ปรัชญาการศึกษา ตอนที่ 6: การศึกษานอกกรอบ


การศึกษานอกกรอบ


เฉลิมลาภ ทองอาจ

โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม



ไม่ว่าใครจะพูดอย่างไร แต่เชื่อเถิดครับว่า การศึกษาทุกวันนี้
ทำให้เราอยู่ในกรอบบางอย่าง

กรอบนั้น เป็นสิ่งที่เราใช้เพื่อตัดสินใจและพิพากษาอีกหลายอย่างที่เกี่ยวกับเด็ก ๆ ของเรา

แถมยังไปสร้างกรอบครอบความคิดของเด็ก ๆ เข้าอีกชั้นหนึ่ง

นี่คือความจำเป็นที่เราจะต้องนอกกรอบกันบ้าง

พระเดชพระคุณ พระโพธิญาณเถระ (ชา สุภัทโท) ท่านให้แง่คิดนี่น่าสนใจมากว่า แนวคิดของพระพุทธศาสนานั้น

ให้อยู่นอกเหนือเหตุผล อย่าไปติดกับเงื่อนไข ถ้า...อย่างนั้น...ต้องอย่างนี้

เพราะไม่มีอะไรที่จะแน่นอน

ขนาดท่านเป็นพระ ท่านยังเห็นว่า การที่มีธรรมเนียมให้พรของพระว่า "อายุ วัณโณ สุขัง พลัง"

ซึ่งญาติโยมรอรับและพร้อมจะสาธุทั้งศาลานั้น

ยังเป็นการยึดติดอยู่ในชาติภพ ไม่อาจไปสู่ทางสายเอกได้

ท่านตั้งคำถามว่า อายุยืนยาว นี่ดีไหม ผิวมันจะดีหรือ พลังมันจะเหลือหรือ

สภาพคนแก่มาก ๆ เป็นสภาพที่น่าพึงใจหรือ

นี่คือการคิดนอกกรอบ นอกจากเหตุผล และขนบของเจ้าคุณชา

แม่ผมเคยบวชเป็นชี ที่วัดหนองป่าพง ทำให้ผมซึ่งไปเยี่ยมแม่ ได้ทบทวนธรรมะของพระเดชพระคุณอยู่เสมอ

ช่วงที่ปฏิบัติธรรม แม่เคยบอกกับผมว่า

"เราน่าจะสิ้นกรรมต่อกันในชาตินี้"

ผมอนุโมทนากับแม่ แม่ได้คิดนอกกรอบแล้วจากความเป็นแม่สมมติ

แม่จึงเป็นอิสระจากผม และเตรียมที่จะปลด "ห่วง" อันหนักอึ้งนี้ออกไป

ทุกวันนี้ เวลาที่เราเห็นใครมานั่งเถียงกันเรื่องที่ตัวเองต่างก็ไม่รู้จริง เป็นเรื่องที่คนอื่นเขาคิดขึ้น เป็นเรื่องที่ท่อ่งจำตามเขามา แล้วมันเป็นเรื่องสมมติ ทั้งทฤษฎี แนวคิด หลักการ เทคนิค รูปแบบหรือเรื่องอันอุดมไปด้วยเหตุผล

เชื่อเถอะครับ สิ่งเหล่านี้ ไม่ได้ทำให้เราหนีจากคุกได้เลย



____________________________________________________________________

หมายเลขบันทึก: 587452เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2015 19:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มีนาคม 2015 19:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท