เหตุใดนักบินใช้กายานุปัสสนาสติปัฏฐานขณะปฏิบัติการบิน


เราต้องการรู้ว่าเรามาจากไหน เพราะเราต้องการระบุตำแหน่งตนเองว่าเราอยู่ที่ไหน ส่วนที่เราต้องการจะเดินทางไปต่อทิศทางไหนเราต้องรู้ว่าขณะนี้เราอยู่ที่ไหน

การปฏิบัติการบินของนักบิน เกี่ยวข้องกับการกำหนดสติ ด้วยสติปัฎฐาน 4 ในด้าน กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ซึ่งอุปมาได้กับ และหลักการบริหารความเปลี่ยนแปลง และ PDCA อย่างที่สามารถทำความเข้าใจได้ง่ายๆครับ

ก่อนอื่นเรามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในภาพรวม ของวิธีที่นักบินใช้ เมื่อทำการบินก่อนครับ ขณะนักบินปฏิบัติการบิน ความคิดของนักบินจะมีขั้นตอน วิธีคิด และวิธีปฏิบัติดังนี้ครับ

"การเร่ง-ลดความเร็ว และการเพิ่ม-ลดความสูงระดับเพดานบิน เพื่อไปสู่ความเร็วและความสูงที่วางแผนไว้และต้องการที่จะไปยังจุดนั้น"

การเดินทางและการนำร่อง ก่อนอื่นเราต้องการรู้ว่าเรามาจากไหน เพราะเราต้องการระบุตำแหน่งตนเองว่าเราอยู่ที่ไหน

ส่วนที่เราต้องการจะเดินทางไปต่อทิศทางไหนเราต้องรู้ว่าขณะนี้เราอยู่ที่ไหน เหมือนในแผนที่ตามที่สาธารณะทางเดินนั่นเองครับ ที่จะระบุตำแหน่งที่เรายืนอยู่ ว่าอยู่ตรงจุดใดคือจุดใดในแผนที่นั้นๆ จะได้เริ่มออกเดินทางต่อไปได้อย่างถูกต้องนั่นเอง

เราคงเคยเล่นกีฬาปิดตาตีหม้อ ซึ่งเราจะคอยทิศทางและระยะแก่คนที่ถูกปิดตา และเคยเรียนการบอกเวกเตอร์โดยกำหนดเส้นไปทางเหนือเป็นระยะเท่านั้นเท่านี้เมตร เสร็จแล้วไปทางขวา เท่านี้เมตร ตามแกน X แกน Y

เสมือนเราบอกเส้นทางให้เพื่อนขับรถไปที่หมายได้ถูกต้อง ซึ่งเดี๋ยวนี้ในระบบนำร่องหรือ gps สามารถทำให้เราได้เบ็ดเสร็จนั่นเอง ว่าถ้าเราไปตามเส้นทางนี้ก็จะถึงจุดหมายปลายทางได้

ซึ่งในอากาศยานเขามีเครื่องไจโร เป็นตัวหาเวกเตอร์หรือทิศทางที่จากมาและระยะที่จากมานับจากจุดตั้งต้น (ก่อนออกเดินทางนักบินจะใส่ค่าพิกัดที่ตนอยู่ หรือ พิกัดของหลุมจอดอากาศยาน ให้แก่ระบบนำร่อง) เพื่อแสดงให้ทราบในเวลาเดินทางว่าเราออกมาจากต้นทาง(หลุมจอด)ระยะเท่าไหร่ทิศทางไหน และเมื่อนำมาซ้อนบนแผนที่แล้ว การเคลื่อนตัวออกจากต้นทางทำให้ไจโรที่เป็นเสมือนลูกข่างแกว่งรอบศูนย์กลางอยู่ มีการส่งแรงกระทำผ่านแกนตั้งแกนนอนและแกนแนวสูง หรือพิกัดแนวแกน (x,y,z) นำค่าเบี่ยงเบนที่เกิดจากแรงที่กระทำบนแกนทั้งสามของลูกข่าง มาประมวลผลและแปลเป็นค่าแรงดันทางไฟฟ้า มากำหนดการเคลื่อนที่ของอากาศยาน ตามทิศทางเวกเตอร์ (เหนือ 5 ตะวันออก 10 สูง 5) ไปแสดงบนแผนที่ เราก็จะทราบว่าอากาศยานลำนี้อยู่ ณ ตำแหน่ง ตำบลใด ในแผนที่ได้นั่นเอง

ระบบนำทางนี้เราเรียกว่า ระบบนำร่องด้วยอุปกรณ์ภายในตัวอากาศยานเอง หรือ INS หรือ Initial Navigator System ซึ่งก็มีติดอากาศยานมาจนทุกวันนี้เพราะเป็นระบบที่พึ่งตนเอง หมายความว่าสามารถควบคุมตัวแปรที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงหลักๆได้เอง จึงเป็นระบบที่มีความเที่ยงตรง,แมนยํา(Validity)ทำให้เกิดความเชื่อมั่น(Reliability) มากกว่าระบบปัจจุบันที่มีการใช้การรับสัญญาณค่าพิกัดของ gps ในหลายๆดาวเทียมมาประมวลผลเพื่อบอกตำแหน่งพิกัดที่อยู่ของอากาศยาน ในกล่องดำที่เรารู้จักกันดี ก็จะบันทึกค่าจากระบบ INS นี่แหละครับเพื่อเป็นข้อมูลบอกได้ว่านักบินเริ่มบินจากต้นทางไปถึงแห่งหนตำบลใดได้

..................................

กลับมาที่ประเด็น การปฏิบัติการ "เร่ง-ลดความเร็ว และการเพิ่ม-ลดความสูงระดับเพดานบิน เพื่อไปสู่ความเร็วและความสูงที่วางแผนไว้และต้องการที่จะไปยังจุดนั้น" นักบินเขามีวิธีคิด และเการปฏิบัติแบบ PDCA นั่นคือวางแผนก่อนที่จะออกมาจากจุดเริ่มทางแล้ว ว่าช่วงเทคออฟ ช่วงไต่ขึ้น ช่วงบินเดินทางหรือบินระดับ ช่วงใดควรจะใช้ความเร็วเท่าไหร่ อัตราการไต่เท่าไหร่ และเมื่อนักบินจะทำ วิธีคิดเขาจะคิดก่อนทำเป็นขั้นตอนแบบนี้ครับ

1.เราอยู่ที่ความสูงเท่าไหร่ 1000 ฟิต

2.เราจะไต่ขึ้นไปที่ความสูงเท่าไหร่ 2000 ฟิต

3.เราจะไต่ด้วยอัตราเท่าไหร่ 400 ฟิตต่อนาที

4.เราพร้อมจะเริ่มไต่แล้ว เราจะดึงคันบังคับ ตอนนี้เราเริ่มดึงคันบังคับแล้ว

5.มุมไต่แสดงผลว่าไต่ไหม แสดง เท่าไหร่ กำลังเพิ่มขึ้น เราจะค่อยๆเพิ่มการดึงคันบังคับไปอีก

6.มุมไต่ค่อยๆเพิ่ม ใกล้จะถึง 400 ฟิตต่อนาทีแล้ว เราจะค่อยๆคืนคันบังคับทำให้อัตราการไต่ขึ้นช้าลงเล็กน้อย

7.เข็มวัดอัตราการไต่เริ่มเคลื่อนช้าลง พร้อมๆกับอัตราการไต่ใกล้ถึง 400 ฟิตต่อนาที

8.เริ่มใกล้จะถึงอัตราการไต่ที่ต้องการแล้ว ถึงแล้ว นักบินค้างคันบังคับไว้ที่ 400 ฟิตต่อนาที ความสูงเท่าไหร่ 1500 ฟิต

9.เราจะไปที่ 2000 ฟิต ตอนนี้เท่าไหร่ 1800 ฟิต

10.นักบินเริ่มกดคันบังคับลง ความสูงเข้าใกล้ 2000 ฟิต

11.ความสูงชี้ 1900 ฟิตนักบินเริ่มกดคันบังคับลงอีกให้อัตราการไต่ขึ้นช้าลง ความสูง 1950 ฟิต

12. ความสูง 2000 ฟิตนักบินคืนคันบังคับมาตำแหน่งเดิม คือบินระดับที่ 2000 ฟิต

เห็นไหมครับว่า นักบินจะเฝ้าดูความสูงตลอดเวลา ฉนั้นจะไม่มีนักบินคนไหน บินไปที่ 2100 ฟิตแล้วต้องบินกลับลงมาที่ 2000 ฟิต

คงเป็นการตอบโจทย์ได้ว่า การที่เรามีสติระลึกรู้ ตำแหน่งของตน และการกระทำของตน ในทุกขณะ หรือ Monitoring นั้น

...........ทำให้การควบคุมการเปลี่ยนแปลงเป็นไปตามที่วางแผน การบริหารการเปลี่ยนแปลงก็เช่นกัน เราสามารถควบคุม ปรับเปลี่ยน เหตุการณ์ หรือสภาวะการณ์ให้ดีก็ได้ร้ายก็ได้ หากเรารู้จักควบคุม และรับรู้การเปลี่ยนแปลง เริ่มแก้ไขเร็ว แต่พอเริ่มแก้ให้แก้ไขแบบค่อยเป็นค่อยไป หมายความว่า ทำแล้วดูผล เริ่มทำแล้วดูผลอีกครับ ต่อเนื่องกันไปแบบนี้ นั่นก็คือสติที่จดจ่อ และเตรียมพร้อมที่จะปรับแก้ได้อย่างต่อเนื่อง ตลอดเวลา แบบนี้แหละครับ ที่นักบินถูกฝึกให้มีวิธีการคิดก่อนทำ คิดแล้วทำ ทำแล้ว้ฝ้าดูการเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนแปลงแล้วกลับมาอยู่นิ่ง ตั้งแต่ต้นจนจบ แบบนี้จะไม่ทำให้เกิดความผิดพลาดในการปฏิบัติงาน ไม่ว่าจะงานใดๆก็มีสติกำกับอยู่ตลอดเวลานั่นเอง.....

ว่าที่ร้อยตรีโสตถิทัศน์ฯ รักในหลวง...๖มีนาคม๒๕๕๘

เหตุใดนักบินใช้กายานุปัสสนาสติปัฏฐานขณะปฏิบัติการบิน ภาคต่อ

(ปรับ)ปรุงเมื่อ 13 เมษายน 2559 ตรุษสงกรานต์

เรามาลองเปรียบเทียบ การกำหนดสติ ในการควบคุม ยานพาหนะ เครื่องจักร กับความรู้ทางโลกุตะระ ได้แก่ ทฤษฎีการบริหารงานสู่ความสำเร็จ ได้แก่ PDCA , Management of Change , Risk Management , Feed Back Control , Automatics Gain Control , SMS : Control level of Safety(Risk)

หรือแม้กระทั่ง การต่อสู้กับเชื้อโรคของร่างกายเราเอง Anty Oxidant , Anty Bioethics , Andy-De Toxic ซึ่งเป็นพลวัฏที่ค่อนข้างยั่งยืนด้วย ระบบกลไกที่ซับซ้อนต่างกัน

....................ความยั่งยืนของโลกกับธรรม คือ ทางโลกใช้กฎหมายบังคับ ทางธรรมใช้ Recognize หรือ ประสาทการรับรู้ แล้วกำหนดสติระลึกรู้ให้ถึงเหตุ พิจารณาเข้าใจปัญหาด้วยความรู้อย่างถ่องแท้ การเข้าใจการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเป็นทางวิทยาศาตร์และศาสตร์ทางวิถีธรรมชาติ หรือศาสตร์ที่มีตัวแปรเปลี่ยนได้เสมอนั่นเอง ซึ่งทางการทดลองปกติ จะไม่ปรับตัวแปรที่ควบคุมไม่ได้ แต่จะตัดทิ้งในการคำนวณ ทางเกณฑ์ของระบบราชการไทย เราก็ตัดทิ้ง แต่นำไปอ้างอิงเมื่อเวลาเทรนหรือแนวโน้มไม่เป็นไปดังเป้าหมาย ก็คือให้พิจาณาด้วยแต่ไม่นำมาคิด แต่ถ้าเป็นทางนักบิน เขาทดลองทำแต่ทำเฉพาะสถานการณ์ที่ควบคุมได้ โดยใช้ครูการบินที่มีประสบการณ์


...................คือเขาเชื่อว่าครูมีประสบการณ์เพียงพอที่จะ ประเมินสถานการณ์ที่จะทำการทดลองได้แค่ไหน คือประเมินความเสี่ยงก่อนทดลอง แต่จะไม่ตัดตัวแปรนี้ทิ้ง แต่จะวิเคราะห์ลงไปคล้ายๆกับทาง วิปัสนากรรม พิจารณาดูอีกว่ากระทบกับอะไร มีแนวโน้มทำให้เกิดการเปลี่ยนอย่างไร เช่น หากจะทำการบินขึ้นในสนามบินที่ สภาพแวดล้อมมีอุณหภูมิสูงขึ้น 2 องศา เครื่องบินลำนี้จะใช้ระยะทางในการวิ่งขึ้นเพิ่ม 354 เมตร แบบนี้เป็นต้น ซึ่งตรงกับทฤษฎีที่ยั่งยืน กล่าวคือ ทดลองและหาให้จบ ว่าหากสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไปอย่างไร เท่าใด ดิน น้ำ ความชื้นเปลี่ยนไปเท่าใด ต้องจัดการอะไรเพิ่ม แสดงว่าการพิจารณาเมื่อเทียบกับสภาพทางธรรมชาติก่อน ถึงจะเป็นระบบที่ยั่งยืน นอกเสียจากว่า ต้องการทดลองในระบบปิด ซึ่งตอบโจทย์ได้ว่า เมื่อทดลองในระบบปิดแล้ว ก็ต้องนำมาปรับให้เข้ากับสภาพเหตุแวดล้อมอีกทีหนึ่ง ถึงจะเป็นทฤษฎีที่ยั่งยืน ความความว่ามีการบริหารจัดการความเปลี่ยนแปลง นั่นเอง ที่พ่อหลวงเรามีความสามารถในการบริหาร แต่พ่อหลวงเน้นการบริหารจัดการในสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีพพื้นฐานก่อน แต่ฝรั่งเขาเน้นการบริหารแบบธุรกิจ การตลาด การลงทุน ให้ได้มาซึ่งสิ่งที่มนุษย์ปรารถนาเป็นเจ้าของ ซึ่งอาจจะไม่จำเป็นสำหรับทุกคน

...................ทฤษฎีพ่อหลวงจึงใช้ได้กับทุกกลุ่มเป้าหมาย แต่ทางฝรั่งเห็นจะใช้ได้กับกลุ่มเป้าหมายที่มุ่งเน้นการตลาด ซึ่งเมื่อเศรษฐกิจตกต่ำ การบริหารให้สำเร็จก็จะยากหรือต้องเลิกล้มไป เพราะการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจมันมีแนวโน้มการเปลี่ยนที่มากกว่าสิ่งที่เปลี่ยนตามธรรมชาตินั่นเอง ตรงนี่ที่เรียกความยั่งยืน นั่นคือเสถียรภาพการบำรุงการเจริญเติบโตของผลลัพธ์ในช่วงระยะเวลาที่ยาวนานกว่า ความยั่งยืนที่ยาวนานจะเป็นเหตุให้มีผลต่อคุณภาพการดำรงชีวิต ในช่วงวัยของคนมากกว่า นั่นคือถือว่าสำคัญที่สุดที่ต้องรีบทำก่อนเรื่องอื่นๆนั่นเอง

1.เราอยู่ที่ความสูงเท่าไหร่ 1000 ฟิต (พิจาณาจิต ตั้งวางจิต พิจารณาหน้าปัดวัดความสูง)

2.เราจะไต่ขึ้นไปที่ความสูงเท่าไหร่ 2000 ฟิต (ตรวจดูแผน ว่าจะต้องเริ่มทำอะไร สิ่งที่ทำเป็นไปตามแผนไหม ถ้าไม่เป็นต้องกำหนดอย่างอื่นไหม)

3.เราจะไต่ด้วยอัตราเท่าไหร่ 400 ฟิตต่อนาที (ตรวจข้อมูลที่จะทำเพิ่มเติม)

4.เราพร้อมจะเริ่มไต่แล้ว เราจะดึงคันบังคับ ตอนนี้เราเริ่มดึงคันบังคับแล้ว (ดึง หนัก ฝืน ค่อยๆขยับหนอ)

5.มุมไต่แสดงผลว่าไต่ไหม แสดง เท่าไหร่ กำลังเพิ่มขึ้น เราจะค่อยๆเพิ่มการดึงคันบังคับไปอีก (เพิ่มแรงดึง อัตราการไต่เพิ่ม)

6.มุมไต่ค่อยๆเพิ่ม ใกล้จะถึง 400 ฟิตต่อนาทีแล้ว เราจะค่อยๆคืนคันบังคับทำให้อัตราการไต่ขึ้นช้าลงเล็กน้อย

7.เข็มวัดอัตราการไต่เริ่มเคลื่อนช้าลง พร้อมๆกับอัตราการไต่ใกล้ถึง 400 ฟิตต่อนาที

8.เริ่มใกล้จะถึงอัตราการไต่ที่ต้องการแล้ว ถึงแล้ว นักบินค้างคันบังคับไว้ที่ 400 ฟิตต่อนาที ความสูงเท่าไหร่ 1500 ฟิต

9.เราจะไปที่ 2000 ฟิต ตอนนี้เท่าไหร่ 1800 ฟิต

10.นักบินเริ่มกดคันบังคับลง ความสูงเข้าใกล้ 2000 ฟิต

11.ความสูงชี้ 1900 ฟิตนักบินเริ่มกดคันบังคับลงอีกให้อัตราการไต่ขึ้นช้าลง ความสูง 1950 ฟิต

12. ความสูง 2000 ฟิตนักบินคืนคันบังคับมาตำแหน่งเดิม คือบินระดับที่ 2000 ฟิต

เห็นไหมครับว่า นักบินจะเฝ้าดูความสูงตลอดเวลา ฉนั้นจะไม่มีนักบินคนไหน บินไปที่ 2100 ฟิตแล้วต้องบินกลับลงมาที่ 2000 ฟิต

คงเป็นการตอบโจทย์ได้ว่า การที่เรามีสติระลึกรู้ ตำแหน่งของตน และการกระทำของตน ในทุกขณะ หรือ Monitoring นั้น

...........ทำให้การควบคุมการเปลี่ยนแปลงเป็นไปตามที่วางแผน การบริหารการเปลี่ยนแปลงก็เช่นกัน เราสามารถควบคุม ปรับเปลี่ยน เหตุการณ์ หรือสภาวะการณ์ให้ดีก็ได้ร้ายก็ได้ หากเรารู้จักควบคุม และรับรู้การเปลี่ยนแปลง เริ่มแก้ไขเร็ว แต่พอเริ่มแก้ให้แก้ไขแบบค่อยเป็นค่อยไป หมายความว่า ทำแล้วดูผล เริ่มทำแล้วดูผลอีกครับ ต่อเนื่องกันไปแบบนี้ นั่นก็คือสติที่จดจ่อ และเตรียมพร้อมที่จะปรับแก้ได้อย่างต่อเนื่อง ตลอดเวลา แบบนี้แหละครับ ที่นักบินถูกฝึกให้มีวิธีการคิดก่อนทำ คิดแล้วทำ ทำแล้ว้ฝ้าดูการเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนแปลงแล้วกลับมาอยู่นิ่ง ตั้งแต่ต้นจนจบ แบบนี้จะไม่ทำให้เกิดความผิดพลาดในการปฏิบัติงาน ไม่ว่าจะงานใดๆก็มีสติกำกับอยู่ตลอดเวลานั่นเอง.....


หมายเลขบันทึก: 587100เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2015 06:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 เมษายน 2016 04:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ชอบใจการประยุกต์พุทธศาสนา

ใช้กับการทำงานครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท