#งานสมัยยังเป็นนิสิต ดนตรีเปรียบเทียบ (1) แสดงทรรศนะของท่านเกี่ยวกับแนวคิดของดนตรีที่ท่านสนใจ และอภิปรายผลที่เกิดจากแนวคิดดังกล่าว


ดนตรีเปรียบเทียบ

1.แสดงทรรศนะของท่านเกี่ยวกับแนวคิดของดนตรีที่ท่านสนใจ และอภิปรายผลที่เกิดจากแนวคิดดังกล่าว

ความหมายของดนตรี ประเด็นที่น่าสนใจคือ "ทำนอง" และ "เนื้อร้อง" สองอย่างนี้เป็นอาจิณไตยในการกล่าวหาเหตุผลเพื่อสรุปว่าความหมายของดนตรีอยู่ที่ไหน และในเมื่อดนตรีเป็นสื่อแสดงออกทางอารมณ์ที่เป็นสากลแล้วนั้นจึงเกิดคำถามว่าในที่สุดแล้วคนเราฟังดนตรีเพื่ออารมณ์ใช่หรือไม่ และทำนองหรือเนื้อร้องนี้สื่ออารมณ์ได้จริงหรือ

สำหรับนิสิตเกิดคำถามว่าในเมื่อมีทั้งผู้กล่าวสนับสนุนเหตุผลทั้งทางด้านทำนองและเนื้อร้องแล้ว อะไรเป็นสิ่งที่ทำให้ความคิดเหล่านี้เป็นเส้นขนาน หรืออะไรเป็นปัจจัยผนวกแนวคิดสองด้านนี้ให้เข้าหากันได้ นิสิตเชื่อว่าดนตรีเป็นวัฒนธรรมของค่านิยมซึ่งเปลี่ยนแปลงและแปรไปตามยุคสมัยและความพึงพอใจของผู้เสพซึ่งหมายถึงนักดนตรีและนักฟังดนตรี ความพึงพอใจจึงแบ่งได้สองพวกคือเพื่อนักดนตรีและเพื่อนักฟังดนตรี ในยุคหนึ่งความพอใจของทั้งสองฝ่ายอาจตกลงกันได้ที่ทำนองเพื่อสื่ออารมณ์ และในยุคหนึ่งความพอใจอยู่ที่เนื้อร้องเพื่อสื่ออารมณ์ก็เป็นได้ ไม่ว่าดนตรีนั้นจะสื่ออารมณ์โดยผ่านสื่อในด้านใดและเพื่อสนองอารมณ์ของใคร ต่างก็รู้ได้ว่าตัวเป็นผู้เสพซึ่งมีสิทธิ์เลือกเสพในสิ่งที่ตนพอใจ ดังนี้แล้วความหมายของดนตรีจึงขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของตัวบุคคลในการจัดทำหรือเลือกสรรตามแต่ตนพอใจ

ผลที่เกิดจากแนวคิดเรื่องความหมายดนตรี คือการรับรู้ รู้สึกได้ เข้าใจถึง หรือสร้างอารมณ์โดยดนตรีป็นสิ่งเร้า เหล่านี้ในปัจจุบันได้ออกมาในรูปแบบของค่านิยมทางดนตรีซึ่งได้เปลี่ยนแปลงผ่านไปตามยุคสมัยและกาลเวลา เพลงสมัยใหม่มีการถ่ายทอดในแบบใหม่ ๆ มากขึ้นทั้งด้านเนื้อร้อง ทำนอง และที่เข้ามาคือเรื่องของรูปแบบ ซึ่งเหล่านี้อาจกล่าวได้ว่าสังคมมีส่วนหล่อหลอมให้เกิดขึ้น เป็นที่ทราบกันดีว่าสังคมในปัจจุบันทวีความรุนแรงมากขึ้นในเรื่องของอารมณ์ที่มีผลต่อการใช้ชีวิต ดังนี้แล้วดนตรีและการสื่อเพื่อเข้าถึงอารมณ์อันแสดงความหมายของดนตรีจะกล่าวได้ว่าเป็นสิ่งเร้าเร่งต่อการก่อให้เกิดอันเป็นอันตรายต่อสังคมหรือไม่

คำสำคัญ (Tags): #ความหมายดนตรี
หมายเลขบันทึก: 588322เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2015 11:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 เมษายน 2015 11:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท