ตกผลึกกิจกรรมบำบัดศึกษา


ขอบคุณมากครับที่นศ.กิจกรรมบำบัดได้มอบนมหนึ่งโหลให้ดร.ป๊อปได้บำรุงสุขภาพก่อนวันเกิดและขอชื่นชมในความตั้งใจและความสำเร็จในการเรียนรู้แบบตกผลึกความคิดในแบบจำลองที่ยากที่สุดของกิจกรรมบำบัดคือ Model of Human Occupation หรือแบบจำลองกิจกรรมการดำเนินชีวิตของมนุษย์ (Kielhofner G, 1980)

วันนี้นศ.กิจกรรมบำบัดม.มหิดลชั้นปีสองใช้เวลา 1 ชม. 15 นาทีในการเรียนรู้ใช้ปัญหาเป็นฐานด้วยเทคนิคกิจกรรมกลุ่มแบบพลวัติร่วมกันคิดร่วมกันต่อแผ่นคำเพื่ออธิบายแบบจำลองกิจกรรมการดำเนินชีวิตของมนุษย์...ขณะที่ประชุมตกผลึกทางความคิดเกิดภาวะผู้นำที่มีแรงจูงใจแสดงบทบาทประธาน เลขา ผู้วิเคราะห์ ผู้วิจารณ์ เมื่อเวลาผ่านไปธรรมชาติที่เป็นนิสัยกับความเคยชินก็แสดงเป็นอารมณ์บวกลบขณะประชุม หากค่อยๆแสดงบทบาทที่หลากหลายและนอกกรอบพร้อมใช้ใจเพื่อช่วยกลุ่มมากกว่าคิดเข้าข้างตัวเอง ก็จะเกิดกลุ่มที่ตอบโจทย์ได้ยอดเยี่ยมมีศักยภาพหรือความสามารถสูงสุดสะท้อนให้ใจมีพลังสุขภาวะ...นี่แหละคือว่าที่นักวิชาชีพที่ใส่ใจความสามารถที่พัฒนาในปัจจุบันขณะ

ดร.ป๊อปพบว่า ธรรมชาติของนศ.กิจกรรมบำบัดที่มีใจที่มุ่งมั่นและอยากเรียนรู้เชิงรุกแบบตกผลึกความคิดที่งดงาม แม้ว่านศ.กลุ่มนี้จะได้เรียนแบบจำลองนี้มาแล้วกับอาจารย์กิจกรรมบำบัดท่านหนึ่งขณะที่อยู่ปีหนึ่ง แต่เมื่อขึ้นมาปีสอง นศ.เรียนแบบฟังบรรยายก็ไม่สามารถจดจำอย่างเข้าใจได้ ผมจึงลองวางแผนการสอนแต่ก็ต้องนำกิจกรรมบำบัดมาปรับใช้ในการเรียนการสอนดังสรุปต่อไปนี้

  • ผมสอนให้เห็นภาพรวมของกรอบอ้างอิงต่างๆ ทางกิจกรรมบำบัดศึกษาราว 45 นาที พัก 5 นาที ก็แบ่งนศ.เป็นห้ากลุ่มแล้วแจกกระดาษคำแผ่นเล็กๆที่ตั้งโจทย์ให้นศ.แต่ละกลุ่มลองคิดทบทวนร้อยเรียงกระดาษคำต่างๆให้สัมพันธ์กันโดยไม่พูดและไม่เขียน ผ่านไป 15 นาที ก็ไม่มีกลุ่มใดทำได้ถูกต้อง จึงให้เวลาอีก 15 นาที ให้พูดคุยได้ ก็มีเพียงหนึ่งกลุ่มที่ทำเกือบถูก เมื่อให้กลุ่มนี้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนกลุ่มอืนๆ ก็ให้เวลาอีก 15 นาที ก็ยังคงไม่มีกลุ่มใดทำได้ถูกต้อง

  • ผมจึงให้ทุกคนระดมสมองเป็นกลุ่มเดียว เน้นให้ทำงานเป็นทีม ทุกคนก็มุงกันตามธรรมชาติในรูป

  • ผมจึงแนะนำให้ทุกคนจัดกลุ่มตามสื่อทางกิจกรรมบำบัด คือ ใช้ตัวเราเป็นต้นแบบในการบำบัดหรือพัฒนาทักษะการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต (กิจกรรมการประชุมทีมเพื่อตอบโจทย์ผม) กระบวนการสอนและการเรียนรู้ การสร้างสัมพันธภาพ การปรับสิ่งแวดล้อม และการวิเคราะห์กิจกรรม ทุกคนจึงเกิดกลุ่มพลวัติในรูป

  • เวลาผ่านไปนานพอสมควร ผมต้องเตือนให้ทุกคนสื่อสารความรู้สึกกับความคิดให้ลุ่มลึก คือ ขณะที่กำลังประชุม แยกให้ชัดเจนว่า กำลังใช้แรงจูงใจอย่างไร กำลังแสดงบทบาทอะไร กำลังใช้อารมณ์ที่เป็นนิสัยและความเคยชินอย่างไร และกำลังพัฒนาความสามารถสูงสุดของตนเองแค่ไหนอย่างไร
  • สุดท้าย ทุกคนเริ่่มใช้สมองอย่างอ่อนล้าและร้อยเรียงความคิดยังไม่สำเร็จดีนัก แล้วส่วนใหญ่ก็ยังเชื่อว่า แรงจูงใจส่งผลต่อนิสัยและความเคยชินและไม่เชื่อมโยงกับบทบาท

  • แต่ก็มีหนุ่มน้อยคนเดียว (ซ้ายมือใส่แว่น) ที่ยืนยันและยืนแสดงความคิดเห็นอย่างน่าประทับใจว่า เขานึกถึงประสบการณ์ชีวิตของบทบาทพ่อแม่ลูกที่เชื่อมโยงกับแรงจูงใจไปพร้อมๆกัน และมีหญิงสาวหลายท่านที่พยายามทำความเข้าใจว่า ทำไมถึงกล้ายกมือเป็นประธานกลุ่ม เป็นเลขานุการกลุ่ม เป็นนักวิจารณ์หรือนักวิเคราะห์และสลับหลายบทบาท รวมทั้งบทบาทที่เป็นตัวของตัวเอง ทุกคนกำลังทำตามแบบจำลองระบบเปิดทางพฤติกรรมการพัฒนาความสามารถจนเกิดทักษะและศักยภาพสูงสุดโดยลดนิสัยที่แย่และลดการทำอะไรจำเจเป็นประจำเกินไป และในสถานการณ์ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา หากเราแสดงบทบาทและทำด้วยความสนใจ ความตั้งใจ และเกิดแรงจูงใจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็จะกลายเป็นเจตจำนงค์ที่มีคุณค่าในการใช้ชีวิต
หมายเลขบันทึก: 585888เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2015 21:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2015 21:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

-สวัสดีครับพี่หมอ

-ตามมาให้กำลังใจครับ

-พี่หมอพอมีเวลาว่าง ๆ ก็มาพักผ่อนรับอากาศบริสุทธิ์ได้ที่ไร่เกษตรนะครับ

-ขอบคุณครับ

ขอบพระคุณมากครับพี่โอ๋ คุณเพชรน้ำหนึ่ง คุณ BlosSom Out และคุณ GD

ชอบใจกิจกรรมแบบนี้

เป็น Active learning ได้เลยครับ

ลองให้นักศึกษาเขียน reflection เพิ่มด้วยก็ดีครับ

ขอบคุณมากๆครับ

น่าสนใจที่จะได้อ่าน Reflection จากนศ.เพิ่มเติมครับ ขอบพระคุณมากครับพี่ขจิต พี่ชายที่่แสนดีมากๆครับผม

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท