Praepattra
ผู้ช่วยศาตราจารย์ Praepattra Kiaochaoum

ตอนที่ 2 เมืองนครนายก


ณ เวลานั้น กองทัพพระยาตาก(สิน) กองทัพของพระองค์อยู่พักที่ เมืองนครนายก

เมืองนครนายก ถูกรื้อกำแพงเมืองสมัยพระมหาจักรพรรดิ คงเป็นชุมชนเล็ก เป็นทางผ่าน

ตัวเมืองเองไม่ได้ใหญ่อะไร

และในเวลานั้น ท่านเจ้าเมืองว่าที่คุณพระพิมลธรรม เจ้าเมืองนครนายก ก็ได้เทครัวชาวนครนายกขึ้นไปโคราช

ได้พาชาวบ้านไปโคราชนั้น ก็ถูกทางโคราชดักฆ่าตายทั้งหมดก่อนเข้าเขตเมืองโคราช ปล่อยให้นครนายกเป็นเมืองร้างไปแล้ว

ดังนั้นชาวนครนายกปัจจุบันจึงไม่มีคนนครนายกที่เป็นคนพื้นเพเดิมเลย

แล้วอยากรู้มั้ยว่าชาวนครนายกในปัจจุบัน

เป็นใคร มาจากไหน.....

ชาวกรุงศรีฯ ที่หนีตายเมื่อคราวกรุงแตก ได้อพยพมาทางหนองแค สระบุรี และอำเภอบ้านนา จ.นครนายกครับ

และเมื่อปี ๒๓๒๓ คราวที่เราไปล้านช้าง และเวียงจันท์ เราได้เกณฑ์ชาวลาวลงมาเป็นจำนวนมาก

และได้นำมาอยู่ที่สระบุรีและนครนายกครับ จวบจนสมัยรัชกาลที่๕-๖

จึงเริ่มมีชาวจีนจากโพ้นทะเลเข้ามาอยู่อาศัยทำกิน ซึ่งชาวจีนพวกนี้ลงเรือที่แปดริ้ว

แล้วได้อพยพมาอยู่นครนายกเพื่อหาที่ทำกิน

แต่เดิมในสมัยอยุธยาชาวมอญก็เข้ามาอยู่นครนายกเยอะ

แถวเขานางบวช เป็นชุมชนใหญ่เลย โบราณสถานที่ชาวมอญได้สร้างทิ้งไว้ให้และยังอยู่สมบูรณ์ถึงวันนี้ก็คือ

วัดโพธินายก ซึ่งเป็นวัดเดียวที่อยู่ภายในเขตกำแพงเมือง

ส่วนชาวลาวที่ลงมาอยู่นครนายก

จะเข้ามาสองรอบคือ ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน กับสมัยรัชกาลที่๓

โดยชาวลาวที่เข้ามาจะมีหลายกลุ่มทั้งชาวลาวเวียง ลาวพวน ลาวโซ้ง

เข้ามาตั้งรกรากอยู่อาศัยครั้งแรกที่บ้านใหญ่

เมื่อปี 2323 และผู้นำชาวลาวชื่อแม่แก้วตา

ได้นำชาวบ้านสร้างวัดถวายเป็นพุทธบูชาวัดแรก

คือ วัดแก้วตา อยู่ติดริมแม่น้ำนครนายกฝั่งทิศตะวันออก


วัดที่สอง บุตรีคหบดีชาวลาวร่วมกับบิดาได้สร้างวัดถวายเป็นพุทธบูชาเช่นกัน

อยู่ใกล้กับวัดแก้วตาและติดริมน้ำ ซึ่งต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ได้มีการรวมวัดทั้งสองเข้าด้วยกันแล้วเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า

วัดอุดมธานี


วัดที่สามที่ชาวลาวได้สร้างไว้คือ วัดดง

วัดที่สี่ที่ชาวลาวได้สร้างและยังคงอยู่สมบูรณ์ที่สุดคือ วัดบ้านใหญ่ เป็นวัดที่ได้โชว์ศิลปะของช่างชาวลาวเวียงได้อย่างวิจิตรที่สุดในนครนายก

หลังจากนั้นชาวลาวเวียงก็ได้ขยับขยายออกไปทำมาหากินจนทั่วและพากันสร้างวัดขึ้นมากมายในนครนายก

ส่วนพวกลาวพวนจะพากันไปตั้งรกรากแถวท่าแดง หนองหัวลิง หนองแสงกันเป็นส่วนใหญ่

ชุมชนลาวพวนที่ใหญ่ที่สุดคือ วัดท่าแดง

ส่วนคนจีนที่เข้ามาตั้งรกรากแต่แรกนั้น จะเข้ามาอาศัยอยู่ที่ฝั่งตะวันออกของเมือง

คือย่านตลาดฝั่งวังกระโจมหรือตลาดเก่าทั้งหมด ก่อนที่จะขยับขยายเข้ามาทำการค้าในผังตัวเมืองปัจจุบัน

ในอดีตศาลากลางจังหวัดนครนายกหลังแรกจะอยู่ที่ฝั่งตลาดเก่า ริมน้ำท่าทราย

ตรงบริเวณศาลเจ้าตลาดเก่าในปัจจุบัน

ต่อมาได้ย้ายมาอยู่ริมแม่น้ำฝั่งกำแพงเมืองตรงบริเวณโรงแรมกอบเกื้อ

ซึ่งต่อมาก็ได้ย้ายออกไปอยู่ด้านนอกเมืองดังเช่นปัจจุบัน

ส่วนพื้นที่ที่เคยเป็นศาลากลางจังหวัดที่เคยรับเสด็จในหลวงกับพระราชินีก็

ถูกสร้างเป็นโรงแรมกอบเกื้อ ในสมัยที่เจ้าของโรงแรมได้เป็นสจ.

คำสำคัญ (Tags): #นครนายก
หมายเลขบันทึก: 584065เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2015 00:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2015 00:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท