ดิฉันได้รับ และคิดว่าทุกคณะวิชาภายใน มน. ก็คงได้รับบทสรุปสำหรับผู้บริหารของงานวิจัยสถาบัน จากท่านคณบดีคณะมนุษยศาสตร์ (รศ.พูนพงษ์ งามเกษม) ซึ่งเป็นงานวิจัยสถาบันเรื่อง "การศึกษาเจตคติในการทำวิจัย ปัญหา และอุปสรรคในการทำวิจัย และความต้องการการสนับสนุนการทำวิจัยของอาจารย์คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร" โดย ผศ.ดร.วัฒนา พัดเกตุ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวางแผน คณะมนุษยศาสตร์ อ่านจบแล้วรีบเขียน Blog ทันที ของดีดี อย่างนี้ ต้องกระพือต่อให้เกิดประโยชน์ยิ่งๆ ขึ้น ดิฉันขอหยิบยกเอาหัวใจของบทสรุปมาเสนอ ดังนี้นะค่ะ
จากข้อค้นพบที่ได้จากการวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยจึงขอเสนอข้อเสนอแนะสำหรับผู้มีบทบาทในการสนับสนุนการทำวิจัยของอาจารย์ ดังนี้
-
จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการทำวิจัยอย่างเพียงพอ
-
ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรมีการพิจารณาถึงระเบียบและข้อปฏิบัติในการเบิกจ่าย เพื่อลดความยุ่งยากของขั้นตอนต่างๆ และความซ้ำซ้อนของเอกสาร เพื่อดึงดูดให้อาจารย์ประสงค์และสนใจของบประมาณสนับสนุนเพื่อทำวิจัยมากขึ้น มหาวิทยาลัยอาจจะต้องผลักดันในเรื่องการปฏิรูประเบียบและกฎเกณฑ์ต่างๆ เพราะคณะฯไม่สามารถทำอะไรได้มากนัก เพราะจำเป็นต้องใช้ระเบียบที่สอดคล้องกับของมหาวิทยาลัย
-
มหาวิทยาลัยและคณะฯ ควรจัดสรรงบประมาณที่เหมาะสมและเป็นจริง ในการสนับสนุนโครงสร้างและปัจจัยพิ้นฐานเพื่อการวิจัย เช่น สถานที่ทำงานที่เหมาะสม หนังสือ และวารสารทางวิชาการ ไม่ว่าจะเป็นในรูปเอกสารต้นฉบับในห้องสมุด หรือแหล่งข้อมูลออนไลน์ แลอิเลกทรอนิกส์อย่างเพียงพอ และสะดวกต่อการสืบค้น
-
จัดภาระงานให้เหมาะสม และเอื้อต่อการทำวิจัยที่จำเป็น ต้องมีเวลาในการอ่าน และหาโจทย์วิจัย รวมทั้งเวลาในการเขียนวิจัยด้วย และอาจพิจารณาอนุญาตให้ผู้ทำวิจัยขอลดภาระงานสอนหรืองานอื่นๆได้
ท่านคณบดี และท่านรองคณบดี คณะมนุษย์ฯ นับเป็นผู้บริหารตัวอย่างที่ใช้การวิจัยเพื่อการบริหารอย่างแท้จริง โจทย์วิจัยก็ช่างเลือกได้เหมาะกับกาละ และเทศะ คืออยู่ในช่วงที่มหาวิทยาลัยประกาศนโยบายว่า จะเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการวิจัย นอกจากนี้ ยังมีจิตเอื้ออารี เผยแพร่ผลงานวิจัยให้กับคณะวิชาต่างๆ ในมหาวิทยาลัยทราบด้วย เป็นการจุดประกายความคิดให้ผู้บริหารทั้งหลาย เกิด idea ว่า มีเรื่องให้วิจัยเพื่อการบริหารได้อีกหลายเรื่อง ดิฉันขอชื่นชมด้วยความจริงใจมา ณ ที่นี้