สช. สร้างวิทยากรนิรนามให้ทำงานสร้างสุขภาพชุมชน (วิทยากร500)


อาจารย์ กรรณิการ์ บรรเทิงจิตร คิดวาทกรรม นำสานพลังให้ผู้ร่วมเวทีมีความมั่นใจว่า "เราคือทีมชาติ วิชาการ สช. ที่มีความรู้ทางวิชาการ มาจุดประกายให้เข้าใจในกระบวนการจัดการความรู้


จากการที่ผู้เขียนได้ร่วมงานกับ สช.(สำนักงานสุขภาพแห่งชาติ) ในจังหวัดพัทลุง ได้มีโอกาสเข้าร่วมงานสมัชชาสุขภาพ

แห่งชาติ 2 ครั้ง จากนั้นมาก็ได้มาเป็นคณะกรรมการสุขภาพจังหวัดเป็นคณะทำงานโครงการ 500ตำบล

(โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพให้เกิดผลเป็นรูปธรรมในชุมชนท้องถิ่น โดยใช้เครื่องมือภายใต้

พรบ. สุขภาพแห่งชาติ พศฬ 2550 แล้ว มีโอกาสเข้าศึกษาโปรแกรมหลักสูตร นนส นักสานพลัง และล่าสุดได้รับการ

ติดต่อให้เข้าร่วมเวที รับฟัง คำนิยามเชิงปฎิบัติการ"กระบวนการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วน

ร่วม โรงแรม เอบีน่า กรุงเทพมหานคร


เวทีนี้ไม่มีพี่เลี้ยงจังหวัด อ่านเอกสาร อ่านชื่อโครงการก็งงๆ ผู้เข้าร่วมเวที ส่วนใหญ่เป็น อาจารย์มหาวิทยาลัย

นักวิชาการสาธารณสุข พยาบาล ปราชญ์ชาวบ้าน และภาคประชาสังคม ผู้เขียนจัดตัวเองอยู่ในภาคประชาสังคม

เป็นคนแรกของภาคใต้ที่มาถึงก่อนในเวที ฟังแต่ท่านรายงานตัวพร้อมทั้งสรรพคุณในการทำงานวิชาการกับ สช. ก็

รู้สึก หงอๆแต่ก็โชคดีนิดหนึ่งที่เจอ พี่จรูญ จากมุกดาหาร ที่ขับเคลื่อนงานกลุ่มเกษตรกรร่วมกันมาหลายปี

จนกระทั่งทีมจากนครศรีธรรมราชมาถึง จึงเพิ่มความมั่นใจเพราะหลายคนจากนคร เคยร่วมงานสื่อและสวัสดิการ

ชุมชนมาด้วยกัน

พี่จรูญปราชญ์ชาวบ้านจากมุกดาหาร

เปิดการพูดคุยแบบไม่เป็นทางการ

โดยอาจารย์ ปิติพร จันทรทัต ณ. อยุธยา เล่าความเป็นมาของโครงการพอเข้าใจ

แล้วโยนไมค์ให้อาจารย์ กรรณิการ์ บรรเทิงจิตร คิดวาทกรรม นำสานพลังให้ผู้ร่วมเวทีมีความมั่นใจว่า

"เราคือทีมชาติ วิชาการ สช. ที่มีความรู้ทางวิชาการ มาจุดประกายให้เข้าใจในกระบวนการจัดการความรู้

ในปีที่ 2 ของ 250 ตำบลสุขภาวะ บอกว่าธรรมนูญสุขภาพตำบลขยายได้มากมาจากพื้นที่

แล้วพี่ใหญ่ อาจารย์ วิลาวัณย์ เสนารัตน์ จาก มช.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มาสร้างความมั่นใจให้นักวิชาการนิรนาม

บอกว่า ในปีหนึ่งไ เราพบกันวันครึ่ง ไม่พอ ต่อไปต้งแลกเปลี่ยนข้ามตำบล ข้ามจังหวัด ข้ามภาคเอาทุนมารวมกัน

โดยใช้หลักการมีส่วนร่วม ของ 5 ขั้นตอน ขอให้คณะทำงานเป็นทีมเดียวกัน เป็นหนึ่งเดียว ในการจัดการความรู้

และนโยบายสาธารณะ

แล้วผู้เขียนก็ได้รู้จักตัวจริง เสียงจริงของท่าน ผอ.โครงการท่านสุทธิพงศ์ วสุโสภาพงศ์ ลงมือชี้แจงบอกเล่าให้

นักวิชาการนิรนามได้เข้าใจในบทบาทหน้าที่"ยอน"ให้ลงไปปฎิบัติงานสร้างสุขสู่ชุมชน โดยบอกว่า"ทีมภาคทำให้เกิด

การเปลี่ยนแปลง เกิดจากคนไม่มาก ปีนี้มีเพื่อนใหม่ 2 ภาค ซึ่งต้องเชื่อมต่อในมุมของนักสานพลัง ที่ต้องทำให้เกิด

ทำงานเป็นระบบ

ต้องมีส่วนร่วม

ต้องมีการยอมรับ วันนี้ นโยบายสาธารณะยังมองต่างมุมกัน พอทำงานร่วมกันก็เกิด


ความหลากหลาย จึงต้องมีการ นิยามเชิงปฎิบัติการให้ตรงกัน คณะทำงานกลางได้ลงไปพัฒนาทีม พบวิธีการได้มา

ต่างกัน กระบวนการก็หลากหลาย จึงต้องมาจูนกัน ให้เกิดพลังร่วม ในทิศทางเดียวกัน พวกเรามาใหม่ได้ความคล้าย

กัน ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และพัฒนาแนวทางจัดการความรู้ เป้าหมายคือ เข้าใจในนิยามตรงกัน

เข้าใจการพัฒนาขับเคื่อน

นโยบายสาธารณะ ใช้

การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือ

ยกระดับงานใช้เป็นบทเรียนในพื้นที่อื่น

ต้องขยายให้เกิดการพัฒนาจากตำบลเดิมไปตำบลอื่น

การถอดบทเรียนก็เหมือนการเลาะตะเข็บเสื้อเข้าไปดูว่า เขาเย็บอย่างไรถึงสวยงาม แนวทางในการขับเคลื่อน

คือ ประสาน สร้างกลไก เสริมพลัง ถอดบทเรียน จัดประชุมวิชาการ นั้นคือ 5 ขั้นตอนที่จะไปสู่การประกาศนโยบาย

สาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม ...

สำคัญที่สุดคือวิธีคิด ท่านผอ.ทิ้งท้ายไว้ให้นักวิการนิรนามได้คิด ..

.ก่อนเข้าสู่การประชุมเชิงปฎิบัติการ"กระบวนการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธรณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม

"ซึ่งสำนวนชาวหนังตะลุงบอก "ออกมาปรายหน้าบทบอกเรื่อง"ก็น่าติดตามนั่งชมให้รุ่งแข็ก(รุ่งสาง).....

โปรดติดตามในท้องเรื่องนักวิชาการนิรนาม 500

พิธีกรคนงาม

ผอ สุทธิพงศ์ ลงโรงเล่าเรื่อง

ผู้ใหญ่เขา "จังกับ" กัน( จังกับ =โสเหล่ = คุย = ปรึกษาหารือ)



หมายเลขบันทึก: 586174เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2015 01:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2015 21:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

บังครับมาเชียร์วิทยากร

500ครับ

ดูแลสุขภาพบ้างนะครับ

ขอบคุณ ท่านประธาน

และสวัสดี ปีใหม่จีน

ขอบคุณท่านอาจารย์ ขจิต งานใหม่ที่เข้ามา คืองานของ สช สำนักงานสุขภาพแห่งชาติ

เป็นทีมวิชาการจังหวัด

เป็นอีกงานหลังเกษียณที่เข้ามา

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท