การประเมินแบบเสริมพลัง



อีกครั้งที่ได้รับโอกาสได้เรียนรู้การประเมินแบบเสริมพลัง( Empowerment Evaluation) จากโครงการสนับสนุนองค์กรเพื่อการพัฒนาเยาวชน จัดโดยมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) การประชุมครั้งนี้มี 2 ภาคี เข้าร่วมการประชุม ได้แก่ "สงขลาฟอรั่ม" ผู้ดำเนินโครงการพลังพลเมืองเยาวชนสงขลา และ "มูลนิธิกองทุนไทย" ผู้ดำเนินโครงการ "ปลูกใจ...รักษ์โลก" กองทุนสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาเยาวชน ระหว่างวันที่ 1 – 3 เมษายน 2558 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ กรุงเทพฯ เน้นการเรียนรู้จากการประเมินตนเองของผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ได้แก่ลดมลพิษฟื้นชีวิตดิน มหาสารคาม โครงการต้นกล้าโมเดล อุตรดิตถ์ และโครงการต้นกล้าพัฒนาป่าชายเลน ชุมพร


ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกับ KRA,KPI,ACT ก่อนว่าคืออะไร

  1. KRA คือ ผลลัพธ์ความสำเร็จของโครงการ
  2. KPI คือ ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
  3. ACT คือ กระบวนการสู่ความสำเร็จของโครงการ

มีหลักการสำคัญของการประเมินเสริมพลัง

1.เน้นการเรียนรู้จากการประเมินตนเองของผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ

2.หลักการที่สอง เชื่อว่าผู้ที่รู้ดีที่สุด คือคนทำโครงการ ความคิดเห็นของคนทำโครงการมีค่ามากที่สุด กว่าความคิดดีๆ จะออกมาได้ต้องมีการสนทนากันเพื่อมีความคิดบังเก ิด
3.เราต้องพูดคุยเพื่อเสริมพลังซึ่งกันและกัน ด้วยปัญญาสนทนา คือให้เท่าทันความคิดตัวเราเอง ให้ฟังเพื่อนด้วยความเข้าใจ ให้มองเลยอคติ ปัญญาสนทนาคือการฟังเพื่อนและปิ๊งแว๊บได้ไอเดียใหม่ๆ จากเพื่อน


เป็นเสน่ห์ของรูปแบบการประเมินอีกรูปแบบหนึ่งที่ครูอย่างพวกเราลืมไปและแถบจะไม่เคยหยิบนำมาใช้

  • เริ่มแรกตามสไตล์พี่โจ้ ได้ให้พวกเราแนะนำตัวเอง ความคาดหวัง บอกที่มาและวัตถุประสงค์ของการประชุม พร้อมกับชี้แจ้งขั้นตอนของการประเมินผลแบบเสริมพลัง เป็นการทำแบบ Stakeholder การประเมินไม่มีได้ ไม่มีตก ผู้ที่เข้าร่วม ให้ความเข้าใจตรงกันว่า ให้ทุกคนแสดงความคิดเห็นโดยอิสระ ให้ความสำคัญกับปัญญาสนทนา
  • ตามด้วยการทบทวนวิสัยทัศน์ของโครงการ ทำแบบง่ายๆคือให้ทุกคนที่เข้าร่วมเขียนความคาดหวังของทุกคนจากโครงการ แล้วมาสังเคราะห์เป็นวิสัยทัศน์ วิสัยทัศน์ที่ทุกคนมีส่วนร่วม คือ " โครงการ "ปลูกใจ...รักษ์โลก" เป็นกลไกพัฒนาเยาวชนให้มีกระบวนการคิด กระบวนการทำงาน มีทักษะชีวิต รักบ้านเกิด มีจิตสำนึก เติบโตเป็นบุคลากรที่ช่วยดูแลทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมของชุมชนผ่านการลงมือทำโครงการ และรวมตัวเป็นเครือข่าย เชื่อมโยงการทำงานด้านสิ่งแวดล้อม ให้เห็นผลจนเกิดพลังสร้างสรรค์อย่างแท้จริง ... "
    • ช่วงบ่าย พวกเราได้ทบทวนตัวชี้วัดผลลัพธ์ของโครงการ (Key Result Area) ของตนเองโดยการให้คะแนนแต่ละตัวชี้วัด พร้อมกับเหตุผลที่ให้คะแนน........พบว่าเป็นอะไรที่ดีมากผู้ปฎิบัติทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นครูหรือนักเรียนแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ เป็นบรรยากาศประชาธิปไตย เหมือนกับว่าข้าพเจ้านักอยู่ท่ามกลางนักวิชาการซึ่งความเป็นจริงพวกเขาคือนักเรียนชั้น ม.4,5,6....ไม่อยากบอกว่านี้คือผลจากการปฎิบัติ ที่ไม่มีสอนในชั้นเรียน
    • ทบทวน KRA ถึงทุ่มหนึ่งโดยไม่รู้ตัว

  • วันที่2 เริ่มด้วยสมาธิผ่อนคลาย..นั่งสมาธิเริ่มเช้าวันใหม่ในการทำงานได้อย่างมี "สติ"

    ช่วงเช้า ประเมิน KPI ผลไม่ต่างจากวันแรก..นักปฎิบัติการร่วมประเมินอย่างจริงจัง

    ช่วงบ่าย ประเมิน Act ผลไม่ต่างจากวันแรก..

    ข้าพเจ้านั่งคิดไปถึงการนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน น่าจะโอเคนะ..เรียนแบบไม่มีสอบ ไม่มีตก ทุกคนร่วมแชร์สิ่งที่รู้มา แต่จุดสำคัญคงอยู่ที่นักเรียนต้องเปิดใจ ฟังเพื่อนด้วยความเข้าใจ ให้มองเลยอคติ ปัญญาสนทนา


    หมายเลขบันทึก: 588920เขียนเมื่อ 14 เมษายน 2015 23:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2015 17:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (0)

    ไม่มีความเห็น

    อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท