หลวงโยนะการพิจิตร...พ่อค้าไม้ชาวพม่าผู้อุปถัมภ์พระเจดีย์ สร้างพระ และอุปถัมภ์วัด (ตามรอย 10..วัดเชตุพน )


วัดเชตุพน ต.วัดเกต อ.เมือง จ.เชียงใหม่

วัดเชตุพนเป็นวัดเก่าอีกวัดหนึ่งของของจังหวัดเชียงใหม่ที่หลวงโยนะการพิจิตรได้ร่วมโดยเสด็จพระราชกุศลพระราชชายาเจ้าดารารัศมีในสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการบูรณะครั้งสำคัญ

ตามประวัติวัด เชื่อกันว่าสร้างมาหลายร้อยปีแล้ว แต่ไม่ปรากฏชัดเจนว่าสร้างในสมัยใด และได้กลายเป็นวัดร้างอยู่เป็นเวลานาน ปรากฏชากที่เหลืออยู่เช่นฐานพระเจดีย์ ฐานพระอุโบสถ ฐานวิหาร แนวกำแพง พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าหลวงเชียงใหม่ จึงได้โปรดให้มีการฟื้นฟูขึ้นเป็นครั้งแรก

ปี พ.ศ. 2428 พระภิกษุคันธา จากวัดฝายหินได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดเชตุพน เจ้านายฝ่ายเหนือรวมทั้งศรัทธาประชาชน

ได้ร่วมกันสร้างและบูรณะถาวรวัตถุให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ขึ้นอันมีกำแพงวัดยาวด้านละ 45 วา และกุฏิหลังใหญ่เป็นต้น

ในปี พ.ศ.2439 พระเจ้าอินทวิชยานนท์ได้ถวายสมณศักดิ์ท่านเป็นสังฆราชที่ 5 แห่งนครเชียงใหม่ และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ สัญญาบัตรพัดยศจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ในปีพ.ศ. 2457 และเป็นพระราชาคณะในปี พ.ศ. 2461 คนทั่วไปเรียกขานท่านว่าเจ้าคุณโพธิรังสี

พระเจ้าอินทวิชยานนท์คงจะมีพระดำริให้รื้อหอคำของเจ้าหลวงองค์ก่อนมาสร้างเป็นวิหารวัดพระเชตุพนและวัดสวนดอก แต่พระองศ์ถึงแก่พิราลัยเสียก่อนในปีพ.ศ. 2440 ต่อมามีการรื้อหอคำใหญ่ไปสร้างวิหารวัดสวนดอก ในปี พ.ศ.2443

คุณสมหวัง ฤทธิเดช ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการพิพิธภัณฑ์วัดเกตุการาม เชียงใหม่ให้ข้อมูลว่าท่านได้รับคำบอกเล่าจากคุณอนันต์ พัฒนัคอัมพร ซึ่งเคยบวชเรียนที่วัดเชตุพนว่าเจ้าคุณโพธิรังสี(คันธา)ได้รับการบอกเล่าต่อกันมาว่าครั้งที่เจ้าแก้วนวรัฐและพระราชชายาเจ้าดารารัศมีทรงรื้อหอคำหลังเล็กของพระเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์มาสร้างเป็นวิหารวัดเชตุพน หลวงโยนะการพิจิตรได้โดยเสด็จพระราชกุศลโดยได้จัดการนำช่างฝีมือมาทำการก่อสร้าง และเมื่อพบว่าไม้ที่นำมาก่อสร้างยังไม่พอ จึงถวายไม้ทำส่วนที่เป็นเพดานและเสาของพระวิหารหลวง

พระวิหารหลวงได้รับการบูรณะอีกครั้งเมื่อปี พ.ศ. 2545 เนื่องจากทรุดโทรมลงมาก ภาพต่อไปนี้เป็นสภาพปัจจุบันของวิหารหลวงอันงดงาม วัดเชตุพนนี้ในปัจจุบันยังคงเป็นวัดที่สำคัญอยู่ในสังฆราชูปถัมป์และเป็นที่ตั้งของโรงเรียนพระปริยัติธรรมเปิดสอนทั้งแผนกสามัญและแผนกธรรม-บาลี

ภาพ 1 วิหารวัดเชตุพนที่หลวงโยนะการพิจิตรถวายไม้เพดานและเสา

ภาพ 2 หน้าบันพระวิหารหลวง

ภาพ 3 ภายในพระวิหารหลวงที่หลวงโย ฯ ถวายไม้ทำเพดานและเสา

ภาพที่ 4 พระประธานภายในวิหารวัดพระเชตุพน มีนกยูงประดับ


ภาพที่ 5 เพดานพระวิหารวัดเชตุพน

ภาพที่ 6 ลวดลายประดับเเพดานหนือพระประธานในพระวิหารวัดเชตุพน

ภาพ 7 วัดเชตุพนและป้ายชื่อโรงเรียนเชตุพนศึกษา

ภาพหลวงโยนะการพิจิตร

------**

ขอขอบคุณผู้ให้ข้อมูล คุณสมหวัง ฤทธิเดช พิพิธภัณฑ์วัดเกตุการาม

เรื่องและภาพ นางศรีสุดา ธรรมพงษา

ผู้เขียนร่วม ผศ.ดร.กัลยา ธรรมพงษา

หมายเลขบันทึก: 588394เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2015 10:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 เมษายน 2015 17:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สถาปัตบกรรมงามล้ำค่า นะคะ ขอบคุณค่ะ


ขอบคุณค่ะอาจารย์ที่นำมาให้ได้เรียนรู้ค่ะ

ลวดลายหนัาบันพระวิหารงดงามมากจริงๆ นะคะ

เวลาไปเที่ยววัดนะคะดิฉันเอากล้องดูนกติดตัวไปด้วยเพื่อส่องชมความงามของลวดลายบนที่สูง

ทึ่งฝีมือประณีตของช่างฝีมือไทยมากๆ ค่ะอาจารย์ และทำให้ภูมิใจในชาติด้วยค่ะ

และทนไม่ค่อยได้ถ้าวัดไหนให้มีร้านค้าไปตั้งในอุโบสถ อย่างวัดใหญ่ที่พิษณุโลกมีร้านเช่าพระเต็มไปหมด (ไม่รู้ว่าตอนนี้ออกไปแล้วหรือยัง)

สวัสดีค่ะคุณหมอเปิ้ล หมอนุ้ย และคุณ อร วรรณดา ขอบคุณมากค่ะที่แวะเยี่ยมชม ลวดลายหน้าบันงามมากจริง ๆค่ะ อยากให้เขาดูแลรักษาให้งามสดใสอยู่ชั่วกาลนานนะคะ และรักษาสิ่งแวดล้อม ภูมิทัศน์ด้วย บนเพดานก็สวยมากเหนือพระประธานก็เป็นลายลักษณะเป็นดอก และมีแฉกเป็นรัศมีออกไป น่าจะแทนตัวเจ้าดารารัศมีนะคะ ที่วัดไชยมงคล ป่ากล้วยชัดเจนมากค่ะหมอเปิ้ล

Another world heritage example.

Are there remnants of "old gardens" (landscaping gardens) left around the 'vihaara'? I am interested in 'ancient Thai gardens" (what do they grow, for what use, how do they build and maintain gardens, are there well respected 'gardeners, herbalists, herbal medicines practitioners' of ancient Thai gardens?...)

I had seen lots of stone, brick, wooden buildings but when it come to 'gardens' and landscaping, I have yet to see a restoration or preservation. Why?

เป็นเรื่องที่เป็นประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจมาก

เสียดายไม่ค่อยมีคนทราบนะครับ

ขอบคุณอาจารย์มากๆครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท