เรื่องดีที่ มวล. : นกคัดคูพันธุ์หิมาลัย


น่าดีใจที่มีนกหลากหลายชนิดแวะเวียนมาเกาะที่ต้นไม้ใกล้บ้านพัก ให้ได้ถ่ายรูปและได้รู้จักนกชนิดใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่ต้องไปสำรวจหรือท่องป่าที่ไหน

เช้าวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558 เวลาเดียวกันกับที่พบนกขมิ้นท้ายทอยดำ ก็ได้พบนกสีเทาๆ ตัวหนึ่งด้วย ถ่ายรูปไว้สองรูปเพราะคิดว่าคงจะเป็นนกเขาใหญ่ที่เจออยู่บ่อยๆ มัวไปตื่นเต้นดีใจกับการเจอนกขมิ้นท้ายทอยดำมากกว่า

วันนี้ลองขยายภาพนกที่ถ่ายไว้ดู ก็พบลักษณะน่าสนใจที่ส่วนอกของนกมีลายขวางๆ หางก็ยาวและมีลาย ลองค้นเว็บไซต์ต่างๆ ว่าเป็นนกอะไร ก็พบว่าไม่ใช่นกเขาใหญ่ ลายขวางที่อกก็ต่างจากของนกเขาชวาที่จะมีแถวด้านข้าง เหยี่ยวบางชนิดก็มีลายคล้ายๆ กัน แต่หน้าตานกชนิดนี้ไม่เหมือนเหยี่ยว

เมื่อส่งภาพถ่ายไปที่ FB ของ ผศ.ดร.ปิยะพงค์ โชติพันธุ์ ก็ได้คำตอบว่าน่าจะเป็นนกคัดคู และแนะนำให้ถามกลุ่ม Thai Bird Report จึงได้ข้อมูลว่าเป็นนกคัดคูพันธุ์หิมาลัย (Himalayan Cuckoo) เพศเมีย



นกคัดคูพันธุ์หิมาลัย


น่าดีใจที่มีนกหลากหลายชนิดแวะเวียนมาเกาะที่ต้นไม้ใกล้บ้านพัก ให้ได้ถ่ายรูปและได้รู้จักนกชนิดใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่ต้องไปสำรวจหรือท่องป่าที่ไหน


วัลลา ตันตโยทัย

บันทึกเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2558

หมายเลขบันทึก: 586134เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2015 00:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2015 00:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อาจารย์โชคดีจัง ได้เห็นนกสวยๆ ครับ

จริงด้วยคุณทิมดาบ โชคดีจริงๆ อยู่แต่ในบ้านก็ได้เห็นและรู้จักนกหลายชนิด ที่สำคัญคือการที่เราคอยมองหานั่นเองที่ทำให้เราได้เจอ

ตื่นเต้นมาก

ผมเพิ่งเคยเห็น

ที่ม.วลัยลักษณ์มีนกหลากหลายมากๆครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท