ปรัชญาการศึกษา ตอนที่ 5: การศึกษาสำหรับทุกคน (จบไปแล้วที่จอมเทียน)


ปรัชญาการศึกษา ตอนที่ 5: การศึกษาสำหรับทุกคน

(จบไปแล้วที่จอมเทียน)


เฉลิมลาภ ทองอาจ

โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม


พัทยาเป็นเมืองที่ทั่วโลกรู้จัก จะรู้จักในนามแหล่งท่องเที่ยวและด้านสว่างอย่างไรนั้น

ผมก็ไม่ทราบได้นะครับ 555

แต่สิ่งที่คนลืมไปแล้ว คือเมื่อเกือบ 25 ปีที่แล้ว ที่ปฏิญญาว่าด้วยการศึกษาสำหรับทุกคน ได้เขียนขึ้นที่นี่ เราเรียกว่า "ปฏิญญาจอมเทียน"
ยูเนสโกประชุมหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นที่ กรุงดาการ์และโอมาน ที่สุดจึงมีแนวคิดอันเป็นเป้าหมายของการศึกษาสำหรับทุกคนอีก 7 ข้อ ที่จะเป็นภารกิจผูกพันเพื่อขับเคลื่อนการจัดการศึกษา ผมสรุปง่าย ๆ สำหรับผู้สนใจ ดังนี้ครับ

ต่อจากปี 2015 ไปอีก 15 ปี หรือ ปี 2030 ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกต้อง

1. จัดการศึกษาปฐมวัยที่ได้คุณภาพ เรียนฟรีอย่างน้อย 1 ปี - แต่ไม่รู้ประเทศไหนแถวนี้ ครูปฐมวัยมีแต่ปัญญา (สด.เผยผลประชาพิจารณ์ ชี้ ครูปฐมวัยมีปัญหาด้านการปฏิบัติงาน การปฏิบัติตน และปัญหาด้านจรรยาบรรณ โดยเฉพาะใน กทม.ยังมีปัญหาการจัดการศึกษาปฐมวัยอยู่มาก-2554)

2. จัดการศึกษาที่มีคุณภาพ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายสำหรับเด็กทุกเพศ โดยเฉพาะผู้หญิง และต้องฟรีอย่างน้อย 9 ปี - แต่ไม่รู้ประเทศไหนแถวนี้ บอกว่า เรียนฟรี ๆ แต่โทษที มันไม่มีจริง 555

3. จัดการศึกษาให้เด็กและผู้ใหญ่รู้หนังสือ อ่านออก เขียนได้ คำนวณได้ - แต่ไม่รู้ประเทศไหนแถวนี้ ขนาดการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีเด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ตั้ง 3 หมื่นแหน่ะ 55

4. จัดการศึกษาที่ส่งเสริมความรู้และทักษะในการทำงานควบคู่กันไป การเรียนต้องเชื่อมโยงกับงานได้ - แต่ไม่รู้ประเทศไหนแถวนี้ เรียนเพื่อสอบ พอสอบเสร็จแล้วทำงาน กลับทำงานไม่ได้ บริษัทถามว่า น้องเรียนอะไรมาหรือ ? 555

5. ส่งเสริมให้เด็กทุกคนเข้าใจความเป็นพลเมือง อยู่ในสังคมที่สันติสุข ยังยืน จากการศึกษาวิชาพวกพลเมืองและการพัฒนาที่ยั่งยืน - แต่ไม่รู้ประเทศไหนแถวนี้ สอนวิชาหน้าที่พลเมืองแบบท่องจำ แต่ไม่เคยให้เด็กออกไปทำหน้าที่พลเมืองเลย

6. พัฒนาครูให้จัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ เป็นมืออาชีพ และสร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียน - แต่ไม่รู้ประเทศไหนแถวนี้ สร้างครูไปเป็นติวเตอร์ เชิญติวเตอร์มาอบรมนักศึกษาครู แทนที่จะเชิญครูที่อยู่กับนักเรียน

7. สนับสนุนให้ใช้เงินลงทุนเพื่อการศึกษาไม่น้อยกว่า 4-6 % ของ GDP - แต่ไม่รู้ประเทศไหนแถวนี้ แม้จะใช้เงินในเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา ประมาณ 4% ของ GDP และคิดเป็นร้อยละ 20 ของงบประมาณแผ่นดินแล้วก็ตาม แต่เวลาพูดถึงการศึกษา ทุกคนก็ส่ายหน้า 555

ผมเดินอยู่ริมหาดจอมเทียน พัทยา
ผมคิดถึงหมุดตัวแรกที่ปักไว้ในผืนแผนที่เล็ก ๆ

ที่เริ่มฉายแสงแห่งความเรืองรองของการศึกษาสำหรับทุกคน

ซักพักคลื่นทะเลเบาๆ พัดมา หมุดนั้นก็ล้มหายไป แม้แต่รอยหมุด ก็เลือนหายไปด้วย

เราลืมปฏิญญาจอมเทียน และเราลืมไปว่า การศึกษาที่ปัจจุบัน กลายมาเป็นเรื่องสำหรับ "บางคน" (ที่มีเงินและโอกาส) นั้น

มันเจ็บช้ำแค่ไหน...


______________________________________________________________________

หมายเลขบันทึก: 587402เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2015 17:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มีนาคม 2015 17:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ตั้งความหวังกันใหม่สำหรับการปฏิรูปที่กำลังเกิดใหม่นี้ได้ไหมคะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท