาเชิงทดลองแบบไม่สุ่มและมีกลุ่มควบคุม(Non-Randomized Controlled Trial) งานวิจัยนี้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ที่มีชีวิตรอดจากเหตุการณ์ร้ายและทายาทของเขา ซึ่งมีผลต่ออาการและความสามารถในการทำงาน

- The prevalence of common mental disorders among hospital physicians and their association with self-reported work ability

เป็นหลักฐานระดับ 4 ฉันทามติ (Consensus) ของผู้เชี่ยวชาญสหวิชาชีพ กล่าวถึงความสามารถในการทำงาน(work ability) ในผู้ป่วยที่มีผลกระทบทางจิตใจ

- Everyday memory deficits in children and adolescents with PTSD: Performance on the Rivermead behavioural memory test

เป็นหลักฐานระดับ 3 การศึกษาแบบมีกลุ่มควบคุม(controlled clinical trial)ที่มีคุณภาพพอใช้ กล่าวถึงวัยผู้ใหญ่ที่ประสบกับภัยพิบัติแล้วส่งผลต่อความรู้ความเข้าใจด้านความจำ ช่วงความสนใจ การวางแผน และการตัดสินใจ

บทที่ 3 : Knowledge management (Media OT)

  1. Therapeutic use of self : ใช้ตัวเราเองเป็นสื่อในการรักษา ผู้ที่มีภาวะทางจิตใจเป็นเรื่องอ่อนโยน ดังนั้นเราต้องมีเทคนิค และวิธีการพูด เพื่อให้ผู้รับบริการเกิดความเข้าใจในประเด็นที่ต้องการสื่อกัน รวมถึงการมีทักษะในการเข้าหาผู้รับบริการ เช่น น้ำเสียง โทนเสียงในการพูด เป็นต้น
  2. Client relationship : การสร้างสัมพันธภาพกับผู้รับบริการเพื่อให้เกิดความไว้วางใจ ซึ่งผู้รับบริการฝ่ายจิตจะค่อนข้างหวาดระแวง เมื่อถามคำถามต้องถามด้วยคำถามปลายเปิด ไม่ให้เกิดความกดดัน
  3. Activity analysis : การวิเคราะห์กิจกรรม ให้เกิดแรงจูงใจ และการมีคุณค่าในตนเองขผงผู้รับบริการ ให้รู้สึกตนเองมีความสามารถเหมือนเดิมก่อนที่จะประสบภัยพิบัติ มีการปรับขั้นตอนให้ยากและง่ายตามระดับความสามารถเพื่อให้เกิดความสำเร็จของงาน
  4. Teaching and learning process : กระบวนการสอนและการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้รับบริการเกิดความเข้าใจในการทำกิจกรรม เช่น ผู้รับบริการที่พบเหตุการณ์สะเทือนใจ ที่มีความสามารถอยู่แล้ว แต่ไม่มีแรงจูงใจในการทำกิจกรรม นักกิจกรรมบำบัดต้องปรับวิธีสอนเพื่อให้เกิดแรงจูงใจและนำเอากิจกรรมที่ผู้รับบริการสนใจมาจัดเป็นกิจกรรม
  5. Environment modification : การปรับสิ่งแวดล้อมรอบบ้าน เช่น การมีสัญญาณเตือนภัย การใช้สีสันที่เป็นโทนเย็นเพื่อสร้างความผ่อนคลาย หรือการนำธรรมชาติมาไว้ในบ้าน เช่น สวนดอกไม้ นอกจากจะให้สีสันสดใสยังมีกลิ่นหอม ที่ช่วยทำให้ผ่อนคลายและปรับพฤติกรรมทางอารมณ์อีกด้วย
บทที่ 4 : Knowledge transfer to OT process

กระบวนการทางกิจกรรมบำบัด มีดังนี้

  • สร้างสัมพันธภาพ : การแนะนำตัวให้ผู้รับบริการรู้จักว่าเป็นใคร จะมาทำอะไร เพื่อลดความกังวลในตัวผู้รับบริการ สร้างความไว้ใจและเกิดความร่วมมือระหว่างผู้รับบริการ และนักกิจกรรมบำบัด
  • การตรวจประเมิน : เริ่มจากการสัมภาษณ์ถึงข้อมูลทั่วไป รวมถึงทดสอบความสามารถจากการทำกิจกรรม สังเกตสีหน้า ท่าทางของผู้รับบริการPTSD ขณะทำกิจกรรม สอบถามถึงบทบาทและความสนใจ เพื่อหาสิ่งที่มีคุณค่าและจุดแข็งในตัวผู้รับบริการ
  • วิเคราะห์ปัญหาจากการประเมิน : เพื่อหาสิ่งที่บกพร่องและให้ความช่วยเหลือต่อไป
  • ตั้งเป้าประสงค์ทั้งระยะสั้นและระยะยาว : ซึ่งสอดคล้องกับระดับความสามารถและความต้องการของผู้รับบริการด้วย โดยในกลุ่มPTSD จะเน้นในเรื่องของการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การกลับไปทำงาน และสามารถจัดการกับพฤติกรรมและอารมณ์ของตนเองได้มากขึ้น
  • วางแผนการรักษา : การจัดกิจกรรมกลุ่มเพื่อให้ผู้รับบริการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้อื่นและครอบครัว ส่งเสริมการมีบทบาทในการทำงาน ทักษะที่ต้องใช้ในการทำงาน การทำกิจกรรมยามว่างตามความสนใจ การจัดตารางเวลาให้มีความสมดุลระหว่างการทำงานและการทำกิจกรรมยามว่าง
  • ลงมือรักษาตามแผนการรักษา
  • ประเมินซ้ำ และติดตามความก้าวหน้าของผู้รับบริการ : เพื่อสอบถามความพึงพอใจ และสิ่งที่ควรปรับเพื่อให้ผู้รับบริการPTSD มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
บทที่ 5 : Implication and Application

ความรู้ใหม่ที่ได้ คือ สิ่งที่ส่งผลต่อการทำงานในผู้รับบริการหลังจากพบเหตุการณ์รุนแรงที่สะเทือนใจ กล่าวคือ ความเครียด อาการหวาดผวาที่ส่งผลต่อสมาธิและความจำ การขาดแรงจูงใจในการทำกิจกรรม รวมถึงการไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างเดิม การแยกตัวจากการซึมเศร้า เป็นสิ่งที่ส่งผลต่อผู้รับบริการ PTSD ในบทบาทการทำงาน เพราะสิ่งที่กระทบล้วนแล้วแต่เป็นทักษะและสิ่งสำคัญที่ต้องใช้ในการทำงานอย่างยิ่ง รวมถึงการใช้หลัก Cognitive Behavioral training เพื่อปรับความคิดและพฤติกรรมของผู้รับบริการ

เอกสารอ้างอิง

  • Rachel Yehuda, James Schmeidler, Earl L. Giller,Jr., Larry J. Siever. Relationship between Posttraumatic stredd disorder characteristics of Holocaust survivors and their adult offspring.The American Journal of Psychiatry; Volume 155 : Issue 6 : June 1998, pp.841-843.
  • Martijn M Ruitenburg, Monique HW Frings-Dresen and Judith K Sluiter.The prevalence of common mental disorders among hospital physicians and their association with self-reported work ability .BMC Health services research 2012, 12:292
  • Ali R. Moradi , Hamid T. Neshat Doost , Mohammad R. Taghavi , William Yule and Tim Dalgleish . Journal of Child Psychology and Psychiatry;Volume 40 : Issue 03 : March 1999, pp. 357-361.




หมายเลขบันทึก: 589663เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2015 13:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2015 13:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท