มลาบรี ผีตองเหลือง กับ ปาด่อง กระเหรี่ยงคอยาว...วิถีที่ไม่ต่างกัน


ผมไม่ได้มีความรู้เกียวกับ กลุ่มชาติพันธุ์นี้ แต่ด้วยเป็นคนทำงานคลุกคลีกับกล่มชาติพันธุ์ที่หลากหลายที่แม่ฮ่องสอน ผมก็อดเป็นห่วงไม่ได้ครับ

  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>  <div style="text-align: center"></div> "มลาบรี" ภาพจาก www.hilltribe.org/thai/article/Mlabri.php  <p style="text-align: center"></p>กระเหรี่ยงคอยาวที่แม่ฮ่องสอน <hr>

 สืบเนื่องจาก คุณตรีปฐม บุญทา   ได้ถามคำถามผม และให้ผมช่วยให้ข้อคิดเห็นกรณี มลาบรี ด้วย ดังรายละเอียดในคำถาม ดังนี้

</span><p>มีบทความอยากให้คุณจตุพรช่วยแสดงความคิดเห็นครับ </p><p>          ปัจจุบัน มีชาวตองเหลือที่ยังเหลืออยู่ในประเทศไทยสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งมีพวกมิชชันนารีเข้าไปให้ความช่วยเหลือและสอนศาสนาอยู่ในจังหวัดแพร่ กับอีกกลุ่มหนึ่งอยู่ในนิคมชาวตองเหลือง มีการตั้งถิ่นฐานถาวรอยู่รวมกันที่บ้านห้วยหยวก หมู่ที่ ๖ ตำบลแม่ขะนิง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน จำนวน ๑๘ หลังคาเรือน ๒๔ ครอบครัว ๑๑๙ คน  </p><p>ได้รับสัญชาติไทย มีสำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประชาชนกันแล้ว มีนามสกุล ๕ นามสกุล ได้แก่ เมลืองไพร  สุชนคีรี  หิรัญคีรี  อนันตพฤกษ์  และไพรนิวาส  </p><p>ทั้งสองกลุ่มยังมีการไปมาติดต่อกันบ้าง แต่ก็ไม่ค่อยจะรู้เรื่องราวของแต่ละกลุ่มมากนัก ชาวตองเหลืองที่มีอายุเกิน ๓๐ ปี ขึ้นไป ไม่มีความสุขที่จะต้องใช้ชีวิตอยู่ในเขตพื้นที่นิคม เพราะพวกเขาจะต้องทำงานให้กับชาวเผ่าม้ง โดยได้ค่าจ้างเป็นผลผลิตของพืชพันธุ์ พวกเขาไม่พอใจที่ถูกด่าว่าเมื่อทำงานไม่เป็นที่พอใจของนายจ้าง ไม่พอใจที่จะต้องกินมาม่าแทนกินหัวเผือกหัวมัน </p><p>หากทางการจัดพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์ให้พวกเขามีชีวิตอยู่อย่างอิสระตามชีวิตดั้งเดิม พวกเขายินดีที่จะกลับไปมีชีวิตอิสระดังเก่า </p>ในขณะที่เด็กรุ่นอายุต่ำลงมาไม่เกิน ๒๐ ปี ไม่แน่ใจว่าจะสามารถใช้ชีวิตในป่าได้อย่างมีความสุข เพราะในช่วงชีวิตของเขาคุ้นเคยกับวิถีชีวิตแบบมีที่อยู่อาศัยเป็นที่เป็นทางแล้ว <p>       อยากทราบว่าข้อมูลนี้ตรงตามปัจจุบันหรือไม่  และรู้สึกอย่างไรกับปัญหาดังกล่าว</p><hr><p>บันทึกนี้มีประเด็นที่ชวนให้คิดอยู่ หลายประเด็นด้วยกันครับ</p><p>สืบเนื่องจากครั้งก่อนผมได้ไปให้ข้อคิดเห็นเรื่องคนมลาบรี เกี่ยวกับการส่งเสริมการท่องเที่ยว ในบันทึกของ คุณtanu (น่าจะใช่)</p><p>ตอนนั้นผมให้ข้อคิดเห็นเชิงไม่เห็นด้วย ...และ ไม่ถูกต้องหากจะเราไปยุ่งกับ คนมลาบรี มากไป  เข้าใจว่าเราใช้มาตรฐาน และวัฒนธรรมหลัก (Dominant)ของคนเมืองไปคิดแทนพวกเขาหมดเลย ไม่เป็นธรรม</p><p>คล้ายกรณี กระเหรี่ยงปาดอง กระเหรี่ยงคอยาวที่แม่ฮ่องสอน (ที่มีเพียง ๒ หมู่บ้าน เช่นกัน) ก็ประสบชะตากรรมที่คล้ายกัน ทุกฝ่ายที่แม่ฮ่องสอนต่างมุ่งพัฒนาเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยว เป็นของแปลก เป็น human Zoo ที่ผมรับไม่ค่อยได้ ...</p><p>มลาบรี ๒ กลุ่ม ซึ่งถือว่าเหลือน้อย และก็ถูกเพ่งเล็งจากคนกลุ่มต่างๆ ทั้งวิธีคิดที่หวังดี (แต่กระบวนการอาจไม่ดี หรือ รับร้อนเกินไป) และ ผู้ที่หวังผลประโยชน์บางอย่างทางธุรกิจ</p><p>อยากให้เข้าใจวิถีวัฒนธรรม เข้าใจพลวัตรของการเปลี่ยนแปลง  การดำรงอยู่ (social being) ทางวัฒนธรรม ผมอยากให้เป็นธรรมชาติ และคอยดูแลบางส่วนที่พวกเขาต้องการ</p><p>ไม่อยากให้ไปจัดการกับวิถีของ มลาบรี มากไป เป็นการครอบครองความเป็นเจ้าของความคิด(Hegemony) แต่ถ้าเป็นเรื่อง การพัฒนาคุณภาพชีวิต ผมเห็นด้วยครับ </p><h3>แต่คงต้องพิจารณาการพัฒนาให้รอบคอบ และเข้าใจ เข้าถึงด้วย</h3><p>เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่แตกต่างกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่น แม้แต่กลุ่มคนเมืองอย่างเรา ที่วัยรุ่น คนรุ่นใหม่จะตามวิถีสมัยใหม่  มีปรากฏการณ์ cultural Shock ก็มีให้เห็น เพราะโลกาภิวัตน์ มันหยุดไม่ได้ แต่ต้องทำความเข้าใจและอยู่กับโลกสมัยใหม่ให้ได้  คนพัฒนาก็ต้องเข้าใจมิตินี้ด้วย</p><p>ผมอ่านจากบันทึกเรื่อง นิคมมลาบรี ก็รู้สึกไม่สบายใจ เพราะต้องอยู่ร่วมกับคนม้ง มีการแตกต่างในวิธีการดำเนินชีวิตในนั้น ด้วย มลาบรีจึงถูกกระทำ</p><p>ผมไม่ได้มีความรู้เกียวกับ กลุ่มชาติพันธุ์นี้ แต่ด้วยเป็นคนทำงานคลุกคลีกับกล่มชาติพันธุ์ที่หลากหลายที่แม่ฮ่องสอน ผมก็อดเป็นห่วงไม่ได้ครับ</p><p>ผมเชื่ออย่างหนึ่งว่าที่ น่าน มีกลุ่มนักพัฒนาที่เข้าใจ และเป็นกลุ่มนักพัฒนาคุณภาพ ผมเชื่อมั่นในวิธีคิดของพวกเขาครับ</p><p>ยินดีมากๆครับ สำหรับการแลกเปลี่ยนในครั้งนี้</p><p></p><p>จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร</p><p>เมืองปาย,แม่ฮ่องสอน</p>๑๐ พ.ย. ๔๙

หมายเลขบันทึก: 58415เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2006 11:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)
  • สวัสดีเจ้าอ้ายจตุพร เป็นใดพ่อง ยะก๋านยะงานนักดูแลสุขภาพโตยเน่อเจ้า
  • ไม่อยากให้ไปจัดการกับวิถีของ มลาบรี มากไป เป็นการครอบครองความเป็นเจ้าของความคิด(Hegemony) แต่ถ้าเป็นเรื่อง การพัฒนาคุณภาพชีวิต ผมเห็นด้วยครับ

    แต่คงต้องพิจารณาการพัฒนาให้รอบคอบ และเข้าใจ เข้าถึงด้วย น้องเห็นด้วยกับคำพูดนี้นะเจ้า

 

มาเร็วนะครับ น้องอ้อ - สุชานาถ

ทำงานหนักก็ค่อยๆคลายลงแล้ว ...ก็กำลังคิดว่าจะไปแอ่วเบิ่ง เมืองขอนแก่น อีกวันสองวันที่จะถึงนี้

พักผ่อนครับ

หลังจากนั้นก็มีงานประชุมที่โครงการหลวง แถวๆเชียงใหม่ต่อ

ขอไปชาร์ทแบตก่อนครับ

ขอบคุณนักๆครับ น้องอ้อ ดูแลสุขภาพตั๋วเก่าเหมือนกันเน้อครับเน้อ

 

"สาวกะหรี่ยงสวยมาก ๆ"

เห็นด้วยครับ คุณ Chahครับ...

สวยตามแบบฉบับสาวชาวป่า

น่ารักและใสซื่อ

น่าไปเที่ยวจังเลยครับ ปีใหม่นี้ก็จะขึ้นไปแม่ฮ่องสอนอีกครับ  คงไปถึงบ้านกะเหรี่ยงคอยาว แล้วค่อยกลับมาปายครับ ว่างๆ คงได้เจอกัน

สวัสดีหนุ่มวิศวกร เมืองกรุง คุณ jarung

ยินดีครับหากต้องการข้อมูลติดต่อรายละเอียดได้นะครับ

ยินดีต้อนรับ สู่เมืองปาย และแม่ฮ่องสอน

ขอบคุณพี่จตุพรมากครับสำหรับคำแนะนำ  พอดีคอมฯผมเสีย  เลยไม่ได้ขอบคุณเสียนานเลย 

จากที่พี่จตุพรบอก

ผมเชื่ออย่างหนึ่งว่าที่ น่าน มีกลุ่มนักพัฒนาที่เข้าใจ และเป็นกลุ่มนักพัฒนาคุณภาพ ผมเชื่อมั่นในวิธีคิดของพวกเขาครับ

ผมอย่ากติดต่อกับพวกพี่ๆ กลุ่มนี้  ไม่ทราบว่าจะติดต่อได้อย่างไรครับ 

 

อีกนิดครับพี่...จากที่พี่จตุพรให้ความเห็นไว้  ผมอยากขอคำอธิบายในคำว่า

วิถีของ มลาบรี 

เป็นอย่างไรครับ  อะไรคือ"วิถีของมลาบรี"  ไม่ทราบว่าใช่วิถีของสังคมล่าสัตว์หรือเปล่า?

รบกวนพี่จตุพรอีกนิดครับ

บทความจาก http://203.144.221.123/ethnicredb/Report_Page_User.php?GET_ID=795

เป็นวิทยานิพนธ์ของคุณ ศักรินทร์ ณ น่าน  ในหัวข้อ "มลาบรีกับการช่วงชิงทรัพยากรในบริบทของการพัฒนาโดยรัฐ" ว่า

ระบบสังคมวัฒนธรรมความเชื่อดั้งเดิมของสังคมชนเผ่ามลาบรี ได้รับคำนิยามจากคนภายนอกในฐานะ “คนป่า” หรือ “ผีตองเหลือง” มาแต่อดีต แสดงให้เห็นตัวตนแบบชนเผ่าเร่ร่อนดั้งเดิม ที่อาศัยพึ่งพิงทรัพยากรธรรมชาติจากป่าเพื่อยังชีพอย่างไม่รุกรานจนเกินพอดี แต่เมื่อโครงการพัฒนาทั้งจากหน่วยงานของรัฐและเอกชน เข้ามามีบทบาทจัดการกับวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของมลาบรี ด้วยการใช้อำนาจรัฐให้สิทธิจัดสรรที่ดินในชุมชนม้งบ้านห้วยหยวก ตำบลแม่ขะนิง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ให้มลาบรีเข้ามาตั้งหลักแหล่งถาวร โดยการจัดตั้งเป็น "ชุมชนตองเหลือง" การจำกัดพื้นที่เฉพาะและการปิดล้อมจากกลุ่มอำนาจภายนอก ยิ่งทำให้การเข้าถึงทรัพยากรและพื้นที่ป่าของมลาบรีเป็นไปอย่างยากลำบาก มลาบรีจำต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการยังชีพจากที่เคยท่องป่าล่าสัตว์ สู่การเป็นแรงงานรับจ้างทำไร่ในชุมชนม้ง ซ้ำยังตกเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดน่านของทางการ มีการนำมลาบรีที่แต่งกายด้วยการนุ่งตะแยด ซึ่งถูกลดทอนให้กลายเป็นเพียงสัญญะที่สำคัญ ในการจัดแสดงวิถีชีวิตทางวัฒนธรรมแบบชนเผ่าดั้งเดิม มาใช้สร้างจุดขายเพื่อการท่องเที่ยวจังหวัด แทนที่จะวางแผนพัฒนาวิถีชีวิตบนรากฐานที่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และตัวตนของมลาบรีอย่างแท้จริง แสดงให้เห็นถึงความลักลั่นในการพัฒนาที่ขาดความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงรากเหง้าทางวัฒนธรรม ระบบคุณค่าและโครงสร้างความเชื่อของสังคมชนเผ่ามลาบรี การพัฒนาได้ส่งผลให้มลาบรีมีตัวตนทางสังคมที่ปรากฏต่อสังคมภายนอกไม่ต่างจาก “คนชายขอบของสังคม” ภายใต้การจัดการโดยกลุ่มอำนาจต่าง ๆ

อย่างไรก็ดี มลาบรีเองก็มิได้มีท่าทียอมจำนนต่ออำนาจภายนอกอย่างสิ้นเชิง กลับพยายามปรับเปลี่ยนรูปแบบความสัมพันธ์ หรือใช้โอกาสดังกล่าวเป็นอำนาจต่อรองในการเข้าถึงทรัพยากรหรือบางครั้งก็มีท่าทีต่อต้านทางอ้อม เช่น การเพิกเฉยไม่ใส่ใจจะรักษาพื้นที่โครงการพัฒนาต้นน้ำโดยปล่อยให้ไฟไหม้ป่า เพื่อต่อต้านจากการถูกกีดกันในการเข้าถึงทรัพยากรในพื้นที่อนุรักษ์ของทางการ

จากข้อมูลนี้  การแสดงออกของเผ่ามลาบรีในเรื่องการเพิกเฉยไม่ใส่ใจจะรักษาพื้นที่โครงการพัฒนาต้นน้ำ

 มีการแสดงออกในทางอื่นอีกหรือไม่ในการต่อรองกับอำนาจภายนอก  หรือมีกลุ่มใดที่ยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือหรือไม่

และอำนาจภายนอกในที่นี้หมายถึงสิ่งใด

อีกนิดครับ...ข้อมูลนี้ตามที่บอกไว้เป็นช่วงต้นปี 49

แล้ว ณ.ตอนนี้เผ่ามลาบรีจะกลายเป็น Human Zoo ไปแล้วหรือยัง

วันนี้คำถามเยอะมาก....

ขอขอบคุณครับที่ช่วยสละเวลาตอบคำถามให้ผมในครั้งที่แล้ว

   น่าเป็นห่วงมากครับ ทั้งมลาบรีและกะเหรี่ยงคอยาว ที่กำลังถูกกระทำและจงใจกระทำด้วยคนเมือง ที่ไม่เข้าใจในวัฒนธรรมหลักของพวกเขา เราไม่รักษาป่าให้เขา เราให้ความมีคุณค่าของชาติพันธ์อย่างไม่เท่าเที่ยม และสิ่งเหล่านี้ซาไกในเทือกเขาบรรทัดในเขตอำเภอตะโหมดก็กำลังประสบอยู่ ถ้าไม่มีการสร้างความเข้าใจอย่างถ่องแท้ และให้พวกเขาดำรงเผ่าพันธ์อย่างที่ควรจะเป็นแล้ว อีกไม่นานชาติพันธ์เหล่านี้คงจะเหลือแค่รูปภาพและคำบอกเล่า  ครับ

น้องตรีปฐม

น่าสนใจในการติดตามเรื่อง "มลาบรี" ของน้องนะครับ

ผมว่างานวิชาการ เป็นเส้นทางหนึ่ง ที่จะนำไปสู่ความเข้าใจในการพัฒนา การเข้าถึงตัวตนของมลาบรี

ผมยินดีครับ ที่จะตอบคำถาม(ในมุมของผม)

หากจะติดต่อ กลุ่มพัฒนาน่าน

น่าจะติดต่อไปที่ ศูนย์ประสานงานประชาสังคมจังหวัดน่าน

นพ.ชาตรี เจริญศิริ

โรงพยาบาลน่าน อ.เมือง จ.น่าน โทร ๐๕๔ ๗๑๐๑๓๘ - ๙ ต่อ ๓๒๐๒ โทรสาร ๐๕๔ ๗๑๐๙๗๗

อีเมลล์ [email protected]

www.nancivil.org

ส่วนคำตอบที่น้องถามผม ผมกำลังรวบรวมอยู่ครับ...ขอเวลาสักครู่ครับ

คุณอนุกุล ทองมี

บางทีเป็นสิทธิของพวกเขาที่ต้องต่อรองกับอำนาจเหล่านี้ด้วย แต่ด้วยผลประโยชน์ทางธุรกิจ ก็น่าเศร้าว่า กลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้ กลับกลายจะเป็นสินค้าเพื่อการท่องเที่ยวไปเสียแล้ว

อย่างที่เขียนไว้ ว่านักพัฒนาควรต้องละเอียดอ่อน และเข้าใจในการพัฒนากลุ่มชาติพันธุ์ให้มากๆครับ

ยินดีแลกเปลี่ยนครับผม...ขอบคุณมากครับ

 

ขอบคุณพี่จตุพรมากครับ  ผมเรียนนิเทศศิลป์  เอกภาพยนตร์  คือตอนนี้ผมกำลังจะทำภาพยนตร์สารคดี ที่เกี่ยวกับ "มลาบรี" เป็นศิลปะนิพนธ์  ช่วงนี้เป็นการหาข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ของแต่ข้อมูลหายากมากเลย  ที่หาได้ส่วนใหญ่เป็นข้อมูลท่องเที่ยว  และข้อมูลที่ค่อนข้างเก่าเสียส่วนใหญ่  อยากได้ข้อมูลที่มีผลกระทบต่อสังคม เพื่อนำมาตีเป็นประเด็นครับ

ขอบคุณสำหรับการแลกเปลี่ยนครับ

น้องตรีปฐม

อาจจะอีเมลล์ถึงผมได้นะครับ อยากคุยเกี่ยวกับรายละเอียดบางอย่าง หรือ โทรศัพท์ตามเบอร์ที่ลงไว้ในประวัติได้ครับ

ขอบคุณครับ

ถึงน้องตรีปฐม

จากที่ตอบไปบ้างแล้ว...

วิถีของมลาบรี คือ การดำรงชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี และการเป็นอยู่ของมลาบรีครับ รวมถึง ความเชื่อ ความคิด ค่านิยมด้วยนะครับ

อำนาจภายนอก น่าจะหมายถึง การเข้ามาพัฒนาโดยรัฐ และเอกชนที่หวังผลทางธุรกิจ การเข้ามาของทุนนิยมต่างๆ และนโยบายในระดับต่างๆที่เกี่ยวข้องกับพวกเขาโดยตรงและอ้อม

Human Zoo เคยดูรายการทีวีรายการหนึ่งนานมาแล้ว บอกว่าจะส่งเสริมการท่องเที่ยวในที่ชนเผ่ามลาบรีอยู่ ผมก็อดเป็นห่วง..เพราะ เขาขายความแปลกของมลาบรี ซึ่งหากเป็นจริง human zoo เกิดขึ้นอย่างแน่นอน

ผมอาจมองได้บางมุม ตามแนวคิดผมนะครับ ส่วนข้อมูลที่ลึกไปกว่านี้คงต้องหาจากเอกสาร และนักพัฒนาในพื้นที่

ผมอยากปรึกษากับน้องตรีปฐม เรื่อง "จีนยูนนาน" เพราะเรากำลังจะคิดทำสารคดีวิถีจีนยูนนานในเมืองไทย

คิดว่าเป็นโอกาสดีที่ผมได้รู้จักกับน้องตรีปฐม

เลยอยากจะให้น้องติดต่อผมทางอีเมลล์และทางโทรศัพท์ครับ และ/หรือ จะชวนมาที่ปาย(ในอนาคต)

 

คุณตรีปฐม บุญทา

สุมิตตา สรรพกิจ บรรณารักษ์ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรค่ะ
อยากทราบว่าหากคุณตรีปฐม ทำภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้เรียบร้อยแล้ว ห้องสมุดจะขอสำเนาไว้บริการในห้องสมุดสักชุด เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ศึกษาค้นคว้าในด้านนี้ ไม่ทราบว่าพอจะเป็นไปได้หรือไม่คะ คุณตรีปฐมสามารถติดต่อกลับมาทางอีเมลนี้ได้เลยค่ะ

เวบไซต์ของศูนย์ฯคือ www.sac.or.th สามารถเข้ามาเยี่ยมชมได้ค่ะ เผื่อมีอะไรจะแลกเปลี่ยนกันได้

ขอบพระคุณอย่างสูง

ผมจะแจ้งผ่านไปยังคุณตรีปฐม ให้นะครับ คิดว่างานชิ้นนี้น่าจะเรียบร้อยแล้ว

 

สวัสดีค่ะ ตอนนี้เรียนภาควิชาภูมิศาสตร์สนใจการทำปัญหาพิเศษเกี่ยวกับชนเผ่าตองเหลือง ผลกระทบที่เกิดจากการท่องเที่ยวเชิงเผ่าพันธุ์ค่ะ

เสนอเรื่องนี้กับอาจารย์ไปและผ่านแล้วด้วยค่ะ แต่ตอนนี้ยังไม่มีจุดมุ่งหมายที่แน่ชัดว่าจะลงไปเจาะลึกส่วนใด แต่คิดว่าเป็นที่ จ .น่าน คงต้องหาข้อมูลมากขึ้นกว่านี้ เพราะจำเป็นต้องทราบรายละเอียดก่อนลงพื้นที่จริง

ถ้าเกิดปัญหาติดขัดอย่างไร รบกวนขอความช่วยเหลือด้วยนะคะ อาจจะติดต่อไปทางอีเมลนะคะ

ขอบคุณค่ะ

 

ไม่มีรูป
chananya

เรื่องนี้เป็นเรื่องบังเอิญที่ทำให้ผมเข้ามาเกี่ยวข้องโดยไม่รู้ตัว

และมีโอกาสได้เขียนบันทึกเล็กๆเกี่ยวกับ "มลาบรี"

จากนั้นมีผู้สนใจส่งอีเมลล์ และโทรศัพท์ มาคุยจำนวนหนึ่ง และได้มีโอกาสประสานงานให้คุณตรีปฐม กับทาง จ.น่าน (กลุ่มผู้ทำงานเกี่ยวข้อง)

เมื่อมีผู้สนใจทำให้ผมต้องหาข้อมูล "มลาบรี" เรื่อยๆ ไม่ได้เป็นผู้รู้เรื่องนี้ครับ

แต่ในฐานะผู้ที่สนใจ เป็นผู้ประสานข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ ประสานบุคคลให้ได้

เพื่อประโยชน์ในการศึกษา และพัฒนากระผมยินดีครับ

ตอนนี้(เมื่อวาน)ผมได้รับแจ้งจาก คุณตรีปฐมว่า สารคดีที่เป็นภาพยนตร์ใกล้เสร็จแล้ว อีกไม่นานคงได้ชมกันในส่วนผู้ที่สนใจครับ

และผมสนใจปัญหาพิเศษของคุณครับ ตอนนี้ผมเป็นนักวิจัย"การท่องเที่ยวโดยชุมชน" อยู่ และดูแลโซนภาคเหนือทั้งหมด ปัญหาที่คุณสนใจ เราสนใจเช่นกัน หากเป็นไปได้นำข้อมูลมาแชร์กันนะครับ

 

 

คุณเบียร์(ตรีปฐม) และท่านที่อยากเรียนรู้มลาบรีผมยินดีเรียนรู้ร่วม เพื่อจรรโลงไว้ซึ่งภาษาและวัฒนธรรม ครับ

สวัสดีครับ

P

ช่วงไม่กี่วันมี สถานีวิทยุ BBC กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ โทรศัพท์มาพูดคุยเกี่ยวกับล "มลาบรี" ซึ่งผมเองก็ให้ข้อมูลได้ไม่เต็มที่นัก

ในโอกาสต่อไป ผมคงต้องประสานผ่านไปยังคุณ s_mrabri07 นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท