สุขอย่างไรไม่ใช้หัว


หลังจากผมได้เรียนรู้ละครเพื่อการเปลี่ยนแปลง ทำให้ผมอยากทดลองใช้ในสถานการณ์ชีวิต เรามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันว่า "ผมจะทำได้อย่างไรกันในที่ประชุมแห่งหนึ่งในหัวโขน ประธานปรับปรุงหลักสูตร"

ผม: กรรมการทุกท่านมีความเห็นอย่างไร ถ้าวิชาแรกที่อาจารย์อยากสอนกรอบคิดทุกอย่างในการพัฒนาเด็ก รวม 30 ชม. ตามด้วยการฝึกนำกรอบคิดนั้นมาใช้ด้วยกิจกรรมการใช้แบบประเมิน อีก 15 ชม. ... แล้วต่อด้วยวิชาสองที่อาจารย์อยากสอนกรอบคิดจากตัวแรกแบบย้ำเตือนนศ.แล้วสอนแบบบูรณาการกรอบคิดต่างๆ ในภาวะโรคของเด็กต่างๆ เช่น พัฒนาการช้ารอบด้าน กลุ่มออทิสติก กลุ่มสมาธิสั้น ฯลฯ รวมทั้งสอดแทรกกระบวนการทางกิจกรรมบำบัด รวม 30 ชม. และฝึกปฎิบัติอีก 15 ชม.

กรรมการ A: ประสบการณ์ของการจัดหลักสูตรที่เชียงใหม่ นศ.รู้สึกเบื่อที่ต้องเรียนแต่กรอบคิด เค้าอยากเรียนรู้ด้วยการลงมือทำกับเคสจริงๆ แล้วอาจารย์ค่อยๆสรุปบทเรียน

กรรมการ B: อยากให้นศ.มีพื้นฐานกรอบคิดที่แน่นก่อนแล้วนำไปฝึกกระบวนการทางกิจกรรมบำบัด

กรรมการ C: จากผลการประเมินทักษะวิชาชีพในการส่งเคสจริงให้นศ.... ก็ยังไม่เห็นการนำกรอบคิดไปใช้ได้จริงๆ บางที่ก็มีเหตุผลว่า ใช้กรอบคิดนี้เพื่อให้แตกต่างจากวิชาชีพอื่น แต่ยังไม่เข้าใจว่าเคสนี้ต้องการกรอบคิดอะไรจริงๆ หลายเคสเข้าใจกรอบคิดมากกว่านศ.เสียอีก

กรรมการ B: ก็ยังอยากยืนยันให้นศ.เข้าใจ 11 กรอบคิดของกิจกรรมบำบัดเด็ก ที่แยกจากวิชาพื้นฐานปีก่อนหน้านี้ที่เรียนแค่กรอบคิดและการประเมินพื้นฐาน ที่ยังไม่มีเวลาพอให้เรียนครบทุกตัว

กรรมการ C และผม: อยากเสนอให้ปรับเป็น ตั้งเคสภาวะโรคต่างๆ เป็นหัวข้อหลัก แล้วค่อยๆยกตัวอย่างการนำกรอบคิดไปใช้เป็นชุดๆที่เหมาะสมและทำได้จริงๆในแต่ละสภาวะโรค จะได้ทำให้นศ.เรียนรู้เป็นภาพที่ง่ายขึ้น จากนั้นอาจคิดต่อยอดการไปทำแล๊ปกับอาจารย์ที่มีประสบการณ์ในคลินิก จะได้สังเกตกระบวนการทางกิจกรรมบำบัดจริงๆ มากกว่าในห้องเรียน

กรรมการ A: ที่เชียงใหม่ ก็ลองทำแบบตั้งเคสขึ้นมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ก็ดูนศ.เข้าใจขึ้นนะ

กรรมการ B: คิดว่า ก็ได้ตั้งเคสเป็นหัวข้อหลักในวิชาสอง แต่ตัวแรกก็จะสอนกรอบคิดให้ครบก่อน

ผม: มาดู Mapping กันนะ เปรียบเทียบระหว่าง การสอนทุกกรอบคิดก่อนให้ครบ 100% แล้วไปใส่ในเคสว่าจะใช้ กรอบคิดอะไร กระบวนการอะไร บูรณาการอย่างไร ต่อด้วยฝึกกระบวนการนั้นๆ กับกรอบคิดแบบบูรณาการ กับ ตั้งเคสขึ้นมา แล้วดูว่าจะใช้กรอบคิดอะไรบ้าง ซึ่งอาจใช้กรอบคิดหนึ่ง 50% กรอบคิดสอง 30% กรอบคิดสาม 20% แล้วก็สาธิตกระบวนการและการปฎิบัติให้เห็นตัวอย่างจริงๆ คิดว่า แบบใดจะใช้เวลาสอนความรู้มากกว่า แบบใดจะทำให้นศ.ได้ทักษะการลงมือทำได้มากกว่า

กรรมการ B: [เริ่มเงียบคิดทบทวน] ที่สอนแบบเดิมน่าจะทำให้นศ.มีความรู้พร้อมกว่า อืม...เปลี่ยนก็ได้ [เสียงเบา หันมองอาจารย์ร่วมสอนวิชานี้ สีหน้าดูลังเล]

กรรมการ A และผม: อาจารย์ลองกลับไปทบทวนอีกครั้งแล้วนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันใหม่ในการประชุมครั้งหน้า

สรุปความรู้สึกของผมคือ เหนื่อย ไม่เข้าใจ

สรุปความคิดของผมคือ วันนี้ผมพยายามคิดน้อยๆ แล้วใช้ความรู้สึกฟังกรรมการทุกท่าน แล้วใช้ใจจับความรู้สึกตัวเองก่อนพูดด้วยบทบาทประธาน อาจารย์คนหนึ่ง และสมมติเป็นนศ. ... ทำอย่างไรผมจะทำให้กรรมการสะท้อนความรู้สึกมากกว่าความคิด ตามที่เคยเรียนกระบวนการเปลี่ยนแปลงมนุษย์ด้วยละคร แล้วทำให้อาจารย์สอนนศ.ด้วยความพอดี

ต่างจากการประชุมกับอาจารย์และพี่น้องนักกิจกรรมบำบัดที่มุ่งเป้าระดมสมองกับร่างกฎกระทรวงการเปิดคลินิกกิจกรรมบำบัด ซึ่งทุกคนมีประสบการณ์มากมายและมีใจอุทิศกับบทบาทคณะทำงานพัฒนาวิชาชีพ ผมอ่านแล้วรู้สึก "ได้แรงบันดาลใจ" และคิดต่อยอดว่า "ขอบพระคุณที่เรายังไม่ได้ทำงานคนเดียว แต่มีกัลยาณมิตรที่เรียนรู้แบบลงมือทำและรู้แจ้งด้วยประสบการณ์มาแบ่งปันปัญญา (Wisdom & Common Sense) ให้ผมเข้าใจแบบไม่ใช้หัวคิดเลยครับ [ขออนุญาตแชร์มาจากเฟสบุ๊คของพี่ท่านหนึ่งด้วยความขอบพระคุณมากครับ]

"ร่างมาตรฐานคลินิกกิจกรรมบำบัด... สองวันนี้ได้ร่วมจัดทำร่างมาตรฐานคลินิกกิจกรรมบำบัด นับเป็นประสบการณ์อันมีค่า โดยเฉพาะวันนี้ที่ต้องพิจารณาร่วมกับต่างวิชาชีพ ที่อาจจะคาบเกี่ยวและก้าวล้ำวิชาชีพอื่น ๆ ทำให้เราได้เห็นอะไรมากมาย แต่สุดท้ายทุกฝ่ายต่างเห็นแก่ประโยชน์ของผู้รับบริการ ต่างยอมถอยและเกื้อกูลกัน จนสำเร็จไปอีกหนึ่งก้าว ...การทำมาตรฐานคลินิกกิจกรรมบำบัด ไม่ได้มุ่งหวังให้วิชาชีพของเราเปิดคลิกนิกได้เท่านั้น แต่ต้องมีมาตรฐานเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค และจะต้องดำรงไว้ซึ่งคุณค่าแห่งวิชาชีพ
...ต่อไป นำเสนอกรรมการวิชาชีพ พิจารณา ... นับเป็นการต่อสู้ที่ยาวนาน...โดยส่วนตัวต้องขอขอบพระคุณ อาจารย์สร้อยสุดา อาจารย์นันทนี อาจารย์สุภาพร พี่ใหม่ พี่ปุ้ม อาจารย์ป๊อป น้องอ้อย อาจารย์เอก ซึ่งร่วมกันเป็นตัวแทนวิชาชีพในเวทีนี้......และขอบคุณพี่น้องกิจกรรมบำบัดทุกท่านที่วางใจเลือกเรา เป็นกรรมการวิชาชีพ ทำให้ได้มีประสบการณ์อันมีค่า..."


หมายเลขบันทึก: 589523เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2015 07:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 เมษายน 2015 07:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ประเด็นคือ สอนกรอบทั้งหมดแล้วจึงฝึกทักษะ หรือสอนไปดวยฝึกไปด้วย อย่างไหนนักศึกษาจะได้ประสบการณ์มากกว่ากันหรือคะอาจารย





ใช่ครับพี่ Nui พี่รู้สึกและคิดว่าอย่างไรครับผม ขอบพระคุณมากครับผม

พี่คิด ๒ มุมค่ะ

- มีความรู้มากแต่นำไปเชื่อมโยงกับคนไข้ตรงหน้าไม่ได้ ความรู้ไม่ถูกนำไปประยุกต์ใช้ความรู้ก็จะหายไป

- มีคนไข้อยู่ตรงหน้า แต่ความรู้จำกัด ไม่มากพอที่จะนำไปใช้ให้ครอบคลุมปัญหา คนไข้เสียโอกาส นักศึกษาก็เสียโอกาสเรียนรู้

ประเด็นสำคัญที่เป็นหัวใจคือการนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์และเวลาที่เหมาะสม ถ้ามีครูที่คิดไว คิดเก่ง คล่องแคล่วในการใช้ความรู้ นักศึกษาคงเรียนสนุก ใช้ความรู้เก่ง

ขอคิดลบนิดนะคะว่า คนไทยไม่ชอบใช้ความรู้ ชอบมโน และทำตามๆ กัน

ถ้าพี่เป็นนักศึกษานะคะ พี่คงชอบสอนไปด้วยฝึกไปด้วย เพราะเรียนไปมากๆ แต่ไม่ได้ฝึกฝนความรู้หายหมดแน่

พี่สนใจคำ "คิด" กับ "รู้สึก" ค่ะ แต่ตามความคิดอาจารย์ไม่ทัน

สมัยที่พี่ทำเรื่องทักษะชีวิต คำว่า "รู้สึก" ใช้มากในการสอนสิ่งที่เป็นเจตคติค่ะ เพราะเรื่องแบบนี้คิดไม่ได้ แต่ต้องรู้สึก

เห็นด้วยกับพี่ Nui ครับในการเรียนรู้แบบลงมือทำไปเลย จริงๆ การฝึกคิดให้น้อยลง (ฐานสมอง) จะทำให้เปิดใจมากขึ้นและทำให้รับรู้ความรู้สึกของตัวเองเร็วขึ้น (ฐานใจ) ส่งผลให้จิตใจทำงานพร้อมร่างกายได้อย่างสมดุล - คล่องแคล่วและสุขใจ จริงๆ ถ้าลองถามตัวเองว่า รู้สึกอย่างไร แล้วฟังคำตอบตัวเองว่า เป็นความรู้สึกจริงๆ หรือมีการใส่ความคิดมากมาย เพราะคนที่ใช้ความคิดมากเกินไปจะตอบความรู้สึกไม่ได้เลยครับ

เป็นกำลังใจให้ครับ ทำงานนี้น่าจะเหนื่อยมากทีเดียว

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท