ความสัมพันธ์ของวิธีปฏิบัติงานมุ่งผลสัมฤทธิ์ด้วยหลักวิจัยและองค์ความรู้ที่ตกผลึก กับ การกำหนดนโยบายและแผนThink Tank


ก่อนที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบ Think Tank เรามาลองดู

ความสัมพันธ์ของวิธีปฏิบัติงานมุ่งผลสัมฤทธิ์ด้วยหลักวิจัยและองค์ความรู้ที่ตกผลึก กับ การกำหนดนโยบายและแผน

........เพื่อนๆเคยไหมเวลาเรารู้สึกว่าเรื่องใดๆที่เราเรียนรู้จากฐานข้อมูลที่เชื่อถือได้ ตลอดจนอาจจะผ่านการวิจัยมาแล้ว เรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้องกับงานสาธารณะ แต่เหตุใดจึงไม่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ และนโยบายที่กำหนดในองค์กรหรือในระบบงาน เลยคิดสงสัยเหตุใดความรู้หรือฐานข้อมูลที่ได้มา ถึงแทบจะตรงกันข้ามกับนโยบาย แล้วแบบนี้จะก่อให้เกิด การปฏิบัติงานจากสำนึกรับผิดชอบที่ขัดแย้งกันภายในใจของผู้ปฏิบัติเองหรือไม่ เรียกง่ายๆว่าจะมีใจขับเคลื่อนงานต่อไปได้อย่างไร เพราะการทำงานด้วยกายนั้นทำให้งานเสร็จแต่อาจไม่สำเร็จ แต่ทำงานด้วยความเข้าใจ รู้หน้าที่รับผิดชอบงานสาธารณะ นั้นได้ทั้งความสำเร็จและความภาคภูมิใจ การทำงานด้วยความภาคภูมิใจเท่านั้นที่ก่อให้เิห้เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ อย่างยั่งยืนพึ่งตัวเองได้ พอคิดถึงจุดๆหนึ่งเราจะรู้สึกว่า อยากที่จะแชร์ความรู้นี้ให้กับสาธารณะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ตรวจสอบย้อนกลับข้อมูลองค์ความรู้ที่เรียนมา ที่เคยเข้าใจมาและยังปรารถนาที่จะนำไปเสนอในที่ประชุมคณะทำงานกำหนดนโยบาย เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น การมีวิธีคิดแบบนี้เกิดขึ้นในใจ แสดงว่าเราได้คิดแบบลักษณะเดียวกับ Think Tank ขึ้นแล้วนั่นเอง......

การกำหนดนโยบายของรัฐ โดยการมีส่วนร่วมของคณะกรรมาธิการวุฒิสภา

ปัจจุบันการกำหนดนโยบายของรัฐ จะมีส่วนร่วม ของคณะกรรมาธิการวุฒิสภา โดยเฉพาะขณะนี้การศึกษาของ คณะกรรมการวุฒิสภาและงานวิจัยของระดับปริญญาโทรัฐประศาสนศาสตร์ ต่างๆล้วนให้ความสำคัญต่อการให้บริการต่อสาธารณะเป็นหลัก ทำให้เกิดการใช้ฐานความรู้และผลงานวิจัย แนวทางการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ เพื่อวางแผนแม่บท กำหนดนโยบายการขับเคลื่อน ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และวิธีปฏิบัติงานที่ดีที่สุด เช่น การวางแผนการพัฒนาระบบโลจิสติกส์รองรับการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน เป็นต้น

........ Think-Tank หมายถึง "สถาบันที่ทำการวิจัย วิเคราะห์นโยบายสาธารณะ ทั้งที่เป็นนโยบายภายในหรือนโยบายระหว่างประเทศ ซึ่งนำไปสู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย ที่ทำให้ผู้กำหนดนโยบายสามารถตัดสินใจในประเด็นนโยบายสาธารณะอยู่บนฐานของข้อมูลและความรู้ได้

........... *ถ้า Think Tank ไม่ได้มาจากองค์กรวิจัยแล้ว Think tankจะมาจากองค์กรที่นำวิธีการจัดการความรู้ที่สังเคราะตกผลึกทางความคิด จนเป็นภูมิปัญญาหน่วยงาน และมาตรฐานวิธีปฏิบัติงานที่ดี มากำหนดวิสัยทัศน์(แบบ KM ที่วิสัยทัศน์เกิดจาก Passion) จนเกิดการปรับเปลี่ยนยุทธศาตร์องค์กร เพื่อมีส่วนร่วมในการปรับปรุงกำหนดทิศทางแนวนโยบายการบริหาร ให้สอดคล้องได้มากกว่าเดิมจากที่เป็นอยู่ จากล่างขึ้นบน จากการปฏิบัติงานในหน้าที่ จะทำได้หรือไม่ มีเวทีไหนให้โอกาสได้นองค์ความรู้ที่ได้จากการถอดบทเรียน จากที่ได้นำ KM มาใช้ ไปประกอบการพิจารณากำหนดในระดับนโยบายและทำต่อเนื่องตรงนี้ได้??? น่าสนใจนะครับ ผมขอเปิดประเด็นไว้ให้ท้าทายการขับเคลื่อนองค์กรเพื่อยุทธศาสตร์และนโยบายที่เป็นไปได้ตรงนี้ด้วยครับ .......

.........Think-Tank อาจหมายรวมถึง สถาบันที่เป็นอิสระ หรือเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร (affiliated institution) ใดก็ได้ แต่ต้องเป็นองค์กรที่มีโครงสร้างแน่นอน ถาวร และไม่เป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นเพื่อรับทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งชั่วครั้งชั่วคราว (ad hoc commission) สถาบัน Think-Tank มักแสดงบทบาทในฐานะเป็นตัวเชื่อมระหว่างประชาคมวิชาการและภาคนโยบาย รักษาผลประโยชน์สาธารณะด้วยการแปรงานวิจัยพื้นฐานและงานวิจัยประยุกต์ (basic and applied research) ไปเป็นภาษาและรูปแบบที่น่าเชื่อถือ เข้าใจได้ และเข้าถึงได้ สำหรับผู้กำหนดนโยบายและสาธารณชน (McGann 2007a, p.11)"

..........เนื่องจากคำว่า Think-Tank เพิ่งจะถูกใช้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ทำให้ยังมีข้อโต้เถียงกันว่า Think-Tank มีวิวัฒนาการอย่างไร มี Think-Tank ก่อนหน้านั้นหรือไม่ และ Think-Tank ใดเกิดขึ้นเป็นแห่งแรก กล่าวกันว่า มีอยู่หลายสถาบันที่ถูกมองได้ว่าเป็น Think-Tank แห่งแรกๆ ของโลก หนึ่งในนั้นคือ สถาบันเพื่อการศึกษาด้านความมั่นคงและการป้องกันประเทศ (Institute for Defense and Security Studies) ซึ่งก่อตั้งโดยดยุคแห่งเวลลิงตัน ในปี 1831 อีกแห่งหนึ่งคือ ประชาคมเฟเบียน (Fabian Society) ก่อตั้งในปี 1884

ที่มา : สกว. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

*เชิญร่วม ลปรร. กันอย่างต่อเนื่องกันไปด้วยกันพร้อมกันต่อไปครับ.................................................................

หมายเลขบันทึก: 582930เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2014 03:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 ธันวาคม 2014 03:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ชอบใจวิสัยทัศน์แบบนี้

ต้องแปลงมาเป็นการปฏิบัติให้ได้ครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท